ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ป้าย {{สั้นมาก}} ออก
บรรทัด 1:
{{สั้นมาก}}
 
'''คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน''' หรือรู้จักกันในชื่อ '''จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน''' เป็นข้อเขียนเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตของผู้เขียน เขียนโดย [[ป๋วย อึ๊งภากรณ์|อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์]] ได้รับการตีความว่าเป็นข้อเรียกร้อง [[รัฐสวัสดิการ]] มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักประกันสังคมและคุณภาพชีวิตพื้นฐานที่คนคนหนึ่งพึงมี เป็นหนึ่งในบทความที่มีการคัดลอกและถ่ายทอดมากที่สุดในสังคมไทย
 
ข้อเขียนนี้เดิมเป็นภาษาอังกฤษ ถูกนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกไกล (Southeast Asian Development Advisory Group - SEADAG) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อนจะตีพิมพ์ลงใน[[หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์]] ฉบับวันที่ [[18 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2516]] ในชื่อ ''The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb'' (ต่อมารู้จักกันในชื่อ ''From Womb to Tomb'') และภายหลังถูกแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ ''คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน'' หรือที่รู้จักกันดีในเวลาต่อมาในชื่อ ''จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน''
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{วิกิซอร์ซ|จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน}}
* [http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2003q2/article2003june26p4.htm จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน และโรงทาน], จุมพฏ สายหยุด, กรุงเทพธุรกิจ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2546 — วิเคราะห์เปรียบเทียบ ''จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน'' กับ ข้อเสนอ ''หลักประกันชีวิตคนไทย 10 ข้อ'' ของ[[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]]