ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขื่อนภูมิพล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
 
== ประวัติ ==
แนวคิดสร้างเขื่อนแห่งนี้เกิดจากการที่ [[หม่อมหลวงชูชาติ กำภู|ม.ล.ชูชาติ กำภู]] อธิบดีกรมชลประธาน เดินทางไปดูงานชลประทานที่สหรัฐ และเห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บน[[แม่น้ำปิง]] หม่อมหลวงชูชาติเสนอความเป็นไปได้ต่อรัฐบาล[[ป.แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] เมื่อปีพ.ศ. 2492 [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 21|คณะรัฐมนตรี]]อนุมัติการสำรวจศึกษาโครงการ จนได้ข้อสรุปว่าที่เหมาะสมคือบริเวณตำบลยันฮี จังหวัดตาก เมื่อหน่วยงานของสหรัฐรับรองว่าสภาพพื้นที่ดังสามารถสร้างเขื่อนได้ รัฐบาลเริ่มทุ่มงบประมาณตัดถนนจาก[[ถนนพหลโยธิน]]เข้ามาถึงบริเวณที่ก่อสร้าง และเริ่มกระบวนการเจรจากู้เงินจาก[[ธนาคารโลก]]
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2496 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า '''เขื่อนยันฮี''' การเวนคืนเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2499 การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ. 2500 โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาจากสหรัฐ และมีบริษัทอื่นจาก 14 ประเทศร่วมเป็นที่ปรึกษา ต่อมารัฐบาลจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] อัญเชิญพระปรมาภิไธย[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มาเป็นชื่อเขื่อนว่า '''เขื่อนภูมิพล''' เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2501 [[การวางศิลาฤกษ์|วางศิลาฤกษ์]]เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 การก่อสร้างแล้วเสร็จและทำรัฐพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507
 
เขื่อนสร้างปิดกั้น[[แม่น้ำปิง]] ที่บริเวณเขาแก้ว [[อำเภอสามเงา]] [[จังหวัดตาก]] มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อแรกก่อสร้างเสร็จถือเป็นเขื่อนรูปโค้งที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก ใช้เงินในการก่อสร้างทั้งสิ้นราว 2,250 ล้านบาท เกือบครึ่งหนึ่งกู้จากธนาคารโลกเป็นเงิน 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref>สัญญากู้เงินที่ 175 ลงวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1957</ref><ref>แถลงการณ์สำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง การตั้งการไฟฟ้ายันฮีเพื่อสร้างเขื่อนภูมิพล. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๗๔ ตอนที่ ๗๓ หน้า ๒๑๙๙ วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๐</ref>
 
รัฐบาลจอมพล ป. ตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาดูแลการก่อสร้างและบริหารโครงการชื่อว่า "การไฟฟ้ายันฮี" เมื่อ พ.ศ. 2500 ในระยะแรก เขื่อนแห่งนี้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง (รวม 70,000 กิโลวัตต์) จากที่สามารถติดตั้งได้ 8 เครื่อง และหลังเปิดดำเนินงานในปี พ.ศ. 2507 ได้เพียงสามปี การไฟฟ้ายันฮีมีกำไรสะสมถึงปี พ.ศ. 2510 มากถึง 397.41 ล้านบาท<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/D/025/825.PDF การไฟฟ้ายันฮี งบดุลงวด 30 กันยายน 2510] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 25 วันที่ 19 มีนาคม 2511</ref> การไฟฟ้ายันฮีได้ควบรวมกับรัฐวิสาหกิจ "การลิกไนต์" และ "การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ" เป็น[[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]] (กฟผ.) เมื่อพ.ศ. 2511
 
== การเดินทาง ==