ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทียรี่ เมฆวัฒนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 26:
 
== ประวัติ ==
 
เทียรี่ เมฆวัฒนา เกิดที่[[ประเทศลาว]] เป็นบุตรของนายเอนก เมฆวัฒนา โดยนายเอนกทำงานให้กับหน่วย[[ซีไอเอ]]ในลาวคอยหาเครื่องใช้ให้ทหารอเมริกัน แม่เป็นชาว[[ประเทศสวิสเซอร์แลนด์|สวิสเซอร์แลนด์]] ชื่อ Simone หลังจากนั้นพอเทียรี่มีอายุได้ 2 ขวบ ประเทศลาวได้เกิด[[สงครามกลางเมือง]]จากการรัฐประหารเมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2503]] พ่อจึงพาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่[[ประเทศไทย]] และเข้าเรียนที่[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]]จนจบชั้น[[มัธยมศึกษา]]ปีที่ 4 ก่อนจะย้ายมาเรียนที่โรงเรียนดรุณพิทยาจนจบชั้นมัธยมปลาย จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านการบริหารธุรกิจที่ American Business Institute ที่เมือง[[แมนฮัตตัน]] [[นครนิวยอร์ก]] [[สหรัฐอเมริกา]]
 
เส้น 37 ⟶ 38:
หลังจากกลับมาเมืองไทยเพียง 2 สัปดาห์ เทียรี่ได้เซ็นสัญญาเป็นนักดนตรีในห้องอัดเสียงของค่ายเพลงอโซน่า รับหน้าที่เล่นกีตาร์เพื่อบันทึกเสียงในอัลบั้มของศิลปินหลายคนทั้ง [[สายัณห์ สัญญา]], [[ศิรินทรา นิยากร]], [[ยอดรัก สลักใจ]], [[ไพจิตร อักษรณรงค์]], [[ศรเพชร ศรสุพรรณ]] และ [[นัดดา วิยกาญจน์]]
 
โดยเทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีอัลบั้มเพลงของตัวเองครั้งแรก เป็นอัลบั้มที่ร้องคู่กับ[[ไพจิตร อักษรณรงค์]] คืออัลบั้ม '''รักแรก''' ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จทางยอดขายเป็นอย่างดี ทำให้มีผลงานการถ่ายแบบ และเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์ถึง 2 รายการ
 
จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2526]] เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีโอกาสร่วมงานกับวง[[คาราบาว]]เป็นครั้งแรก โดยเป็นการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม ''[[วณิพก (อัลบั้ม)|วณิพก]]'' โดยรับหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีคอนเสิร์ตแทนที่เล็ก - [[ปรีชา ชนะภัย]] มือกีตาร์โซโล่ตัวจริงของทางวง ที่ติดภารกิจต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวง[[เพรสซิเดนท์]]ที่[[สหรัฐอเมริกา]] ซึ่งเทียรี่เคยไปศึกษาที่นั่น
 
หลังการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้มวณิพกร่วมกับวงคาราบาวเสร็จสิ้น เทียรี่ได้ออกอัลบั้มของตนเองออกมาอีก 1 ชุด ในชื่ออัลบั้ม '''เรือรัก''' โดยอัลบั้มชุดนี้เป็นแนวเพลงโฟล์ก และมีเพลงฮิตอย่าง ''วานนี้ช้ำ วันนี้จำ''
 
ปลายปี [[พ.ศ. 2526]] คาราบาว กลับมาบันทึกเสียงที่ห้องอัดของอโซน่าอีกครั้งเพื่อบันทึกเสียงเพลงทั้งหมดในอัลบั้มชุด '''[[ท.ทหารอดทน]]''' เทียรี่จึงได้เป็นนักดนตรีแบ็คอัพบันทึกเสียงให้คาราบาวในอัลบั้มชุด '''[[ท.ทหารอดทน]]''' ก่อนที่จะได้รับการเชิญชวนให้ร่วมออกทัวร์คอนเสิร์ตกับทางวงอีกครั้งหนึ่ง
 
ความโด่งดังของอัลบั้ม '''[[ท.ทหารอดทน]]''' ทำให้วง[[คาราบาว]]ทั้งวงได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่กลับใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็ได้หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน
 
=== เข้าร่วมวง[[คาราบาว]] ===
หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวง[[คาราบาว]]มาอย่างยาวนาน เทียรี่ก็ได้เป็นสมาชิกของวง[[คาราบาว]]อย่างเต็มตัวในปี [[พ.ศ. 2527]] ในอัลบั้ม '''[[เมด อิน ไทยแลนด์ (อัลบั้ม)|เมด อิน ไทยแลนด์]]''' โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ โดยได้ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง ''นางงามตู้กระจก'' ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติที่สูง[[ที่สุดในประเทศไทย]] ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และเทียรี่ก็ได้ขึ้นเล่น[[คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย]] ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของ[[ประเทศไทย]]และวง[[คาราบาว]]ที่สนามจักรยานเวโลโดรม ใน[[สนามกีฬาหัวหมาก]] ในปี [[พ.ศ. 2528]] ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่[[สหรัฐอเมริกา]]อีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลง '''[[เมด อิน ไทยแลนด์]]''' ในเวอร์ชัน[[ภาษาอังกฤษ]] โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า '''Made in Thailand in USA'''
 
ในปีเดียวกัน เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง[[เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ]] คู่กับนางเอกสาว จุ๋ม - [[อุทุมพร ศิลาพันธ์]] ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวง ตลอดจนมีดาราอื่น ๆ เช่น ษา - [[สุพรรษา เนื่องภิรมย์]], หมู - [[พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ]], [[สุรชัย จันทิมาธร]] หรือ หงา คาราวาน มาร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าว บริษัท[[การบินไทย]] ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด - [[ยืนยง โอภากุล]] ได้แต่งเพลง ''รักคุณเท่าฟ้า'' โดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด - [[สบชัย ไกรยูรเสน]] เป็นต้น
 
ในปีเดียวกันเทียรี่ได้แต่งงานอีกครั้งกับนางเอกสาว จุ๋ม - [[อุทุมพร ศิลาพันธ์]] ซึ่งทั้งสองเคยมีงานแสดงร่วมกัน หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง[[เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ]]
 
จากนั้น ในปลายปีเดียวกัน คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุด '''[[อเมริโกย]]''' โดยในอัลบั้มนี้เทียรี่ได้ร้องนำ 1 เพลงคือเพลง ''มาลัย'' โดยวงคาราบาวได้กลายเป็นผู้นำแฟชั่นของวัยรุ่นในสมัยนั้นด้วยการแต่งตัวด้วยชุดลายพรางทหารและใส่แว่นดำ ต่อมาได้ร่วมงานกับทางวงในชุด '''[[ประชาธิปไตย (อัลบั้ม)|ประชาธิปไตย]]''' ซึ่งวางจำหน่ายในปี [[พ.ศ. 2529]] โดยเทียรี่ได้ร้องนำคู่กับแอ๊ดในเพลง ''มหาจำลอง รุ่น 7''
 
ในปี [[พ.ศ. 2530]] คาราบาวออกอัลบั้ม '''[[เวลคัมทูไทยแลนด์]]''' ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มียอดขายเกิน 1,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ และมี[[มิวสิกวิดีโอ]]ถึง 4 เพลง เทียรี่มีบทบาทในอัลบั้มชุดนี้มากโดยนอกจากจะเป็นมือกีตาร์และประสานเสียงแล้ว ยังได้ร้องเพลงในอัลบั้มนี้ถึง 3 เพลง คือ ''สังกะสี'' ,''บิ๊กเสี่ยว'' โดยร้องคู่กับแอ๊ด - [[ยืนยง โอภากุล]] และเพลง ''คนหนังเหนียว'' โดยร้องคู่กับเล็ก - [[ปรีชา ชนะภัย]] ในลักษณะของการดูเอท
 
เทียรี่ เมฆวัฒนาโด่งดังถึงขีดสุดในอัลบั้ม '''[[ทับหลัง (อัลบั้มเพลง)|ทับหลัง]]''' ในปี [[พ.ศ. 2531]] จากการขับร้องเพลง ''แม่สาย'' ซึ่งเป็นเพลงนำร่องในอัลบั้ม ซึ่งเพลงนี้มีการทำเป็นมิวสิกวิดีโอแบบ[[แอนิเมชัน]]เป็นเพลงแรกใน[[ประเทศไทย]]อีกด้วย
 
=== แยกวง ===
[[ไฟล์:Paocarabao.jpg|220 px|left|thumb|หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ]]
ในปี [[พ.ศ. 2531]] หลังจากที่วง[[คาราบาว]]ทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม '''[[ทับหลัง (อัลบั้มเพลง)|ทับหลัง]]''' เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เทียรี่ก็ได้ขอลาออกจากวงและแยกตัวไปพร้อมกับสมาชิกในวงอีก 2 คน คือ อ.[[ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี]] และ เป้า - [[อำนาจ ลูกจันทร์]] โดยทั้ง 3 คนได้ร่วมกันออกอัลบั้มในชื่อชุด '''[[ขอเดี่ยวด้วยคนนะ]]''' ในปี [[พ.ศ. 2532]] มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก เช่น ''สาวดอย สอยดาว'', ''วันเกิด'', ''5 ย 5 ก'' เป็นต้น
 
ในปี [[พ.ศ. 2533]] เทียรี่ก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายท็อปไลน์ออกอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองชุดแรกภายหลังแยกวง คือ '''เจาะเวลา...''' โดยอัลบั้มชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่ม[[โค้ก]] และได้ [[อิทธิ พลางกูร]] มาเป็นศิลปินรับเชิญร่วมขับร้องเพลง ''ทะเล'' ตลอดจนได้ชานนท์ ทองคง อดีตมือเบสวง '''เนื้อกับหนัง''' ซึ่งเป็นวงดนตรี[[เฮฟวี่เมทัล]]ยุคแรก ๆ ของเมืองไทยมาร่วมงานด้วยในตำแหน่งมือเบส ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีเพลงฮิตที่รู้จักกันดีเช่น ''ปาปาย่า ป๊อก ๆ '', ''สาวตากลม'', ''เจาะเวลาหาปัจจุบัน'', ''รักขึ้นสมอง'' เป็นต้น
 
ปี [[พ.ศ. 2534]] ได้ออกอัลบั้ม '''สุดขั้วหัวใจ''' โดยมีเครื่องดื่ม[[โค้ก]]เป็นผู้สนับสนุนตามเดิม มีเพลงฮิตคือเพลง ''ความรักสีดำ'', ''ไผ่แดง'' ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครเรื่อง[[ไผ่แดง]] และเพลง ''สูงสุดสู่สามัญ'' ซึ่งได้รับรางวัล[[สีสันอะวอร์ดส์]] สาขาเพลงยอดเยี่ยม ประจำปี [[พ.ศ. 2534]]
 
เดือนตุลาคม ปี [[พ.ศ. 2535]] เทียรี่ออกอัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อชุด'''ไม่เต็มบาท''' มีเพลงเด่น ๆ เช่น ''แสงแห่งกาลเวลา'', ''พขร.ณ รมต.'', ''ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน'', ''ทำใจ'', ''ฝันของดอกไม้ริมทาง'' เป็นต้น โดยอัลบั้มนี้เป็นชุดสุดท้ายที่มีเครื่องดื่ม[[โค้ก]]เป็นผู้สนับสนุน ก่อนที่เทียรี่จะออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในปี [[พ.ศ. 2537]] ในชุด '''คาถาเศรษฐี''' ซึ่งมีเพลงฮิตในขณะนั้นคือ ''ถังแตก'', ''สิ่งสุดท้ายแห่งความทรงจำ'' ตลอดจนมีเพลงประกอบโฆษณาอย่าง ''ปรารถนา'' และเพลงประกอบรายการโทรทัศน์อย่างเพลง ''จบที่ใจ'' เป็นต้น
 
