ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดหนองคาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33:
 
== ประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:แสงสีเสียงสงครามปราบฮ่อ.jpg|300px|thumb|การแสดง แสง เสียง สงครามปราบฮ่อในงานฉลองอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ]]<br />
เมืองหนองคายมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดาร[[ล้านช้าง]]ตลอดยุคสมัย ดังเช่นปรากฏเป็นชื่อเมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองปากห้วยหลวง ([[อำเภอโพนพิสัย]]ในปัจจุบัน) และนอกจากนี้ยังปรากฏในศิลาจารึกจำนวนมากที่กษัตริย์แห่ง[[เวียงจันทน์]]ได้สร้างไว้ในบริเวณจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะเมืองปากห้วยหลวงเป็นเมืองลูกหลวง นอกจากนี้ในรัชสมัยพระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติฯ พระราชโอรสใน[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] ได้ตั้งสมเด็จพระสังฆราชวัดมุจลินทรอารามอยู่ที่เมืองห้วยหลวง และยังพบจารึกที่วัดจอมมณี ลงศักราช พ.ศ. 2098 จารึกวัดศรีเมือง พ.ศ. 2109 จารึกวัดศรีบุญเรือง พ.ศ. 2151 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบโบราณสถานอิทธิพลล้านช้างจำนวนมาก เช่น พระธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะ[[พระธาตุบังพวน]] สร้างก่อน พ.ศ. 2106 จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา ([[อำเภอสุวรรณคูหา]] [[จังหวัดหนองบัวลำภู]]) ลงศักราช พ.ศ. 2106 กล่าวถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้อุทิศข้าทาสและที่ดินแก่วัดถ้ำสุวรรณคูหา และได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่พระธาตุบังพวนอีกด้วย
 
เมื่อ พ.ศ. 2322 กองทัพ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ได้ชัยชนะกรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์แล้ว หัวเมืองหนองคายยังอยู่ใต้ความควบคุมของเวียงจันทน์เช่นเดิมหลังกรณี[[เจ้าอนุวงศ์]] พ.ศ. 2369 – 2370 ฝ่ายกรุงเทพฯ มีนโยบายอพยพผู้คนมาฝั่งภาคอีสานจึงยุบเมืองเวียงจันทน์ปล่อยให้เป็นเมืองร้าง ชาวเมืองเวียงจันทน์บางส่วนก็อพยพมาภาคกลางและบางส่วนก็อยู่ที่บริเวณเมืองเวียงคุก เมืองปะโค (อำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน)
เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา]] (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ท้าวสุวอ (บุญมา) เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านไผ่ (ละแวกเดียวกับเมืองปะโคเมืองเวียงคุก) เป็นเมืองหนองคาย ท้าวสุวอเป็น "[[พระปทุมเทวาภิบาล]]" เจ้าเมืองคนแรก มีเจ้าเมืองต่อมาอีก 2 คน คือ พระปทุมเทวาภิบาล (เคน ณ หนองคาย) ผู้เป็นบุตรและพระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ผู้เป็นหลาน
 
เมื่อ พ.ศ. 2428 เกิด[[สงครามปราบฮ่อ]]ครั้งที่สองในบริเวณทุ่งไหหิน (ทุ่งเชียงคำ) พวกฮ่อกำเริบตีมาจนถึงเวียงจันทน์ เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงทราบข่าวศึกฮ่อ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม]]ขณะดำรงพระอิสริยศเป็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพปราบฮ่อครั้งนั้นจนพวกฮ่อแตกหนี และสร้าง[[อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ]]ไว้ที่เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2429
ต่อมา พ.ศ. 2434 [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลลาวพวน (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร) ได้ตั้งที่ทำการที่เมืองหนองคาย ครั้นเกิด[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]] ไทยถูกกำหนดเขตปลอดทหารภายในรัศมี 50 กิโลเมตรจากชายแดน จึงย้ายกองบัญชาการมลฑลลาวพวนมาตั้งที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง [[จังหวัดอุดรธานี]]
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองพื้นที่ขึ้นโดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2458 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีคำสั่งสถาปนาเมืองข้าหลวงปกครอง ซึ่งต่อมาเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ หนองคายจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด
 
ในปี พ.ศ. 2554 รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554) มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 โดยให้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย ไปตั้งเป็น[[จังหวัดบึงกาฬ]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/018/1.PDF พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔]. ''ราชกิจจานุเบกษา'' '''128''' (18 ก): 1. 22 มีนาคม 2554. </ref>
 
=== รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการ ===