ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yamada0098 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
 
ทฤษฎีและวิวัฒนาการของหยางหยินนี้ นักปราชญ์จีนชื่อ ชาน อธิบายไว้ว่า เรื่องหยางหยินเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อจีนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ศาสตราจารย์ฟุงยู่หลาน กล่าวไว้ว่า หยางหยินมีพื้นฐานมาจากดาราศาสตร์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า ฟางจือ นิกายนี้มีแนวโน้มไปทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามอธิบาย ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ในความหมายของพลังของธรรมชาติ ในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเกิดนิกายนี้ นักปราชญ์ในสมัยนั้นมีแนวความคิดอยู่ 2 ทฤษฎี ซึ่งต่างก็พยายามอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทฤษฎีแรก คือ หยางหยิน ส่วนทฤษฎีที่สอง คือ ธาตุทั้ง 5 หรือ หวู ซิ่ง มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือ the book of history โดยใช้ชื่อว่า หลักใหญ่ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงธาตุทั้ง 9 แต่เน้นความสำคัญเฉพาะธาตุ 5 ชนิดเท่านั้น โดยอธิบายว่า
*
* น้ำ มีธรรมชาติเปียกชื้นและไหลลงสู่ที่ต่ำ
* ไฟ มีลักษณะเป็นเปลวพุ่งขึ้นสู่ที่สูง
* ไม้ มีลักษณะโค้งงอหรือตั้งตรง
* เหล็ก มีลักษณะที่อาจถูกหลอมและเปลี่ยนรูปร่างได้
* ดิน ใช้เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
 
หนังสือ อู่ ซิง ซวอ ซึ่งเป็นหนังสือโบราณ ได้กล่าวถึงธาตุทั้ง 5 ไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากธาตุทั้ง 5 นี้ ธาตุทั้ง 5 จะเป็นส่วนประกอบของทุกสิ่งในโลกนี้ คนจีนใช้ความคิดนี้อธิบายสิ่งต่างๆ เช่น ฮวงจุ้ย ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี ว่าเอาอะไรผสมอะไรแล้วเกิดเป็นอะไร ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจึงถือกำเนิดขึ้นมา ดังจะอธิบายต่อไป
เส้น 27 ⟶ 23:
 
== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน ==
สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักในชื่อ [[สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 4 ของจีน]] ซึ่งรวมถึง เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และการพิมพ์ สมัยนี้ภูมิศาสตร์ก็เจิญขึ้นมาเช่นกัน จากหนังสือจวงจื่อ ได้เก็บทฤษฎีของฮุ่ยซือ ไว้ว่า ข้าพเจ้าทราบว่า ศูนย์กลางของฝากฟ้า อยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน และตอนใต้ของรัฐเยว่ คำว่าใต้ฟ้าที่คนสมัยนั้นเรียก หมายถึง แผ่นดินจีนนั่นเอง รัฐเอียน อยู่บริเวณปักกิ่ง ส่วนรัฐเยว่ อยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง การที่จะหาจุดศูนย์กลางของจีนในสมัยโบราณนั้นต้องไปดูทางตอนใต้ของรัฐเอียน ตอนเหนือของรัฐเยว่ นี่มีเหตุผล คือ นักวิชาการไม่เพียงทราบว่าโลกหมุน แต่ยังทราบอีกว่าโลกกลมอีกด้วย ฉะนั้น ฮุ่ยซือจึงกล้าพูดว่า จุดศูนย์กลางของจีนอยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน ตอนใต้ของรัฐเยว่ ทั้งนี้เพราะโลกกลม เมื่อเดินทางจากตอนเหนือของรัฐเอียน ก็จะสามารถไปถึงตอนใต้ของรัฐเอียนได้ ภูมิศาสตร์จีนก็เจริญไม่น้อยเช่นเดียวกัน
 
[[กงซูจื่อ]] เป็นวิศวกรที่ใครๆในสมัยนั้นก็รู้จักกันดี มีคำกล่าวว่า ผลงานอันยอดเยี่ยมของกงซูจื่อ หากไม่ใช้เครื่องมือเรขาคณิต ก็ไม่อาจสร้างรูปเหลี่ยม หรือวงกลม กงซูจื่อสร้างสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น นกพยนต์ เมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว กงซูจื่อใช้ไม้ไผ่สร้างนกบินขึ้นไปบนท้องฟ้า บินได้สามวันไม่ตกพื้นเลย แต่ว่าเราต้องตระหนักว่าส่วนประกอบของนกพยนต์กับเครื่องบินนั้นย่อมไม่เหมือนกัน แต่นกพยนต์ต้องอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงจะบินบนอากาศได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนกพยนต์นี้ไม่อาจยืนยันได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งวงเวียนและไม้ฉากเป็นอุปกรณ์บ่งบอกถึงมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของจีนในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจอีกอย่างของกงซูจื่อ มีบันทึกไว้ในตำราหลี่จี้ ว่ากงซูจื่อเคนเสนอให้ใช้เครื่องกลชนิดหนึ่งส่งโลงศพเข้าไปเก็บในสุสาน แต่ผู้คนพากันคัดค้านว่ากงซูจื่อไม่ควรนำมารดาผู้อื่นมาอวดอ้างว่าตนนั้นเก่ง เราจึงเห็นได้ว่า กงซูจื่อมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี จนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างเครื่องจักรกลได้
 
สมัยซ้องได้มีการพัฒนาทางด้านการใช้ถ่านหินและอุตสาหกรรมหลอมเหล็ก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งดุจหินผาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก การใช้ถ่านหินในเตาเผาด้วยอุณหภูมิที่พอเหมาะนับเป็นสิ่งที่ก้าวหนามากที่สุดของประวัติศาสตร์โลก
 
* ด้านคณิตศาสตร์ก็ก้าวหน้าไปมาก นาฬิกาดาวที่ซูซ่งคิดขึ้นมาเมื่อปีค.ศ. 1090 เป็นการวางกฎด้านความคิดที่สำคัญ และยังชี้ให้เห็นว่านาฬิกาไขลานมิใช่เกิดจากคนตะวันตกตามที่เราเข้าใจกัน
* ด้านการแพทย์ ซ่งฉี เขียนกฎหมายแพทย์ออกมาเป็นคนแรกของโลก มีหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคเด็ก การฝังเข็ม การปรุงยา ออกมามากมายในช่วงนี้ มีวัคซีนป้องกันโรคหัดตั้งแต่ค.ศ. 1014
* มีการตั้งข้อตกลงหรือสัญญาในอาชีพต่างๆ เช่น กสิกรรม การทหาร สถาปัตยกรรม หนังสือที่สำคัญที่สุดในสมัยนี้ชื่อ เม่ง จี บิ ตัน เป็นหนังสือที่ให้ความรู้หลายด้าน คนเขียนคือ เซนกัว และคณะ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเข็มแม่เหล็กเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการพิมพ์ การทำแผนที่แบบแสดงพื้นที่สูงต่ำ และเรื่องฟอสซิล
* การต่อเรือสมัยนี้มีการสร้างใบและพายด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวต่อเรืออย่างดี เรือไม่มีช่องรั่วเหมือนเมื่อก่อน หางเสือได้ปรับปรุงอย่างดี มีเข็มทิศ จีนเดินเรือได้จากญี่ปุ่นลงไปถึงสุมาตรา
* วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง เนื่องจากสภาพการเมืองและสังคมเอื้ออำนวย กล่าวคือ สมัยก่อนราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเป็นช่วง 5 ราชวงศ์ บ้านเมืองจึงระส่ำระส่าย ไร้เสถียรภาพทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงไม่มีทางเจริญขึ้นมาได้ ในสมัยต่อมา คือ สมัยราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง ราชสำนักต้องการทรัพย์สินเงินทองไปให้สินบนแก่ชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยโดยรอบ ชาวจีนทุกคนจึงต้องทำมาหากินเพื่อหาเงินมาพัฒนาบ้านเมือง เศรษฐกิจจึงเจริญ และตามมาด้วยยุคเฟื่องฟูของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน
 
== ผลของยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฟื่องฟู ==
ประการแรก คือ ผลผลิตตต่างๆสมัยราชวงศ์ซ้องได้เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ราชวงศ์ซ้องแข็งแกร่งเพราะเศรษฐกิจเฟื่องฟู อันที่จริงแล้ว ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงราชวงศ์ถังตอนปลาย คือตั้งแต่ราว ค.ศ. 618 – 907 อันเนื่องมาจากรัฐบาลเน้นเรื่องการค้า ทำลายระบบถือครองที่ดิน และข้าวที่ปลูกได้ในดินแดนตะวันออกฉียงใต้มีปริมาณมากขึ้น ยุคเฟื่องฟูได้ดำเนินต่อมาจนถึงราชวงศ์ซ้อง อุตสาหกรรมถ่านหิน เหล็ก เหล็กกล้า ดินปืน เจริญขึ้นอย่างมาก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากมาย
ด้านการเกษตร มีการนำพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาจากอาณาจักรจามปา บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง มีการตั้งระบบควบคุมน้ำ ทำให้จีนปลูกข้าวเจ้าได้ถึงปีละสองครั้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเจ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การปลูกฝ้ายก็แพร่ขจายไปทั่วในช่วงศต. ที่ 12 ปริมาณการบริโภคชาก็เพิ่มขึ้นทั้งจีนและดินแดนภายนอก
เทคโนโลยีผลิตเครื่องปั้นดินเผาของจีนก็ก้าวหน้าที่สุดในโลก ถึงแม้การค้ากับเอเชียกลางจะมีจำกัด แต่การประดิษฐ์เข็มทิศและเทคโนโลยีต่อเรือที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก ก็ได้เป็นตัวส่งเสริมการค้าระหว่างจีนกับเอเชียและตะวันออกกลาง สินค้าส่งออกของจีนในช่วงนี้ได้แก่ ชา เครื่องหัตถศิลป์ ผ้าไหม เหรียญทองแดง เป็นต้น เครื่องถ้วยชามกระจายตัวออกไปถึงเอเชียอาคเนย์ พวกอาหรับก็นำเครื่องถ้วยชามติดเรือตนไปขายต่อทางแถวอ่าวเปอเซียและแอฟริกาตะวันออกไกลถึงแซนซิบาร์และไคไร ส่วนสินค้าเข้าคือไม้หอม น้ำหอม เครื่องเทศ ไข่มุก และงา
ปริมาณเงินในระบบมีมาก มากกว่าในสมัยถังด้วยซ้ำ ในบางพื้นที่ถึงกับเกิดการขาดเหรียญทองแดงหมุนเวียนในระบบด้วยซ้ำ ซึ่งเรียกกันว่า ช่วงขาดเงินสด (cash famines) ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้แร่เงินมากขึ้น รวมถึงเงินกระดาษ ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีเป็นเงินสดได้ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนภาษีทั้งหมด มากกว่าจะได้เป็นเมล็ดพันธุ์พืช หรือผ้า
สภาพของเมืองต่างๆนั้นเจริญด้านการค้าอย่างมาก กำแพงเมืองของไคฟงและฮังโจวเปิดตลอดทั้งชั้นนอกและชั้นใน ถนนสายใหญ่ของเมืองมีร้านขายของตั้งอยู่เรียงรายดังเช่นที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ พวกพ่อค้าให้ข้าราชการเป็นคนจัดการสถานที่ในตลาด ผู้คนกินดีอยู่ดี มีรสนิยมหรูหรา มีภัตตาคาร โรงละคร โรงเหล้า และซ่องโสเภณีเกิดขึ้นอยู่มากมาย ถนนตามเมืองต่างๆมีการละเล่นหลายอย่าง เช่น ต่อตัว เล่นกล หมากรุก ทำนายโชคชะตา
แต่เมื่อการค้าเจริญ สิทธิสตรีกลับตกต่ำลง เพราะผู้ชายนั้นไม่อยากให้ผู้หญิงเข้ามาแข่งเรื่องการค้ากับตก ประเพณีมัดเท้าจึงเกิดขึ้น โดยมีสาระสำคัญว่า สตรีสูงส่งหรือสตรีชั้นสูงนั้นจะต้องมัดเท้าตั้งแต่ยังเด็ก หากใครมัดเท้า ก็จะมีผู้ชายสูงส่งมาขอแต่งงาน ลูกชาวบ้านธรรมดานั้นจะไม่มัดเท้า
 
อิทธิพลที่เห็นได้ชัดที่สุดของช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู คือ มีเมืองที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เมืองไคฟง มีบ้านเรือน 260,000 หลังคาเรือน มีพลเมือง 1 ล้านคน ส่วนฮังโจว มีบ้านเรือน 391,000 หลังคาเรือน ทำให้ระหว่าง ค.ศ. 800 ถึง ค.ศ. 1000 จีนจึงมีประชากรถึงกว่า 100 ล้านคน
ประการต่อมา การที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูก็เป็นปัจจัยทำให้สังคมจีนเปลี่ยนไปด้วย ในสมัยก่อน ผู้นำทั้งทางการเมืองและทางสังคมจะเป็นผู้มีการศึกษาที่มีประวัติความเป็นมาของตระกูลยาวนาน ในสมัยซ้อง สิ่งนี้ไม่มีอีกต่อไป เพราะผู้นำในสมัยนี้นั้นเป็นคนในท้องถิ่น ซึ่งมีฐานะทางสังคมสูงได้เพราะพวกเขาเป็นคนที่วิริยะอุตสาหะมาก และไม่ได้ขึ้นตรงต่อรัฐบาล คนพวกนี้ร่ำรวยและมีอิทธิพลต่อสังคมนั้น พวกเขาเป็นเจ้าของที่ดิน ลงทุนค้าขาย บริจาคเงินให้วัดและโรงเรียนต่างๆ ช่วยเหลือคนที่ประสบภัยน้ำท่วมหรือภัยแล้ง สมัยซ้อง คนพวกนี้ได้รับการศึกษาและเข้าร่วมวัฒนธรรมระดับชาติ ในฐานะนักวิชาการ (literati) วัฒนธรรมซ้องใกล้ชิดกับ ทำให้ระบบขุนนางหายไป คนใกล้ชิดกับช้าราชการและนักวิชาการมากกว่าเจ้า
นอกจากนี้ยังเป็นสมัยศิลปะรุ่งเรืองและมีนักคิดสำคัญอีกด้วย มีเครื่องกระเบื้องลายครามและเครื่องดินเผาที่สำคัญที่สุด มีการนำเทคนิคการผลิตต่างๆมาทำให้ได้สีและรูปทรงที่สวยงามอีกด้วย
 
== บทสรุป ==
ความคิด ความเชื่อ และปรัชญาจีน เช่น หยางหยิน อันกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นปัจจัยหลักของยุคเฟื่องฟูทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาวจีนในสมัยราชวงศ์ซ้อง และความเจริญในช่วงนี้ ได้ส่งผลต่างๆต่อจีนมากมาย เช่น สภาพเศรษฐกิจเฟื่องฟู สิทธิสตรีตกต่ำ เป็นต้น