ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Beatzkkz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Lookruk (คุย | ส่วนร่วม)
ทำความสะอาด
ป้ายระบุ: ถูกแทน ย้อนด้วยมือ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{กรุณาอย่าแก้ไขบรรทัดนี้ (ส่วนหัวหน้าทดลองเขียน)}}
คัมภีร์<br>
<big><big>''[['ตำนานครูบามหาเถร'']]'</big></big>
ปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทย OG
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์หลวง เชียงใหม่ (ปัจจุบัน วัดพระสิงห์วรหมาวิหาร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
 
พระครูวิบูลสรภัญ ดร. (พระมหาฉัตรเทพ พุทฺธชาโต)
 
<br>
'''๑.ความนำ'''
นะโม ตัสสัตถุ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทะสะเขตตะลักขะรัฏฐา เจวะ ทะสะนาคะลักขะรัฏฐา จะ กัญจะนะ อะรัญญะวาสี มะหาเถเรนะ อาหะริตัง ปะระมัตถะโปฏฐะกะคันถัง ตัสสะ มะหาเถรัสสะ คาระเวนะ นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฯ วันทามิ ภันเต มะหาเถรัง กัญจะนัง อะรัญญะวาสิง ตัสสะ จะ อะติ คาระเวนะ นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ ภะวันตุ เม.
ข้าพเจ้าขอน้อมกราบไหว้ ซึ่ง คุณพระพุทธ ผู้เป็นพุทธศาสดา เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลศทั้งปวง คุณพระธรรม อันเป็นคำสอนสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และ เมตตานำมาชี้ทางดับทุกข์แก่มนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลาย และ คุณพระสงฆ์ ผู้สืบทอดและรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ลำดับนี้ไป จักได้กล่าวถึง ชีวประวัติพระมหาเถร นามว่า ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร วัดสูงเม่น เมืองแพร่ ผู้มีคุณอันประเสริฐ ผู้เป็นปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทย พระอริยสงฆ์สาวกผู้ตามรอยธรรมองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลบัดนี้แล
 
[['''๒.ชีวประวัติครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร''']]
ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร หรือ ที่ผู้นับถือทั่วไปเรียกว่า “ครูบามหาเถร” นามเดิมว่า “ปอย” นามสกุลไม่ปรากฏ เป็นบุตรของพ่อเฒ่าสุปินนะ และ แม่เฒ่าจันทร์ทิพย์ มีพี่น้อง อีก ๒ คน ชื่ออินตา และจันตา เป็นชาวสูงเม่นโดยกําเนิด บ้านของท่านตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านเล่ากัน สืบมาว่าท่านอยู่หมู่ที่ ๒ ตําบลสูงเม่น บริเวณบ้านพ่อน้อยปุ๊ก แม่มูล ท่านเกิด วันศุกร์ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๓๒
 
'''๒.๑ เหตุอัศจรรย์ในวันคลอด'''
ก่อนจะกล่าวถึงการคลอด ขอกล่าวถึงสภาพการเป็นอยู่ของชาวบ้านในชนบทและภูมิประเทศสักเล็กน้อย ครั้งนั้นราว ๆ ประมาณ ๒๐๐ ปี บ้านเมือง ตามชนบท คงยังไม่เจริญ ผู้คนยังไม่หนาแน่น การคมนาคมยังไม่สะดวก การครองชีพของ ชาวพื้นเมือง อาศัยการทําไร่เป็นส่วนใหญ่ มีการทํานาและค้าขายบ้างตามสภาพของฐานะของ แต่ละคน อาทิเช่น ผู้ยากจน ครองชีพด้วยการทําไร่เคลื่อนที่ ผู้มีอันจะกินอาศัยการทํานาและค้าขาย การค้าขายของชาวชนบท ครั้งนั้นยังนิยมการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน สําหรับครอบครัวที่ยากจน เช่น เอาผ้าฝ้าย หรือด้าย แลกเปลี่ยน กับข้าวบ้าง หรือของอื่น ๆ ตามความพอใจ หมายความว่า การใช้เงินตรานั้นก็มีอยู่ หากแต่เป็นความ นิยมของชาวชนบท สำหรับแม่จันทร์ทิพย์เป็นครอบครัวที่ยากจนที่ทํามาหากินยังไม่เป็นหลักแหล่ง เช่น นา, สวน, ยังอยู่ใน สภาพที่ยังไม่ใช้กรรมสิทธิ์ ต้องอาศัยการทําไร่เคลื่อนที่ นัยว่าแม่จันทร์ทิพย์ไปทําไร่กับลูก ๆ อยู่เขตตําบลแม่จั๊วะทั้งๆ ที่ตั้งครรภ์ เพราะความจนบังคับให้จําต้องทํา การไปทําไร่ ก็อพยพครอบครัวไปอยู่กับไร่เลย และคงมีไปหลายครอบครัว ในท่ามกลางความสงบเงียบของชาวไร่ ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบและ เอมอิ่มในพืชผลที่ตนจะได้รับในเวลาอันไม่กี่เดือนนั้น ก็ปรากฏการณ์เหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวเกิดขึ้นในยามดึก ขณะที่พวกชาวไร่หลับนอนพักผ่อนเอาแรงเพื่อรับกับงานขุดดินและดายหญ้าตามประสาชาวไร่ ที่จําต้องอดทนและตรากตรําตลอดวันไม่พรั่นพรึงต่อสภาพของดินฟ้าอากาศ ว่าจะร้อน, หนาว หรือเปียกปอน เพราะฝนพรําน้ำค้างพรมตามวิสัยชาวไร่ชาวนา พอตะวันรุ่งสางลูกชายแม่จันทร์ทิพย์ลุกขึ้น เพื่อหุงหาอาหารและเตรียมการรับกับงาน ในไร่ ก็ต้องตกใจเพราะไม่เห็นแม่ซึ่งมีครรภ์แก่ใกล้คลอด ก็ยังความประหลาดใจว่าแม่ทําไมจึงลงไปแต่เช้า หรือว่าแม่เราลงไปทํากิจส่วนตัวดั่งเคย พอตะวันสายขึ้น ข้าวที่นึ่งก็สุกผ่านไปแล้ว แม่ก็ยังไม่กลับมา จึงลงไปตามหาก็เอะใจที่ไปเห็นรอยเสือลากเหยื่อเป็นทางเข้าป่าไป ก็รู้ได้ตามวิสัยว่าอย่างไรเสียแม่คงเป็นเหยื่อของเจ้าสัตว์ร้ายแน่ ๆ จึงร้องไห้เอะอะโวยวายขึ้นเสียงอื้ออึงไปถึงเพื่อนชาวไร่ก็มาไต่ถาม พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วก็จัดแจงแยกย้ายกันค้นหา บ้างก็เข้าป่า บ้างก็มาบ้านเพื่อแจ้งข่าวร้ายให้เพื่อนบ้านและญาติพี่น้องทราบ แล้วก็ออก ติดตามกันเป็นหมู่ ๆ แกะรอยเสือไปอย่างระมัดระวัง ก็ได้พบสมใจนึก ณ ที่ยอดเขาแห่งหนึ่ง เรียกสถานที่นั้นว่า “ดอยห้วยหีบ” (ชาวบ้านว่าห้วยหีต) เพราะมีหิน มีสัณฐานดังหีบตั้งอยู่ในราวป่าเขตเดียวกัน (หินมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ) ขณะไปพบยังได้เห็นเสือร้ายเฝ้าแม่จันทร์ทิพย์อยู่โดยไม่ทำอันตรายแต่ประการใด พอคนไปหาเจ้าพยัคฆ์ก็หนีเข้าป่าไป โดยไม่คิดต่อสู้หรือแสดงอาการหวงแหน ในเหยื่อของตนอย่างเสือทั่วไป ยังความสนเท่ห์ใจให้แก่คณะติดตามเป็นอย่างยิ่ง แม่จันทร์ทิพย์สิ้นสติสมประดีอยู่ จึงช่วยกัน ปฐมพยาบาล ส่วนทารกน้อย ๆ ที่ซึ่งคลอดนั้นก็ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ตรงกันข้ามกลับมีสุขภาพสมบูรณ์และสะอาดหมดจดเพราะเสือลิ้มไขมันจนหมด ดุจนางผดุงครรภ์ชำระล้างแล้วก็ปานกัน เขาจึงตัดไม้ไผ่มาทำกะแทะหามแม่ลูกกลับเข้าบ้านไปเลย ข่าวนี้ยังความอัศจรรย์ให้ชาวบ้านคิดและเล่ากันติดต่อมาจนบัดนี้ ข่าวนี้ดังมากไปทั่วเมืองแพร่ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้พวกหนังสือพิมพ์คงเป็นข่าวกันเกรียวกราวในเรื่องราวที่แปลก จึงมีผู้คนจำนวนมากมาดูเด็กน้อยที่บ้านแม่จันทร์ทิพย์ มารดาของครูบา ราวกับว่ามีงานปอยหลวง หรือ งานบุญใหญ่ และมีพระสงฆ์ องค์เณร มาชื่นชมบารมีของทารกน้อยด้วย เพราะเชื่อว่าต๋นบุญ หรือ ผู้มีบุญมาเกิดแล้ว เสือที่คาบไปชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเสือเทวดา พาผู้มีบุญบริสุทธิ์ ไปเกิดที่สูง บนยอดเขาศักดิ์สิทธิ์ นามว่าห้วยหีต ซึ่งเป็นที่อยู่ของเสือทั้งหลาย และ มีหินหลวงรูปหัวใจปรากฏอยู่บนยอดดอยนั้น (ปัจจุบันก็ยังมีปรากฏอยู่ และ หลวงปู่ครูสมจิต นักบุญแห่งวัดสะแล่ง ได้ไปสร้างเจดีย์ เป็นอนุสรณ์สถานที่แห่งการเกิดของครูบามหาเถร ไว้ ณ ที่นั้น) และพระมหาเถรานุเถระทั้งหลาย จึงได้ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ รับขวัญ สืบชะตา ให้กับทารกน้อย และบิดา มารดา ญาติพี่น้อง ของทารกน้อย เพื่อเป็นสิริมงคลต้อนรับทารกผู้มีบุญ พระสงฆ์ที่มาเป็นประธานทำพิธี ซึ่งเป็นเจ้าอารามวัดสูงเม่น จึงได้ตั้งชื่อให้ว่า “ปอย” อีกเห็นประการหนึ่งที่ตั้งชื่อว่า ปอย เพราะผมของเด็กน้อยเป็นปอย ๆ คล้ายกับผมหยิกงอของผมวิทยาศาสตร์ ที่คัดแปลงขมวดเป็นขอด ๆ แต่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า “ปอยเสียลาก” และ ครูบาเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น ได้กล่าวไว้ว่าต่อไป ทารกน้อยนี้ จะเป็นผู้ประกาศธัมม์ตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบไป
 
'''๒.๒ การศึกษา'''
เด็กชายปอย เจริญวัยพอควรแก่การศึกษาก็ได้ละทิ้งแม่และพี่ชายไปอาศัยอยู่ วัดสูงเม่น ไม่เจริญรอยตามแม่ จนแม่เข้าใจว่าลูกไม่เอาถ่าน จึงปล่อยไปตามเรื่อง การศึกษา สมัยนั้นไม่มีการบังคับกัน แต่เด็กชายปอยสนใจเรียนด้วยตนเอง จึงถวายตัวเป็นศิษย์วัดสูงเม่น ใครเป็นอาจารย์ผู้สอน ไม่ปรากฏ แต่ปรากฏว่าตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง ผิดกับรุ่นเดียวกัน วัดสูงเม่น ขณะนั้นใครเป็นเจ้าอาวาส ไม่ทราบเหมือนกัน วัดสูงเม่นเป็นวัดเก่าแก่ของ อําเภอสูงเม่น จนมีคําพังเพยว่า วัดกกวัดเก่าวัดครูบาเจ้ามหาเถร คงตั้งมานานประมาณ ๒๐๐ กว่าปี การศึกษาอักขระก็เป็นอักขระพื้นเมืองซึ่งเป็นภาษาบาลี มีสระ ๘ ตัว พยัญชนะ ๓๓ ตัว เด็กชายปอยมีความอุตสาหะและใฝ่ในการศึกษา ทั้งการเขียนหนังสือ ก็งดงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งมีมารยาทเรียบร้อยยังความพอใจให้แก่ครูบาอาจารย์ และผู้คนทั่วไป ที่กล้ากล่าวได้อย่างภาคภูมิว่า ครูบามหาเถรเขียนหนังสือสวยก็เพราะมีคัมภีร์ในใบลานปรากฏ มากมายใน หอพระไตรปิฎก ที่วัดสูงเม่น ส่วนเด็กชายปอยเป็นศิษย์วัดอยู่ถึงอายุควรแก่การบรรพชา จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรน้อย ๆ อยู่วัดสูงเม่น
 
'''๒.๓ การบรรพชา'''
เด็กชายปอยคงจะบรรพชาราว ๆ ปี พ.ศ. ๒๓๓๔ ประมาณอายุ ๑๒ ปี ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สามเณรปอยตั้งหน้าเรียนพระปริยัติธรรม จนมีความรู้ดี สมกับคําว่าบวชเรียน นอกจากจะศึกษาด้านอักขระแล้ว ท่านยังเรียนช่าง เช่น ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างแกะสลักลวดลายและการก่อสร้างไปด้วย เพราะสมัยนั้นถือว่าวัดเป็นวิทยาลัย ดังนั้นช่างต่าง ๆ สมัยก่อนจึงสําเร็จไปจากวัด เมื่อสามเณรปอยจบการเรียนและการศึกษาในวัดสูงเม่นแล้วจึงเดินทางไปเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และ กรรมฐาน ที่สํานักเรียนวัดศรีชุม อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ประมาณอายุ ๑๘ ปี ราว พ.ศ. ๒๓๔๐ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ นั่นเอง
 
'''๒.๔ การอุปสมบท'''
ก่อนอื่นขอกล่าวถึงวัดศรีชุม เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดแพร่ เดิมเรียกว่า วัดฤาษีชุม หมายความว่าเป็นที่ชุมนุมของนักพรต ต่อมาสําเนียงเพี้ยนไปเป็นศรีชุม การที่รู้ว่า วัดนี้เป็นวัดแรกอาศัยประเพณีกินข้าวสลากในเมืองแพร่ วัดใดจะกินข้าวสลากก่อนไม่ได้เขาถือเป็นธรรมเนียมว่าวัดศรีชุมต้องกินข้าวสลากก่อนเขาทั้งหมด เว้นแต่ว่าวัดศรีชุมจะงดข้าวสลากเสียเท่านั้น วัดอื่นจึงกินกันตามลําดับ นี่ก็ส่อแสดงถึงความเคารพนับถือกันสมัยก่อน ๆ ถือกันมากเรื่องนี้ มาสมัยนี้ ชักจะเลือนหายไป สมัยนั้นวัดศรีชุมเป็นสถานศึกษาปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม คือมีการศึกษา ๒ อย่าง คือวิปัสสนาธุระ ๑ และคันถธุระ ๑ เพราะมีคณาจารย์มาก
เจ้าอาวาสชื่อ อุตฺตมา หรือเรียกว่า ครูบา อุตฺตมา เป็นพระอาจารย์ที่เคร่งครัดทั้งระเบียบวินัยตลอดจนการศึกษาทั่วไป ก่อนหน้าที่สามเณรปอย แห่งวัดสูงเม่นจะไปศึกษาต่อนั้น ครูบาอุตฺตมา ฝันว่ามีช้างเผือกเชือกหนึ่งลักษณะดุร้ายคล้ายช้างตกมัน เดินเข้าวัดมา แล้วเอางวงหักต้นตาลอ่อน ๆ มาเคี้ยวกินหมด ใช่แต่เท่านั้น ยังทําการพังหอพระไตรปิฎกและกําแพง แล้ววิ่งแปร๋นเข้าไปจะพังกุฏิ พอดีสะดุ้งตื่นขึ้น ด้วยความตกใจ ท่านคิดทบทวนความจําในฝันนั้นก็พอทราบว่าเป็นนิมิตดี พรุ่งนี้คงมีคนสําคัญมาหาเป็นแน่ ท่านมั่นใจในฝันนั้น แจ้งมาแล้วท่านได้สั่งพระภิกษุสามเณรลูกศิษย์วัดว่า ทุกคนห้ามออกไปเที่ยวนอกวัดโดยไม่จําเป็น แล้วสั่งให้ จัดสถานที่คอยรับแขก และทําความสะอาดบริเวณวัด เฉพาะท่านนั่งคอยอยู่จนกระทั่งสายจนเที่ยงไม่มีวี่แววว่าจะมีผู้ใดมาหา พอตะวันบ่ายไปก็มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งเดินเข้าวัดมา สามเณรนั้นก็ตรงขึ้นกุฏิท่านไปกราบแทบเท้า ท่าทางของเณรนั้นเรียบร้อยไม่ประหม่าเขอะเขินสะทกสะท้านต่อบุคคลและสถานที่ ทั้งพูดจาพาทีก็ฉะฉาน แสดงความเป็นผู้ฉลาดออกมาให้เห็น และแนะนําตนเองว่า ตนชื่อปอย มาจากวัดสูงเม่น หนใต้เวียง มาเพื่อขออาศัยเรียนพระปริยัติธรรม ท่านก็รับไว้เป็นศิษย์ จากผลการศึกษาในปีการศึกษานั้น สามเณรปอยเป็นผู้ตั้งใจเรียน และเรียนได้ดีทั้งสองอย่าง คือ ด้านวิปัสสนาและคันถธุระ ทั้งมีความสุภาพเรียบร้อย เป็นที่ชอบพอของครูและเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกัน และ ยังเป็นสามเณรนักเทศน์ ที่ พระยาเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่ ลำดับที่ ๒๓ และ พระชายา รวมถึง พระราชโอรสของเจ้าเมือง คือ ท้าวอินทวิไชย (ต่อมาคือ พระยาอินทวิไชย เจ้าเมืองแพร่ ลำดับที่ ๒๔) ตลอดถึงข้าราชบริวาร และ คณะศรัทธาประชาชน ต่างให้ความนับถือเป็นอันมาก เพราะ เทศน์ได้เสียงดังฉะฉาน และ อธิบายธรรม ได้เข้าใจง่ายดี พออายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบท ณ ที่วัดศรีชุมนั่นเอง ราว ๆ ปี พ.ศ. ๒๓๕๒ ในปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับฉายาว่า กัญจะนะภิกขุ โดยมีครูบาอุตตมะ เป็นอุปัชฌาย์ และ มีเจ้าหลวงเมืองแพร่ และ พระชายา เป็นโยมอุปถัมภ์การบวช และ ได้อยู่อุปัฏฐากอุปัชฌาย์โดยการช่วยสอนนักเรียนรุ่นน้อง ๆ อยู่ ๒ พรรษา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดศรีชุม จากนั้น ได้มีโอกาสเดินธุดงค์ และ ศึกษากรรมฐานกับครูบาอาจารย์ในสำนักป่าหลายที่ในเมืองแพร่ และ ในเขตล้านนา เชียงตุง และ เมืองต่าง ๆ ใกล้เคียง
 
