ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามสแควร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
|ที่ตั้ง=[[ถนนพญาไท]]-[[ถนนพระรามที่ 1]] แขวงปทุมวัน [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]]|เปิด=|สถานะ=เปิดให้บริการ|บริหาร=สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|พื้นที่=63 ไร่|ที่จอดรถ=|ชั้น=|เว็บ=[http://www.siam-square.com/ siam-square.com]}}
 
'''สยามสแควร์''' หรือภาษาปากว่า '''สยาม''' เป็น[[ศูนย์การค้า]]เปิดโล่งแนวราบในเขตปทุมวัน [[กรุงเทพมหานคร]] เนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่บนหัวมุม[[ถนนพญาไท]] และ[[ถนนพระรามที่ 1]] อยู่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทล สยามสแควร์
 
ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน
 
สยามสแควร์ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่[[ระบบสาธารณูปโภค]]ต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ มีการเพิ่มการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอ[[โทรทัศน์]]ทั่วสยามสแควร์ และทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์ขึ้นอย่างจริงจัง และโครงการหลังจาก[[เซ็นเตอร์พอยท์]]ได้หมดสัญญาลงไป ก็คือโครงการ "ดิจิตอล เกตเวย์" และยังมีโครงการอาคารจอดรถ โครงการ[[โรงแรม]] 3 ดาวครึ่ง ในอนาคต
 
สยามสแควร์มีอิทธิพลต่อ[[วัฒนธรรมสมัยนิยม]]ของไทย โดยมีภาพยนตร์ที่มีฉากหรือเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์ เช่น ''[[รักแห่งสยาม]]'' และ ''[[สยามสแควร์ (ภาพยนตร์)|สยามสแควร์]]'' นอกจากนี้[[มิวสิกวิดีโอ]]ก็นิยมใช้สยามสแควร์เป็นฉากในเรื่อง
 
== สถานที่ตั้ง ==
[[ไฟล์:Masterplansiamsquare.jpg|link=https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Masterplansiamsquare.jpg|thumb|300x300px|ผังบริเวณ สยามสแควร์]]
สยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าเปิดโล่งแนวราบขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณ[[สี่แยกปทุมวัน]]<ref>[http://www.tourism.go.th/article.php?Id=89&Ntype=7 เส้นทางเดินเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 48 พรรษา] สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว</ref> มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับ[[ถนนพระรามที่ 1]] ทางทิศตะวันตกติดกับ[[ถนนพญาไท]] ทางทิศตะวันออกติดกับ[[ถนนอังรีดูนังต์]] และทางทิศใต้ติดกับ[[ซอยจุฬาลงกรณ์ 64]] มีพื้นที่ติดกับ[[เอ็มบีเค เซ็นเตอร์]], [[สยามดิสคัฟเวอร์รี่]], [[สยามเซ็นเตอร์]], [[สยามพารากอน]] และ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]<ref>[http://xn--42c1dcgtoc6d9gve.net/index.html สยามสแควร์]</ref> รวมถึงยังอยู่ใกล้กั[[สนามศุภชลาศัย]], [[วังสระปทุม]] และ[[วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร|วัดปทุมวนาราม]] ส่วนการเดินทางมายังสยามสแควร์นั้น ยังสามารถเดินทางมาได้โดย[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]ถึง 2 สถานี คือ[[สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ]]ของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม|สายสีลม]] และ[[สถานีสยาม]]ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 2 สาย คือ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|สายสุขุมวิท]]และสายสีลม<ref>[http://xn--42c1dcgtoc6d9gve.net/transportation.html การเดินทางไปสยามสแควร์]</ref>
 
ภายในสยามสแควร์ ทางทิศเหนือตั้งแต่ทางด้านซ้าย บริเวณโรงภาพยนตร์สกาล่า คือสยามสแควร์ซอย 1 แล้วไล่ไปทางขวาถึงสยามสแควร์ซอย 6 คั่นด้วยถนนเชื่อมระหว่างถนนพญาไทและถนนอังรีดูนังต์ คือสยามสแควร์ซอย 7 และไล่จากขวาไปซ้ายตั้งแต่สยามสแควร์ซอย 8 จนถึงซอย 11
 
== ประวัติ ==
=== ช่วงแรกเริ่ม ===
ที่ดินบริเวณก่อนการสร้างสยามสแควร์ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ชาวบ้านก็ออกจากพื้นที่ไป และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเจ้าของที่ดิน<ref name="Lucky2">[http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=64094 Lucky Charm สยามสแควร์] Positioning Magazine ตุลาคม 2550</ref> ก็มาช่วยกันคุมพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา และในขณะนั้นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ พลเอก [[ประภาส จารุเสถียร]] มีแผนพัฒนาที่ดินบริเวณสยามสแควร์ให้เป็นแหล่งค้าขายเพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม<ref name="จากสลัม2">วัฒนะชัย ยะนินทร, [http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=64093 จากสลัม สู่เซ็นเตอร์ของวัยโจ๋] Positioning Magazine ตุลาคม 2550</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2507 [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้มอบหมายให้บริษัท เซาท์อีสท์เอเซียก่อสร้าง (ซีคอน) พัฒนาที่ดินขนาด 63 ไร่ ขึ้นเป็นศูนย์การค้าแนวราบ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ สูง 3-4 ชั้น ชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยโดยมีรองศาสตราจารย์[[เลิศ อุรัสยนันท์]] เป็น[[สถาปนิก]] และศาสตราจารย์[[รชฏ กาญจนวณิชย์]] เป็น[[วิศวกร]]<ref>อรวรรณ บัณฑิตกุล, [http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2480 สยามสแควร์ในอดีต] นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545</ref> บริษัทก่อสร้างเสร็จปี พ.ศ. 2507 จำนวน 550 ห้อง มีโรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีไอซ์สเก็ตติ้ง เป็นศูนย์การค้าแนวราบที่ใหญ่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น<ref name="ย้อนตำนาน2">[http://www.matichonbook.com/newsdetail.php?gd=44515 ย้อนตำนาน"สยามสแควร์" จากปาก กอบชัย ซอโสตถิกุล]</ref> และเพิ่มเป็น 610 ห้อง ในเวลาต่อมา ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สิทธิซีคอนเก็บผลประโยชน์จากผู้เช่าห้องแถว 10 ปี จากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้เก็บผลประโยชน์ต่อ<ref name="จากสลัม2" />
 
เดิมสยามสแควร์จะใช้ชื่อว่า '''ปทุมวันสแควร์''' มีพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''สยามสแควร์''' และในขณะนั้นฝั่งตรงข้ามกำลังสร้าง[[โรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล]] (ปัจจุบันมีการทุบและก่อสร้างใหม่เป็น[[สยามพารากอน]])<ref name="ย้อนตำนาน2" /> และศูนย์การค้าที่สร้างใหม่ในบริเวณนั้น ก็ได้รับการตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน คือ [[สยามเซ็นเตอร์]]
 
มีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถ ระบบสาธารณูปโภค และอาคารขนาดใหญ่ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์จำนวน 3 โรง และ[[โรงโบว์ลิ่ง]] ธุรกิจที่เข้ามาเปิดดำเนินการส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า และร้านตัดผม ซึ่งย้ายหรือขยายสาขามาจากย่านอื่น เช่น [[วังบูรพา]] [[สุรวงค์]] [[สีลม]]<ref name="สำนักงานจัดการทรัพย์สิน2">[http://www.property.chula.ac.th/siamprop.php สยามสแควร์] สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> จุดเด่นของสยามสแควร์อยู่ที่มีโรงภาพยนตร์ถึง 3 โรง คือ สยาม และลิโด สร้างก่อน แล้วต่อมาจึงสร้างสกาลาบริเวณโรงภาพยนตร์สกาลา เดิมจะทำเป็นไอซ์สเก็ตติ้ง แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นโรงภาพยนตร์แทน โดยมีกลุ่มเอเพ็กซ์ของ[[พิสิษฐ์ ตันสัจจา]]เข้ามารับผิดชอบ ส่วนโรงโบว์ลิ่งได้กลุ่มเจริญรัชตะภาคย์ เครือโรงแรมเพรสิเด้นท์มาดำเนินการ<ref name="ย้อนตำนาน2" /> ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออก สร้างเป็นโรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์
 
=== ยุคเติบโต ===
หลังจากนั้นบริเวณสยามสแควร์มีร้านค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งร้านอาหารมีระดับ หรือร้านอาหารฟาสท์ฟู้ด และมีการสร้าง[[สถานีตำรวจ]]และ[[สถานีดับเพลิง]]ตรงข้ามกับโรงภาพยนตร์สยาม ในปี พ.ศ. 2523 และมีการพัฒนาธุรกิจศูนย์การค้าให้ใหญ่ขึ้น มีธุรกิจใหม่ ๆ เข้ามา มีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง<ref>[http://www.siam-square.com/history-thai.html ประวัติและความเป็นมาของสยามสแควร์] siam-square.com</ref>
 
จนในปี พ.ศ. 2540 เกิดทสมงสทืิอแะพปะำผพฟไำพหกะดัเาี้รส่าสทวม[[วิกฤตต้มยำกุ้ง|วิกฤตทางด้านเศรษฐกิจศรษฐกิจในประเทศไทย]]อย่างหนัก และจากเหตุการณ์สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปรับราคาค่าเช่าขึ้น 1,200% จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นเป็นราคา 6–7 ล้านบาท ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของผู้ค้าในสยามสแควร์ ถึงขนาดมีการชุมนุมประท้วงใหญ่ จนในที่สุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปรับราคาค่าเช่าเหลือ 600%<ref name="จากสลัม2">วัฒนะชัย ยะนินทร, [http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=64093 จากสลัม สู่เซ็นเตอร์ของวัยโจ๋] Positioning Magazine ตุลาคม 2550</ref> ทำให้ผู้เช่าร้านปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก ร้านตัดเสื้อหลายแห่งเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อให้เหมาะกับกำลังซื้อของลูกค้า ขณะเดียวกันก็เกิดเจ้าของธุรกิจรายเล็ก ๆ เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางจุฬาฯ ให้เช่าเพื่อเป็นโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะซอย 5-6-7 จากเดิมมีไม่กี่โรงเรียน ก็เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 50 โรงเรียน และเมื่อมีการก่อสร้าง[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]แล้วเสร็จยิ่งทำให้สยามสแควร์กลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้น<ref name="Lucky2">[http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=64094 Lucky Charm สยามสแควร์] Positioning Magazine ตุลาคม 2550</ref>
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2541]] มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณซอย 5 บนเนื้อที่ 1 ไร่ 41 ตารางวา<ref>[http://news.giggog.com/social/cat2/news6008/ รื้อเซ็นเตอร์พอยท์แหล่งวัยรุ่นสยามสแควร์]</ref> ให้เป็นศูนย์รวมวัยรุ่น มีลานกิจกรรม ลานน้ำพุ เรียกว่า "เซ็นเตอร์พอยท์" เปิดดำเนินการเมื่อ [[พ.ศ. 2542]] ที่สร้างสีสันและความคึกคักขึ้น มีสินค้าและบริการหลายอย่างที่ต้องการเปิดตัว ก็มักมาทำกิจกรรมที่นี่ อีกทั้งการเปิดตัวของ[[สยามพารากอน]] และการปรับโฉมของสยามเซ็นเตอร์ มาบุญครอง ก็เอื้อให้จำนวนคนที่แวะเวียนมาในสยามสแควร์มากขึ้น<ref name="จากสลัม2" />
เส้น 117 ⟶ 95:
 
== ปัญหา การพัฒนาและปรับปรุง ==
นับตั้งแต่สยามสแควร์ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และธุรกิจมีการแข่งขันต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึง[[ภูมิทัศน์]] ก็ย่อมเสื่อมสภาพและทรุดโทรมตามกาลเวลา ปัญหาที่ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องประสบอยู่ เช่น สภาพภายนอกอาคารเก่า ทางเดินเท้าที่แคบและชำรุด ความสกปรกของระบบการระบายน้ำเสีย ปัญหาน้ำท่วม การวางระบบสาธารณูปโภคที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่นสายไฟฟ้าหรือโทรศัพท์และระบบการกำจัดขยะ เป็นต้น ซึ่งมีการแก้ปัญหาเป็นบางส่วน แต่ระบบสาธารณูปโภคโดยรวมยังไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว<ref name="สำนักงานจัดการทรัพย์สิน2">[http://www.property.chula.ac.th/siamprop.php สยามสแควร์] สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref>
[[ไฟล์:Footpath_in_Siam_Square.JPG|link=https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Footpath_in_Siam_Square.JPG|left|thumb|200x200px|การปรับขยายทางเท้าให้กว้างขวางขึ้น]]
มีการปรับปรุงดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างในบริเวณสยามสแควร์ใหม่ทั้งหมด มีการขอความอนุเคราะห์จาก[[สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน]] ในการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จัดความเรียบร้อยและการจราจรในบริเวณสยามสแควร์ สำหรับในด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมหาวิทยาลัยได้ดูแล มีการซ่อมบำรุงผิวจราจร จ้างทำความสะอาดกวาดพื้นถนน ทางเท้า ดูแลรักษาบำรุงสวนหย่อม จัดจ้างล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำปีละอย่างน้อย 6 ครั้ง การบริหารจัดการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ในบริเวณสยามสแควร์นั้น<ref name="สำนักงานจัดการทรัพย์สิน2" />