ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองแม่ข่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chiangmai2499 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''คลองแม่ข่า''', '''น้ำแม่ข่า''' หรือ '''แม่น้ำข่า''' เป็นคลองโบราณสายหนึ่งของ[[จังหวัดเชียงใหม่]] เป็นหนึ่งในชัยภูมิที่[[พญามังราย]]ทรงเลือกที่จะสร้าง[[เวียงเชียงใหม่|เมืองเชียงใหม่]]เมื่อกว่า 700 ปีที่แล้ว เดิมคลองน้ำแม่ข่าทำหน้าที่เป็น[[คูเมือง]]ชั้นนอกที่โอบล้อมเมือง และเป็นทางระบายน้ำล้นลงสู่[[แม่น้ำปิง]] แต่จากการขยายตัวของชุมชนเมืองเมื่อสามทศวรรษที่ผ่านมาทำให้น้ำในคลองเน่าเสียหนัก ซึ่งได้มีความพยายามที่จะพัฒนาคลองนี้ให้กลับมามีสภาพปรกติดังเดิมแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 26:
<blockquote>"...อยู่ที่นี่ หันน้ำตกแต่อุชุปัตตาดอยสุเทพ มาเป็นแม่น้ำไหลไปหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออก แล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้..."</blockquote>
 
คลองน้ำแม่ข่าไหลจากมาจาก[[อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย]]ที่[[อำเภอแม่ริม]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] ถือเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ ในอดีตคลองน้ำแม่ข่าทำหน้าที่ทั้งเส้นทางสัญจร เป็นคูเมืองชั้นนอกเพราะคลองนั้นโอบรอบเวียง และยังเป็นทางระบายน้ำ มวลน้ำบางส่วนจะไหลไปรวมกันที่'''หนองบัวเจ็ดกอ''' (บ้างเรียก หนองบัว, หนองเขียว หรือหนองป่าแพ่ง) ซึ่งเป็นหนองน้ำโบราณที่มีมาตั้งแต่สร้างเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ก่อนไหลไปสู่แม่น้ำน้ำแม่ปิง<ref name= "สรัสวดี"/> แต่ปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวสิ้นสภาพไปแล้วและถูก[[ถนนอัษฎาธร]]ตัดผ่านเพื่อไปบรรจบกับ[[ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง]]<ref name= "สรัสวดี"/> ในอดีตหนองน้ำนี้จะทำหน้าที่รองรับมวลน้ำมหาศาลซึ่งถือเป็นการป้องกันอุทกภัย อันแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการจัดการน้ำของชาวเชียงใหม่ในอดีต<ref name= "สรัสวดี"/> และชาวเชียงใหม่ในอดีตกล่าวว่าหากปีใดหนองบัวไม่มีน้ำจะเกิดทุกข์ เป็นอาทิ<ref name= "สรัสวดี"/> คลองน้ำแม่ข่าจะทำหน้าที่ส่งน้ำเลี้ยงคูเมืองชั้นนอก และยังรับน้ำจากลำห้วยต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่เมืองเชียงใหม่ไม่ให้ไหลลงแม่น้ำน้ำแม่ปิงไปเสียก่อนเพื่อกระจายน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคแก่บรรดาชุมชนต่าง ๆ ที่เรียงรายไปตามลำคลอง<ref name= "ศรีศักร">ศรีศักร วัลลิโภดม. ''สร้างบ้านแปงเมือง''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 71-73</ref>
 
