ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาเขียว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chayathip (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แทนที่เนื้อหาด้วย "thumb|340 px|ไร่ชาเขียว == ผู้คิดค้นการทำชาเขียว ค..."
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:G.jpg.jpg|thumb|340 px|ไร่ชาเขียว]]
== ผู้คิดค้นการทำชาเขียว คือ เฉลียว ศรีไสว บุตรชาย สากล วงค์จิรดิลก ==
 
'''ชาเขียว''' ({{ญี่ปุ่น|緑茶|ryokucha}}) , [[ภาษาจีน|จีน]]: 绿茶 - [[พินอิน]]: lǜchá, เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชใน[[สปีชีส์|ชนิด]] ''[[Camellia sinensis]]'' เช่นเดียวกับ [[ชาขาว]] [[ชาดำ]] และ[[ชาอู่หลง]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=201182/ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ]</ref> ชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทาน[[โรค]]ได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำ[[ชา]]จะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนกว่าอู่หลง ชาเขียวหลงจิ่งที่ราคาสูงที่สุด คือ ฉือเฟิ่งหลงจิ่งที่ชงจากใบจะให้กลิ่นหอมอ่อนๆ บ้างว่าคล้ายถั่วเขียว รสฝาดน้อย เซนฉะที่ชงจากใบมีกลิ่นอ่อนๆจนเข้มได้ขึ้นกับการคั่ว บางครั้งมีรสอุมามิจนถึงรสหวานที่รับรู้ได้เฉพาะบางคนเท่านั้น น้ำมันในตัวชาเขียวผ่านการกลั่นมีผลดีต่อร่างกาย ในประเทศไทยจะมีการแต่งกลิ่นเพื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น
 
== ประวัติ ==
ชามีต้นกำเนิดมาจาก[[ประเทศจีน]]กว่า 4,000 ปีมาแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อน[[คริสต์ศักราช]] ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดย[[จักรพรรดิ]]นามว่า [[เสินหนง]] ซึ่งเป็น[[บัณฑิต]]และนัก[[สมุนไพร]] ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆในช่วง[[ศตวรรษ]]ต่างๆดังนี้
;ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ
;ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่นคือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ
;สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906)
ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่ม เพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อ[[สุขภาพ]]
;สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 - 1279)
ชาได้เติมเครื่องเทศแบบใน สมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบางๆ เช่น น้ำมันจาก[[ดอกมะลิ]] [[ดอกบัว]] และ[[ดอกเบญจมาศ]]
;สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มี การรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ ง่าย และ[[รสชาติ]]ไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาว[[ยุโรป]] การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า [[การหมัก]] เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้
 
=== ในประเทศไทย ===
ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยน[[วัฒนธรรม]]กับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของลาลูแบร์<ref>[http://www.maha.ac.th/digital_library/agri/char/cha22.htm]</ref> ในสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ
 
== ประเภท ==
# '''ชาเขียวแบบญี่ปุ่น''' ชาเขียวญี่ปุ่น เป็นชาประเภทย่อยใน[[ชาญี่ปุ่น]] มีกรรมวิธีการรผลิตคือทำให้แห้งด้วยการอบไอน้ำอย่างรวดเร็ว หรือการนึ่ง มีบางชนิดที่ใช้การคั่ว และการผสม<ref>พิมพ์ พ.ศ. 2553 สารานุกรมชาฉบับสมบูรณ์ หน้า 23 </ref>
# '''ชาเขียวแบบจีน''' ชาเขียวจีน จะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน
 
== ชาเขียวญี่ปุ่น ==
ที่รู้จักกันทั่วไปในไทย<ref>[[ชาญี่ปุ่น|บทความวิกิพีเดีย ชาเขียว]]</ref>
# มัตชะ
# เกียวกุโระ
# เซ็นชะ
# โฮจิชะ
# เก็มไมชะ
 
== ชาเขียวจีน ==
# หลงจิ่ง
# ปี้หลัวชุน
 
== การชงและบริการ ==
# ใส่ใบชาในกาชาประมาณ 1/6 -1/4
# รินน้ำเดือดลงในกาชาครึ่งหนึ่ง เททิ้งทันที (ไม่ควรเกิน 5 วินาที) เพื่อล้าง และอุ่นใบชาให้ตื่นตัว
# รินน้ำเดือดลงในกาชาจนเต็ม ปิดฝากา ทิ้งไว้ประมาณ 45 - 60 วินาที
# รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม (การรินแต่ละครั้ง ต้องรินน้ำให้หมดกา มิฉะนั้น จะทำให้น้ำชาที่เหลือมีรสขม ฝาดมากขึ้น เสียรสชาติ) ใบชาสามารถชงได้ 4 - 6 ครั้ง หรือจนกว่ากลิ่นชาจะหายหอมไป และในการชงแต่ละครั้ง ให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10 - 15 วินาที
 
การชงเซนฉะ
# เลือกใบชาที่ไม่หัก ไม่เหลือง และคุณภาพดี
# เลือกน้ำที่มีความกระด้างต่ำจะเหมาะกับชาญี่ปุ่นที่สุด
# ใช้ใบชา 5 กรัม
# น้ำใช้ ประมาณ 30-50 มิลลิลิตร หรือครืงถ้วยชาเซนฉะ
# รินน้ำเดือดลงในถ้วยพัก พักไว้ สิบวินาที
# พักน้ำใส่ถ้วยพักอีกใบ พักอีกสบวินาที
# รินน้ำที่พักไว้ลงในกาชาที่ใส่ไปชาไว้แล้ว
# รอประมาณ 1 นาทีครึ่ง แล้วชิมดู หากอ่อนไป เพิ่มเป็น 2 หรือ 3 นาที ตามลำดับ
# รินใส่ถ้วยดื่ม
 
สามารถชงซ้ำได้ประมาณ 5 ครั้ง หรือจนกว่าจะจืด
 
== การวิจัยและผลต่อสุขภาพ ==
{{โครงส่วน}}
 
== เครื่องดื่มชาเขียวในไทย ==
ปัจจุบันชาเขียวได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ที่สนใจและรักษาสุขภาพซึ่งชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันทั้ง ชาเขียวที่ได้สกัดมาเป็นเครื่องดื่มประเภทชาเขียวมีมากมายในยุคปัจจุบัน ซึ่งยี่ห้อที่ได้รับความนิยมมีดังนี้
 
; [[ยูนิฟ]] : บริษัท ยูนิ-เพรสซิเด้นท์ (ประเทศไทย) จำกัดผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม”ยูนิฟ กรีนที” และ “ชาลีวัง” กล่าวว่า บริษัทจึงมีแผนที่จะรักษาความเป็นผู้นำในตลาดไว้โดยการพัฒนาสินค้ารสชาติใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดต่อเนื่อง ตลอดจนการเพิ่มบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ล่าสุดได้ขยายบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นขวดแพ็ก 500 มิลลิลิตร และได้เริ่มรสชาติชูการ์ฟรีก่อน จากที่มีอยู่ 3 รสชาติ คือ รสชูการ์ฟรี รสดั้งเดิมและรสเลมอน โดยจะจำหน่ายในราคา 20 บาท เท่ากับของคู่แข่ง [[โออิชิ]] กรีนที ที่มีขนาดบรรจุ 500 มิลลิลิตรเท่ากัน ทั้งนี้ก็เพื่อจะขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ อาทิกลุ่มผู้ออกกำลังกาย นักกีฬา และนักเดินทาง
 
[[ไฟล์:Ohichi.jpg|thumb|ชาเขียวโออิชิ]]
; [[โออิชิ]] : บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานเพื่อผลิตชาเขียวรูปแบบใหม่กล่องยูเอชทีสำหรับวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี ทั่วประเทศและชาเขียวในขวดแพ็กสำหรับคนทำงานอายุระหว่าง 25-30 ปีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งเป็นขวดในระบบฮอตฟิว สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลา 1 ปี คาดว่ายอดขายปีแรก 500 ล้านบาท มอบหมายให้บริษัทดีทแฮล์มฯเป็นผู้กระจายสินค้า โดยปัจจุบันในตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม[[ยูนิฟ]]กรีนที เป็นเจ้าตลาด{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}มีส่วนแบ่ง 65% ตามด้วยทิปโก้มีส่วนแบ่ง 10% ของตลาดรวม
 
; [[นะมาชะ]] : บริษัท สยามคิริน เบฟเวอร์เรจ จำกัด ในกลุ่มคิริน เบฟเวอร์เรจ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตลาดชาเขียวในปี 2549 หดตัวลง 40% เมื่อเทียบกับการเกิดกระแสชาเขียวในปี 2548 ซึ่งไม่ได้เป็นการเติบโตที่เกิดจากความต้องการดื่มที่แท้จริง แต่จากนี้ไปคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างมั่นคง
จากการที่บริษัทได้เปิดตัวชาเขียว "นะมะชะ" นับว่าประสบความสำเร็จในการสร้างการรับรู้ในแบรนด์มาก และในปี 2550 บริษัทได้สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดแนวใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในไทย โดยได้นำ "นะมะชะแพนด้า" 2 รสชาติ คือ รสต้นตำรับ และรสหวานน้อย ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทแม่มาทำตลาดในไทย ซึ่งจะมีการแจกของพรีเมี่ยมให้กับลูกค้าด้วย เพียงซื้อ "นะมะชะ"1 ขวดที่ร้านสะดวกซื้อ ก็จะได้รับที่ห้อยโทรศัพท์ หรือซื้อ 2 ขวดที่ซูเปอร์มาร์เก็ตก็จะได้รับแก้วน้ำ ปัจจุบันไม่มีการแจกแล้ว
 
; [[ฟูจิชะ]] : ชาเขียวพร้อมดื่มภายใต้การควบคุมของฟูจิกรุ๊ป ผลิตจากวัตถุดิบใบชานำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และผลิตโดยใช้เทคโนโลยีระบบ cold filled ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงในระยะเวลาสั้น แล้วผ่านไปสู่กระบวนการผลิตต่อๆไปที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้คุณค่า สารอาหาร สี และรสชาติของชาถูกทำลายไปเพียงเล็กน้อย สู่บรรจุภัณฑ์ขวดรูปทรงกระบอกและฝาปิดสองชั้น เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการแทรกซึมของจุลินทรีย์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีจำหน่าย 3 สูตร คือ Natural, Tasty (หวาน), Fit (ผสมสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย)
 
; [[มารุเซน]] : ชาเขียวญี่ปุ้นแท้เจ้าแรกที่เข้ามาปักหลักผลิตในประเทศไทย โดยใช้ไร่ชา ที่ สิงห์ปาร์ค เชียงรายของ บริษัทบุญรอด ฟาร์ม จำกัด เป็นฐานในการผลิต [[มารุเซน]] เป็นโรงงานมาตรฐานไอเอสโอ 22000 แห่งแรกในประเทศไทยโดยผลิตภัณฑ์จากโรงงาน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาเขียวใบ สูตรออริจินัล สูตรเข้มข้นพิเศษ และสูตรชาเขียวผสมข้าวกล้องทองญี่ปุ่นคั่ว กลุ่ม ชาเขียวชนิดซอง และกลุ่มชาเขียวผง หรือ มัทฉะ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}