ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Tapranksan (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 110.168.250.196
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 48:
มีประเด็นว่า มหาอรรถกถา<ref>ม.อ. (ปปญฺจ.๑) [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_th.php?B=7&A=8141&w=อิริยาปถสมฺปชญฺ สติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา]</ref>ไม่ให้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยใช้อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย เพราะอิริยาบถไม่ใช่[[สัมมสนรูป]], แต่พระมหาสิวะได้อธิบายวิธีที่สามารถนำมาทำวิปัสสนาได้ โดยการแยก[[รูปปรมัตถ์]]ออกจากอิริยาบถที่เป็น[[อัตถบัญญัติ]] แล้วทำวิปัสสนาเฉพาะในสัมมสนรูป. อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์โดยหลัก[[s:เนตติ_สังคหวาระ-อุทเทสวาระ-นิทเทสวาระ#หาระสังเขป|จตุพยูหหาระ]]แล้ว วัตถุประสงค์ของบรรพะนี้ คือ การเน้นให้[[โยคี]]ทำกรรมฐานที่เรียนมาเช่นอานาปานัสสติเป็นต้นตลอดเวลาไม่ขาดช่วง, ฉะนั้น มติของ[[มหาอรรถกถา]]จึงอธิบายโครงสร้างของสูตรได้ตรงตามพุทธประสงค์มากกว่า. ส่วนมติของพระมหาสิวะนั้นก็ถูกต้องตามหลักธรรมะและช่วยอธิบายเรื่องสมถยานิกและวิปัสสนายานิกที่มาในมหาอรรถกถาด้วย แม้จะไม่เข้ากับโครงสร้างของสูตรนี้ก็ตาม. ทั้งสองมติ'''ไม่ได้ขัดแย้งกัน'''และเป็นประโยชน์ทั้งคู่ พระพุทธโฆสาจารย์จึงไม่ตัดสินถูกผิดใดๆ ในสองมตินี้ เพียงแต่ให้มติของมหาอรรถกถาเป็นมติหลัก เพราะมติของมหาอรรถกถาเข้ากับโครงสร้างของสูตรมากกว่า.
 
อิริยาบถบรรพะและ[[บรรพะและสัมปชัญญะ]]บรรพะ เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะ
 
:#[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=6&h=ไม่เกิดในอิริยาบถ%20สัมปชัญญะ#สรุปความ มหาอรรถกถา] ว่าบรรพะนี้ไม่ได้แสดงอารมณ์กรรมฐานไว้โดยตรง เพราะ'''เป็นแค่บรรพะที่ย้ำให้ทำกรรมฐานใดๆ ให้ตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก''' จึงไม่แสดงอารมณ์ของกรรมฐานไว้โดยตรง, อิริยาบถเองก็เป็นทั้งบัญญัติด้วย ซ้ำอิริยาบถยังเป็นบัญญัติแบบเดียวกับอสัมมสนรูปด้วย อรรถกถาจึงกล่าวว่าไม่ต้องเรียนกรรมฐานใน 2 บรรพะนี้. อย่างไรก็ตามเมื่อทำธาตุมนสิการบรรพะแล้วจะสามารถแยกอิริยาบถบัญญัติจากปรมัตถ์ตามคำอธิบายของพระมหาสิวะด้านล่าง ก็จะได้อารมณ์เป็นรูปปรมัตถ์ ซึ่งรูปปรมัตถ์ไม่เป็นอารมณ์ของอัปปนาฌาน, ฉะนั้น อัปปนาจึงไม่เกิดในสองบรรพะนี้, แต่สามารถทำวิปัสสนาได้. ในมหาอรรถกถาของสองบรรพะนี้จึงแสดงวิปัสสนาไว้ และกล่าวว่าบรรพะนี้เหมาะกะสมถยานิก.
บรรทัด 56:
ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนั้น อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะจึงเหมาะกับวิปัสสนายานิก. นอกจากนี้ มหาอรรถกถาของบรรพะนี้ก็อธิบายไว้ตามแนววิปัสสนาด้วย.
 
3. '''สัมปชัญญบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานใดๆ ที่เรียนมาทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ. คำอธิบายที่เหลือดูคำอธิบายอิริยาบถบรรพะข้างบน.
 
สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัวทั่วพร้อม หมายถึง การรับรู้การเคลื่อนไหวหรือการกระทำทางกายวาจาของตน
 
สัมปชัญญะ จัดอยู่ในธรรมมีอุปการะมากคู่กับสติ ความระลึกได้
 
สัมปชัญญะ เป็นองค์ประกอบของสัมมาสติ คือ สติมา สัมปชาโน อาตาปี หมายถึง สติ สัมปชัญญะ เเละความเพียรกล้า
 
สัมปชัญญะแบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ
 
สาตถกสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวว่า สิ่งที่กำลังจะทำ เป็นอรรถ เป็นประโยชน์หรือไม่ คือจะทำอะไร ให้คิดก่อน คิดเผื่อล่วงหน้าไว้ เช่น คิดว่าเราจะเขียนตัว ก.ไก่ เพื่อเป็นการฝึกคัดลายมือ ถ้าเป็นการเดินจงกรม จะหมายการภาวนาว่า อยากเดินหนอ อยากกลับหนอ อยากยืนหนอ อยากนั่งหนอ เป็นต้น
 
สัปปายสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวว่า สิ่งที่ทำลงไปแล้ว เหมาะสมหรือไม่ เข้ากับเราดีหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรให้เหมาะสมหรือไม่ สัปปายหรือไม่ คือ ทำเสร็จแล้ว ทบทวนสิ่งที่กระทำลงไป เช่น เขียนตัวก.ไก่ เสร็จแล้ว ทบทวนว่า เขียนได้ดีหรือไม่ ควรปรับปรุงแบบไหนจึงจะเขียนสวยขึ้น หรือเขียนถนัดขึ้น ใช้ปากกาแบบไหนจึงเหมาะมือเรา เป็นต้น ถ้าเป็นการเดินจงกรม จะหมายถึง หยุดหนอ เป็นต้น
 
โคจรสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวว่า กำลังทำอะไรอยู่ รู้ตัวในการขยับตัว ในการกำลังเดิน กำลังก้าว กำลังกลับ กำลังลุกขึ้น กำลังนั่งลง ถ้ากำหนดอย่างละเอียด คือกำหนดรู้ตัวในอวัยวะที่เราบังคับได้ บังคับอยู่ เช่น นิ้ว ข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่ข้อเท้า ข้อเข่า โคนขา คอ มีงอเข้า มีเหยียดออก มีหมุนเป็นวง หมุนซ้าย หรือ หมุนขวา,ตัว บิดเอว ซ้าย ขวา งอตัว เอนตัวตรงหรือไปด้านหลัง,หนังตา มีกระพริบตา,ลูกตา มีกลอกตาไปซ้าย ขวา ขึ้นบน ลงล่าง ,กล้ามเนื้อหน้า ขยับไปมา,กล้ามเนื้อท้อง เขม่ว เกร็ง พองดัน,กล่องเสียง เปล่งเสียง,กระบังลม สูดเข้า พ่นออก,ลิ้น แลบออก แลบเข้า ขยับไปมา,คาง อ้าออก อ้าเข้า ขยับซ้ายขวา,เป็นต้น เช่น เขียนตัวก.ไก่ก็รู้ตัวว่ากำลังเขียนตัวก.ไก่ ถ้าไม่สัมปชัญญะตัวนี้ ก็จะเขียนตัวก.ไก่ ไม่สำเร็จ ถ้าเป็นการเดินจงกรม เดินหนอ ก้าวหนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ กลับหนอ ยืนหนอ นั่งหนอ เป็นต้น
 
อสัมโมหสัมปชัญญะ หมายถึงการรู้ตัวไม่หลงลืมในกิจที่กระทำ เช่น จะทำข้าวผัด ก็จะเริ่มกำหนดขั้นตอนการกระทำ คือ เตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ ตั้งกะทะ เปิดไฟ ใส่น้ำมัน ใส่กระเทียมพริก ใส่เนื้อ เนื้อสุก ใส่ผักใส่กระเพรา เติมเครื่องปรุงน้ำปลาน้ำตาลซีอิ้ว ชิม ใส่จาน ปิดไฟปิดแก็ส  กิน ล้างภาชนะ เป็นต้น อสัมโมหะคือการกำหนดการกระทำในกิจ ว่าทำอะไรอยู่ ในขั้นตอนไหน มีข้ามขั้นตอน หลงลืมอะไรไปหรือไม่ ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนไหนอย่างไร เช่น
ถ้าเราจะเขียนตัว ก.ไก่ เราจะเขียนอย่างไร หรือ ถ้าจะเขียนคำว่า "เกี่ยวข้อง" เราก็พิจารณาว่าต้องเขียนตัวไหนก่อน เเละเรากำลังเขียนตัวไหนอยู่ เช่นเรากำลังเขียนก.ไก่อยู่ เราเขียนสระเอไปแล้ว ต่อไปจะเขียนสระอี เมื่อเขียนเสร็จก็ทบทวนว่า เขียนครบทุกตัวหรือไป ถ้าครบแล้ว จะเขียนคำต่อไปหรือหยุดพัก ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนา จะเป็นอิริยายถย่อย เช่น จะเข้าห้องน้ำเพื่ออุจจาระ เปิดประตู เข้าไปนั่ง เปิดกางเกง ถ่ายท้อง ทำความสะอาดตัวเอง ทำความสะอาดส้วม ใส่กางเกง ลุกขึ้น เช็คความเรียบร้อยการแต่งตัว ความสะอาดในห้องน้ำ เปิดประตู เดินออกไป เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการกำหนดสติ ทำให้ไม่สับสนเพราะหลงลืมในการกระทำกิจ
 
อิริยาบถบรรพะเป็นการพิจารณารูปร่างลักษณะของโครงกายในขณะนั้น ส่วนสัมปชัญญะบรรพะเป็นการพิจารณาการเคลื่อนไหวของกายในขณะนั้น และสิ่งที่เนื่องให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้น
 
4. '''ธาตุมนสิการบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[ธาตุ 4]]อย่าง[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๑๑_สมาธินิทเทส#จตุธาตุววัฏฐานกถา|ย่อ]] คือ แสดงเพียงธาตุดิน (m-มวล) ธาตุน้ำ (a-ความดึงดูด,ความเร่ง,ความหนืด) ธาตุไฟ (t-อุณหภูมิ) ธาตุลม (v,u-ความเร็ว,ความไหว) ซึ่งต่างจาก[http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308 มหาหัตถิปโทปมสูตร]ที่แสดงไว้อย่างละเอียดกว่า. บรรพะนี้เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะธาตุ 4 เป็นรูปปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์ของอัปปนา อรรถกถาของบรรพะนี้จึงอธิบายทั้งสองส่วนของสูตรเป็นกรรมฐานวิปัสสนาทั้งหมด คือ จตุธาตุววัตถานในส่วนแรกและภังคญาณในส่วนหลัง.
เส้น 84 ⟶ 65:
 
6-14. '''นวสีวถิกาบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[นวสี|สีวถิก]]หรือ ซากศพไว้ 9 วาระ. มหาอรรถกถาแนะนำว่า "บรรพะนี้เหมาะกับสมถยานิก" เพราะอารมณ์ของอสุภกรรมฐานที่ทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้. และพระมหาสิวะได้กล่าวเสริมว่า "บรรพะนี้แสดงวิปัสสนา" ไว้ด้วย เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงนวสีวถิกาไว้ด้วยสำนวนอาทีนวญาณ. สรุปว่า อารมณ์เหมาะกับสมถยานิก แต่ก็สามารถนำไปทำวิปัสสนาได้เช่นกัน.
 
มีอรรถาธิบายไว้ว่า ปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ สองบรรพะนี้เป็นอารมณ์สำหรับพิจารณา ซึ่งแตกต่างจากบรรพะต่างๆนอกนี้ ที่ต่างเป็นอารมณ์สำหรับการมีสติกำหนดรู้เท่าทันสภาวะที่ปรากฎในปัจจุบัน แม้ธาตุมนสิการบรรพะจะเหมือนอารมณ์สำหรับพิจารณา แต่การกำหนดลักษณะธาตุ ว่านี่เย็น นี่ร้อน นี่ไหว นี่นิ่ง นี่แข็ง นี่อ่อน นี่ตึง นี่หย่อน ก็จัดว่าเป็นอารมณ์สำหรับการมีสติกำหนดรู้ทั้งสิ้น ยกเว้นธาตุน้ำที่เป็นอารมณ์สำหรับพิจารณา. ในสมัยแรกปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะเป็นกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงให้บรรดาพระภิกษุสงฆ์พิจารณาให้มาก แต่ต่อมามีพระภิกษุบางรูปมีปัญญาน้อยหลงติดในอารมณ์ที่พิจารณาปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ จนรังเกียจร่างกายของตนเองว่าสกปรกจนอัตตวินิบาตตนเอง(ฆ่าตัวตาย)เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงให้พระภิกษุเปลี่ยนมามีสติกำหนดรู้ในอานาปานสติบรรพะและบรรพะอื่นๆที่เป็นอารมณ์แห่งการมีสติกำหนดรู้ให้มากแทนปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ แต่แม้กระนั้น ปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ ก็เป็นกรรมฐานที่ทำให้ผู้พิจารณาบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เช่นเดียวกับบรรพะอื่นๆ จึงจัดให้ปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะเป็นส่วนหนึ่งของมหาสติปัฎฐานเช่นเดิม ดังมีปรากฎในพระสูตร เช่นเรื่องพระภิกษุพิจารณาเส้นผมที่เพิ่งปลงเมื่อกอกบวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เรื่องพระนางรูปนันทาพิจารณารูปเนรมิตของหญิงสาวจากเด็กสาวจนการเป็นซากศพจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เรื่องพระภิกษุที่หลงในรูปอันงดงามของนางสิริมา แต่เมื่อได้เห็นศพของสิริมาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น.
 
===เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน===
เส้น 110 ⟶ 89:
 
21. '''สัจจะบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการใช้สัมมาทิฏฐิในมรรคสัจหาเหตุเกิด (สมุทัยสัจ) และเหตุดับ (นิโรธสัจ) ของทุกข์. สัจจบรรพะในสูตรนี้แสดงละเอียดกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพราะในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวว่า"ผู้ฟังมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน" และ "ผู้ฟังมีทั้งบรรพชิตและฆราวาส" ฉะนั้น จึงมีคนที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องฌานรวมอยู่ด้วย จึงต้องแสดงสัจจบรรพะละเอียดกว่า ส่วนพระปัญจวัคคีย์นั้นตามพระโพธิสัตว์มานานจึงเคยทำฌานมาก่อนแล้ว เลยไม่ต้องแสดงมรรคสัจฝ่ายศีลและสมาธิอีก สมุทัยสัจและนิโรธสัจก็ไม่ต้องแสดงละเอียดเท่า เพราะข่มมาดีแล้วด้วยฌาน.
 
มีอรรถาธิบายไว้ว่า ขันธบรรพะ คือการขยายนาม หมายถึงการพิจารณานามให้ละเอียดขึ้นเป็นหลัก ดังนั้นขันธบรรพะ คือการแยกนามธาตุเป็นหลัก ว่านี่คือ เวทนา นี่คือสัญญา นี่คือสังขาร นี่คือวิญญาณ ซึ่งแตกต่างจากอายตนบรรพะ เพราะอายตนบรรพะคือการขยายรูปธาตุ ว่านี่คือรูป(ภาพ) นี่คือสัททะ(เสียง) นี่คือคันธะ(กลิ่น) นี่คือรสะ(รส) นี่คือโผฏฐัพพะ(สัมผัส) นี่คือธัมมารมณ์.
ดังนั้น ขันธบรรพะคือพิจารณานาม อายตนบรรพะคือพิจารณารูป
 
และนิวรณ์บรรพะ คือการรู้เท่าทันในสมาธิ เนื่องจากนิวรณ์คือกิเลสระดับกลางที่เกี่ยวข้องกับการสมาธิโดยตรง. โพชฌงคบรรพะ คือการรู้เท่าทันในปัญญา เพราะโพชฌงค์เป็นข้าศึกของอนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสระดับละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาโดยตรง. สัจจะบรรพะคือการรู้เท่าทันในศีล เหตุว่าอริยสัจนั้น คือกระบวนการแก้ทุกข์ คือเมื่อเกิดทุกข์ เช่นหิว มีความกำหนัด ง่วง กลัว อยากขับถ่าย ก็หาสาเหตุเเห่งทุกข์ ลงมือทำเพื่อแก้ทุกข์ เหนียวตัว เช่น หาของกิน นอน กราบไหว้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ เข้าห้องน้ำ อาบน้ำ จนคลายจากทุกข์จัดเป็นศีล เเละอริยสัจเป็นสิ่งที่แก้ทาง[[อุปธิ]]ซึ่งเป็นกิเลสระดับหยาบซึ่งเกี่ยวกับศีลโดยตรง.
ดังนั้น สัจจบรรพะคือศีล นิวรณบรรพะคือสมาธิ โพชฌงคบรรพะคือปัญญา
 
==สมถวิปัสสนาของ 3 อาจารย์ไม่ขัดแย้งกัน==