ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาสเกตบอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย " {{กล่องข้อมูล กีฬา | image = Jordan_by_Lipofsky_16577.jpg | imagesize = 225px | caption = ไมเคิล..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 16:
}}
[[ไฟล์:Three point shoot.JPG|right|250px|thumb|การแข่งขันบาสเกตบอลหญิงชิงถ้วยยุโรปของ FIBA ปี พ.ศ. 2548]]
'''บาสเกตบอล''' ({{lang-en|basketball}}) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน
 
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดย[[เจมส์ ไนสมิท]]<ref name="ESPN-history">ESPN.com, [http://sports.espn.go.com/nba/news/story?id=2660882 Newly found documents shed light on basketball's birth], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากลโลก กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากใน[[วายเอ็มซีเอ]]<ref name="ESPN-history"/><ref name="NaismithMuseum">Naismith Museum and Hall of Fame, [http://www.naismithmuseum.com/naismith_drjamesnaismith/main_drjamesnaismith.htm Dr. James Naismith], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็น[[กีฬาอาชีพ]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} มีการจัดตั้งลีก[[เอ็นบีเอ]] (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันใน[[กีฬาโอลิมปิก]]เมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)<ref name="ESPN-history"/> ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะใน[[สหรัฐอเมริกา]] กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
 
บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (''ชูต'', shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (''เลี้ยงลูก'', dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (''ฟาวล์'', foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล
 
เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชูต การส่ง และการเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลก็ยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย<ref name="Guardian-popularity>guardian.co.uk, [http://www.guardian.co.uk/football/2008/dec/06/football-brand-globalisation-china-basketball They think it's all over], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref>
 
== ประวัติ ==
 
=== ประวัติของบาสเกตบอล ===
[[ไฟล์:Firstbasketball.jpg|right|thumb|สนามบาสเกตบอลแห่งแรก ที่วิทยาลัยสปริงฟีลด์]]
ถูกคิดขึ้นโดยคนเพียงคนเดียว ต่างจากกีฬาส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการมาจากกีฬาอีกชนิด ช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2434 [[เจมส์ ไนสมิท|ดร. เจมส์ ไนสมิท]] ครูสอนพละศึกษาชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา และเป็นผู้ดูแลสถานที่ของวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสมาคม[[วายเอ็มซีเอ]] (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยสปริงฟีลด์) ในเมือง[[สปริงฟีลด์ (แมสซาชูเซตส์)|สปริงฟีลด์]] [[รัฐแมสซาชูเซตส์]] ค้นหาเกมในร่มที่ช่วยให้คนมีกิจกรรมทำระหว่างฤดูหนาวในแถบ[[นิวอิงแลนด์]] ว่ากันว่า หลังจากเขาไตร่ตรองหากิจกรรมที่ไม่รุนแรงเกินไปและเหมาะสมกับโรงยิม เขาเขียนกฎพื้นฐานและตอกตะปูติดตะกร้าใส่ลูกพีชเข้ากับผนังในโรงยิม<ref name="">Better Basketball, [http://www.betterbasketball.com/history-of-basketball/ History of Basketball], เรียกดูข้อมูล 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> เกมแรกที่เล่นเป็นทางการเล่นในโรงยิมวายเอ็มซีเอในเดือนถัดมา คือเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ในสมัยนั้น เล่นโดยใช้ผู้เล่นเก้าคน<ref>[http://www.rauzulusstreet.com/basketball/nba/nbahistory.htm National Basketball Association (NBA) History], เรียกดูข้อมูล 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> สนามที่ใช้ก็มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของสนามเอ็นบีเอในปัจจุบัน ชื่อ '''บาสเกตบอล''' เป็นชื่อที่เสนอโดยนักเรียนคนหนึ่ง และก็เป็นชื่อที่นิยมมาตั้งแต่ตอนต้น เกมแพร่ขยายไปยังวายเอ็มซีเอที่อื่นทั่วสหรัฐอเมริกา ไม่นานนักก็มีเล่นกันทั่วประเทศ
 
แต่ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าวายเอ็มซีเอจะเป็นผู้ที่พัฒนาและเผยแพร่เกมในตอนแรก ภายในหนึ่งทศวรรษสมาคมก็ไม่สนับสนุนกีฬานี้อีก เนื่องจากการเล่นที่ทำให้รุนแรงและผู้ชมที่ไม่สุภาพ สมาคมกีฬาสมัครเล่นอื่นๆ มหาวิทยาลัย และทีมอาชีพก็เข้ามาแทนที่ ก่อนช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] สหภาพการกีฬาสมัครเล่น (Amateur Athletic Union) และ สมาคมการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย (Intercollegiate Athletic Association) (ซึ่งปัจจุบันคือ[[เอ็นซีดับเบิลเอ]], NCAA) ได้แข่งกันเพื่อจะเป็นผู้กำหนดกติกาของเกม
 
เดิมนั้นการเล่นบาสเกตบอลจะใช้ลูกฟุตบอล ลูกบอลที่ทำขึ้นสำหรับบาสเกตบอลโดยเฉพาะในตอนแรกมีสีน้ำตาล ช่วงปลาย[[คริสต์ทศวรรษ 1950]] จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกสีส้มเพื่อให้ผู้เล่นและผู้ชมมองเห็นลูกได้ง่ายขึ้น และก็ใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ริเริ่มใช้ลูกบาสเกตบอลสีส้มคือนาย โทนี ฮิงเคิล (Tony Hinkle) โค้ช[[มหาวิทยาลัยบัตเลอร์]] (Butler University)<ref name="ButlerUniv">Butler University, [http://www.butler.edu/senior-gift/index.aspx?pg=6120 Paul D. “Tony” Hinkle (1898-1992)], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref>
 
=== ลีกระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และลีกอื่น ๆ ===
[[ไฟล์:Kent Benson attempts a hook shot over Ken Ferdinand.jpg|thumb|210px|right|การแข่งขันระดับมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2520]]
ไนสมิทเป็นตัวตั้งตัวตีในการเริ่มบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} โดยเป็นโค้ชให้กับ[[มหาวิทยาลัยแคนซัส]] (University of Kansas) เป็นเวลาหกปี ลีกระดับมหาวิทยาลัยถือกำเนิดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 และเริ่มทัวร์นาเมนต์ที่ชื่อ'''เอ็นไอที''' (National Invitation Tournament, NIT) ในนิวยอร์กเมื่อปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) ช่วง พ.ศ. 2491 ถึง 2494 บาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัยประสบปัญหานักกีฬาโดนซื้อเพื่อผลทางการพนัน<ref>ESPN, [http://espn.go.com/classic/s/basketball_scandals_explosion.html Explosion: 1951 scandals threaten college hoops], เรียกดูข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> เนื่องจากกลุ่มคนที่โกงนี้เกี่ยวข้องกับเอ็นไอที ทำให้อีกทัวร์นาเมนต์ซึ่งเป็นของ'''[[เอ็นซีเอเอ]]''' (NCAA) ขึ้นแซงเอ็นไอทีในแง่ความสำคัญ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ปัจจุบัน[[ทัวร์นาเมนต์เอ็นซีดับเบิลเอ]] หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''มาร์ชแมดเนส''' (March Madness ซึ่งแข่งในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี) ถือเป็นรายการแข่งขันระดับต้นๆ ในสหรัฐเป็นรองแค่เพียง[[ซูเปอร์โบล]]ของกีฬา[[อเมริกันฟุตบอล]] และ[[เวิลด์ซีรีส์]]ของกีฬา[[เบสบอล]]เท่านั้น<!--<ref name="TVWeekAds">TVWeek, [http://www.tvweek.com/news/2008/03/advertisers_nuts_over_march_ma.php Advertisers Nuts Over March Madness]</ref>-->
 
ในคริสต์ทศวรรษ 1920 มีทีมบาสเกตบอลอาชีพเกิดขึ้นเป็นร้อยทีมตามเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีการจัดระบบเกมอาชีพ เช่น นักกีฬาย้ายทีมไปมา ทีมแข่งกันในโรงเก็บอาวุธและโรงเต้นรำ มีลีกเกิดใหม่และล้มไป บางทีมเล่นถึงสองร้อยเกมในปีหนึ่งก็มี{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ส่วนระดับ[[ไฮสกูล]] (มัธยมปลาย) ของสหรัฐก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ปัจจุบันเกือบทุกโรงเรียนจะมีทีมบาสเกตบอลประจำโรงเรียน ในฤดูกาล ทั่วทั้งสหรัฐมีนักเรียนชายหญิงรวมกันถึง 1,002,797 คนเล่นเป็นตัวแทนในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} [[รัฐอินดีแอนา]]และ[[รัฐเคนทักกี|เคนทักกี]]เป็นสองรัฐที่คนให้ความสนใจบาสเกตบอลระดับไฮสกูลมากเป็นพิเศษ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
=== ลีกอื่น ๆ===
[[ไฟล์:NationalBasketballAssociation.png|right|สัญลักษณ์ของเอ็นบีเอ]]
ในปี พ.ศ. 2489 ถือกำเนิดลีก'''[[เอ็นบีเอ]]''' (National Basketball Association, NBA) ก่อตั้งโดยรวบรวมทีมอาชีพชั้นนำ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} และทำให้กีฬาบาสเกตบอลระดับอาชีพได้รับความนิยมสูงขึ้น ปี พ.ศ. 2510 มีการจัดตั้งลีก'''เอบีเอ''' (American Basketball Association, ABA) ขึ้นอีกลีกมาเป็นคู่แข่งอยู่พักหนึ่ง{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ก่อนที่ลีกทั้งสองก็ควบรวมกันในปี พ.ศ. 2519{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ในเอ็นบีเอมีผู้เล่นมีชื่อเสียงหลายคน เช่น [[จอร์จ มิคาน]] (George Mikan) ผู้เล่นร่างใหญ่ที่โดดเด่นคนแรก [[บอบ คอสี]] (Bob Cousy) ผู้มีทักษะการครองบอล [[บิล รัสเซล]] (Bill Russell) ผู้ที่เก่งด้านการตั้งรับ [[วิลท์ แชมเบอร์เลน]] (Wilt Chamberlain) รวมถึง [[ออสการ์ รอเบิร์ตสัน]] (Oscar Robertson) และ [[เจอร์รี เวสต์]] (Jerry West) ผู้ที่เก่งในรอบด้าน [[คารีม อับดุล-จับบาร์]] (Kareem Abdul-Jabbar) และ [[บิล วอลตัน]] (Bill Walton) ผู้เล่นร่างยักษ์ในยุคหลัง [[จอห์น สต็อกตัน]] (John Stockton) ผู้ที่มีทักษะการคุมเกม ตลอดจนผู้เล่นสามคนที่ทำให้เอ็นบีเอได้รับความนิยมจนถึงขีดสุด คือ [[แลร์รี เบิร์ด]] (Larry Bird) [[แมจิก จอห์นสัน|เมจิก จอห์นสัน]] (Magic Johnson) และ [[ไมเคิล จอร์แดน]] (Michael Jordan)
 
ลีก'''[[ดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ]]''' (Women's National Basketball Association, WNBA) สำหรับบาสเกตบอลหญิงเริ่มเล่นในปี พ.ศ. 2540{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ถึงแม้ว่าในฤดูกาลแรกจะไม่ค่อยมั่นคงนัก นักกีฬามีชื่อหลายคน เช่น เชอริล สวูปส์ (Sheryl Swoopes) , ลิซา เลสลี (Lisa Leslie) และ ซู เบิร์ด (Sue Bird) ช่วยเพิ่มความนิยมและระดับการแข่งขันของลีก ลีกบาสเกตบอลหญิงอื่นๆ ล้มไปเนื่องจากความสำเร็จของดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
=== บาสเกตบอลระดับสากล ===
[[สหพันธ์บาสเกตบอลระหว่างประเทศ]] (International Basketball Federation) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีสมาชิกก่อตั้งแปดชาติ ได้แก่ [[ประเทศอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] [[ประเทศเชโกสโลวาเกีย|เชโกสโลวาเกีย]] [[ประเทศกรีซ|กรีซ]] [[ประเทศอิตาลี|อิตาลี]] [[ประเทศลัตเวีย|ลัตเวีย]] [[ประเทศโปรตุเกส|โปรตุเกส]] [[ประเทศโรมาเนีย|โรมาเนีย]] และ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] ในสมัยนั้นหน่วยงานดูแลเฉพาะนักกีฬาสมัครเล่น ดังนั้นในชื่อย่อจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]]ของสหพันธ์ หรือ '''ฟีบา''' (FIBA) ตัวอักษร "A" ย่อมาจากคำว่า "amateur" ซึ่งแปลว่าสมัครเล่น
 
บาสเกตบอลได้รับการบรรจุใน[[กีฬาโอลิมปิก]]เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2479 ถึงแม้ว่าเคยจัดการแข่งขันเป็นกีฬาสาธิตก่อนหน้านั้นนานมากเมื่อ พ.ศ. 2447 สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่เก่งกีฬานี้ และทีมชาติสหรัฐพลาดเหรียญทองเพียงสามครั้งเท่านั้น โดยครั้งแรกที่พลาดแข่งที่[[มิวนิก]]ในปี พ.ศ. 2515 โดยแพ้ให้กับทีม[[สหภาพโซเวียต]]
การแข่งขัน'''เวิลด์แชมป์เปียนชิปส์''' (World Championships) สำหรับบาสเกตบอลชายเริ่มแข่งปี พ.ศ. 2493 ที่[[ประเทศอาร์เจนตินา]] ส่วนประเภทหญิงเริ่มแข่งสามปีถัดมาใน[[ประเทศชิลี]] กีฬาบาสเกตบอลหญิงเริ่มแข่งในโอลิมปิกปี พ.ศ. 2519 โดยมีทีมที่โดดเด่นเช่น [[ประเทศบราซิล|บราซิล]] [[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]] และ [[สหรัฐอเมริกา]]
 
ฟีบายกเลิกการแบ่งผู้เล่นเป็นสมัครเล่นและอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2532 และปี พ.ศ. 2535 ผู้เล่นอาชีพก็ได้แข่งในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกากลับมาอีกครั้งโดยการส่ง'''ดรีมทีม''' ที่ประกอบด้วยผู้เล่นจากเอ็นบีเอ แต่ปัจจุบันประเทศอื่นสามารถพัฒนาตามทันสหรัฐอเมริกา ทีมที่มีผู้เล่นเอ็นบีเอล้วนๆ ได้ที่หกในการแข่งเวิลด์แชมเปียนชิปส์ในปี พ.ศ. 2545 ที่เมือง[[อินเดียแนโพลิส]] [[รัฐอินดีแอนา]] [[สหรัฐอเมริกา]] ตามหลัง [[ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร|เซอร์เบียและมอนเตเนโกร]] [[ประเทศอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] [[ประเทศเยอรมนี|เยอรมนี]] [[ประเทศนิวซีแลนด์|นิวซีแลนด์]] และ [[ประเทศสเปน|สเปน]] ในโอลิมปิกปี พ.ศ. 2547 สหรัฐแพ้เป็นครั้งแรกนับจากที่เริ่มใช้ผู้เล่นอาชีพ โดยพ่ายให้กับทีมชาติ[[ประเทศเปอร์โตริโก|เปอร์โตริโก]] และสุดท้ายได้เป็นอันดับสาม รองจาก[[ประเทศอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] และ[[ประเทศอิตาลี|อิตาลี]]
 
ปัจจุบัน มีการแข่งขันทัวร์นาเมนต์บาสเกตบอลทั่วโลกในทุกระดับอายุ ตั้งแต่ห้าจนถึงหกสิบปี ระดับไฮสกูล (มัธยมปลาย) มหาวิทยาลัย ไปจนถึงระดับลีกอาชีพ และมีแข่งทั้งประเภทชายและหญิง
 
ความนิยมกีฬาชนิดนี้ทั่วโลกสังเกตได้จากสัญชาติของผู้เล่นในเอ็นบีเอ จะสามารถพบนักกีฬาจากทั่วทุกมุมโลก [[สตีฟ แนช]] (Steve Nash) ผู้ที่ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าในเอ็นบีเอปี พ.ศ. 2548 เป็น[[ประเทศแคนาดา|ชาวแคนาดา]]ที่เกิดที่[[ประเทศแอฟริกาใต้]] ดาราดังของทีม[[ดัลลัส แมฟเวอริกส์]] [[เดิร์ก โนวิตสกี]] (Dirk Nowitzki) ก็เกิดใน[[ประเทศเยอรมนี]]และเล่นให้กับทีมชาติเยอรมนี
 
อีกตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นการพัฒนาถึงระดับโลก คือทีมออลทัวร์นาเมนต์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เล่นยอดเยี่ยมจากการแข่งเวิลด์แชมป์เปียนชิปส์ปี พ.ศ. 2545 ได้แก่ เดิร์ก โนวิตสกี, [[เพยา สโตยาโควิช]] (Peja Stojakovic) จากเซอร์เบียและมอนเตเนโกร, [[มานู ฆิโนบิลิ]] (Manu Ginobili) จากอาร์เจนตินา, [[เหยา หมิง]] (Yao Ming) จาก[[ประเทศจีน|จีน]] และเพโร คาเมรอน (Pero Cameron) จาก[[ประเทศนิวซีแลนด์|นิวซีแลนด์]] ทุกคนยกเว้นคาเมรอนเป็นหรือจะเป็นผู้เล่นในเอ็นบีเอในเวลาต่อมา
 
== กฎและกติกา ==
กฎเกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก
 
จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่า'''การชูต''' (หรือ'''ช็อต''' shot) การชูตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชูตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชูตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.75 เมตร (22 ฟุต 1 3/4 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชูตลูกโทษหรือที่เรียกว่า '''ฟรีโทรว์''' (free throw) เมื่อฟาวล์มีค่าหนึ่งคะแนน
 
=== วิธีการเล่น ===
เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 '''ควอเตอร์''' (quarter) แต่ละควอเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาวล์ หรือระหว่างการชูตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)
 
ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์
 
เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และ[[สปอนเซอร์]] ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
 
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
 
เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวน[[ฟาล์ว]]ผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว [[โพเซสซันแอร์โรว์]] และ[[ช็อตคล็อก]]
 
=== อุปกรณ์การเล่น ===
[[ไฟล์:Basketball.jpeg|thumb|ลูกบาสเกตบอล]]
อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน แต่ในการแข่งขันต้องมีอุปกรณ์อื่นเพิ่ม เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น
 
ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 84 คูณ 50 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 87 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้
 
=== ข้อบังคับ ===
ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่
 
=== ฟาวล์===
กรรมการแสดงสัญญาณฟาวล์โดยการเป่านกหวีดแล้วชูกำปั้นข้างซ้ายขึ้น
การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาวล์แต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาวล์ได้เช่นเดียวกัน คนที่ถูกฟาวล์จะได้ส่งลูกจากข้างสนาม เพื่อเล่นต่อ หรือได้ชูตลูกโทษ หรือ ถ้าการฟาวล์เกิดขึ้นขณะกำลังชูตลูก การชูตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน ผู้เล่นจะได้ชูตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชูตตอนถูกฟาวล์นั้นได้แต้มหรือไม่ เวลาชูตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร
 
== เทคนิคพื้นฐาน ==
=== ตำแหน่งผู้เล่นและโครงสร้าง ===
[[ไฟล์:Basketball positions th.png|right|250px|thumb|ตำแหน่งผู้เล่น]]
ถึงแม้ว่าในกฎจะไม่กำหนดตำแหน่งใด ๆ ของผู้เล่น แต่เรื่องนี้มีวิวัฒนาการจนเป็นส่วนหนึ่งของบาสเกตบอล ในช่วงห้าสิบปีแรกของเกม จะใช้ การ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซ็นเตอร์หนึ่งคนในการเล่น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการแบ่งชัดเจนขึ้นเป็น '''[[พอยท์การ์ด]]''' (หรือ'''การ์ดจ่าย''') '''[[ชู้ตติ้งการ์ด]]''' '''[[สมอลฟอร์เวิร์ด]]''' '''[[เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (บาสเกตบอล)|เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด]]''' และ '''[[เซ็นเตอร์ (บาสเกตบอล)|เซ็นเตอร์]]''' ในบางครั้งทีมอาจเลือกใช้ การ์ดสามคน แทนฟอร์เวิร์ดหรือเซ็ตเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า '''three guard offense'''
 
การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบ'''โซน''' (zone defense) และ แบบ'''แมน-ทู-แมน''' (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผนการเล่นเอาไว้
 
ส่วนการเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การ'''คัท''' (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การ'''สกรีน''' (screen) หรือ '''พิก''' (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมในขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้างๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็น'''พิกแอนด์โรล''' (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่า'''โรล''') สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับเพื่อนร่วมทีม
 
โครงสร้างของการตั้งรับ การบุก และตำแหน่งการเล่น ถูกเน้นในการเล่นบาสเกตบอลระดับสูง และเป็นสิ่งที่โค้ชจะขอเวลานอกเพื่อคุยกับลูกทีม
 
=== การชูต ===
การชูตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุดในการเล่น
 
ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชูตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
 
ผู้เล่นมักชูตลูกให้ลูกหมุนแบบ'''แบ็กสปิน''' (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชูตไปยังห่วงตรง ๆ แต่มันค่อนข้างยาก แต่ในบางครั้งผู้ชูตอาจชูตให้กระดอนกับแป้นแทน
 
วิธีการชูตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ '''เซ็ตช็อต''' (set shot) และ '''จัมป์ช็อต''' (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชูตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชูตฟรีโทรว์ ส่วนจัมป์ช็อต คือการชูตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชูตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชูตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
 
ผู้เล่นที่ชูตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชูตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชูตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ
 
=== การส่งบอล ===
ใน'''การส่งบอล''' (pass) ระหว่างผู้เล่น ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
 
การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือ'''การส่งระดับอก''' (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
 
การส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่งลูกธรรมดา
 
การส่งแบบ ข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
 
การส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนนเป็นต้น
 
จุดสำคัญของการส่งลูกก็คือ จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือ[[สตีล (บาสเกตบอล)|ขโมย]]ลูกไปได้ ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่า'''การส่งสกิป''' (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น
 
=== การเลี้ยงลูก ===
[[ไฟล์:Basketball game.jpg|thumb|right|210px|ผู้เล่นทีมวิทยาลัยกองทัพเรือสหรัฐ (ซ้าย) พยายามเลี้ยงลูกหลบฝ่ายรับทีมวิทยาลัยกองทัพบก (ขวา)]]
การเลี้ยงลูกเป็นการบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
 
เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากที่สุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
 
ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้
 
== การเล่นรูปแบบอื่น ๆ ==
บาสเกตบอลยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น (มักได้แก่ลูกบาสเกตบอล และห่วง) การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
 
เกมที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ '''ฮาล์ฟคอร์ต''' (half court game) โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้อง'''เคลียร์'''ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชูตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาวสนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ]] - การแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพในสหรัฐและแคนาดา
* [[สมาคมบาสเกตบอลฟิลิปปินส์]] - การแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพในประเทศฟิลิปปินส์
* [[บีลีก]] - การแข่งขันบาสเกตบอลอาชีพในประเทศญี่ปุ่น
* ส่วนในเอเชียนั้นบาสเกตบอลระดับอาชีพจะมีเพียงประเทศไต้หวัน และประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น  ซึ่งได้มี การนำนักกีฬาอาชีพจากสหรัฐอเมริการ่วมทีม  ทำให้นักกีฬาของทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้าน บาสเกตบอลในทวีปเอเชีย  ส่วนประเทศไทยนั้นความสามารถทางด้านบาสเกตบอลจะต้องมีการพัฒนาอีกมาก ถึงแม้ทีมชาติไทยประเภททีมหญิงจะมีความโดดเด่นสามารถชนะเลิศในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ได้หลายครั้งแต่ถ้า เปรียบเทียบในระดับเอเชียและระดับโลกแล้ว  กีฬาบาสเกตบอลของไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาอีกมาก ถึงจะสามารถ เป็นทีมที่อยู่ในแนวหน้าในเอเชียและโลกได้   '''ประวัติความเป็นมาของ เอ็น บี เอ''' '''(National Basketball Association หรือ''' '''NBA)'''               การแข่งขันบาสเกตบอลแบบอาชีพ จะมีข้อแตกต่างกับการแข่งขันบาสเกตบอลแบบสมัครเล่นบางประการ  สรุปได้พอสังเขปดังนี้       1.  กีฬาบาสเกตบอลสมัครเล่นมีกติกาแตกต่างจากของอาชีพอยู่บ้าง  คือ          1.1  สนามจะมีขนาดของเขต 3 วินาที ต่างกัน  และมีความกว้างของช่องให้ผู้เล่นยืนตอนมีการโยน โทษต่างกัน          1.2  ระยะยิง 3 คะแนน  ของสมัครเล่นจะใกล้กว่า          1.3  ถ้าเป็นของฟีบ้า (FIBA)  เขต 3 วินาที  จะมีรูปสี่เหลี่ยมคางหมู  คือฐานกว้างปลายแคบ          1.4  สมัครเล่นมักจะแข่งขันแบบ 2 ครึ่งๆ ละ 20 นาที (2 x 20)  จะมีบางแห่งแข่งขันแบบ 4 ช่วงๆ ละ 12 นาที (4  x 12)
 
== อ้างอิง ==
{{refbegin}}
* National Basketball Association (2001). [http://www.nba.com/analysis/rules_index.html Official Rules of the National Basketball Association]. อ้างอิงจากหน้าเว็บเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547.