หลังจากนั้นเทียรี่ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวออกตามมาอีกหลายชุดเช่น '''ยาชูกำลัง''', '''จักรวาล''' และตั้งแต่ [[พ.ศ. 2541]] จึงได้กลับมาเป็นสมาชิกของวง[[คาราบาว]]ตั้งแต่อัลบั้ม '''[[อเมริกันอันธพาล]]''' จนถึงปัจจุบัน
 
โดยเทียรี่เป็นนักร้องที่มีเสียงแหบเสน่ห์เป็นตัวของตนเอง จึงมีเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละอัลบั้มอยู่หลายเพลง ซึ่งส่วนมากเพลงที่จะเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นเพลงช้า จึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง เช่น ละครเรื่อง ''สุดแต่ใจจะไขว่คว้า'' ออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] ในปี [[พ.ศ. 2532]], ''ไผ่แดง'' ออกอากาศทาง[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] ในปี [[พ.ศ. 2534]], ''ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก'' ออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] ในปี [[พ.ศ. 2537]], ''แม้เลือกเกิดได้'' ออกอากาศทาง[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] ในปี [[พ.ศ. 2544]] เป็นต้น และเคยร้องเพลงออกอัลบั้มร่วมกับ [[อิทธิ พลางกูร]] ด้วย และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงของเทียรี่ อยู่ที่เนื้อร้องที่เล่นกับภาษาได้อย่างลงตัวและสนุก มีความหมาย เช่น เพลง ''พขร.ณ รมต.'' ที่เล่นกับตัวย่อทั้งเพลง, ''ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน'' ที่เล่นกับอักษร ฉ.ฉิ่ง ทั้งเพลง, ''หัวใจจิ้มจุ่ม'' ที่เล่นกับอักษร จ.จาน, ''ไปไหนไปด้วย'' ที่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยทั้งเพลง เป็นต้น และเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเดี่ยวมักจะแฝงไว้ด้วยป๊อปเซ้นส์เสมอ ซึ่งทำให้เพลงของเทียรี่ฟังง่ายและเป็นที่นิยม
 
ในปี [[พ.ศ. 2552]] เทียรี่ได้รับเป็นพรีเซนเตอร์[[โฆษณา]]ทาง[[โทรทัศน์]]ให้กับ[[โทรศัพท์มือถือ]] ยี่ห้อ G-Net โดยเป็นพรีเซนเตอร์ของโทรศัพท์ยี่ห้อนี้เป็นคนแรกด้วย<ref>[https://www.youtube.com/watch?v=tCtq83uh5KI G-Net : Spot โฆษณา ชุด เทียรี่]</ref>
 
ในวันที่ [[12 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2553]] ปรากฏข่าวลือที่ทำให้ช็อกแฟนคลับวงคาราบาวทั่วประเทศว่าเทียรี่ได้[[ฆ่าตัวตาย]]ด้วยการใช้[[ปืน]]ยิงตัวเองหลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสายไหม<ref>[https://www.youtube.com/watch?v=8VyvFeZLQJ4 ข่าว เทียรี่ปืนลั่น] จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้</ref> แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว พบว่าเทียรี่มีอาการ[[กระเพาะอาหาร|กระเพาะ]]ทะลุจากการดื่ม[[สุรา]]อย่างหนักจากคำยืนยันของมณเฑียร สาระโภค ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสายไหม, หาญชัย ยุทธ์ธนพิพิพัฒน์ ผู้จัดการส่วนตัวของเทียรี่ และแอ๊ด - [[ยืนยง โอภากุล]] หัวหน้าวงคาราบาว ซึ่งทั้ง 3 คนได้แถลงข่าวร่วมกัน<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20100213/48229/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99.html "แอ๊ด"ยัน"เทียรี่"เพื่อนร่วมวงคาราบาวไม่คิดสั้น] จาก [[คมชัดลึก]]</ref> โดยเทียรี่ได้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสยาม
 
== ชีวิตส่วนตัว ==