ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
OHM CAT
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Quake epicenters 1963-98.png|thumb|300px|แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด]]
'''แผ่นดินไหว''' เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือการเขย่าของพื้นผิว[[โลก]] เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจาก[[ธรรมชาติ]] โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นัก[[ธรณีวิทยา]]ประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน
 
* OHM CAT รวย
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่าง[[รอยต่อธรณีภาค]]) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่าย[[พลังงานศักย์]] ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูป[[คลื่นไหวสะเทือน]]
 
[[ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว]]มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้น[[แมนเทิล]] ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า [[จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว]] โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า [[วิทยาแผ่นดินไหว]] เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิด[[คลื่นสึนามิ]]ตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้
 
แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) [[มาตราขนาดโมเมนต์]]เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก [[มาตราริกเตอร์]] สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ [[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554|แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554]] และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดย[[มาตราเมร์กัลลี]]ที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว่า
 
== แหล่งกำเนิด ==
แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ ขอบของแผ่นเปลือกโลก แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ และบริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน บริเวณที่มีการฉีดของเหลวลงใต้พื้นดิน บริเวณที่มีการเก็บกากรังสีเป็นต้น
 
== สาเหตุ ==
[[ไฟล์:Tectonic plate boundaries.png|250px|thumb|ขอบเขตและการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว]]
 
=== แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ ===
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็น[[ธรณีพิบัติภัย|ธรณีภัยพิบัติ]]
 
ชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เนื่องมาจากการปลดปล่อย[[พลังงาน]]เพื่อระบาย[[ความร้อน]] ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับความสมดุลของ[[เปลือกโลก]]ให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของ[[รอยเลื่อน (ธรณีวิทยา)|รอยเลื่อน]] ภายในชั้น[[เปลือกโลก]]ที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู [[การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก]]) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อ[[ความเค้น]]อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของ[[แผ่นเปลือกโลก]] ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็น[[ธรณีภาค]] (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของ[[แผ่นเปลือกโลก]]นี้ว่า [[แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น]] (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า [[แผ่นดินไหวภายในแผ่น]] (intraplate earthquake)
 
=== แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์ ===
มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้าง[[อ่างเก็บน้ำ]]หรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น
* '''การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่''' ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ [[เขื่อนฮูเวอร์]] ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย [[เขื่อนการิบา]] ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 [[เขื่อนครีมัสต้า]] ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจาก[[เขื่อนคอยน่า]] ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน<ref name="nytimes.com">[http://www.nytimes.com/2009/02/06/world/asia/06quake.html?_r=1 Possible Link Between Dam and China Quake] by SHARON LaFRANIERE, นิวยอร์กไทม์ส, 5 กุมภาพันธ์ 2008.</ref>
* '''การทำเหมืองในระดับลึก''' ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้
* '''การสูบน้ำใต้ดิน''' การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบ[[น้ำมัน]]และ[[แก๊สธรรมชาติ]] ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้
* '''การทดลองระเบิด[[อาวุธนิวเคลียร์|นิวเคลียร์]]ใต้ดิน''' ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลก
 
== การวัดและหาตำแหน่งแผ่นดินไหว ==
 
 
{{main|คลื่นไหวสะเทือน}}
'''คลื่นแผ่นดินไหว''' หรือคลื่นไหวสะเทือน ({{lang-en|seismic waves}}) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
# [[คลื่นไหวสะเทือน#ประเภทของคลื่นไหวสะเทือน|คลื่นในตัวกลาง]] เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบ ๆ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
#* คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ
#* คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง
# [[คลื่นไหวสะเทือน#ประเภทของคลื่นไหวสะเทือน|คลื่นพื้นผิว]] เป็นคลื่นที่แผ่จาก[[จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว]] มี 2 ชนิด
#* คลื่นเลิฟ (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
#* คลื่นเรลีย์ (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง
{{โครงส่วน}}
 
== ขนาดและความรุนแรง ==
'''ขนาดของแผ่นดินไหว''' หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ตัวอย่างสูตรการคำนวณขนาดแผ่นดินไหวแบบท้องถิ่น (ML-Local Magnitude) ซึ่งคิดค้นโดย [[ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์]] มีสูตรการคำนวณในยุคแรกดังนี้
 
:<math>M = logA - logA_\mathrm{0}\ </math>
 
กำหนดให้
: M = ขนาดของแผ่นดินไหว (แมกนิจูด)
: A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด
:<math>A_\mathrm{0}\ </math> = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์
 
โดยขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อย[[พลังงาน]]มากกว่า 32 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่นแผ่นดินไหวแมกนิจูด 5 จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าแมกนิจูด 4 ราว 32 เท่า เป็นต้น
 
สูตรของขนาดแผ่นดินไหวยังมีอีกมากมายหลายสูตร แต่ละสูตรจะมีใช้วิธีวัดและคำนวณแตกต่างกันออกไป เช่น mb วัดจากคลื่น body wave หรือ MS วัดจากคลื่น surface wave เป็นต้น โดยมาตราวัดขนาดโมเมนต์ หรือ Mw จะเป็นมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวที่วัดได้แม่นยำที่สุดโดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดใด ๆ
 
'''ความรุนแรงของแผ่นดินไหว''' ({{lang-en|Intensity}}) ต่างจากขนาดแผ่นดินไหว เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผู้สังเกตว่าห่างมากน้อยเพียงใด ความเสียหายจะเกิดมากที่สุดบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและค่อย ๆ ลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุนแรงมีหลายมาตรา เช่น มาตราชินโดะ มาตราเมร์กัลลี เป็นต้น
 
== การพยากรณ์ ==
{{ต้องการอ้างอิงส่วน}}
[[ไฟล์:Chuetsu earthquake-Yamabe Bridge.jpg|200px|thumb|right|ความเสียหายของถนนจาก[[แผ่นดินไหวในจูเอ็ทสึ พ.ศ. 2547]]]]
 
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด แม้ว่าในปัจจุบันจะมี[[เทคโนโลยี]] เครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัย แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษา วิเคราะห์ถึงลักษณะต่าง ๆ ของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว โดยอาศัยจากการสังเกตสิ่งต่อไปนี้
* '''ลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก''' เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากสภาพปกติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว เช่น
*# แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น โดยใต้ผิวโลกจะมี[[ความร้อน]]สูงกว่าบนผิวโลก จึงทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัว หดตัวไม่สม่ำเสมอ โดยที่เปลือกโลกส่วนล่างจะมีการขยายตัวมากกว่า
*# การเปลี่ยนแปลงของ[[สนามไฟฟ้า]] [[สนามแม่เหล็ก]] และ[[แรงโน้มถ่วง]]ของโลก
*# การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
*# น้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวและการขยายตัวของเปลือกโลกใต้ชั้นหินรองรับน้ำ
*# ปริมาณแก๊ส[[เรดอน]]เพิ่มขึ้น
* '''การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์''' สัตว์หลายชนิดมีการรับรู้และมักแสดงท่าทางออกมาก่อนเกิดแผ่นดินไหว อาจจะรู้ล่วงหน้าเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เช่น
*# [[สัตว์เลี้ยง]] สัตว์บ้านทั่วไปตื่นตกใจ เช่น สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี
*# แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
*# หนู งู วิ่งออกมาจากที่อาศัย ถึงแม้ในบางครั้งจะเป็นช่วง[[ฤดูจำศีล]]ของพวกมัน
*# ปลากระโดดขึ้นมาจากผิวน้ำ
* '''บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว''' ถ้าบริเวณใดเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โอกาสเกิดแผ่นดินไหวก็มีตามมาอีก และถ้าสถานที่นั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ก็มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นอีกเช่นกัน นอกจากนี้บริเวณที่มีภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นก่อนหรือหลังภูเขาไฟระเบิดได้
 
== ผลกระทบ ==
ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก [[ภูเขาไฟ]]ระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย [[ไฟไหม้]] แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ [[แผ่นดินถล่ม]] เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิด[[โรคระบาด]] ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การ[[ประกันภัย]] และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
 
ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "[[สึนามิ]]" ({{lang-ja|津波}}, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิด[[น้ำท่วม]] สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล
 
== การป้องกันความเสียหาย ==
[[ไฟล์:Hokkaido Sapporo Odori Park.jpg|200px|thumb|left|ที่ว่างกลางเมือง[[ซัปโปโร]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] สามารถใช้หลบภัยจากแผ่นดินไหว และการพังถล่มของตึก]]
ในปัจจุบันมีการสร้างอาคาร [[ตึกระฟ้า]]ใหม่ ๆ บนหินแข็งในเขตแผ่นดินไหว อาคารเหล่านั้นจะใช้โครงสร้าง[[เหล็กกล้า]]ที่แข็งแรงและขยับเขยื้อนได้ มีประตูและหน้าต่างน้อยแห่ง บางแห่งก็มุงหลังคาด้วยแผ่นยางหรือ[[พลาสติก]]แทนกระเบื้อง ป้องกันการตกลงมาของกระเบื้องแข็งทำให้ผู้คนบาดเจ็บ ถนนมักจะสร้างให้กว้างเพื่อว่าเมื่อเวลาตึกพังลงมาจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร และยังมีการสร้างที่ว่างต่าง ๆ ในเมือง เช่น [[สวนสาธารณะ]] ซึ่งผู้คนสามารถจะไปหลบภัยให้พ้นจากการถล่มของอาคารบ้านเรือนได้
[[ไฟล์:Rubens - Vulcano forjando los rayos de Júpiter.jpg|150px|thumb|right|ชาวโรมันโบราณเชื่อว่า [[เทพวัลแคน]] ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด]]
 
== ความเชื่อในสมัยโบราณ ==
คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เกิดจากฝีมือของ[[เทพเจ้า]]หรือ[[สิ่งเหนือธรรมชาติ]] เช่น ชาว[[โรมัน]]โบราณคิดว่าเทพเจ้าที่ชื่อว่า [[วัลแคน]] อาศัยอยู่ในภูเขาไฟ เทพองค์นี้ทรงเป็น[[ช่างตีเหล็ก]]ให้กับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เมื่อใดที่มีควันและเปลวไฟพุ่งออกมาจากภูเขาไฟ ชาวโรมันก็คิดว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังติดไฟในเตาหลอมอยู่ และเมื่อแผ่นดินสั่นสะเทือนก็หมายถึงว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังตีเหล็กหลอมอยู่บนทั่ง
 
ชาว[[กรีก]]โบราณเชื่อว่าเทพเจ้าองค์หนึ่ง มีชื่อว่า [[โพไซดอน]] เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว เทพเจ้าโพไซดอนมีรูปร่างขนาดใหญ่ เมื่อพิโรธก็จะกระทืบเท้า ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ส่วนชาว[[ฮินดู]]ใน[[ประเทศอินเดีย]]เชื่อว่าโลกของเราตั้งอยู่บนถาดทองคำซึ่งวางอยู่บนหลัง[[ช้าง]]หลายเชือกติดกัน เมื่อใดที่ช้างเคลื่อนไหว โลกก็จะสั่นสะเทือนไปด้วย และเกิดเป็นแผ่นดินไหว ส่วนคน[[ญี่ปุ่น]]เชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า มี[[ปลาดุก]]ยักษ์อยู่ใต้พื้นดิน และเมื่อใดที่ปลาดุกยักษ์พลิกตัวหรือขยับเขยื้อนแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว<ref>{{citation | title = เจาะโลกมหัศจรรย์ | first = พัชรา | last = จันทร์ครบ | year = 2543 | publisher = บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด | location = กรุงเทพมหานคร | isbn = 974-471-456-5 }}</ref>ความเชื่อของคนไทยโบราณคล้ายคลึงกับคนญี่ปุ่นแต่เปลี่ยนเป็นปลาอานนท์ใต้[[เขาพระสุเมรุ]]พลิกตัว
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[รายการแผ่นดินไหว]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* {{citation | title = ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว | first = เจนนิงส์ | last = เทอร์รี | year = 2538 | publisher = สำนักพิมพ์ บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด | location = กรุงเทพมหานคร | isbn = 974-08-1867-6 }}
* กนก จันทร์ขจร และถนัด ศรีบุญเรือง, ''วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4 - ม.6'', สำนักพิมพ์ บริษัทไทยร่มเกล้า จำกัด, 2549, หน้า 15, สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
* [http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/EQthaiHAZARD.htm พิบัติภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย]
* [http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000102293 เจาะพื้นธรณีวิทยา หาที่มาแห่ง 'พสุธากัมปานาท']" — บทความจาก''[[ผู้จัดการออนไลน์]]
* [http://www.thai.to/universe/earthquakes.html แผ่นดินไหวบริเวณสุมาตรา-อันดามัน]
* [http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=77 หนังสืออุตุนิยมวิทยา เรื่องแผ่นดินไหว] — จาก[[กรมอุตุนิยมวิทยา]]
* [http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/Homep/Training.htm ข้อปฏิบัติให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว] — จาก[[กรมทรัพยากรธรณี]]
* [http://www.emsc-csem.org ศูนย์ยุโรปสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวเมดิเตอร์เรเนียน - EMSC]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|earthquakes}}
{{วิกิตำรา}}
* [http://geothai.net/gneiss/?cat=24 ความรู้เกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย] - จากเว็บไซต์วิชาการธรณีไทย
* [http://www.tmd.go.th/earthquake_report.php รายงานแผ่นดินไหว] — จาก[[กรมอุตุนิยมวิทยา]]
* [http://www.dmr.go.th/faq/type/type3.asp คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย] — จาก[[กรมทรัพยากรธรณี]]
* [http://paipibat.com ข่าวแผ่นดินไหว] — จากเว็บภัยพิบัติ
* [http://www.emsc-csem.org/#2 European-Mediterranean Seismological Centre] รวย
 
[[หมวดหมู่:แผ่นดินไหว| ]]