ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thapapong38 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
== การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ==
{{บทความหลัก|การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475}}
ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมี[[รัฐธรรมนูญ]]นั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งใน[[ประวัติศาสตร์ไทย]]เชิงการเมืองการปกครอง เมื่อ[[คณะราษฎร]] ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมี[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]]เป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจาก[[พระมหากษัตริย์]] เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้น[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ประทับอยู่ ณ [[วังไกลกังวล]] [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็น[[ภาษาอังกฤษ]]) ที่ทรงเขียนในเดือน[[สิงหาคม]] พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทาน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์]] ซึ่งได้แปลเป็น[[ภาษาไทย]]ในหนังสือเรื่อง ''เกิด[[วังปารุสก์]]'' เล่ม 2 ความดังนี้<ref>[http://www.whosell.com/talk/showthread.php?t=1252 Account Suspended<!-- Bot generated title -->]</ref>{{อ้างอิง}}
 
{{คำพูด|ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่งที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรกก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือดทั้งยุ่งยากต่างๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้...
 
ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯ อาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้... สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำตลอดเวลาว่าให้ยินยอมกลับกรุงเทพฯ และช่วยคณะราษฎรจัดตั้งการปกครอง โดยมีกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นของที่ฉันเคยอยากจะทำมานานแล้ว แต่ว่าฉันเสียขวัญ}}
 
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก่[[เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 หลังจากนั้น ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะทรงประทับอยู่ที่[[สหราชอาณาจักร]] หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงปีเศษ โดยทรงมีเหตุผลในการตัดสินพระทัย ตามความในพระราชหัตถเลขา ดังนี้ <ref>พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการปกครองระบบรัฐสภา รัฐสภาพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ วันที่ 10 ธันวาคม [[พ.ศ. 2523]]</ref>