ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ณรงค์ กิตติขจร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 37:
 
== การรับราชการ ==
[[ไฟล์:G149_jpg.jpg|thumb|200px|right|เฮลิคอปเตอร์ลำที่เชื่อว่านี้ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เป็นผู้คนสั่งยิงปืนลงมาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมเบื้องล่าง ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ]]
พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐประหาร ([[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|รัฐประหารในประเทศไทย 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514]]) เมื่อการรัฐประหารเสร็จสิ้นลง ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ[[คณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิวัติราชการ]] (ก.ต.ป.) และเป็นผู้บังคับบัญชากองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน.2 รอ.)
 
หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้แล้ว พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เป็นที่คาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจาก[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] ผู้เป็นพ่อ เพราะด้วยสถานการณ์ในเวลานั้น ปรากฏข่าวการคอร์รัปชั่นกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบด้วย เช่น กรณีเฮลิคอปเตอร์ของทหารตกที่[[อำเภอบางเลน]] [[จังหวัดนครปฐม]] เมื่อวันที่ [[29 เมษายน]] [[พ.ศ. 2516]] เป็นต้น ทางรัฐบาลได้แก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติราชการ หรือ ก.ต.ป. ขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาการคอร์รัปชั่น แต่กลับมี พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นลูกชายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล จึงไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อเกิด[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] ขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งที่โกรธแค้นจึงได้เผาทำลายอาคารของสำนักงานแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ ณ [[สี่แยกคอกวัว]]
 
ส่วนบทบาทของ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์และเป็นผู้กราดยิงกระสุนจริงจากเฮลิคอปเตอร์ลงมายังผู้ชุมนุมที่อยู่เบื้องล่าง แต่ พ.อ.ณรงค์ ได้ปฏิเสธในเรื่องนี้มาโดยตลอด