'''๒.๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดสูงม่น'''
จนกระทั่งพรรษาที่ ๑๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๖๕ ครูบามหาเถร ก็ได้กลับมาอยู่ที่วัดสูงเม่น และ คณะศรัทธาได้กราบนิมนต์ครูบามาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ทั้งนี้สาเหตุหลักที่ครูบากลับมา จริง ๆ แล้ว เพื่อกลับมาปฏิบัติดูแลโยมแม่ท่าน เนื่องจากโยมบิดาของครูบาฯ คือ พ่อเฒ่าสุปินะ ได้ถึงแก่กรรม และโยมแม่ของครูบาฯ ก็ชราภาพมากแล้ว ส่วนพี่น้อง ๒ คน ก็มีครอบครัวทำไร่ อยู่ไกล ครูบามหาเถร จึงกลับมาอยู่วัดสูงเม่น เพื่อดูแลแม่ ได้อุปการะแม่โดยแบ่งอาหารบิณฑบาตให้แม่รับประทานทุกวันตลอดจนอายุของแม่ ดูแลเป็นอย่างดี จนกระทั่งโยมแม่ ของครูบาจากไปอย่างสงบด้วยโรคชรา ซึ่งในขณะที่อยู่วัดสูงเม่น ได้เปิดให้มีการสอนพระปริยัติ ทั้งธรรมและบาลี รวมถึง การปฏิบัติกรรมฐาน และ งานพุทธศิลป์มากมากมาย ประจำเมืองมานด่านใต้ (เมืองสูงเม่น) ทั้งนี้ มี พระยาอินทวิไชย (สมเด็จมหารัฏฐาธิบดี) เจ้าเมืองแพร่ ลำดับที่ ๒๔ และ แม่เจ้าสุพรรณวดี (อัครราชเทวีแม่เจ้าสุพรรณวดี) ให้ความอุปถัมภ์ วัดสูงเม่น และ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ครูบามหาเถร ดำเนินงาน ทั้งนี้ มีเจ้าน้อยศรีวิชัย ราชบุตรคนเดียวของ ของเจ้าเมืองแพร่ มาอยู่เป็นศิษย์เอกและช่วยงานหลวงปู่ ที่วัดสูงเม่นเป็นประจำ
 
'''๒.๖ ประกาศศาสนาครั้งแรก'''
เมื่อเสร็จภารกิจเรื่องโยมแม่แล้วครูบามหาเถร จึงได้ลาเจ้าเมืองแพร่ ไปศึกษาต่อบาลีมูลกัจจายน์และกัมมัฏฐานชั้นสูง ที่เมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ ประเทศพม่า จนจบการศึกษา ก่อนจะกลับมาทำหน้าเป็นเจ้าอาวาสวัดสูงเม่นอีกครั้ง ต่อมา ครูบามหาเถรมีความประสงค์ ที่จะออกประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา สร้างความมั่นคงทั้งทางโลกและทางธรรมให้เกิดขึ้นในดินแดนล้านนา เนื่องจากเห็นว่า ในดินแดนแห่งนี้ คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน มีเหลืออยู่จำนวนน้อยมาก บ้างถูกทำลาย บ้างอยู่กระจัดกระจาย ตามถ้ำบ้าง ในป่าบ้าง ทำให้พระสงฆ์ องค์เณร และศรัทธาประชาชน ไม่ได้มีโอกาสได้อ่าน ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งการที่ชาวพุทธย่อหย่อนต่อปริยัติ องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา จะทำให้มีผลต่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ ต่อไปจะทำให้พระพุทธศาสนาสูญหายไปในเขตดินแดนล้านนาและเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียง เช่นเดียวกับ ชมพูทวีป ตอนนี้ ความรู้พระไตรปิฎก และ ภูมิปัญญาทั้งหลายยังเหลือปรากฏอยู่ในคนอยู่ จึงเป็นเหตุให้ ครูบามหาเถร จึงมีความประสงฆ์ที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงในดินแดนแถบนี้ และประสงค์ให้เมือง ต่าง ๆ เกิดความสามัคคีธรรมในการสร้างความสัมพันธ์ทางรัฐศาสตร์ร่วมกัน เมืองต่าง ๆ ไม่ต้องมารบกัน และ ให้มาร่วมกันสร้างความมั่นคงของเมืองร่วมกัน ผ่านวิธีการสร้างคัมภีร์ธัมม์ทางพระพุทธศาสนาถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ ครูบามหาเถร จึงไปเริ่มประกาศธรรม ครั้งแรกที่เมืองหลวงของล้านนา คือ นครเวียงพิงค์ เชียงใหม่ โดยไปเริ่มที่ วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นที่พำนักของ พระมหาราชครู สังฆราชเมืองเชียงใหม่ ทำทีไปขอศึกษากัมมัฏฐานที่วัดแห่งนี้ โดยมี พระมหาราชครู เป็นเจ้าอาวาสและ เจ้าสำนักอยู่ที่นี่ แต่จากการที่ได้สนทนากันแล้ว ระหว่างพระมหาเถระทั้งสองรูป ปรากฏว่า พระมหาราชครู กลับแสดงความเคารพ ครูบามหาเถร เพราะมีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่แตกฉานมาก ทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงได้ไปรายงานกับ เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ ว่า บัดนี้ ได้พบต๋นบุญ ต๋นใหม่แล้ว มาจากวัดป่าสุ่งเหม้น เมืองแป้ (วัดสูงเม่น จ.แพร่) ขอให้ท่านเจ้าหลวง ได้อาราธนาให้ครูบามหาเถร เมืองแพร่เป็นประธานสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก สถิตไว้ประจำเมืองเชียงใหม่ เพราะหาโอกาสยากมากที่จะสร้างธัมม์ ต้องรอให้มีต๋นบุญปรากฏและ เป็นประธานนำสร้างเจ้าเมืองเชียงใหม่ทราบเรื่องจึงมีความปิติใจยิ่งนัก เพราะมีความประสงค์ที่จะสร้างบุญใหญ่ คือ สร้างธัมม์พระไตรปิฎก ไว้ในดินแดนล้านนาอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถหา พระอริยสงฆ์ที่จะมาเป็นประธานสร้างได้ บัดนี้ได้พบครูบามหาเถรแล้ว และ ได้รับรองโดย พระมหาราชครู ซึ่งเป็นพระโหราจารย์ประจำพระองค์ด้วย จึงได้กราบอาราธนาครูบามหาเถรเมืองแพร่ ให้เมตตาเป็น เจ้าอาวาส ณ วัดพระสิงห์หลวง เชียงใหม่ เพื่อเป็นประธานสร้างธัมม์ พระไตรปิฎกสืบไป ครูบามหาเถร จึงได้เริ่มประกาศธรรม อย่างเป็นทางการที่ วัดพระสิงห์หลวง เมืองเชียงใหม่ ผ่านการเป็นประธานสร้างคัมภีร์ธัมม์พระไตรปิฎก โดยมีพระมหาราชครู สังฆราชเชียงใหม่ ร่วมกันสร้าง พร้อมกับพระมหาเถรานุเถระ บัณฑิต นักปราชญ์ทั้งหลาย มาร่วมกันแต้มเขียน จารธัมม์ ร่วมกับ ครูบามหาเถร ทั้งนี้ มี เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นประธานอุปถัมภ์การสร้าง ใช้เวลานานกว่า ๘ ปี เพราะมีคัมภีร์ใบลานหลายแห่ง ที่ถูกนำไปเก็บซ่อนไว้หลายที่ ในช่วงบ้านเมืองล้านนาไม่สงบด้วยภัยสงคราม บ้างก็อยู่ในถ้ำ เช่น ถ้ำปูคะขะ ที่เจ้าหัวเวียงแก้วนำไปซ่อนไว้ ยามบ้านเมืองมีภัย ซึ่งทางพระมหาราชครูดำเนินการประสานกับเจ้าหลวงพุทธวงศ์ ได้ประกาศให้ข้าราชบริวาร ได้ไปร่วมค้นหาและนำออกมาร่วมชำระในครั้งนี้ด้วย การสร้างธัมม์ ที่เชียงใหม่ จึงใช้เวลาหลายปีพอควร เพราะเป็นครั้งแรกของล้านนา หลังจากที่ไม่ได้สร้างคัมภีร์ธัมม์พระไตรปิฏกมากว่า ๒๐๐ ปี เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย เจ้าหลวงพุทธวงศ์ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ถวายบูชายกยอแก่ ครูบามหาเถร ขึ้นเป็น “ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถรเจ้า” อันเป็นปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทย หลังจากทีล้านนาเป็นเอกราชจากพม่า คือ ได้รับการยกยอเป็นครูบารูปแรกในสมัยที่ อาณาจักรล้านนาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามประเทศ ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ทั่วไปว่า ครูบามหาเถร ได้เป็นประธานนำบูรณปฏิสังขรณ์ หอไตรวัดพระสิงห์หลวง ก่อนที่จะนำคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานล้านนาทั้งหมด อัญเชิญมาไว้ที่วัดสูงเม่น เมืองแพร่ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของ ครูบามหาเถร เพื่อเป็นศูนย์การทางการศึกษาพระพุทธศาสนา ประจำล้านนา เป็นเกียรติประวัติบูชาคุณพระมหาเถระที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนา
 
'''๒.๖ ขยายผลการเผยแพร่ธัมม์'''
เมื่อการสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกล้านนา เป็นอันประสบความสำเร็จที่ เชียงใหม่ อันเป็นเมืองหลวงของล้านนา และเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้รับรองและให้ความนับถือแก่ครูบามหาเถรเมืองแพร่อย่างมาก จึงเป็นปฐมบทของการที่เจ้าเมืองต่าง ๆ ทั่วล้านนาจึงอยากสร้างคัมภีร์ธัมม์พระไตรปิฎกบ้าง เพื่อรับบุญใหญ่ประจำเมือง โดยเริ่มจาก เมืองน่าน พระยามหายศ เจ้าเมืองน่านได้กราบอาราธนาไปเป็นประธานสร้างคัมภีร์ธัมม์พระไตรปิฎกที่ วัดช้างค้ำ เมืองน่าน ในช่วง พ.ศ.๒๓๗๗ – ๒๓๗๘ โดยมีเจ้าเมืองน่าน และ เจ้าเมืองแพร่ พระยาอินทวิชัย ร่วมเป็นประธานผู้อุปถัมภ์ เมื่อสร้างเสร็จและมีการฉลองสมโภชคัมภีร์เรียบร้อย ทางเจ้ามันธาตุราช เจ้าราชวงศ์นครหลวงพระบาง จึงได้กราบอาราธนาต่อ โดยเป็นประธานสร้างที่ วัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ.๒๓๗๙ โดยมีเจ้าราชวงศ์ หลวงพระบาง เป็นประธานอุปถัมภ์
 
'''๒.๗ เมืองคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์'''
คัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งหมดทั้งจากเมืองหลวงพระบาง และ เมืองน่าน ได้ถูกอัญเชิญมาไว้ที่เมืองแพร่ วัดสูงเม่น ทั้งหมด เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา (ตักศิลา) ประจำเขตล้านนาไทย และ ล้านช้าง หลวงพระบาง เมืองแพร่ จึงถือว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ เป็นเมืองพระธัมม์ เป็นเมืองแห่งการศึกษาทางพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในแถบดินแดนล้านนา และล้านช้างหลวงพระบาง เมื่อคัมภีร์ทั้งหมดจากเมืองหลวงพระบาทและ เมืองน่านมาถึงที่วัดสูงเม่น ซึ่งทางเจ้าเมืองหลวงพระบางและเมืองน่านได้ร่วมถวายปัจจัย และให้ช่างฝีมือดี เดินทางมากับขบวนธัมม์ด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกับทางเมืองแพร่ ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วิหารหลวงวัดสูงเม่น
 
'''๒.๘ บูรณะวิหารหลวงสมโภชเมืองธัมม์'''
ราวปี พ.ศ.๒๓๘๐ มีการบูรณะวิหารหลวงวัดสูงเม่น โดย แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๓๘๑ ในการบูรณะดังกล่าว มีทั้งเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองน่าน และ เจ้าเมืองแพร่ ให้การอุปถัมภ์ และ ทางเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ได้ส่งช่างฝีมีอดี และ ปัจจัยร่วมบูรณะด้วยถวายบูชาครูบามหาเถร ด้วย เมื่อบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีการทำสัญลักษณ์ร่วมกัน ไว้ที่หน้าบันเหนือประตูทางเข้าวิหารหลวงซ้าย-ขวา คือ บนบานประตูเข้าวิหารฝั่งทิศตะวันตก เป็นรูปช้างสามเศียร สัญลักษณ์ล้านช้าง และ บนบานประตูฝั่งซ้าย เป็นรูปครุฑ อันหมายถึง ล้านนาไทย ส่วนด้านบนหน้าบันใหญ่วิหาร เป็นรูปนาคีเกี้ยวพัน อันเป็นสัญลักษณ์ความสามัคคี ร่วมมือกันในการยกยอพระพุทธศาสนาและความมั่นคงแห่งรัฐร่วมกันโดยธรรม ส่วนวิหารหลวง ได้ใช้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้มีการฉลองสมโภชคัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งหมด ทั้งจากเมืองเชียงใหม่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง และ เมืองแพร่
ตลอดถึงคัมภีร์ภูมิปัญญาอื่น ๆ ที่พระมหาเถรานุเถระ บัณฑิต นักปราชญ์ ศรัทธาประชาชน ในทั่วเขตล้านนา ที่รู้ข่าวว่าจะมีการฉลองสมโภชน์คัมภีร์ และมีการถวายคัมภีร์ (ตานธัมม์) หลายท่านจึงอยากร่วมบุญกับครูบามหาเถร ต้องการที่จะมาถวายคัมภีร์ธัมม์ (ตานธัมม์) กับครูบามหาเถร ที่วัดบ้านเกิดของครูบามหาเถร จึงได้นำคัมภีร์ที่จารเองบ้าง จ้างคนอื่นจารบ้าง มาร่วมถวายที่วัดสูงเม่น เพื่อให้ทันในวันประกอบพิธีฉลองสมโภชน์คัมภีร์พระไตรปิฎกที่วิหารหลวงวัดสูงเม่น เพราะการได้ถวายคัมภีร์ธัมม์ ถือว่ามีอานิสงส์อย่างมาก ยิ่งได้ถวายกับพระอริยสงฆ์ นับถวายเป็นบุญยิ่งใหญ่มหาศาล เพราะช่วงนั้น ครูบามหาเถร มีชื่อเสียงอย่างมาก คนทั่วล้านนา อยากจะได้ชื่อชมบารมี และ ถวายธรรมทานกับครูบามหาเถรสักครั้งในชีวิต
หลังจากที่มีการฉลองสมโภชคัมภีร์ทั้งหมดเรียบร้อย จึงทำให้ วัดสูงเม่น เป็นวัดที่มีคัมภีร์ใบลานอักษรล้านนามากที่สุดในโลก คัมภีร์ทั้งหมดเป็นตำราเรียนชั้นยอด วัดสูงเม่น ถูกสถาปนาให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาพระพุทธศาสนา และ ภูมิปัญญาต่าง ๆ ประจำเขต หัวเมืองล้านนา และ ล้านช้างหลวงพระบาง เปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยประจำล้านนา ในแต่ละปี เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็จะส่งพระสงฆ์ และ ประชาชน มาศึกษาที่นี่ เพื่อกลับไปสร้างบ้านสร้างเมืองของตน
 
'''๒.๘ เดินสายสร้างธัมม์'''
ต่อมา เมืองต่าง ๆ ในล้านนา เช่น ตาก เชียงราย ลำปาง ลำพูน เป็นต้น จึงได้กราบอาราธนาครูบามหาเถรไปสร้างธัมม์ไว้ประจำเมืองนั้น ๆ ทั่วล้านนา เพื่อเป็นสิริมงคลประจำเมือง เพราะคนโบราณบอกไว้ว่า การสร้างคัมภีร์ธัมม์ เป็นการสร้างยากที่สุดในโลก และบ้านไหน เมืองไหน มีการทำบุญสร้างพระไตรปิฎกเป็นทาน หรือ รักษาคัมภีร์ธัมม์ไว้เป็นอย่างดี บ้านนั้น เมืองนั้นจะมีแต่ความเจริญ สงบร่มเย็น ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล คนในเมืองนั้นจะอยู่ด้วยกันอย่างไม่อัตคัดขัดสน ครูบามหาเถร จึงได้เดินทางไปทั่วล้านนา โดยมีเจ้าเมืองต่าง ๆ เป็นผู้อุปถัมภ์การเดินทาง จึงได้รับความสะดวกในการเดินทางหลายวิธี ทั้งทางบก และ ทางน้ำ จึงเป็นเหตุให้มีลูกศิษย์อยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ทั้งระดับเจ้าเมือง อุปราช พระสงฆ์ บัณฑิต นักปราชญ์ และ ศรัทธาประชาชน ต่อมา ในราว ปี พ.ศ.๒๓๘๒ ครูบาหาเถร และ คณะได้มีโอกาสไปเยือนพม่าอีกครั้งหนึ่ง ทางเส้นทางแม่สอด เมืองระแหง (จ.ตาก) ตามคำกราบอาราธนาของเจ้าเมืองรัฐมอญพม่า ได้ปฏิบัติศาสนากิจหลายที่ และ มีนำชาวพม่าสร้างธัมม์ และ ไปนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา หลายแห่งทั้งในรัฐมอญ และ ในเมืองย่างกุ้ง รวมถึงหลายเมืองในพม่า เช่นพระธาตุชเวงดากอง พระธาตุอินทร์แขวน เป็นต้น ก่อนจะกลับ พระชายาเจ้าเมืองรัฐมอญพม่า ได้ถวายผ้าห่อคัมภีร์แบบผ้าพิมพ์ลายของอินเดียมาหลายผืน ส่วนเจ้าเมืองพม่า รัฐมอญ ได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ครูบามหาเถร จึงได้อัญเชิญเม็ดพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุของอรหันต์มาเป็นจำนวนมาก โดยใส่ในพระพุทธรูปไม้ ที่ครูบามหาเถรได้ทำไว้เป็นพิเศษ นำกลับมาเมืองแพร่ และ มามอบให้กับ พระยาอินทวิไชย เจ้าหลวงเมือแพร่
 
'''๒.๙ ทูลถวายพระบรมสาริกธาตุ'''
ในปี พ.ศ.๒๓๘๒ ในปีเดียวกัน ต่อมา เจ้าหลวงอินทวิไชย พร้อมกับ ครูบามหาเถร และ คณะ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาถวายรายงาน และ ทูลถวายแก่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ ๓ ณ พระบรมมหาราชวัง โดยมี พระอาจารย์ พระมหาโต พรหมรังสี (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต) แห่งวัดระฆัง ซึ่งเป็นสหายธรรมกับครูบามหาเถร ได้เมตตาเป็นธุระอำนวยความสะดวกให้ครูบามหาเถร จัดการโดยให้พำนักปฏิบัติกรรมฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์อยู่หลายเดือน (ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร) และ ได้พาครูบามหาเถร และ คณะ เข้าเฝ้า ในหลวงรัชกาลที่ ๓ และ ได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระองค์ แต่พระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาเมืองแพร่ เพื่อให้เป็นที่สักการะมิ่งมงคลแก่เมืองแพร่สืบไป และ ต่อมา เจ้าเมืองแพร่ และ ครูบามหาเถรจึงได้ หาสถานที่ที่เหมาะสมในการนำพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุสร้างเจดีย์ และ ได้เลือกที่วัดมหาโพธิ์ อ.เมือง จ.แพร่ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เหมาะสมใกล้ลำน้ำยม อากาศเย็นสบาย จึงได้ทำการสร้างไว้ ณ ที่นี้ มาจนมาถึงปัจจุบัน
 
'''๒.๑๐ สร้างกังสดาลหลวง ไว้ หริภุญชัย'''
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๐๒ ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร ได้กลับมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดพระสิงห์หลวง เชียงใหม่อีกครั้ง ตามคำกราบอาราธนาของ เจ้าหลวงกาวิโรรส เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ และ ในปี พ.ศ.๒๔๐๓ ปีวอก ได้ร่วมกับ เจ้าหลวงกาวิโรรส เป็นประธานสร้างระฆังกังสดาลหลวง ณ วัดพระสิงห์หลวง และนำไปสถิตบูชาไว้ประจำวัดพระธาตุหริภุญชัย เมืองลำพูน อันเป็นพระธาตุประจำปีไก่ หรือ ปีระกา ซึ่งเป็นปีเกิดของ ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร อันมีตัวอักษรไทยเหนือแบบฝักขามจารึกข้อความบนหละกังสะดาลนี้ว่า “สร้างหละกังสะดานหน่วยนี้ แต่เมื่อศักราชได้ ๑,๒๒๒ ตัว ปีกดสัน เดือน ๙ ออก ๓ ค่ำวันอังคาร หล่อกันจะนะมหาเถรเจ้า วัดป่าเมิงแพร่ เป็นเค้าแก่สัทธาภายใน เจ้าหลวงเมิงเจียงใหม่เป็นเค้าแก่สัทธาภายนอก พร้อมสร้างหล่อในวัดพระสิงห์ เวียงเจียงใหม่ มาไว้เป็นเครื่องปูจาทานกับพระธาตุเจ้า อันตั้งไว้ในเมิงหริภุญชัยที่นี่ ๕,๐๐๐ พระวัสสาแล”
 
'''๒.๑๑ เมืองแพร่ เมืองธัมม์ ประจำล้านนา'''
หลังจากนั้นได้เดินทางไปสร้างธัมม์ และ จากริกแสวงบุญ โปรดญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหาอีกหลายที่ ทั่วล้านนา ล้านช้าง เชียงตุง และ เมืองพม่า และ ได้รับการถวายผ้าห่อคัมภีร์จากเมืองต่าง ๆ มาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่รัฐมอญ เมืองพม่า ได้ผ้าห่อคัมภีร์แบบพิมพ์ลายมาเป็นจำนวนมาก คัมภีร์ทั้งหมดจำนวนมหาศาล เจ้าเมืองทั้งหลายได้มีมติร่วมกันให้นำคัมภีร์มาไว้ที่ วัดบ้านเกิดครูบา คือ วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เพื่อสถาปนาให้เมืองแพร่ เป็นเมืองพระธัมม์ เมืองศักดิ์สิทธิ์ประจำล้านนา และ ล้านช้างหลวงพระบาง และเพื่อยกย่องครูบา
 
'''๒.๑๒ ตากธัมม์'''
สำหรับวิธีการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของที่วัดสูงเม่น ครูบาได้ใช้วิธีให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยการจัดเป็นงานประเพณีในการอนุรักษ์ คือ ประเพณีตากธัมม์ ในช่วงเดือน ๔ เหนือ หรือ เดือน ๒ ไทย ประเพณีที่มีการตรวจสอบสภาพคัมภีร์ ทำความสะอาด และ นำคัมภีร์มาตากแดดไล่ความชื้น ป้องกันเชื้อราที่จะไปทำลายตัวใบลาน ปริศนาธรรมของประเพณีนี้ คือ การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ด้วย ธรรมนั่นเอง ซึ่งประเพณีนี้ ครูบามหาเถร ให้ความสำคัญอย่างมาก ได้สั่งให้ลูกศิษย์เอกของท่านที่เมืองแพร่ คือ ครูบาคันธา วัดเหมืองหม้อ ให้ไปช่วยดูแลคัมภีร์ธัมม์ที่วัดสูงเม่น เนื่องจาก เป็นคัมภีร์ของทุกเมืองทั่วล้านนาและล้านช้างหลวพระบาง ถูกเก็บรักษาไว้ที่เมืองแพร่ ให้พาชาวสูงเม่น ตากธัมม์ ทุกปี ในช่วงเดือน ๔ เหนือ ส่วนครูบามหาเถร แต่ละปี ท่านได้ไปเป็นประธานนำตากธัมม์หลายที่ทั่วล้านนา และ ที่เมืองหลวงพระบาง
'''๒.๑๓ วาระสุดท้ายของชีวิต'''
บั้นปลายชีวิตของครูบามหาเถร ท่านตามรอยพระพุทธเจ้า คือปรารถนามาจำพรรษาอยู่ที่เมืองเล็ก ๆ ในป่า ไกลจากผู้คน เพราะท่านคิดว่าถ้ามรณภาพในเมืองใหญ่ เชียงใหม่ หรือ ที่บ้านเกิดเมืองแพร่ เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายในการแย่งกระดูกของท่านในภายหลัง เพราะท่านเป็นพระผู้ใหญ่ที่เจ้าเมืองทุกเมืองนับถือ และมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมากทุกระดับ ในบั้นปลายของชีวิต จึงเลือกไปอยู่ไกล ๆ ท่านจึงเลือก เมืองระแหง ณ วัดป่ามะม่วง หรือ วัดอัมพวัน อำเภอเมือง จังหวัดตากในปัจจุบัน เป็นที่จำพรรษา กว่า ๑๐ พรรษาในช่วงท้ายของชีวิต
และที่นี่ เมืองระแหง ครูบามีความปรารถนาจะสร้างคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกสถิตไว้ ประจำเมืองระแหง เพื่อให้พระพุทธศาสนาปักหลักมั่นคง ณ ดินแดงแห่งนี้ อันเป็นเมืองที่ท่านได้เดินทางมาจำพรรษาบ่อยครั้ง และ นำใบลานชั้นดีจากที่นี่ ไปจารธัมม์ ในเมืองอื่น ๆ ทั่วล้านนาและ ล้านข้างหลวงพระบาง แต่ ณ เมืองแห่งนี้ ยังไมได้สร้างคัมภีร์พระไตรปิฏกไว้ประจำเมืองนี้เลย เพราะต้องเดินทางไปสร้างที่เมืองอื่น ๆ หลายที่ เพราะท่านทราบด้วยสติดีว่า ท่านจะต้องมาจำพรรษาที่นี่อยู่แล้วในช่วงท้ายของชีวิต และ เป็นการตอบแทนชาวเมืองระแหง ที่ให้ใบลานแก่ท่าน และ ท่านได้มาจำพรรษาช่วงปลายของชีวิตที่นี่ และ อีกประการหนึ่ง ลูกศิษย์ของท่านอยู่ที่นี่มีมาก เจ้าเมืองระแหง และ ลูกศิษย์ท่านที่นี่ จึงหาสถานที่อันสัปปายะแก่การดำรงสมณะ จึงเลือก พื้นที่วัดป่ามะม่วง (วัดอัมพวัน) ใกล้กับแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ปัจจุบัน คือ วัดอัมพวัน ตำบลป่ามะม่วง.เมืองตาก จ.ตาก ให้เป็นที่จำพรรษาของหลวงปู่ครูบามหาเถร ส่วนภารกิจสร้างคัมภีร์ของท่าน ท่านจะข้ามแม่น้ำปิงมาที่วัดในเขตชุมชน ติดกับฝั่งแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก (บริเวณวัดพร้าว ต.หนองหลวง อ.เมืองตาก) เพื่อความสะดวกในการเดินทางของผู้มาร่วมสร้างร่วมอุปถัมภ์การสร้างคัมภีร์ธัมม์ โดยมีศิษยานุศิษย์ของครูบา ได้แก่ พระสงฆ์ทั้งหลาย และ เจ้าเมืองระแหง พร้อมคณะศรัทธาชาวบ้าน ได้ให้ถวายความอุปถัมภ์ท่านอยู่ ภารกิจของท่านสำเร็จไปได้ด้วยดี อันเป็นเมืองสุดท้าย ที่ท่านสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก ไว้ประจำเมืองนี้
หลวงปู่ครูบามหาเถร ได้จำพรรษาที่วัดป่ามะม่วงต่อ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ครูบามหาเถร ได้มรณภาพที่วัดป่ามะม่วง สิริรวมอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙ (ซึ่งเป็นวันเดือนกับที่ครูบาศริวิชัยเกิด) โดยชาวเมืองระแหงได้มีการจัดพิธีถวายเพลิงศพ ครูบาเจ้ามหาเถรอย่างสมเกียรติของสมณะ ผู้ประเสริฐ ณ บริเวณกลางลานวัดป่ามะม่วง โดยมีเจ้าเมืองระแหง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มีพระมหาเถรานุเถระและพระสงฆ์ พร้อมด้วยศรัทธาญาติโยมมาร่วมจำนวนมาก หลังจากถวายเพลิงศพเสร็จ ทางเจ้าเมืองระแหงพร้อมศรัทธาสาธุชน ได้สร้างอุโบสถครอบสถานที่ถวายเพลิงศพของครูบามหาเถร ส่วนอัฐิธาตุของครูบา ได้นำมาบรรจุสร้างพระธาตุเจดีย์ ใกล้กับอุโบสถ ณ วัดป่ามะม่วง เพื่อเป็นธัมมานุสรณ์ของครูบามหาเถร ปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทยสืบไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร เป็นบุคคลที่มีความกตัญญูกตเวที มีความอดทน และ เป็นผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สมควรได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลสำคัญของโลก ต่อไป
 
'''๓.ลักษณะพิเศษของครูบามหาเถร
๓.๑ แสดงความเป็นอัจฉริยะบุคคล'''
ครูบามหาเถรขณะแสวงหาศึกษาอยู่นั้น ท่านเป็นผู้มีความอุตสาหะ พยายามอย่าง ยวดยิ่ง ถ้าเราศึกษาแนวทางเดินของท่าน ๆ เดินจาริกเทศนาสั่งสอนไปทั่วภาคพายัพ และตะวันออก เช่น เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์ และ ไปถึงนครวัด เพราะมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์ใบลานที่ท่านเขียนส่อไว้ (จารึก) ว่าคัมภีร์ใดเขียนเมืองไหนก็มักจารึกไว้ในท้ายผูกของคัมภีร์นั้น ๆ ตามกิตติศัพท์เล่าลือว่า ท่านรู้แม้กระทั่งภาษานกและกา ตลอดจนรู้จักอุปนิสัยผู้คน ดังนั้นท่านจึงปรับตนเข้ากับคนได้ทั่วไปไม่เลือกชั้นวรรณะ ตามที่ผู้สันทัดเรื่องนี้คือตุ๊ลุงคัมภีรสาร วัดเหมืองหม้อ อําเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นศิษย์และหลานของครูบาคันธา (พระครูมหาญาณ) ได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังอย่างละเอียดว่า ที่ว่าครูบามหาเถรรู้คํานกคำหนูนั้น ครูบาคันธาศิษย์ หัวแก้วหัวแหวนของครูบามหาเถรเล่าให้ท่านฟังว่า มีหลายครั้งที่ครูบามหาเถรแสดงความรู้ภาษานก คือครั้งหนึ่งเดินทางในป่าระหว่างเชียงใหม่กับเวียงโกศัย ขณะเดินทางฤดูแล้งน้ำแห้งเกิดหิวน้ำกัน จึงพักนั่งเอาแรงอยู่ทั้งน้ำในกัณโฑ ที่ติดไปก็หมด พอดีมีนกเอี้ยงหมู่หนึ่งส่งเสียงร้องแล้วพากันบินหนีไป ครูบามหาเถรจึงบอกว่า คันธาเหย น้ำนั้นมีบ่ไกล ข้าได้ยินนกร้องไปโน้นแล้ว ครูบาคันธาจึงบอกให้พวกลูกหาบไปหาน้ำ ลูกหาบหรือผู้ติดตาม ไปหาน้ำตั้งนานไม่ได้น้ำ จึงมาบอก ครูบามหาเถรยังยืนยันว่ามี สั่งให้ครูบาคันธา นําลูกหาบไปเอา ครูบาคันธา ไป ก็ได้นํ้ามาสมใจอยาก ยังความยินดีให้แก่หมู่ศิษย์และผู้ติดตาม อีกครั้งหนึ่งเดินทางกลางป่าเช่นเดียวกัน มีกาฝูงหนึ่งพูดเสียงเจื้อยแจ้วแล้วบินหนี ครูบามหาเถรกล่าวว่าใครอยากได้เนื้อให้ขึ้นไปหาเถอะ เพราะข้าได้ยินกามันร้องว่าจะไปกินเหยื่อ ลูกหาบได้ฟังก็รีบไปก็ไปพบ ฟาน (เก้ง) ตัวหนึ่งนอนตายติดกอไม้อยู่ เพราะถูกสุนัขในกินตาเสียแล้ว จึงนําเอามาชําแหละเป็นเสบียงของคณะต่อไปยังความอัศจรรย์และเพิ่มความเคารพยําเกรงให้แก่หมู่ศิษย์และผู้ติดตามเป็นอันมาก อีกครั้งหนึ่งคราวเดินทางไปพม่า จากเมืองแพร่ไปทางเมืองตาก ไปตีนดอยลูกหนึ่ง ชื่อว่า ดอยผาวอ ตั้งอยู่ระหว่างเขตติดต่อพม่าและไทยในเขตเมืองตาก ซึ่งมีแม่น้ำเมยกั้นอยู่ พอไปถึงที่นั้นก็พอตะวันเย็นมากแล้ว จะยกข้ามไปคราวทางก็ยังไกลอยู่ จึงพักนอนแรมคืนที่ดินคอยผาวอ มีชายชาวไร่ ผ่านมาพบจึงเรียนว่า ควรไปพักใกล้ ๆ บ้าน เพราะแถวนี้มีคนหากินกลางคืนพลุกพล่านเกรงจะไม่ปลอดภัย แต่ครูบามหาเถรไม่ยอมไปเพราะได้ตั้งใจจะพักตรงนั้นแล้ว พอชายผู้มีความปรารถนาดีนั้นจากไป หมู่ศิษย์และลูกหาบบางคนก็เห็นด้วยกับคําที่ชายนั้นแนะนํา โดยเฉพาะครูบากิตติ เป็นคนหนึ่งที่พอจะสัพยอกกันได้ จึงเอ่ยชวนครูบามหาเถรทีเล่นทีจริงว่า พักนี้กลัวกั้นข้าวแต้เน้อ ครูบามหาเถรรู้ดีจึงตัดบทว่า ครูบากลัวขโมยก็เอาขนแข้งไป สักเส้นเต๊อะ ท่านไม่ต้องกลัวแล้ว ถ้ามีจริง ๆ เขาจะเอาขี้ผึ้งมาถวายแถมก่อน พอตกกลางคืนมีคนมาหา ๒ คนจริง ๆ มายืนอยู่ห่าง ๆ นับว่าเป็นข้างขึ้น ๙- ๑๐ ค่ำ เดือนแจ้งสลัว ๆ มีเมฆบัง บาง ๆ พอเห็นกันได้ ครูบามหาเถร จึงร้องทักทายว่า พ่อหนุ่มเฮ้ยไปมาจวนค่ำจวนมืดขอให้มาพักนอนนี้กับกันก่อนเต๊อะ หมู่นี้ก็มีแต่พระภิกษุสงฆ์ไม่มีเวรไม่มีภัยอันใด พอสิ้นเสียงพูดชายลึกลับก็หนีไป พอรุ่งเช้ามีคนเอาข้าวและขี้ผึ้งมาถวายให้จริง ๆ ยังความแปลกใจแก่หมู่ศิษย์ตามเคย พอได้แล้วจึงสั่งให้ครูบาคันธาสีเป็นเทียนเล่มหลวงได้คู่หนึ่ง บอกว่าจะเอาไปไหว้ธาตุย่านตะโก้ง (ย่างกุ้ง)
 
'''๓.๒ อภินิหารตอนนมัสการเจดีย์ย่างกุ้ง'''
ขณะไปถึงพม่าครั้งแรก ๆ ไม่มีใครสนใจบิณฑบาตก็ไม่ได้ จึงกลับมาฉันจังหันกับลูกหาบของท่าน วันต่อ ๆ มาก็บิณฑบาตได้บ้างแต่ไม่พอ เพราะไม่มีใครสนใจในท่าน เห็นจะเป็นเพราะท่านเป็นพระไปจากอโยธยา (พระไทย) ก็อาจเป็นได้ จึงไม่ค่อยมีใครสนใจท่านกลับจากบิณฑบาตมาแล้วก็พูดเปรย ๆ กับลูกหาบเป็นภาษาบาลีว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ กันเถอะ สูทั้งหลาย พอไปถึงวัดพระธาตุย่างกุ้ง ก็ยังไม่มีใครสนใจแม้แต่พระเจ้าวัด เพียงแต่ให้ที่พักเท่านั้น พอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ หลังจากฉันจังหันแล้วก็ไปสวดมนต์ไหว้พระ หมู่ศิษย์เลิกไปก่อน แต่ครูบา ยังนั่งบริกรรมภาวนาอยู่ในอาการสงบ อัศจรรย์ อะไรเช่นนั้นก็ไม่อาจจะหยั่งทราบได้ เกิดมีเสียงดังของกระดิ่งที่แขวนบนพระธาตุ ทั้ง ๆ ที่ห้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเมฆหมอก ยังความสนเท่ห์ใจแก่พระม่าน (พระมอญ ชาวพม่า) และชนชาวม่านที่อยู่ใกล้ ๆ นั้น พากันมาดูก็เห็นท่าน (พระไทย) ไปจากอโยธยารูปที่เคยเห็นกันเมื่อสองสามวันก่อนนั่งบริกรรมภาวนาอยู่ ก็เกิดความเคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก ต่างก็นําอาหารบิณฑบาตมาถวาย รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่นผ้าและสิ่งของมีราคาเป็นอันมาก ดังปรากฏว่าผ้าที่ห่อคัมภีรวัดสูงเม่นนั้นส่วนมากเป็นผ้ามาจากพม่า (ชาวมอญถวาย) และเม็ดพระอรหันตธาตุ ดังปรากฏในตํานานธาตุวัดมหาโพธิ์ ตําบล ป่าแมต อําเภอ เมืองแพร (ท่านจะได้อ่าน - ประวัติตอนท้ายเล่มนี้ ท่านอุไรเจ้าอาวาสกรุณาให้มา)
 
'''๓.๓ การเผยแผ่'''
ดังได้กล่าวแล้วว่าครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร เป็นพระผู้พหูสูตรมีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ทั้งมีคุณสมบัติทุกประการอันการเผยแผ่ของครูบามหาเถรนั้นมีทั้งเทศน์โปรด พุทธบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อมเสมอ ทางตรงคือการสั่งสอนพวกภิกษุที่ติดตาม เพราะท่านเป็น นักธุดงค์ ชอบธุดงค์ไปต่างถิ่น งานสอนท่านสอนกันตามทาง คือหยุดพักไหนก็สอนกันที่นั่น ถ้าพักวัดใน ระแวกบ้านก็เทศน์สอนชาวบ้าน และชาววัดไปตามลําดับ ทางอ้อม คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ เสมอ ๆ พักที่ไหนก็เขียนกันที่นั่น ผงฝอยใบลานก็เก็บรวบรวมเป็นแอ๊บ ๆ หรือตลับ (มีลักษณะคล้ายกระติบใส่ข้าวสุก แอ๊บข้าว) ไม่ยอมทิ้งแม้แต่ฝอยเดียว นัยว่าท่านสะสมเอาไป ทําพระพุทธรูปเกษร ครูบาเป็นนักเขียนแนวหน้าซึ่งหาผู้ทัดเทียมได้ยากคนหนึ่ง มีหลักฐานปรากฏ ที่วัดสูงเม่นมากมาย ทั้งการเขียนหนังสือก็ถูกที่อ่านง่าย ไว้ช่องเว้นระยะวรรคตอนได้ดีเยี่ยม ทั้งตัวก็สวยด้วย ท่านเขียนได้มากจนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ถวายช้างเป็นพาหนะก็เคยมีหลายครั้ง
'''๓.๔ การสาธารณูปการ'''
ครูบามหาเถรใช่ว่าจะเป็นเยี่ยมในทางขีดเขียนและเทศนาอย่างเดียวก็หาไม่ ท่านยังเป็นนักสถาปัตยกรรมที่เป็นหนึ่งเหมือนกัน ดังได้กล่าวไว้ตอนการศึกษานั้นแล้ว ว่าครูบาท่านศึกษาทุกอย่าง เช่นช่างหล่อ ช่างแกะสลัก และช่างก่อสร้าง หลักฐานมีมากแห่ง เช่น หล่อระฆังใหญ่ มีขนาดผ่าศูนย์กลาง ได้ ๙๐ นิ้ว หนา ๔ นิ้ว ไว้ถวายวัดพระธาตุหริพูนชัย จังหวัดลําพูน ยังปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้ และกังสะดาลระฆังขนาดเล็ก ๆ ในหอไตรวัดสูงเม่น ช่างแกะท่านได้แกะพระพุทธรูปไม้และงาไว้หลายองค์ อยู่วัดสูงเม่น ยังมีอยู่ขณะนี้ (๒๕๐๗) การก่อสร้าง ได้สร้าง วัดศรีดอก ตําบลหัวฝาย และวัดดอนแก้ว ตําบลน้ำชํา อําเภอสูงเม่น ทั้งยังได้บูรณะวัดสูงเม่น สร้างหอไตร วัดสูงเม่น แต่พระครูปัญญาวุฒิกร รื้อสร้างใหม่เพราะทรุดโทรมมาก นัยว่าที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่ ก็ได้บูรณะซ่อมแซมหอไตรและวิหารอีกด้วย
'''๓.๕ ตำแหน่งหน้าที่'''
คงเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดสูงเม่นมาแล้ว หรือบางที่อาจมีตําแหน่งหน้าที่อื่น ๆ อีก เราไม่อาจทราบได้ อย่างไรก็ดีข้าพเจ้า เชื่ออย่างยิ่งว่าคงมีตําแหน่งสักอย่างหนึ่ง หรือก็เป็นสมณศักดิ์ สังเกตได้จากชื่อเต็มของท่านที่ว่า ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร ฟัง ๆ ดูเป็นชื่อพระราชทานในสัญญาบัตร ถ้าพิจารณาในปฏิปทาของท่านจะเห็นว่าท่านไม่ค่อยยินดีในโลกธรรมเท่าไรนัก เพราะท่านชอบเดินธุดงค์จาริกไปในที่ต่าง ๆ เสมอ ๆ แม้กระทั่งมรณภาพก็ไปมรณะที่อื่น อันคําว่าครูบามหาเถร ๆ นั้น เป็นค่าร้องเรียกกัน แบบไทย ๆ คล้าย ๆ ศัพท์สมาส คือเรียกกันสั้น ๆ บางทีแม้ลายมือที่ท่านจารึกเองท่านก็จารึกว่ากัญจนภิกขุ ๆ อย่างนี้เสมอในคัมภีร์ต่าง ๆ (ชื่อเต็มที่ทราบมาได้ทราบจากวัดเหมืองหม้อ) การเรียกสั้น ๆ เป็นความนิยมของชาวเหนือทั่วไป เช่น ชื่อเขาเต็มๆ เช่นนางแก้วมาเฮือนมักเรียกว่านางแก้วมา หรือนางแก้วเฉย ๆ ก็มี เรื่องอย่างนี้มีตัวอย่างเยอะแยะไป ผู้ชายว่าประเสริฐ ก็มักเรียกเสิดเฉย ๆ เป็นต้น แต่หน้าที่อะไรก็ไม่สำคัญเทียมท่านได้ในหน้าที่ของพุทธชิโนรส อันปรากฏนามกระเดื่องในบวรพุทธศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
'''๔.คำสั่งสุดท้าย'''
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ท่านเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะตามแบบฉบับของ นักปฏิบัติที่ยิ่งยง ท่านได้สั่งครูบาคันธา ศิษย์คนโปรดไว้ว่า คันธาเหย อย่าละกองพระธรรมวินัยเน้อ วัดวาอารามไม้ก๋วงไม้ตั๋นและผ้าจีวรอัฏฐบริขารทั้งมวลหื้อไว้กับสูเจ้าหมู่ศิษย์ทุกคน ธาตุ ๑๒ ดวง ไว้วัดสูงเม่น กระดูกแม่ไว้วัดสูงเม่น กระดูกนายอินตาและหนานจันตา ๒ พี่น้องนี้ หื้อเอาก่อกู่ไว้ที่วัดดอนแก้วเน้อ ผู้คอยดูแลตามสั่ง ครูบาคันธาวัดเหมืองหม้อได้สั่งให้ภิกษุหนุ่มอีก ๒ รูป ซึ่งเป็น อันเตวาสิกของท่าน คือ ตุ๊ จวัณณะปละ ตุ๊ เต๋จ๊ะ วัดศรีดอกเป็นผู้ดูแลแทน พอถึงเวลากำหนดขวบปี เดือนยี่เหนือ ครูบาคันธาจะนำลูกศิษย์มาทำความสะอาดหอไตรวัดสูงเม่น พร้อมทั้ง พระสงฆ์ฝ่ายสูงเม่น เป็นประจำโดยได้ นำคัมภีร์ในหอไตรเอาออกมาผึ่งแดด ซึ่งทำเป็นประเพณีชื่อ ตากธัมม์ ตามรอยหลวงปู่ครูบามหาเถร สมัยที่หลวงปู่มีชีวิตอยู่ และ ได้ปัดกวาดเช็ดถูหอไตร แล้วเก็บบรรจุตามเดิม ซึ่งเป็นการตรวจสอบสิ่งของอีกด้วย กิจนี้ไม่เคยขาดเลย
ท้ายที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ขอบุญบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ บารมีหลวงปู่ครูบามหาเถร ได้ปกปักษ์รักษาให้ผู้ฟัง และ ผู้อ่านทุกท่าน จึงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม สิ่งใดที่ได้ตั้งจิตอธิฐานไว้ จักให้สมเร็จสมฤทธี มีนิพพานเป็นยอด ด้วยเทอญ แสดงธรรมมาก็สมควรแก่เวลา เอวังก็มีได้ประการละฉะนี้
 
 
'''เอกสารอ้างอิง'''
[[คัมภีร์ธรรมตำนานธัมม์ครูบามหาเถร]] : แต่งโดย ครูบาคันธา (พระครูมหาญาณสิทธิ์)
อดีตเจ้าอาวาสวัดเหมืองหม้อ ศิษย์เอกผู้ติดตามครูบามหาเถร
แต่งขึ้นในปีพุทธศักราช 2423 ในเมืองแพร่
คัมภีร์ธรรมชุมนุมสังคยนาธัมม์ครั้งที่ ๖: แต่งโดย เจ้าหลวงอินทวิไชย (อดีตเจ้าหลวงเมืองแพร่)
แต่งขึ้นในปีพุทธศักราช 2๓๘๑ ในเมืองแพร่
พระมหาฉัตรเทพ พุทฺธชาโต (พุทธชูชาติ). “ รูปแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนในประเทศไทย ด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี ”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๓.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), ดร. และคณะ. “การจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมในประเพณีตากธรรมของวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่”. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๘.
พรหมา กาศมณี. ประวัติวัดสูงเม่นและครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร วัดสูงเม่น
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ : ๒๕๓๙.
วันเพ็ญ แก้วกัน. ตามรอยคัมภีร์ใบลานล้านนา ศึกษาตำนานหลวงพ่อครูบามหาเถร
ชมสิ่งมหัศจรรย์ล้ำค่า วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. ริมปิงการพิมพ์ ;
นครสวรรค์, ๒๕๔๘.
ศิลาจารึกวัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ในหอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หลวงพระบาง
ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑ์ จังหวัดน่าน (เลขที่ ๔๖๕/๒๕๒๓)
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช. การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ๒๕๖๐
สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น. เมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณ มรดกธัมม์ มรดกโลก วัดสูงเม่น. แพร่: ไทยอุตสาหะการพิมพ์, ๒๕๕๙.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่. คัมภีร์ใบลาน งานประเพณีตากธรรม. งบพัฒนา
จังหวัดแพร่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖. เมืองแพร่การพิมพ์, ๒๕๕๖.
Jarusawat, Piyapat. An exploration of the potential for collaborative management of palm leaf manuscript as Lanna cultural materials in Northen Thailand. Thesis of Doctor of Philosophy. Information School The University of Sheffield England, 2017.
 
การสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ใบลานและประวัติครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร
ช่วงปี พ.ศ.2550 – 2563
 
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวริหาร
พระครูวิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต) อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแล่ง อ.ลอง จ.แพร่
พระราชเขมากร ป.ธ.๙, รศ., ดร. เจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
พระโกศัยเจติยารักษ์ ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง
พระครูปัญญาสารนิวิฐ เจ้าอาวาสวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่
พระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์ (ครูบามนตรี) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่
พระครูภาวนาเจติยานุกิจ ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง
พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ ปธ.๙ ดร. เจ้าอาวาสวัดร่องฟอง อ.เมือง จ.แพร่
พระมหาสมบัติ ภทฺทปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.เมือง จ.ตาก
นายพรหมา กาศมณี กรรมการวัดสูงเม่น อดีตเจ้าอาวาสวัดสูงม่น
นางสาววันเพ็ญ แก้วกัน ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสูงเม่น
นายนิพนธ์ วรรณสุคนธ์ กรรมการวัดสูงเม่น
นายสมเจตน์ วิมลเกษม ปราชญ์คัมภีร์ใบลาน เมืองน่าน
ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ผู้เชียวชาญประวัติศาสตร์ล้านนา
ดร.คำวอน บุนยะพอน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลพระพุทธศาสนา เมืองหลวงพระบาง
ดร.ร้อยแก้ว สายยิ้ม คนดีศรีพิษณุโลก ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเมืองไทย