ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
 
== พระราชอำนาจแห่งสมเด็จพระราชินี ==
โดยทั่วไปองค์พระราชสวามีหรือพระมเหสีจะไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมือง แม้ว่าพระองค์จะมีพระอิสริยยศในระดับเดียวกันกับองค์พระมหากษัตริย์ก็ตามที อย่างไรก็ตามอาจมีบางกรณีที่พระราชินีในรัชกาลก่อน จะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น[[ผู้สำเร็จราชการ]] ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสมเด็จพระราชินีผู้สำเร็จราชการ (Queen Regent) นั้นมีพระราชอำนาจเกือบจะเหมือนและเสมอกับสมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) เลยทีเดียว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ดังเช่น[[กาเตรีนาแคทเธอรีน เด เมดีชี|สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ]] ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการตลอดระยะเวลาอันยาวนานของกษัตริย์ถึง 4 รัชกาล <ref> (ปลายรัชกาลของพระสวามี ตลอดรัชกาลของพระราชโอรสองค์โต ตลอดรัชกาลของพระราชโอรสพระองค์รอง และตอนต้นของรัชกาลพระราชโอรสพระองค์เล็ก) </ref>
 
อีกบางกรณี แม้องค์พระราชินีจะไม่ทรงว่าราชการเองในฐานะผู้สำเร็จราชการ แต่อาจเป็นในลักษณะ "อำนาจหลังราชบัลลังก์" ก็ได้ พระราชินีที่เข้มแข็งและเฉลียวฉลาด อาจทรงมีอิทธิพลครอบงำเหนือพระราชาที่อ่อนแอได้ ดังเช่น[[มารี อองตัวเนต|สมเด็จพระราชินีมารี อองตัวเนต]] พระมเหสีใน[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส]], [[จักรพรรดินีอะเลคซันดรา ฟอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย]] พระมเหสีใน[[จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย]] หรือ [[จักรพรรดินีมย็องซ็อง]] พระมเหสีใน[[พระเจ้าโคจง|จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี]] เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีนี้