ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 99:
 
* เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528)
 
== ผลงานด้านการพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล ==
อ.ธนิสร์แม้จะเป็นนักดนตรีสากล แต่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กๆ คุณปู่ คุณย่ามีวงดนตรีไทย คุณพ่อก็เป็นครูสอนดนตรีแตรวง พี่ชายก็เป็นนักดนตรี อ.ธนิสร์ได้ครูดนตรีคนแรกชื่อ คุณครูทองดำ สิ่งที่สุข ที่สอนโน๊ตดนตรีสากลให้ ทำให้ได้หัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุสิบขวบและสนใจ ขลุ่ย โดยเกิดความประทับใจในทำนองท่อนที่สองของเพลงธรณีกรรแสง จึงได้ขอเงินยายทวดไปซื้อขลุ่ยมาฝึกเป่า และกลายเป็นเครื่องดนตรีประจำตัว
 
ทราบกันดีว่า อ.ธนิสร์ เป็นสมาชิกวงคาราบาวอย่างเต็มตัวในยุคคลาสสิค และมีแนวคิดนำขลุ่ยเข้ามาร่วมบรรเลงเพลงที่โด่งดัง เช่น เดือนเพ็ญ เมดอินไทยแลนด์ แต่ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยเคียงออ ซึ่งเป็นขลุ่ยไทยแท้ๆ มีบันไดเสียงไม่เหมือนดนตรีสากล จึงนำมาปรับจูนโดยใช้เทปกาวมาปิดรูโน๊ตบางรู้ให้มีครึ่งเสียง พอใกล้เคียงกับบันไดเสียงสากล แต่เสียงโน๊ตขลุ่ยก็ยังไม่ตรงหรืออินจูนมากนัก จวบจนได้เดินทางไปหาครูอุทิศ อิ่มบุบผา ยังหมู่บ้านบางไส้ไก่หรือหมู่บ้านลาวแหล่งทำขลุ่ยที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย เพื่อให้ประดิษฐ์ขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่ให้โดย อ.ธนิสร์ร่วมจูนเสียงและเป็นผู้ทดสอบ จนสำเร็จเป็นขลุ่ยไทยเสียงสากลเลาแรกของประเทศไทย ซึ่ง อ.ธนิสร์ตั้งชื่อว่า "ขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล" ได้นำไปใช้ในการทำอัลบัม ลมไผ่ ฯลฯ
 
หลังจาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี แยกตัวออกจากวงคาราบาว ได้ออกเดินบนถนนสายดนตรีด้วยตนเองอย่างเต็มตัวในฐานะศิลปินเดี่ยว ที่มีขลุ่ยเป็นชีวิตติดตามตัวมาด้วย จนได้พบกับ อ.โสภณ นุ่มละมุล ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเรียนร่วมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขณะนั้นเป็นอาจารย์สอนดนตรีไทยอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบและเป็นช่างทำขลุ่ยด้วย ได้ร่วมกันพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลโดยใช้ไม้กลึงแทนไม้รวก ที่มีชื่อเสียงคือทำขลุ่ยจากไม้พญางิ้วดำให้ อ.ธนิสร์ นำไปทำอัลบั้ม เพลงบรรเลงขลุ่ยชุด ความฝันอันสูงสุด<ref>{{Citation|title=อัลบั้มความฝันอันสูงสุด - ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ฟังกันยาวๆ คุณภาพเสียงดี|url=https://www.youtube.com/watch?v=aOk-UqXJ-iM|language=th-TH|access-date=2021-07-27}}</ref> ซึ่งเป็นการนำเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป่าด้วยขลุ่ยไทยครั้งแรกของเมืองไทย
 
จากนั้นได้เริ่มต้นพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลของตนเองอย่างจริงจัง โดยร่วมกับคุณเจตนา เถื่อนสว่าง และ คุณโสภณ ศรีมานพ ในชื่อว่า ขลุ่ย ธ หรือ ขลุ่ย อ.ธนิสร์ รุ่นที่ 1-3 ซึ่งมีทั้งคีย์ ซี บีแฟลทและเพียงออ ด้วยปัญหาด้านสุขภาพของคุณโสภณ ศรีมานพ ไม่สามารถร่วมงานพัฒนาขลุ่ยต่อไปได้ ได้มีการชักชวน คุณสถาพร สรรค์โสภณ ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมและเป็นเจ้าของธุรกิจโรงกลึงอยู่ที่หนองจอกเข้ามาร่วมทีมพัฒนาขลุ่ย ได้มีการสร้างสรรค์งานขลุ่ย ธ. รุ่น 4-6 โดยรุ่น 4 มีการพัฒนาขลุ่ยเป็น 2 ท่อน แบ่งเป็นท่อนปากเป่าหรือ Mouthpiece และส่วนลำตัวหรือ Body เพื่อให้สามารถจูนเสียงในกรณีที่ต้องเป่าในอุณภูมิสูงหรือต่ำ เช่นเดียวกับแซกโซโฟนหรือคาริเน็ทที่ใช้การขยับเมาส์พีชเพื่อจูน เนื่องจากอากาศที่เย็นหรือร้อนไปจะส่งผลให้เสียงขลุ่ยเพี้ยนต่ำหรือสูงได้ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นขลุ่ย ธ.รุ่น 5 ที่มีการปรับรูโน๊ตใหม่ทั้งหมดและใช้วัสดุพิเศษทดแทนไม้ซึ่งเริ่มหายากและมีราคาสูง จุดเด่นคือ เสียงที่อินจูนมากขึ้น มีความเสถียร เป่าในที่อุณหภูมิแตกต่างได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ สีขาวสวยงามแปลกตา มีทั้งวัสดุเป็นไม้และวัสดุพิเศษ แบบท่อนเดียว และ 2 ท่อน อ.ธนิสร์นำไปใช้ในการทำงานเพลงตลอดจนเดินทางไปเล่นยังต่างประเทศทั่วโลก และสร้างสรรค์ผลงานเพลงในปี 2551 ในชื่ออัลบั้ม ขลุ่ยบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ฯลฯ
 
จากการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของตนเองมาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดีและทีมงาน ทำการวิจัยและพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลเรื่อยมา ตั้งแต่การหาไม้มาทำขลุ่ย การเจาะรูไม้ การเทียบเสียง และการค้นคว้าต่างๆ ทำให้ขลุ่ยไทยสามารถเข้าไปร่วมเล่นกับเครื่องดนตรีสากลทั่วโลกได้ การพัฒนาขลุ่ยไทยมีมาอย่างต่อเนื่องหลายรุ่น แต่อาจารย์ ธนิสร์ยังมีความรู้สึกอึดอัดใจถึงข้อจำกัดบางประการของขลุ่ย ที่ไม่สามารถตอบสนองการเล่นของตนเองได้อย่างเต็มที่ เมื่อเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นๆ จนได้ทำการพัฒนาขลุ่ย ธ.รุ่น 6 จากแนวคิดของ อ.ธนิสร์ สู่การออกแบบขลุ่ยอย่างลงตัวของคุณสถาพร ก่อเกิดเป็นขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล ชนิด LOW B อธิบายได้คือ สามารถเป่าเสียงต่ำลงได้อีกหนึ่งเสียง ตลอดจนลูกเล่นต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ทำให้บทเพลงหลายบทเพลงในอดีต สามารถกลับมาเป่าได้ตรงตามโน๊ต ที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกประการ ไม่ต้องหลบเสียงเหมือนในอดีต อาทิเช่น เพลงพม่าเห่ (เดือนเพ็ญ) บัวขาว นกขมิ้น เป็นต้น ทำให้คลายความอึดอัดใจในการเล่นขลุ่ยของ อ.ธนิสร์ หายไปจนหมดสิ้น
<ref>[http://www.thanis.net/biography.htm ผลงานด้านการพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล]</ref> มีทั้งวัสดุที่เป็นไม้และวัสดุพิเศษสีขาว ท่อนเดียว สองท่อนและโลว์บี
 
ด้วยปณิธานของ อ.ธนิสร์ เสมอมา ที่อยากให้เยาวชนคนไทยได้ใช้ขลุ่ยที่ดีมีคุณภาพ ราคาย่อมเยา จึงได้รับทุนวิจัยและพัฒนาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ในสมัยนั้น) พัฒนาขลุ่ยด้วยวัสดุวูดคอมโพสิตที่ให้คุณภาพเสียงได้ใกล้เคียงกับไม้ มีราคาถูก ปลอดภัย ได้จัดทำขลุ่ยรุ่นพิเศษ(สีชมพู)จำนวน 500 เลาขึ้น ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 โดยอาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ได้รับพระราชทานราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ สธ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประดับเป็นศิริมงคลสลักลงบนขลุ่ย มีหมายเลขประจำเลาขลุ่ยทุกเลา1-500 มอบให้กับมูลนิธิสายใจไทยเพื่อมอบให้ผู้บริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ<ref>{{Cite web|title=สานสายใย เพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย|url=http://www.hiclasssociety.com/?p=13717|website=HiClassSociety.com|language=en-US}}</ref> และได้มีการผลิตออกวางจำหน่ายเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน แบ่งเป็นรุ่น Standard A , Standard B และ Intermedia Low B(มีสีเขียว,สีน้ำตาล) และนำไปใช้ทัวร์คอนเสิร์ตมหกรรมดนตรี 30 ปีคาราบาวทั่วประเทศ<ref>{{Cite web|title=ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี|url=http://thanis.net/products.htm|website=thanis.net}}</ref>
 
ด้วยมีแนวคิดในการพัฒนาขลุ่ยอยู่ตลอดเวลา ต่อมา อ.ธนิสร์ได้ร่วมกับเอกชนทำการพัฒนาวัสดุชั้นดีเพื่อนำมาทำขลุ่ย จนได้วัสดุชนิดใหม่เป็นวัสดุพลาสติกผสมชนิดพิเศษ ที่ให้เสียงดีสมบูรณ์ลงตัว ได้นำมาใช้ทำการผลิตเป็นขลุ่ย อ.ธนิสร์ รุ่น 9(ขลุ่ยสีม่วง) ซึ่งเป็นที่นิยมของนักขลุ่ยทั่วประเทศ
 
ต้นปี 2564 อ.ธนิสร์ ได้เปิดตัวขลุ่ย อ.ธนิสร์ รุ่นใหม่ล่าสุด ชื่อรุ่น มณีสุวรรณ(สีเหลืองทอง) จุดเด่นคือการปรับปรุงเรื่องวัสดุให้มีน้ำหนักเบาลง พัฒนาระบบเสียงให้ตรง อินจูนกว่าทุกรุ่นที่ผลิตมา ถือเป็นขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลที่มีระบบเสียงแม่นยำทุกตัวโน๊ต เป่าง่าย ใช้ลมน้อย ให้เสียงก้องกังวาล เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ ใช้เล่นร่วมกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างลงตัว โดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เป็นผู้ควบคุมการผลิตเองทุกขั้นตอน<ref>{{Cite web|title=สินค้าและบริการ|url=http://thanis.net/|website=thanis.net}}</ref> นับเป็นขลุ่ย อ.ธนิสร์ ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ณ ปัจจุบัน
 
== ผลงานการแสดง ==
 
1. พบศิลปินเพื่อเสริมสร้างโลกทัศน์ ครั้งที่ ๙ ประจำปี ๒๕๓๔ ขลุ่ยคาราบาว ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
และคณะ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๔ เวลา ๑๙.๐๐ น.
 
2. ฤดูกาลพริ้วไหวลมไผ่ผิว อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี พร้อมมิตรสหาย วันเสาร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
 
3. คอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ร่วมร้อยรัก ภักดีถวาย”
คอนเวนชั่นฮอลล์ เดอะมอลล์ บางแค ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรเลงเพลง เดือนเพ็ญ และ ค้างคาวกินกล้วย
 
4. นิทรรศการ “ข.ขลุ่ยของไทย” วันที่ ๑๓-๓๑ มกราคม ๒๕๔๒ เวลา ๑๐.๐๐-๒๐.๐๐ น.
ณ ศูนย์สรรพสินค้า ริเวอร์ซิตี้
 
5. งาน Asian Fantasy Orchestra บทเพลงเพื่อสันติภาพ เป็นแขกรับเชิญจากประเทศไทย
อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี แสดงร่วมกับวง AFO เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๖
ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 
6. งาน Dr.Sax Chamber Orchestra Wthe Four Seasons” วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
ณ หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงขลุ่ยร่วม
กับวง ดร.แซกเชมเบอร์ออเครสตร้า ในบทเพลงเดือนเพ็ญ
 
7. งาน “ชมวังฟังดนตรี” ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.ลพบุรี ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๗
เดี่ยวขลุ่ยประชันกับวงออเครสตร้า ๕๐ ชีวิต จากวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร
 
8. งานชมวังฟังดนตรี ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
 
9. MINNESEREMONI I PHUKET 7. OKTOBER 2005
 
10. เพลินเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ ก้าวย่างดนตรีไทยสู่สากล
 
11. งานพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานสึนามิ ณ บริเวณหาดเล็ก อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยในเพลง แสงเทียน พ.ศ. ๒๕๔๘
 
12. งานร่วมใจช่วยภัยใต้ ณ ถนนพระอาทิตย์ วันที่ ๕-๖ มกราคม ๒๕๔๘ (๑๙.๐๐-๒๒.๐๐ น.)
ณ ป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพ
 
13. งาน จังหวะแผ่นดิน เทศกาลโลก Rhythm of the Earth World Festival
วันที่ ๑๘-๒๒ มกราคม ๒๕๔๙ ณ สะพานพระราม ๘
 
14. งานบรรเลง 120 ปี ความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น ณ Japan Foundation
วันที่ 26 กรกฎาคม 2551
 
15. นิทรรศการ “การพัฒนาขลุ่ยไทยสู่สากล” และคอนเสิร์ตจุดประกาย ตอน “ขลุ่ยนี้มีมนต์”
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551
 
16. แสดงการบรรเลงขลุ่ยถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ทุ่งมะขามหย่อง
วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา<ref>[http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=804489 แสดงการบรรเลงขลุ่ยถวาย]</ref>
 
17. คอนเสิร์ต "น้อมคารวะศิลปินแห่งชาติ" ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2559(ดนตรีไทยสากล)
วันที่ 11 สิงหาคม 2560 ณ หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<ref>{{Cite web |url=https://bangkok-today.com/web/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB/ |title=น้อมคารวะศิลปินแห่งชาติ |access-date=2020-09-02 |archive-date=2020-08-10 |archive-url=https://web.archive.org/web/20200810090904/https://bangkok-today.com/web/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB/ |url-status=dead }}</ref>
 
18. การแสดง "วงออเครสตร้าขลุ่ย งานมหกรรม อยุธยา ขลุ่ยทิพย์ 1000 เลา ครั้งที่ 1"
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 ณ ลานวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา<ref>[https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG201129023354434 วงออเครสตร้าขลุ่ย]</ref>
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==