ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำพล วัชรพล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อิกคิวซัง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sermsak Thongkong (คุย | ส่วนร่วม)
→‎งานหนังสือพิมพ์: เพิ่มเติมโดย นายเสริมศักดิ์ ทองคง
บรรทัด 19:
{{บทความหลัก|ไทยรัฐ}}
ราวเดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2490]] กำพลเข้าทำงานเป็น[[ผู้สื่อข่าว]][[หนังสือพิมพ์หลักไทย]] ในสมัยที่[[เลิศ อัศเวศน์]]เป็นบรรณาธิการ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างนั้นก็เป็นพนักงานหาโฆษณาไปพร้อมกันด้วย ต่อมากำพลชักชวนเลิศและวสันต์ ออกหนังสือฉบับพิเศษชื่อ “นรกใต้ดินไทย” ที่เลิศเขียนขึ้นเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์หลักไทย โดยใช้เงินลงทุนจำนวน 2,000 บาท จากทุนส่วนตัวร่วมกับการหยิบยืม เมื่อพิมพ์จำหน่ายหักกลบลบหนี้แล้ว แบ่งเงินกันเป็นสามส่วน ยังมีเหลือไว้เป็นกองกลางอีก 6,000 บาท จากนั้นกำพลปรึกษากับเลิศและวสันต์ว่า น่าจะออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์สักฉบับหนึ่ง จึงไปจดทะเบียนหนังสือพิมพ์กับ[[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ|กองบังคับการตำรวจสันติบาล]] ใช้ชื่อว่า “ข่าวภาพ” รายสัปดาห์ โดยใช้ตราเป็นรูป[[กล้องถ่ายภาพ]] [[สายฟ้า]]และ[[ฟันเฟือง]]ซ้อนกันอยู่ใน[[วงกลม]] ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ที่กำพลเป็นเจ้าของตลอดมา
 
มื่อเริ่มออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกนั้นยังไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตนเอง ต้องจ้างโรงพิมพ์ "หลักเมือง" ของนายพินิต อังกินันท์ ซึ่งอยู่ที่ตำบลสวนมะลิรับพิมพ์ให้ นับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายสัปดาห์ออกวางตลาดครั้งแรก ราคา 1 บาท ยอดพิมพ์ 3 พันฉบับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2493 ด้วยเงินลงทุนเพียง 6 พันบาท แล้วหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับนี้ก็โตวันโตคืนเป็นที่ต้องการของคนอ่าน จนต้องปรับเป็นหนังสือพิมพ์ราย 3 วัน เมื่อทำมาได้ไม่ถึงปี และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2495 เขาก็ได้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันชื่อ "ข่าวภาพ" โดยมีนายอุทธรณ์ พลกุล เป็นบรรณาธิการ โดยเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ให้ความสำคัญของทั้งข่าวและภาพ เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" และหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" ในปัจจุบัน
 
ช่วงที่ทำหนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" นี้เอง นายกำพลได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งไปบวชเป็นพระ ที่วัดลาดบัวขาว ถนนตก กรุงเทพมหานคร เพราะเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ได้มีโอกาสนมัสการพระภิกษุนพ โพธิรักษ์ ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ สมัยขับเรือเมล์วิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่แถวนั้นแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้บวชเรียน ส่วนงานหนังสือพิมพ์ได้มอบให้คุณหญิงประณีตศิลป์ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก กับเพื่อนรักที่ชื่อนายวสันต์ ชูสกุล ช่วยกันบริหาร และเมื่อสึกแล้วได้มาบริหารหนังสือพิมพ์ข่าวภาพต่อไป จนเป็นที่นิยมของบรรดาผู้อ่านทั้งข่าวการเมืองและข่าวทั่วๆ ไป
 
การเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันของนายกำพล วัชรพล มิได้ราบรื่น หากเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามที่ต้องต่อสู้ฟันฝ่าเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลุกขึ้นมายึดอำนาจการปกครอง จากจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2501 นั้น ได้ปิดหนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายวันและหัวหนังสือพิมพ์ชื่อ "ข่าวภาพบริการ" ก็ต้องถูกยึดไปด้วย พนักงานระดับมันสมองหลายคนถูกจับขัง โดยไม่มีกำหนดและไม่แจ้งข้อหา สำนักงานและโรงพิมพ์ในซอยวรพงษ์ บางลำพู ถูกไฟไหม้ 2 ครั้ง 2 ครา แต่เขาไม่ใช่คนที่จะยอมแพ้อะไรง่าย ๆ
 
ในเมื่อมีพนักงานที่เขาจะต้องรับผิดชอบในชีวิตความเป็นอยู่ เมื่อไม่มีหนังสือพิมพ์จะออก เพราะการขอออกหนังสือพิมพ์ใหม่นั้น มีคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 (ต้นกำเนิดของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 หรือ ปร.42) ขวางอยู่ สมัยนั้นใครมีหัวหนังสือพิมพ์ก็เหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน หนังสือพิมพ์ที่ชื่อเก๋ๆ ขายได้บางฉบับถึง 3 แสนบาท แต่นายกำพล เลือกเอาการออกหนังสือพิมพ์ใหม่ ด้วยการไปเช่าหัวหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" ที่ออกที่จังหวัดอ่างทองเข้ามาออกในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2502 โดยจ้างโรงพิมพ์อื่นให้ช่วยพิมพ์ให้ จนกระทั่ง พ.ศ. 2504 โรงพิมพ์ในซอยวรพงษ์ฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง แต่แล้วไม่นาน เจ้าของหัว "เสียงอ่างทอง" ขอหัวคืนไปทำเอง จึงเมื่อ พ.ศ. 2505 เขาได้ออกหนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งได้ซื้อหัวมาเก็บไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ทำหน้าที่สื่อมวลชนสืบมา
 
อัตราการเติบโตของหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" เป็นฉันใด การเจริญเติบโตของ "ไทยรัฐ" ก็เป็นฉันนั้น จนโรงพิมพ์ในซอยวรพงษ์ไม่สามารถรองรับอัตราความเจริญเติบโตได้ เขาจึงตัดสินใจย้ายมาซื้อที่ดินย่านตลาดหมอชิต คือสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐปัจจุบันนี้ ตั้งสำนักงานใหม่โดยเมื่อเริ่มก่อสร้าง ใน พ.ศ. 2512 นั้น ถนนวิภาวดีมีเพียงแนวปักไม้ทาสีแดง เตรียมการก่อสร้างถนน "กรุงเทพฯ-สระบุรี" เท่านั้น การเดินทางมาตรวจการก่อสร้างยังต้องจอดรถไว้แถวตลาดหมอชิต ริมถนนพหลโยธิน ด้วยเหตุนี้สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จึงมีเลขที่บ้านเป็นเลขที่ 1 ถนนกรุงเทพฯ-สระบุรี ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนวิภาวดีรังสิต เพราะเป็นอาคารหลังแรกบนถนนสายนี้ และสำนักงานได้ย้ายมาอยู่สำนักงานไทยรัฐปัจจุบัน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2513 พร้อมเครื่องพิมพ์ใหม่ถอดด้ามฮามาดะจากญี่ปุ่น
 
นายนิโคลัส โคลริดจ์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ชื่อดังชาวอังกฤษกล่าวถึง นายกำพล วัชรพล ไว้ในหนังสือ "เปเปอร์ ไทเกอร์ส" หรือ "เสือกระดาษ" ของเขาตีพิมพ์จำหน่าย เมื่อ พ.ศ. 2536 ภายใต้ชื่อเรื่องว่า "25 คน หนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกพร้อมวิถีทางแห่งชัยชนะ" ว่า "คนไทย 1 ส่วนในจำนวน 4 ส่วน อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทุกวัน ไม่จำกัดชั้นวรรณะหรือระดับการศึกษา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเข้าถึงตลาดได้มากกว่าหนังสือพิมพ์ "ซัน" ของรูเพิร์ต เมอด็อค (ราชาหนังสือพิมพ์ของโลก) ที่จำหน่ายในลอนดอนถึง 2 เท่า คุณจะเห็นคนงาน กรรมการ นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐตามร้านกาแฟข้างถนน เห็นนักธุรกิจใหญ่ นักค้าเพชร นั่งอ่านในคอฟฟี่ชอฟโรงแรมรอยัลออคิด และความสัมพันธ์กับเอเย่นต์เป็นไปอย่างสนิทแน่น ความสำเร็จของไทยรัฐมีผลให้เขาร่ำรวย แม้จะมีอายุกว่า 70 ปี แล้ว ก็ยังคงเดินทางไปเยี่ยมเยียนเอเย่นต์หนังสือพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ"
 
หนังสือเล่มเดียวกันนี้ยกย่องนายกำพล ต่อไปถึงการอุทิศเงินเพื่อสร้างโรงเรียนไทยรัฐวิทยาให้แก่เยาวชนในชนบทที่ห่างไกลความเจริญ กล่าวถึงการเป็นคน "ติดดิน" ว่าชอบเล่นตะกร้อกับลูกน้อง เป็นผู้มีสมองดั่งคอมพิวเตอร์ ที่สามารถคำนวณเงินสกุลต่างๆ กลับเป็นเงินบาทได้อย่างรวดเร็ว เคยท้าคิดเลขกับพนักงานที่ใช้เครื่องคิดเลขและเขาชนะทุกครั้ง เป็นคนใจกว้าง รักเพื่อนพ้องน้องพี่ หากคุณตกอยู่ในความลำบากเขาจะช่วยคุณจนถึงที่สุด
 
นายกำพล ได้รับการยอมรับจากวงการหนังสือพิมพ์ ไม่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น มูลนิธิหนังสือพิมพ์แห่งเอเซีย ได้เชิญเข้าให้ร่วมเป็นกรรมการบริหารร่วมกับเจ้าของและนักหนังสือพิมพ์ชั้นนำในเอเซีย กรรมการชุดนี้มีนายม๊อกต้า ลูบิส หนังสือพิมพ์ชื่อดังของอินโดนีเซีย ผู้เคยได้รับรางวัลแมกไซไซรวมอยู่ด้วย โดยมูลนิธินี้ทำหน้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกว้างขวางในวงการ
 
นอกจากนี้หนังสือ "ฮู อิส ฮู อิน เดอะ เวิลด์" ของสหรัฐอเมริกาได้นำประวัติของเขาไปตีพิมพ์ เช่นเดียวกับประวัติบุคคลสำคัญของประเทศอื่น ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ค.ศ.1976-1977 หน้า 708 จัดพิมพ์โดยบริษัท คิงส์ พอร์ท เทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกา พร้อมนี้ก็ได้มอบเกียรติบัตรในนามของคณะกรรมการการพิมพ์ มาร์ควิส รับรองว่า "บุคคลต่างๆ ที่ได้รับการยกย่องบันทึกเป็นเกียรติประวัติในหนังสือเล่มนี้ ล้วนเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จดีเด่นมาในแต่ละด้านด้วยความมานะอุตสาหะ กับยังได้สร้างสรรค์ความเจริญอย่างสำคัญให้แก่โลกปัจจุบันด้วย"
 
หนังสืออินเวสเตอร์ อันเป็นนิตยสารรายเดือนภาษาอังกฤษ ฉบับประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2512 ได้กล่าวในบทความทางเศรษฐกิจการค้า ภายใต้หัวเรื่องว่า "กำพล วัชรพล ลอร์ดทอมสันแห่งประเทศไทย" ยกย่องถึงความเป็นคน "ติดดิน" ว่าฟังแล้วเหมือนเรื่องโกหกที่นายกำพล วัชรพล ชอบทำงานกุลี คลุกคลีอยู่กับเด็กเร่ขายหนังสือพิมพ์ คนทำสวน คนแบกและเข็นม้วนกระดาษ แม้กระทั่งภารโรงเก็บกวาดบริเวณโรงพิมพ์ "เป็นที่รู้กันว่าเขามีเงินมหาศาล สามารถบริหารธนาคารได้สัก 2-3 แห่ง แต่เขากลับพอใจที่จะทำงานหนังสือพิมพ์อย่างเดียว และก็มีไทยรัฐเพียงฉบับเดียวโดด ๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ากำพลคือไทยรัฐ ไทยรัฐคือกำพล"
 
อาคารสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐบนถนนวิภาวดีแห่งนี้ เป็นเสมือนบ้านซึ่งนายกำพลสร้างขึ้นมากับมืออันทรงพลังทั้ง 2 และสมองอันปราชญ์เปรื่องของเขา จากเดิมมีเนื้อที่เพียง 11 ไร่ ได้ขยายซื้อเพิ่มขึ้นหลายแปลง จนถึงขณะนี้มีอาคารสูงใหญ่ถึง 13 หลัง
 
นายกำพล เป็นคนที่ไม่ยอมอยู่นิ่ง เป็นคนมองการณ์ไกล เพราะฉะนั้นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จึงเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ย้ายสำนักงานจากใจกลางเมืองที่การจราจรแออัดมาอยู่นอกเมือง และต่อมาก็มีเพื่อนหนังสือพิมพ์อื่นย้ายตามมาอยู่อีกไม่น้อยกว่า 5 ฉบับ เขาเป็นผู้เริ่มให้เปลี่ยนระบบการเรียงพิมพ์จากการเรียงด้วยมือมาเป็นเรียงด้วยแสง และมาเรียงด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เป็นผู้บุกเบิกในการนำหนังสือพิมพ์ออกไปถึงมือผู้อ่านด้วยความรวดเร็ว แทนที่จะปล่อยให้ขึ้นอยู่กับธุรกิจ "รวมห่อ" ที่ส่งหนังสือพิมพ์ไปถึงผู้อ่านตามมีตามเกิด การเปลี่ยนแปลงด้วยการสลัดแอกจาก "รวมห่อ" ทำให้หนังสือพิมพ์เพิ่มจำนวนจำหน่ายสูงขึ้น
 
ในเรื่องเครื่องพิมพ์ ก็เขาอีกนั่นแหละที่เปลี่ยนจากการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบเก่าที่เรียกว่า "เลทเตอร์เพรส" หรือ "ฉับแกระ" เป็นการพิมพ์ด้วยระบบ "โรตารี่" มาเป็น "โรตารี่ ออฟเสท" เป็นระบบ "เวบ ออฟเสท" และจากยี่ห้อ "ฮามาดะ" ของญี่ปุ่นเป็นยี่ห้อโรแลนด์ รุ่นยูนิแมน 2/2 ของเยอรมัน มาเป็นเครื่องยี่ห้อเดียวกัน แต่รุ่นยูนิแมน 4/2 แล้วก็ต้องหยุดใช้ไป เพราะพิมพ์ได้เพียง 32 หน้า จนเมื่อวันที่อายุครบ 76 ปี เต็ม ในวันที่ 27 ธันวาคม 2538 ความฝันของเขาได้เป็นความจริง เมื่อเขาเองเป็นผู้กดปุ่มเดินเครื่องพิมพ์ "เอมเอแอนโรแลนด์ รุ่นจีโอแมน" อันเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดยักษ์แบบล่าสุดจากประเทศเยอรมัน มูลค่ารวมทั้งอาคาร 2,500 ล้านบาท นับเป็นการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีการผลิตหนังสือพิมพ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์วงการหนังสือพิมพ์ไทย โดยเครื่องพิมพ์ดังกล่าวมีอัตราการผลิตถึงชั่วโมงละ 360,000 ฉบับ นับเป็นเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเซียอาคเนย์
 
ความมีน้ำใจของนายกำพล นั้น นายกุ่ย ฮะเจริญ เพื่อนที่เติบโตมาด้วยกันที่กระทุ่มแบน เป็นทหารเรือรุ่น '83 พร้อมกัน และยังไปมาหาสู่กันอยู่ จนกระทั่งนายกำพลเป็นฝ่ายจากไปเสียก่อน เล่าว่า ระหว่างนั่งชมการแสดงลิเก ซึ่งเขาชอบเป็นชีวิตจิตใจที่อำเภอกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เมื่อต้นปี พ.ศ. 2538 นั้น เพื่อนหลายคนได้สรรเสริญในความมีน้ำใจต่อหน้า เขาจึงได้ตอบกับเพื่อนๆ ว่า หลักในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง ที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอดมาก็คือ ถือว่าตนเองเป็นคนที่ "ได้เงาไม่ลืมร่ม ได้พรมไม่ลืมเสื่อ ได้เสื้อไม่ลืมใส่ ได้เป็นใหญ่ไม่ลืมญาติ" รวมทั้งลูกเมียบริวารอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้น จำต้องทำเสมอ เพราะ "ถึงแม้มันจะใช่ญาติเป็นชาติเป็นเชื้อ ถ้าไม่เอื้อเฟื้อมันก็ไม่ใช่ญาติ แม้ว่าจะไม่ใช่ญาติชาติเชื้อ แต่ถ้าเอื้อเฟื้อมันก็เหมือนญาติ"
 
นายกำพล กล่าวอยู่เสมอว่า หนังสือพิมพ์นั้นอยู่ได้ด้วยศรัทธาของประชาชน ฉะนั้นเมื่อมีโอกาสก็ควรจะตอบแทนประชาชน การตอบแทนประชาชนผู้มีอุปการะเกื้อหนุนหนังสือพิมพ์ของเขานั้น มีทั้งการรวบรวมทรัพย์สิ่งของส่งไปช่วยพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยการเป็นผู้นำในการบริจาคและลงมือจัดสิ่งของช่วยเหลือด้วยตนเอง และการตอบแทนประชาชนที่ได้รับการกล่าวขวัญสรรเสริญยกย่องไปทั่วทุกสารทิศนั้น ได้แก่ การอุทิศเงินสร้างโรงเรียนให้กับเยาวชนในชนบทที่ห่างไกลความเจริญเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2512 ที่จังหวัดลพบุรีเป็นแห่งแรก ขณะนี้ได้สร้างอาคาร ปรับปรุงโรงเรียนและส่งมอบให้ทางราชการไปแล้ว 101 แห่ง ด้วยมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท
 
วิธีการช่วยเหลือในเรื่องของการศึกษานั้นเขาเห็นว่า เมื่อได้มอบโรงเรียนให้กระทรวงศึกษาธิการ ในนามของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐแล้ว ควรจะมีอีกองค์กรหนึ่งไว้คอยให้ความอุปการะเกื้อหนุน ดังนั้น เมื่อคราววันเกิดครบ 60 ปีของเขา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2523 เขาได้อุทิศเงินสดจำนวน 1 ล้านบาท เป็นทุนก่อตั้ง "มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ต่อมาได้มีผู้มีจิตศรัทธานำเงินมาบริจาคสมทบอีกมากมาย ในโอกาสวันครบรอบวันเกิดเขาปีต่อ ๆ มา และโอกาสอื่น ๆ ดอกผลจากเงินต้นนี้ได้กำหนดให้นำมาใช้จ่ายในการอุปการะเกื้อหนุนนักเรียนจำนวนประมาณ 3 หมื่นคนและโรงเรียนจำนวน 101 แห่งทั่วประเทศ ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ว่าเมื่อได้ให้โอกาสกับเยาวชนผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้น ผนวกกับความร่วมมือของครูอาจารย์แล้ว เด็กไทยในอนาคตที่สำเร็จจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จะเป็นคนที่มีคุณภาพทั้งเก่ง ทั้งดีมีศีลธรรม เป็นคนมีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต จะได้มาช่วยกันสร้างสรรค์สังคม สร้างสรรค์ประเทศชาติของเราให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
นายกำพล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2516 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกวุฒิสภาถึง 3 สมัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. 2533 และได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้นที่ 1
 
นายกำพล ซึ่งปกติเป็นคนแข็งแรงและออกกำลังกายด้วยการเล่นตะกร้อเป็นประจำ ได้เข้ารับการตรวจรักษาครั้งแรกที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2538 เพราะรู้สึกอึดอัดและแน่นท้อง คณะแพทย์ได้ตรวจพบเนื้องอกที่ไต และได้ผ่าตัดเนื้อร้ายทิ้งถึง 2 ครั้ง แต่อาการกลับทรุดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ้นใจไปอย่างสงบเมื่อเวลา 01.45 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539 เมื่อมีอายุได้ 76 ปี 1 เดือน 25 วัน ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจ และความอาลัยของภรรยา บุตรธิดา ญาติพี่น้องผู้รู้จักคุ้นเคยและของผู้ใต้ผู้บังคับบัญชาทั้งปวง
 
=== อุปสมบท ===
ในระหว่างทำหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” รายวัน กำพลเข้า[[อุปสมบท]]ที่[[วัดลาดบัวขาว]] [[ถนนตก]] [[กรุงเทพมหานคร]] โดยมอบหมายให้ประณีตศิลป์ผู้เป็นภรรยา และวสันต์ร่วมกันบริหาร โดยเมื่อลาสิกขาบทแล้ว ก็กลับมาบริหารหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” ต่อไป<ref>หนังสือเรื่อง "ผู้นำธุรกิจ" โดย อันธิกา กองแก้ว เมษายน 2539</ref>
 
ต่อมาเมื่อเกิด[[กบฏแมนฮัตตัน]]ขึ้นในวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2494]] มีพิธีส่งมอบเรือขุดสันดอนแมนฮัตตันจากอุปทูตสหรัฐอเมริกา โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่ท่าวรดิษฐ แต่แล้วทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เข้าจี้นำลงเรือเร็วไปควบคุมตัวไว้ที่เรือรบหลวงศรีอยุธยา ซึ่งลอยลำอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนหน้ากองทัพเรือ รุ่งขึ้นเวลา 10.00 น.เศษ กำพลและเลิศเช่าเรือสำปั้นจากท่าปากคลองตลาด โดยกำพลเป็นฝีพายเรือมุ่งหน้าไปยังเรือหลวงศรีอยุธยา หมายจะได้สัมภาษณ์จอมพล ป.และให้เลิศเป็นช่างภาพ<!--เรื่องไม่จบ-->
 
 
== เกียรติยศ ==