ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 87:
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็น[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ใน [[พ.ศ. 2459]] มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับนิสิตในคณะต่าง ๆ (นโยบายนี้ยังปรากฏในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ([[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ในปัจจุบัน) ซึ่งเปิดสอนใน [[พ.ศ. 2477]] ด้วย) ต่อมา ในปลายปี [[พ.ศ. 2466]] เมื่อ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์]]ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงดำเนินการปรับปรุงคณะแพทยศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ทรงจัดหลักสูตรสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ด้วยพระองค์เอง โดยทูลเชิญและเชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางมาปาฐกถา เช่น [[สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงบรรยาย[[ประวัติศาสตร์ไทย]] และ[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ]]ทรงบรรยายอิทธิพลของวัฒนธรรม[[อินเดีย]]ต่อวัฒนธรรม[[ไทย]] เป็นต้น
 
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงเปิดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับ[[ปริญญาตรี]]และ[[ปริญญาโท]] โดยก่อน [[พ.ศ. 2516]] มีสถาบันอุดมศึกษาเพียง 2 แห่งที่เปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโท คือ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ([[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]]ในปัจจุบัน) อิอิ
 
[[ไฟล์:MahaChulalongkorn Building.jpg|thumb|250px|อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
 
ปัจจุบันสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่ทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร