ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บิกแบง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
{{ใช้ปีคศ}}
 
ไอเหวียงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
'''บิกแบง''' ({{lang-en|Big Bang}}, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของ[[เอกภพ]]ใน[[จักรวาลวิทยา]]ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน
 
[[ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์]] นักวิทยาศาสตร์และพระ[[โรมันคาทอลิก]] เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า ''สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom)'' [[อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน]] ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของ[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]]ของ[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]] ต่อมาในปี ค.ศ. 1929 [[เอ็ดวิน ฮับเบิล]]ค้นพบว่า ระยะห่างของ[[ดาราจักร]]มีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับ[[การเคลื่อนไปทางแดง]] การสังเกตการณ์นี้บ่งชี้ว่า [[ดาราจักร]]และ[[กระจุกดาว]]อันห่างไกลกำลังเคลื่อนที่ออกจากจุดสังเกต ซึ่งหมายความว่าเอกภพกำลังขยายตัว ยิ่งตำแหน่งดาราจักรไกลยิ่งขึ้น ความเร็วปรากฏก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น<ref name="hubble">{{cite journal|title=A relation between distance and radial velocity among extra-galactic nebulae |first=Edwin |last=Hubble |journal=[[Proceedings of the National Academy of Sciences|PNAS]] |volume=15 |pages=168–173 |date=1929 |doi=0.1073/pnas.15.3.168}}</ref> หากเอกภพในปัจจุบันกำลังขยายตัว แสดงว่าก่อนหน้านี้ เอกภพย่อมมีขนาดเล็กกว่า หนาแน่นกว่า และร้อนกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดนี้มีการพิจารณาอย่างละเอียดย้อนไปจนถึงระดับ[[ความหนาแน่น]]และ[[อุณหภูมิ]]ที่จุดสูงสุด และผลสรุปที่ได้ก็สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลจากการสังเกตการณ์ ทว่าการเพิ่มของอัตราเร่งมีข้อจำกัดในการตรวจสอบ[[ฟิสิกส์พลังงานสูง|สภาวะพลังงานที่สูงขนาดนั้น]] หากไม่มีข้อมูลอื่นที่ช่วยยืนยันสภาวะเริ่มต้นชั่วขณะก่อนการระเบิด ลำพังทฤษฎีบิกแบงก็ยังไม่สามารถใช้อธิบายสภาวะเริ่มต้นได้ มันเพียงอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเอกภพที่เกิดขึ้นหลังจากสภาวะเริ่มต้นเท่านั้น
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/บิกแบง"