ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
 
== ประวัติ ==
* แดน เป็นเจ้าของมาม่าอร่อยและรวยเหี้ยๆ
''บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด'' ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 โดยการร่วมทุนกันระหว่าง [[บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด]] ผู้ชำนาญทาง[[เทคโนโลยี]]การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของ[[สาธารณรัฐจีน]] (ไต้หวัน) กับบริษัท [[สหพัฒน์พิบูล|สหพัฒนพิบูล]] จำกัด ผู้รับผิดชอบการตลาดและจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเบื้องต้น มูลค่า 6 ล้านบาท เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในเครื่องหมายการค้า ''มาม่า'' มีสำนักงานใหญ่แห่งแรก ตั้งอยู่ริม[[ถนนเพชรบุรีตัดใหม่]] และ[[โรงงาน]]แห่งแรก ตั้งอยู่ที่[[เขตหนองแขม]] [[กรุงเทพมหานคร]]<ref>[http://www.mama.co.th/about.php ความเป็นมาของ "ทีเอฟ"] จากเว็บไซต์บริษัทฯ</ref>
 
* '''[[พ.ศ. 2516]]''' - ผู้ถือหุ้นชาวไต้หวัน โอนหุ้นของ[[บริษัท]]ฯ ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่[[ชาวไทย]] เป็นผู้บริหารต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มออกผลิตภัณฑ์แรกคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสซุปไก่
* '''[[พ.ศ. 2518]]''' - บริษัทฯ เพิ่มเครื่องจักรเป็น 3 ตัว และก่อตั้ง บริษัท เพรซิเดนท์ คอมเมอร์เชียล จำกัด เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์
* '''[[พ.ศ. 2519]]''' - เปิดโรงงานแห่งที่สอง ที่[[อำเภอศรีราชา]] [[จังหวัดชลบุรี]], เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้านบาท และเตรียมการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติใหม่เพิ่มเติม
* '''[[พ.ศ. 2521]]''' - บริษัท นิสชิน คอนเฟกชันเนอรี จำกัด ถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตขนมปังกรอบ (บิสกิต) ให้แก่บริษัทฯ, สร้างโรงงานผลิตขนมปังกรอบ ภายในบริเวณโรงงานศรีราชา, เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20 ล้านบาท และเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] ตั้งแต่แรกเปิดทำการ[[ตลาดหุ้น]]ในไทย
* '''[[พ.ศ. 2522]]''' - ปรับปรุงเครื่องจักร ขยายกำลังการผลิต และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 32.5 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2523]]''' - เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 37.5 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2524]]''' - เพิ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ผลิตขนมปังกรอบ และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 40 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2525]]''' - บริษัทฯ ได้รับรางวัล ผู้ผลิต[[อาหาร]]ยอดเยี่ยมแห่ง[[เอเชีย]] (อินเตอร์แนชชันนัล เอเชีย อวอร์ด) สามปีซ้อน (2525-2527)
* '''[[พ.ศ. 2527]]''' - ร่วมลงทุนกับ บจก.[[เมียวโจ้ฟูดส์]] เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูง (พรีเมียม) ในเครื่องหมายการค้า [[เมียวโจ้]]
* '''[[พ.ศ. 2528]]''' - ร่วมลงทุนกับ บจก.[[เพรซิเดนท์เบเกอรี]] เพื่อผลิตขนมปังสด ในเครื่องหมายการค้า [[ฟาร์มเฮ้าส์]]
* '''[[พ.ศ. 2529]]''' - โรงงานศรีราชาสามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังแล้ว บริษัทฯ จึงปิดโรงงานที่หนองแขม
* '''[[พ.ศ. 2530]]''' - บริษัทฯ ได้รับรางวัลประหยัด[[พลังงาน]] จาก[[กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเทศไทย)|กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน]] เนื่องจากสามารถปรับปรุงการผลิต จากระบบให้[[ความร้อน]]โดยตรง (ไดเรกต์ ฮีต) เป็นการให้ความร้อนโดยอ้อม (Indirect Heat) ซึ่งส่งผลให้ประหยัดพลังงานได้ถึง[[ร้อยละ]] 75 และยังทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอยิ่งขึ้นด้วย
* '''[[พ.ศ. 2531]]''' - ร่วมลงทุนกับบริษัทสองแห่งคือ บจก.ไทยมี เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับส่งออก[[ต่างประเทศ]] และ บจก.ซันโก แมชีเนอรี (ประเทศไทย) เพื่อประกอบเครื่องจักรสำหรับบรรจุภัณฑ์
* '''[[พ.ศ. 2532]]''' - ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, ก่อสร้างโรงงานที่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มอบสิทธิประโยชน์ให้ และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 60 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2533]]''' - ก่อตั้ง บริษัท เพรซิเดนท์เดนิชฟูดส์ จำกัด โดยร่วมทุนกับ บจก.[[เดนิชแฟนซีฟูดส์กรุ๊ป]] แห่ง[[ประเทศเดนมาร์ก]] เพื่อผลิตขนมคุกกี ในเครื่องหมายการค้า [[เคลด์เซน]]
* '''[[พ.ศ. 2534]]''' - จัดตั้ง บริษัท ทีเอฟ อินเตอร์ฟูดส์ (ยูเอสเอ) อินค์. (T.F. Interfoods (USA) Inc.) เพื่อบริหารธุรกิจต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ใน[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[แคนาดา]] และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 120 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2535]]''' - ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยัง[[ถนนศรีนครินทร์]] ในเดือน[[มิถุนายน]], ร่วมทุนจัดตั้ง บจก.คุนหมิงไทตงยีฟูดส์ เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สำหรับจำหน่ายใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]], ร่วมลงทุนกับ บจก.ไทซันฟูดส์ เพื่อผลิต[[น้ำผลไม้]] และร่วมทุนจัดตั้ง บจก.ไดอิชิแพกเกจจิง เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับบริษัทในกลุ่ม
* '''[[พ.ศ. 2536]]''' - โรงงานศรีราชาได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในเดือน[[มีนาคม]]
* '''[[พ.ศ. 2537]]''' - แปรรูปเป็น[[บริษัทมหาชน]] ตั้งแต่วันที่ [[16 พฤษภาคม]] และร่วมลงทุนกับบริษัทสองแห่งคือ [[บริษัท นิสชินฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด]] และ บริษัท ซีพีเอ็นเทอร์ไพรส์ฟูดส์ จำกัด [[เขตปกครองพิเศษฮ่องกง]]
* '''[[พ.ศ. 2538]]''' - ก่อสร้างโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใหม่ บนเนื้อที่ 37 ไร่ ที่จังหวัดลำพูน โดยได้รับสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตบะหมี่แบบซองได้จำนวน 14,256 ตันต่อปี และบะหมี่แบบถ้วยได้จำนวน 260 ตันต่อปี
* '''[[พ.ศ. 2540]]''' - บริษัทฯ เป็นรายแรกของประเทศไทย ที่ได้รับประกาศนียบัตร ระบบ[[ไอเอสโอ 9002]] จากอาร์ดับเบิลยูทียูวี
* '''[[พ.ศ. 2541]]''' - พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยเสริม[[วิตามินเอ]] [[ธาตุเหล็ก]] และ[[ไอโอดีน]] ในผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มาม่า มาจนถึงปัจจุบัน และได้รับรางวัล[[อุตสาหกรรม]]ดีเด่น ประเภทการบริหารงานคุณภาพ จาก[[กระทรวงอุตสาหกรรม]] เมื่อวันที่ [[2 ธันวาคม]]
* '''[[พ.ศ. 2542]]''' - พัฒนาระบบการผลิตซองเครื่องปรุง จากแบบแยกเป็นแบบติดกัน, เปลี่ยนไปใช้เครื่องป้อนอัตโนมัติ เพื่อจัดชุดก้อนบะหมี่กับซองเครื่องปรุง แทนการใช้แรงงาน[[มนุษย์]], สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ และโรงงานศรีราชา ได้รับประกาศนียบัตร ระบบ [[ไอเอสโอ|ไอเอสโอ 14001]] จาก [[เอสจีเอส]] ยาร์สลีย์ และเปลี่ยนชื่อการค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบ จาก "นิสชิน" เป็น "บิสชิน" ในเดือน[[สิงหาคม]]
* '''[[พ.ศ. 2543]]''' - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสหมูน้ำตก, เพิ่มการลงทุนใน บจก.เพรซิเดนท์เดนิชฟูดส์ เป็นร้อยละ 99.99 จากเดิมร้อยละ 74 และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 180 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2544]]''' - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสหมูต้มยำ และโป๊ะแตก, โรงงานลำพูน ขยายกำลังการผลิต จากวันละ 40 ตัน เป็น 80 ตัน โดยได้รับสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน เมื่อเดือน[[กรกฎาคม]], ร่วมลงทุนใน บจก.เพรซิเดนท์ฟูดส์ (กัมพูชา) ในสัดส่วนร้อยละ 30 เพื่อผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใน[[ราชอาณาจักรกัมพูชา]], ได้การรับรองมาตรฐาน เอชเอซีซีพี จาก [[เอสจีเอส ไทยแลนด์]] เมื่อวันที่ [[2 เมษายน]] และมาตรฐาน อีเอฟเอสไอเอส สแตนดาร์ด [[สหราชอาณาจักร]] เมื่อวันที่ [[8 ตุลาคม]]
* '''[[พ.ศ. 2545]]''' - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่หยกกึ่งสำเร็จรูป รสเป็ดย่างชนิดแห้ง และ บะหมี่กี่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น, ร่วมลงทุนใน [[บริษัท ฟอร์พีเพิลฟูดส์ จำกัด]] (ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องหมายการค้า 4-Me ของ[[ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม|นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม]] [[ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร]] เครือ[[จีเอ็มเอ็มแกรมมี่]]) ในสัดส่วนร้อยละ 13 และเพิ่มการลงทุนใน บจก.ลี่ฟุ (ชิงเต่า) ฟูดส์ จากเดิมร้อยละ 19 เป็นร้อยละ 49 เป็นจำนวนเงิน 26.22 ล้านบาท
* '''[[พ.ศ. 2546]]''' - พัฒนาเว็บไซต์ให้ทันสมัยและชวนให้ติดตาม เพื่อประโยชน์ของการเผยแพร่ข่าวสารของบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่บุคคลทั่วไป และเริ่มนำระบบการจัดการสำเร็จรูป (SAP) มาใช้แทนระบบเดิม
* '''[[พ.ศ. 2547]]''' - ร่วมลงทุนใน บจก.ไทยอันเป่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ
* '''[[พ.ศ. 2548]]''' - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่โฮลวีตกึ่งสำเร็จรูป รสหมูพริกไทยดำ, เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน บจก.ไทซันฟูดส์ และ บจก.ไดอิชิแพกเกจจิง ขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 50
* '''[[พ.ศ. 2550]]''' - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มแซบ, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูง (พรีเมียม) รูปแบบเกาหลี ในชื่อสินค้า "มาม่า โอเรียนทัล คิตเชน", บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็ก สูตรไม่มีผงชูรส ในชื่อสินค้า "มาม่า ก้านกล้วย" และ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับ[[ชาวมุสลิม]] ในชื่อสินค้า "รุสกี", จากการสำรวจสุดยอดแบรนด์แห่งเอเชีย "มาม่า" เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ผู้บริโภคชาวเอเชียใน 9 ประเทศ นึกถึงเป็นอันดับที่ 115 และเป็น[[ตราสินค้า]]ที่คนไทยนึกถึง มากเป็นอันดับที่สอง
* '''[[พ.ศ. 2551]]''' - ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูง "มาม่า ซูเปอร์โบวล์" รสต้มยำขาหมู และ รสแกงกะหรี่หมู โดยบรรจุเนื้อหมูจริง ภายในซองรีถอร์ตอันทันสมัย, ย้ายฐานการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมปังทั้งหมด (บิสกิต เวเฟอร์ และ คุกกี) จากโรงงานที่ศรีราชา ไปยังโรงงานที่ระยอง ส่วนพื้นที่เดิมในโรงงานศรีราชา นำมาใช้เพิ่มกำลังการผลิตบะหมี่ถ้วย โดยใช้เครื่องจักรกำลังผลิตสูง
* '''[[พ.ศ. 2552]]''' - นำผลิตภัณฑ์ที่เคยผลิตในอดีต กลับมาออกใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสซุปไก่ และ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โปรตีนไข่
* '''ปัจจุบัน''' - ทุนจดทะเบียน 329,704,014 บาท ประกอบด้วย หุ้นสามัญ 329,704,014 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 1 บาทต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว 329,704,014 บาท
 
== ผลิตภัณฑ์ ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มาม่า"