ในอดีตคลองน้ำแม่ข่ามีความอุดมสมบูรณ์ น้ำใสสะอาด ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำจากคลอง รวมทั้งสามารถจับ[[ปลา]]และ[[ปู]]ที่อยู่ในคลองมาบริโภคได้<ref name= "เชียงใหม่"/><ref name= "คมชัดลึก">{{cite web |url= http://www.komchadluek.net/news/local/198669 |title= ฟื้นฟูสภาพน้ำคลองแม่ข่า เริ่มที่ต้นตอผุดบ่อบำบัดชุมชน ? |author=|date= 6 มกราคม 2558 |work= คมชัดลึก |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> แต่ด้วยความที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรมของภาคเหนือ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองเชียงใหม่อย่างไร้ระบบในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา มีชุมชนแออัดผุดขึ้นรวมทั้งเกิดการบุกรุกคลองน้ำแม่ข่าทำให้มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น คลองมีขนาดแคบลงกว่าแต่ก่อน และทรุดโทรมอย่างยิ่ง<ref name= "เชียงใหม่"/><ref name= "เปลี่ยน">{{cite web |url= https://dreamaction.co/thesis-mae-kha-canal-from-dumping-sites-to-longest-linear-park-of-northern-thailand/ |title= เปลี่ยนปัญหา เป็นโอกาส : คลองแม่ข่า THE HIDDEN GEMS OF CHIANG MAI |author=|date= 10 สิงหาคม 2559 |work= Dream Action |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> ทั้งมีการทิ้งน้ำเสียจากทั้งจากสถานประกอบการต่าง ๆ จนถึงระดับครัวเรือนที่ขาดระบบบำบัดน้ำเสีย จนทำให้คลองน้ำแม่ข่าเน่าเสียมายาวนานจนเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ตก และใช้งบประมาณในการทำความสะอาดคลองหลายล้านบาทในแต่ละปี<ref>{{cite web |url= http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9570000139813 |title= ชี้เหตุ “คลองแม่ข่า” เน่าหนัก หลังพบผู้ประกอบการกว่า 150 รายต่อท่อทิ้งน้ำเสียไร้บำบัด |author=|date= 4 ธันวาคม 2557 |work= ASTV ผู้จัดการออนไลน์ |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> จากการศึกษาคุณภาพน้ำพบว่าน้ำในคลองนั้นเสียอยู่ในระดับที่ 5 คือคุณภาพเสียสูงสุด ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้อีก มี[[อ็อกซิเจน]]ต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งพบสารปนเปื้อน อาทิ [[อีโคไลน์]] [[ไนเตรต]] และ[[ฟอสฟอรัส]]สูงกว่าปรกติ ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นและมีสีขุ่นดำ<ref name= "เปลี่ยน"/>
 
ต้นปี พ.ศ. 2560 [[ทัศนัย บูรณุปกรณ์]] นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ร่วมมือกับทุกภาคส่วน วางแผนที่จะฟื้นฟูคลองน้ำแม่ข่าซึ่งเป็นคลองสายประวัติศาสตร์นี้ โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาทสำหรับการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืช ติดตั้งเครื่องเติมอากาศ ใช้พืชน้ำบัดบัดน้ำเสีย และจ้างคนดูแลคลองด้วย อันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ยูเนสโกพิจารณาเมืองเชียงใหม่เป็น[[มรดกโลก]]<ref>{{cite web |url= http://www.matichon.co.th/news/424847 |title= ระดมสมอง ดัน ‘เชียงใหม่’ สู่มรดกโลก ทุ่ม 50 ล้าน ฟื้น ‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำประวัติศาสตร์ |author=|date= 12 มกราคม 2560 |work= มติชนออนไลน์ |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> หลายฝ่ายมองว่าทั้งคลองน้ำแม่ข่าและ[[ลำคูไหว]]ซึ่งเป็นคลองสาขาของคลองน้ำแม่ข่าสายหนึ่ง ถือเป็นมรดกที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เชียงใหม่ที่ควรได้รับการพัฒนาสำหรับเป็นจุดขายการท่องเที่ยวได้<ref>{{cite web |url= https://prachatai.com/journal/2005/09/21471 |title= มหัศจรรย์เวียงเจ็ดลิน ของดีที่ถูกลืม |author=|date= 27 กันยายน 2548 |work= ประชาไท |publisher=|accessdate= 26 มีนาคม 2560 }}</ref>
 
== ลักษณะ ==
คลองน้ำแม่ข่าเป็นธารน้ำจากภูเขามีต้นกำเนิดแถบ[[อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย]] คือลำ'''ห้วยแม่ชะเยือง'''และ'''ห้วยตึงเฒ่า'''ไหลรวมเข้ากับ'''ลำเหมืองกลาง'''และ'''ลำเหมืองแม่หยวก'''เป็นคลองน้ำแม่ข่า<ref name= "ภัยพิบัติ">{{cite web |url= http://cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/?name=/chapter1/cp1_4/artical4 |title= ระบบพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม เขตเมืองเชียงใหม่ |author=|date=|work= หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> ที่ตำบลดอนแก้ว [[อำเภอแม่ริม]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]<ref name= "คอมพาส">{{cite web |url= http://www.compasscm.com/viewissue.php?id=208&lang=en&issue=122 |title= แม่ข่า จากลำห้วยใหญ่น้อยต้นน้ำ สู่คลองระบายน้ำของชุมชน |author=|date=|work= COMPASS |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> ไหลผ่านตัว[[อำเภอเมืองเชียงใหม่]]โดยมีลักษณะไหลโอบรอบเวียง<ref name= "สรัสวดี"/> ที่ไหลเลี่ยงเมืองจากมุมเมืองด้านเหนือลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีกำแพงเมืองชั้นนอกช่วยเบนคลองน้ำแม่ข่าห่างเมืองออกไปทางทิศตะวันออกแล้ววกมาทางใต้สมทบกับ'''[[ห้วยแก้ว]]'''และลำห้วยต่าง ๆ ไหลไปตามชุมชนต่าง ๆ ขนานไปกับ[[แม่น้ำปิง|น้ำแม่ปิง]]<ref name= "ศรีศักร"/> ก่อนไหลรวมเข้ากับแม่น้ำปิงที่'''สบข่า'''ใน[[อำเภอหางดง]]<ref name= "คอมพาส"/> รวมความยาวราว 31 กิโลเมตร<ref name= "ฟื้นฟู"/> คลองมีลักษณะคดโค้งบางช่วง แต่ปัจจุบันมีคลองบางส่วนโดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่มีการทำแนวคอนกรีตด้วย<ref name= "คอมพาส"/>
 
คลองน้ำแม่ข่ามีลำน้ำสาขาคือ'''น้ำแม่ท่าช้าง''' โดยไหลเชื่อมเข้ากับคลองน้ำแม่ข่าเหนือ[[แจ่ง|แจ่งศรีภูมิ]] 500 เมตร กับอีกสายคือ[[ลำคูไหว]] ที่เริ่มต้นจากแจ่งกู่เฮืองบรรจบกับคลองน้ำแม่ข่าที่ถนนสุริยวงศ์ ที่ลำน้ำสองสายนี้จะทำหน้าที่ระบายน้ำออกจาก[[คูเมืองเชียงใหม่]]<ref name= "ภัยพิบัติ"/>
 
ส่วนปัญหาด้านมลพิษในน้ำจะพบว่าบริเวณต้นคลองที่อำเภอแม่ริมนั้นไม่มีปัญหารุนแรง แต่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่นั้นถูกรุกล้ำและเน่าเสียอย่างรุนแรง<ref name= "คมชัดลึก"/><ref name= "เปลี่ยน"/><ref name= "คอมพาส"/> โดยเฉพาะจุดที่เชื่อมกับ[[ลำคูไหว]]ที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสียเช่นกัน<ref name= "คมชัดลึก"/><ref name= "เปลี่ยน"/> ทั้งทำหน้าที่รับน้ำฝนและน้ำทิ้งของเมือง<ref name= "ภัยพิบัติ"/> ส่วนลำเหมืองกลางที่ชักน้ำใสสะอาดจากบึงประดิษฐ์นั้นก็แทบจะไม่ช่วยให้คลองน้ำแม่ข่าสะอาดขึ้นแม้แต่น้อย<ref name= "คอมพาส"/> เมื่อน้ำไหลไปถึงตำบลป่าแดดซึ่งเป็นปลายน้ำก่อนไหลลงสบข่า ก็ยิ่งทวีกลิ่นเน่าเหม็นอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน รวมทั้งเกษตรกรที่เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำปิง<ref>{{cite web |url= http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9600000013930 |title= ชาวบ้านป่าแดด เชียงใหม่โวย ทนทุกข์ดมกลิ่นน้ำเน่าเหม็น “คลองแม่ข่า” กว่า 30 ปี วอนรัฐเร่งแก้ปัญหา |author=|date= 9 กุมภาพันธ์ 2560 |work= MGR Online |publisher=|accessdate= 24 มีนาคม 2560 }}</ref> ซึ่งบริเวณประตูน้ำตรงสบข่านั้นน้ำในคลองจะมีสีดำตัดกับสีของแม่น้ำปิงอย่างชัดเจน ผิวน้ำจะมีฟองอากาศ และคราบน้ำมันส่งกลิ่นเหม็น<ref name= "คอมพาส"/>
 
== อ้างอิง ==