ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรสุโขทัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
...
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 157:
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา[[นิกายเถรวาท]]แบบ[[ลังกาวงศ์]]จาก[[นครศรีธรรมราช]] ในวันพระ จะมี[[ภิกษุ]]เทศนาสั่งสอน ณ [[ลานธรรม]]ใน[[สวนตาล]] โดยใช้[[พระแท่นมนังคศิลาอาสน์]] เป็น[[อาสนะสงฆ์]] ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ใน[[ศีลธรรม]] มีการถือ[[ศีล]] โอย[[ทาน]]กันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
 
=== อาหาร กระเพราหมูกรอบ ===
=== ด้านการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ===
อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
 
# '''แบบราชาธิปไตย''' ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์เรียกว่า "พ่อขุน" ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
#'''แบบ[[ธรรมราชา]]''' กษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของ[[พระมหาธรรมราชาที่ ๑]] มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง [[ไตรภูมิพระร่วง]] ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4
 
ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้
 
* '''ในแนวราบ''' จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและ[[ความยุติธรรม]]กับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปาก[[ประตู]]มี[[กระดิ่ง]]อันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
 
* '''ในแนวดิ่ง''' ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
** '''พ่อขุน''' เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น [[เจ้าเมือง]] [[พระมหาธรรมราชา]] หากมีโอรสก็จะเรียก "[[ลูกเจ้า]]"
** '''[[ลูกขุน]]''' เป็น[[ข้าราชบริพาร]] ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครอง[[เมืองหลวง]] [[หัวเมืองใหญ่น้อย]] และภายใน[[ราชสำนัก]] เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
** '''[[ไพร่]]'''หรือ[[สามัญชน]] ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ใน[[ราชอาณาจักร]] ([[ไพร่ฟ้า]])
** '''[[ทาส]]''' ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่){{อ้างอิง}}
 
== รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง ==
=== รัฐอิสระ ===