ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยรัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8017908 สร้างโดย 124.122.35.219 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
แทนที่เนื้อหาด้วย "<br /> หมวดหมู่:หนังสื..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน blanking การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
<br />
{{กล่องข้อมูล หนังสือพิมพ์
| ชื่อ = ไทยรัฐ
| ภาพ = [[ไฟล์:Thairath Logo.png|90px|ตราสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, บจก.วัชรพล และ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา]] [[ไฟล์:Thai_Rath_front_page_31-12-06.jpg|250px|หน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549]]
| คำขวัญ = หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน
| ประเภท = หนังสือพิมพ์รายวัน
| รูปแบบ = หนังสือพิมพ์มวลชน<br/>(Mass Newspaper)
| เจ้าของ = [[บริษัท วัชรพล จำกัด]]
| สำนักพิมพ์ =
| บรรณาธิการอำนวยการ = [[ยิ่งลักษณ์ วัชรพล]]
| บรรณาธิการบริหาร = [[สราวุธ วัชรพล]]
| บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา = [[สุนทร ทาซ้าย]]
| บรรณาธิการในอดีต = [[กำพล วัชรพล]]
| คอลัมนิสต์ = [[ซูม ซอกแซก]]<br/>[[ชัย ราชวัตร]]<br/>[[ศักดา แซ่เอียว]] (เซีย)<br/>[[แถมสิน รัตนพันธุ์]] (ลัดดา)
| ภาษา = [[ภาษาไทย]]
| ก่อตั้ง = {{วันเกิด-อายุ|2505|12|25}}
ชื่อปัจจุบัน"ไทยรัฐ"<br/>{{วันเกิด-อายุ|2493|1|5}} ในชื่อ"ข่าวภาพ"<br/>
| ฉบับสุดท้าย =
| ราคา = 10.00 บาท
| circulation = 1,000,000 ฉบับ
| ISSN =
| การเมือง =
| สำนักงานใหญ่ = 1 [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] แขวงจอมพล [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| รหัสไปรษณีย์ =
| เว็บไซต์ = [http://www.thairath.co.th www.thairath.co.th]
}}
 
'''ไทยรัฐ''' ({{lang-en|Thai Rath}}) เป็น[[หนังสือพิมพ์]]รายวัน[[ภาษาไทย]] นำเสนอ[[เหตุการณ์ปัจจุบัน|ข่าวทั่วไป]] ที่มี[[ที่สุดในประเทศไทย|ยอดจำหน่ายมากที่สุด]]ใน[[ประเทศไทย]] จากการสำรวจเมื่อปี [[พ.ศ. 2523]] ก่อตั้งโดย[[กำพล วัชรพล]] ปัจจุบันมี [[บริษัท วัชรพล จำกัด]] เป็นเจ้าของ, [[ยิ่งลักษณ์ วัชรพล]] เป็นผู้อำนวยการ และ[[สราวุธ วัชรพล]] เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท
 
== ประวัติ ==
=== ข่าวภาพ (2493–2501) ===
27 ธันวาคม 2492 บริษัทข่าวภาพบริการ จำกัด ยื่นคำขอจดทะเบียน เป็นเจ้าของกิจการ''หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ'' ({{lang-en|The Weekly Pictorial}}) ซึ่งถือเป็นวันขึ้นรอบปีของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ที่กำพลเป็นเจ้าของอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ต่อมาจึงออกวางแผงเป็นรายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่[[วันจันทร์]]ที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2493]]<ref>[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era01 ประวัติในช่วงที่ใช้ชื่อ “ข่าวภาพ” (1)]</ref> และในวันที่ [[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2494]] [[กำพล วัชรพล]], [[เลิศ อัศเวศน์]] และวสันต์ ชูสกุล ผู้ร่วมก่อตั้งข่าวภาพ ปรับเวลาออกหนังสือพิมพ์ให้เร็วขึ้น จากรายสัปดาห์เป็นรายสามวัน<ref name="newspictorial2">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era01&page=2 ประวัติในช่วงที่ใช้ชื่อ “ข่าวภาพ” (2)]</ref>
 
จากนั้นเมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2495]] หนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายวันฉบับปฐมฤกษ์ ออกจำหน่ายแทนที่ข่าวภาพรายสามวัน มีจำนวนพิมพ์ 3,000 ฉบับ จากนั้น บจก.ข่าวภาพบริการ ขยายกิจการไปออกนิตยสารข่าวภาพรายเดือน ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อเดือน[[มกราคม]] [[พ.ศ. 2496]]<ref>[http://www.bloggang.com/data/p/pn2474/picture/1302401480.jpg ภาพถ่ายส่วนล่างของปกนิตยสารข่าวภาพรายเดือน ปีที่ 1 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2496] ดังนั้นฉบับแรกจึงวางแผงในเดือนมกราคมของปีดังกล่าว</ref> แต่แล้ว ในวันที่ [[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2501]] [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] หัวหน้าคณะปฏิวัติ ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 สั่งปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งข่าวภาพด้วย<ref name="newspictorial2"/> รวมถึงหลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ก็เกิดเหตุ[[เพลิงไหม้]]โรงพิมพ์ซ้ำเข้ามาอีก
 
=== เสียงอ่างทอง (2502 - 2505) ===
หลังจากนั้น กำพลก็ใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ในการออกหนังสือพิมพ์ใหม่อีกครั้งโดยตลอด คณะปฏิวัติในขณะนั้นไม่อนุญาตให้ออกหัวหนังสือพิมพ์ใหม่ กำพลจึงเช่าซื้อหัวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ''เสียงอ่างทอง'' ซึ่งปกติออกใน[[จังหวัดอ่างทอง]] มาพิมพ์จำหน่าย เป็นรายวันในส่วนกลาง ตั้งแต่[[วันศุกร์]]ที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2502]]<ref name="tr75">[http://www.thairathwittaya75.com/67/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ -- โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ]</ref> ด้วยยอดพิมพ์ในครั้งแรก 7,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 10 หน้า ราคาฉบับละ 0.50 บาท และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2503]] ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง เพิ่มขึ้นสูงถึง 45,000 ฉบับ<ref>[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era02 ประวัติในช่วงที่ใช้ชื่อ “เสียงอ่างทอง” (1)] {{Dead link}}</ref> กำพลจึงเริ่มใช้ระบบตีด่วน โดยตั้งฝ่ายจัดจำหน่ายขึ้นในแต่ละภูมิภาค<ref name="angthongvoice2">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era02&page=2 ประวัติในช่วงที่ใช้ชื่อ “เสียงอ่างทอง” (2)]{{Dead link}}</ref>
 
=== ไทยรัฐ (2505 - ปัจจุบัน) ===
เมื่อ[[วันอังคาร]]ที่ [[25 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2505]] หนังสือพิมพ์ ''ไทยรัฐ'' ออกวางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ โดยกองบรรณาธิการชุดเดิมของเสียงอ่างทอง หนังสือพิมพ์เสียงอ่างทองถูกสั่งปิดอีกครั้ง ผลกระทบจากการเสนอข่าวการเมือง จึงทำให้หนึ่งในเบื้องหลังผู้บริหารขณะนั้น ต้องทำการขอเปิดหนังสือพิมพ์ในหัวใหม่ <ref name="tr75"/>เปลี่ยนสถานที่จัดพิมพ์ เปลี่ยนบรรณาธิการบริหาร<ref name="angthongvoice2"/> โดยใช้คำขวัญในยุคแรกว่า ''หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน'' มีจำนวนพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาท<ref name="soivorapong1">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era03 ประวัติไทยรัฐ ยุคซอยวรพงษ์ (1)]</ref> ต่อมา ในราวปลายปี [[พ.ศ. 2508]] ไทยรัฐเริ่มจัดพิมพ์ฉบับพิเศษในวันอาทิตย์ ให้ชื่อว่า ''ไทยรัฐสารพัดสี'' จำนวน 20 หน้า ราคาเท่าเดิม ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ฉบับ
 
ต่อมาในวันที่ [[12 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2511]] เพิ่มจำนวนเป็น 20 หน้าต่อฉบับในทุกวัน ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกเป็น 200,000 ฉบับ จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2515]] พนักงานของไทยรัฐพากันลาออกพร้อมกันเป็นจำนวนมาก จนเกือบทำให้ต้องปิดกิจการ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อมา<ref>[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era04 ประวัติไทยรัฐ ยุคถนนวิภาวดีฯ (1)]</ref> ต่อมาเมื่อวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2516]] ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 1.50 บาท) ในช่วงเหตุการณ์[[วันมหาวิปโยค]] ระหว่างวันที่ [[14 ตุลาคม|14]]-[[16 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2516]] ยอดพิมพ์ไทยรัฐปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะวันที่ 16 เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,181,470 ฉบับ
 
เกิดเหตุลอบยิงสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ด้วย[[ระเบิด]]เอ็ม-79 เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]]<ref name="viphavadi2">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era04&page=2 ประวัติไทยรัฐ ยุคถนนวิภาวดีฯ (2)]</ref><ref name="viphavadi3">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era04&page=3 ประวัติไทยรัฐ ยุคถนนวิภาวดีฯ (3)]</ref> ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้ง เมื่อวันที่ [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2520]] ด้วยการเช่า[[เครื่องบิน]]เหมาลำ จาก[[จังหวัดเชียงใหม่]] กลับสู่[[กรุงเทพมหานคร]] เพื่อเป็นห้องล้าง[[ฟิล์ม]]ชั่วคราวกลางอากาศ ที่บันทึกภาพข่าว การชกมวยป้องกันตำแหน่งของ[[แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์]] ที่ชนะน็อก[[มอนโร บรูกส์]] ในยกที่ 15 โดยเมื่อถึงกรุงเทพฯ จึงนำภาพลงหนังสือพิมพ์ได้เพียงฉบับเดียว
 
เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2521]] ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องเฮลล์ (Hell) ในระบบรับ-ส่งภาพขาวดำระยะไกล (Telephoto Receiver & Facsimile Transmitter) ทั้งนี้ ไทยรัฐยังเพิ่มยอดพิมพ์ในฉบับประจำวันที่ [[1 กันยายน]] [[พ.ศ. 2522]] เป็นจำนวน 1,000,742 ฉบับ นอกจากนี้ ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 2.00 บาท) เมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2522]] และปรับขึ้นอีก 1 บาท (เป็น 3.00 บาท) เมื่อวันที่ [[1 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2523]]
 
จากนั้น ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับประจำวันที่ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2529]] พาดหัวข่าวตัวใหญ่ถึงครึ่งหน้ากระดาษ โดยดำริของกำพลเองว่า “สั่งปลด...อาทิตย์” ส่งผลให้ยอดจำหน่ายขึ้นสูงไปถึงเลข 7 หลัก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปกติถึงร้อยละ 30<ref name="viphavadi3"/><ref name="viphavadi4">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era04&page=4 ประวัติไทยรัฐ ยุคถนนวิภาวดีฯ (4)]</ref> และไทยรัฐเริ่มพิมพ์ภาพสี่สีบนปกเป็นฉบับแรก เมื่อวันที่ [[3 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2531]] โดยตีพิมพ์ภาพข่าว [[ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก|นางสาวภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก]] รับตำแหน่ง[[นางงามจักรวาล]]ที่[[ไต้หวัน]] และ[[4 มิถุนายน|วันถัดมา]] เชิญพระบรมฉายาลักษณ์[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จฯ ทรงยก[[ช่อฟ้า]] พระอุโบสถวัดปรินายกวรวิหาร ตีพิมพ์บนหน้า 1 ของไทยรัฐด้วย<ref name="viphavadi4"/>
 
[[1 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2531 ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 2 บาท (เป็น 5.00 บาท) และวันที่ [[13 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2532]] ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องเฮลล์ ในระบบรับส่งภาพสีระยะไกล ไทยรัฐสร้างปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฉบับประจำวันพุธที่ [[27 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2532]] เป็นพิเศษ จำนวน 108 หน้า เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 40 ปี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และครบรอบวันเกิด 70 ปี ของนายกำพล ในฐานะผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ในช่วง[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] ระหว่างวันที่ [[17 พฤษภาคม|17]]-[[21 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2535]] ไทยรัฐมียอดพิมพ์อยู่ในระดับ 1,000,000 ฉบับเศษ โดยเฉพาะวันที่ [[19 พฤษภาคม]] เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,428,624 ฉบับ
 
เมื่อวันที่ [[11 มกราคม]] พ.ศ. 2537 ไทยรัฐนำเครื่องรับส่งภาพระยะไกล ลีแฟกซ์ (Leafax) จากบริษัท เอพี จำกัด เข้ามาใช้ต่อพ่วง และแสดงภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานได้ทันที รวมทั้งเมื่อวันที่ [[20 พฤษภาคม]] ปีเดียวกัน ศูนย์ข่าวภูมิภาคใน 17 จังหวัด ก็ได้นำระบบรับส่งภาพดังกล่าวไปใช้ ในการส่งภาพกลับเข้ามายังสำนักงานส่วนกลางที่กรุงเทพฯ อีกด้วย ต่อมาเพิ่มอีก 9 จังหวัด ในวันที่ [[10 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2539]] และเพิ่มอีก 4 จังหวัด ในวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 30 จังหวัด
 
ใน[[วันขึ้นปีใหม่]] พ.ศ. 2539 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเพิ่มเป็น 40 หน้าทุกวัน ตามที่ได้เตรียมการมาเป็นเวลายาวนาน พร้อมประกาศปรับราคาจำหน่ายอีก 3 บาท (เป็น 8.00 บาท) จากนั้นจึงประกาศปรับราคาอีก 2 บาท (เป็น 10.00 บาท) เมื่อปี [[พ.ศ. 2551]] ปัจจุบัน ([[พ.ศ. 2555]]) มีบริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ ซึ่งทั้งสองเป็นบุตรีและบุตรของกำพล มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท ในหนึ่งฉบับมีประมาณ 28-40 หน้า
 
== กิจการบริษัท ==
[[ไฟล์:Oct06-08.jpg|180px|thumb|น.ส.พ.ไทยรัฐ ฉบับประจำ[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[7 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] รายงาน[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] ในหน้า 1]]
 
ราวปลายปี [[พ.ศ. 2492]] [[กำพล วัชรพล]], [[เลิศ อัศเวศน์]] [[และวสันต์ ชูสกุล]] ร่วมกันจดทะเบียนก่อตั้ง''บริษัท ข่าวภาพบริการ จำกัด'' ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 9 [[ถนนกระออม]] ย่าน[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] [[เขตพระนคร]] เพื่อเป็นเจ้าของกิจการ หนังสือพิมพ์และนิตยสารข่าวภาพ<ref>[http://www.bloggang.com/data/p/pn2474/picture/1302401664.jpg ภาพถ่ายแสดงบรรณลักษณ์ของนิตยสารข่าวภาพรายเดือน]</ref>
 
จากนั้นเมื่อวันศุกร์ที่ [[18 เมษายน]] [[พ.ศ. 2518]] กำพลจดทะเบียนก่อตั้ง[[นิติบุคคล]]ประเภท[[บริษัทจำกัด]]ขึ้น ในชื่อ''[[บริษัท วัชรพล จำกัด]]'' ({{lang-en|Vacharaphol Company Limited}}) เพื่อเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง''[[โรงเรียนไทยรัฐวิทยา]]''ทั้ง 101 แห่ง<ref name="generaldata">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=info ข้อมูลทั่วไป บริษัท วัชรพล จำกัด]</ref> โดยตั้งแต่ [[พ.ศ. 2539]] จนถึงปัจจุบัน [[ประณีตศิลป์ วัชรพล|คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล]] ภริยาของกำพล ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท มีพนักงานทั้งสิ้น 1,800 คน (เมื่อ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2552]]) เฉพาะกองบรรณาธิการ 262 คน (เมื่อ [[16 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2552)<ref name="generaldata"/> อาคารทั้งหมด 13 หลัง บนพื้นที่ 39 ไร่ 9 ตารางวา และศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาค 35 แห่ง<ref name="generaldata"/> ทั้งนี้ บจก.วัชรพล มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท จากนั้น มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกหลายครั้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
* [[18 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2535]] - 500 ล้านบาท
* [[29 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2536]] - 2,000 ล้านบาท
* [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2538]] - 3,000 ล้านบาท
* [[13 มกราคม]] [[พ.ศ. 2539]] - 4,000 ล้านบาท
 
ต่อมาในวันจันทร์ที่ [[29 กันยายน]] [[พ.ศ. 2551]] บจก.วัชรพล ก่อตั้ง''บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด'' ขึ้นเป็นกิจการในเครือ สำหรับดำเนิน[[ธุรกิจ]][[สื่อประสม]] ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือ[[เว็บไซต์]] ''ไทยรัฐออนไลน์'' (www.thairath.co.th), [[บริการข้อความสั้น]]ผ่าน[[โทรศัพท์เคลื่อนที่]], [[สื่อดิจิตอล]]หลายรูปแบบ รวมถึงให้บริการรับส่งข้อมูลภาพและเสียง, บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารหลัก<ref>[http://www.jobserve.co.th/employer-profile/9505-trend-vg-3-co,-ltd ข้อมูลบริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด]</ref> และมีการจัดทำ[[แอปพลิเคชัน]] สำหรับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาได้แก่ [[ไอโอเอส]] [[แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)|แอนดรอยด์]] [[แบล็คเบอร์รี (โทรศัพท์มือถือ)|แบล็คเบอร์รี โอเอส]] [[วินโดวส์โฟน]] รวมถึง[[วินโดวส์ 8]] และ[[วินโดวส์ อาร์ที]]อีกด้วย โดยแอปพลิเคชันไทยรัฐในอุปกรณ์[[ไอแพด]] ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการประกาศผลรางวัลสื่อดิจิตอลยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ในการสัมมนาสื่อดิจิตอลแห่งเอเชีย ซึ่งจัดโดยสมาคมหนังสือพิมพ์และผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์โลก
 
=== รายนามผู้อำนวยการและหัวหน้ากองบรรณาธิการไทยรัฐ ===
* '''ผู้อำนวยการ'''
** [[กำพล วัชรพล]] : 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 - [[21 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2539
** คุณหญิง[[ประณีตศิลป์ วัชรพล]] ''(รักษาการ)'' : 21 กุมภาพันธ์ - [[24 เมษายน]] พ.ศ. 2539
** [[ยิ่งลักษณ์ วัชรพล]] : [[25 เมษายน]] พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
* '''หัวหน้ากองบรรณาธิการ'''
** [[กำพล วัชรพล]] : 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 - [[2 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2531
** [[สราวุธ วัชรพล]] : [[3 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2531 - ปัจจุบัน
 
=== อาคารสถานที่ ===
ในราวกลางปี พ.ศ. 2511 บจก.วัชรพล ได้เริ่มซื้อที่ดินขนาด 11 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ริม[[ถนนวิภาวดีรังสิต]]ไปพร้อมกันด้วย<ref name="soivorapong1"/> จากนั้น ในวันที่ [[18 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2512]] บจก.วัชรพล ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน บนที่ดินดังกล่าว จำนวน 7 หลัง ได้แก่ อาคารอำนวยการ 3 ชั้น<ref name="soivorapong2">[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era03&page=2 ประวัติไทยรัฐ ยุคซอยวรพงษ์ (2)]</ref>, อาคารโรงพิมพ์, อาคารสโมสร 2 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 1, อาคารพัสดุ 3 ชั้น, อาคาร[[เครื่องปั่นไฟ]] และ บ้านพักพนักงาน 2 ชั้น
 
โดยในระยะแรก ตั้งแต่วันที่ [[1 เมษายน]] พ.ศ. 2512 กองบรรณาธิการไทยรัฐ ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานซอยวรพงษ์ แต่ย้ายโรงพิมพ์มาอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิตแล้ว จึงต้องใช้[[จักรยานยนต์]] ลำเลียงแผ่นเพลตที่ทำเสร็จแล้ว จากสำนักงานมายังโรงพิมพ์ จนกระทั่งวันที่ [[13 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2513]] บจก.วัชรพล จึงย้ายสำนักงานจากซอยวรพงษ์ มาอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต อย่างสมบูรณ์แบบ<ref name="soivorapong2"/>
 
จากนั้น เมื่อวันที่ [[29 มิถุนายน]] พ.ศ. 2516 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหลัง ติดซอยร่วมศิริมิตร บริเวณข้างที่ทำการ[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] เพิ่มเติมอีก 11 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารเก็บกระดาษ 2 และโรงซ่อมบำรุงรถขนส่ง เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง ต่อมา เมื่อวันที่ [[1 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2526]] บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหน้า ติดถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 22 ตารางวา
 
เมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2527]] บจก.วัชรพล สร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง คือ อาคารโรงพิมพ์และสำนักงาน 9 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 3 และจอดรถ 5 ชั้น และอาคารโรงซ่อมบำรุงรถขนส่ง 2 ชั้น และเมื่อวันที่ [[20 ธันวาคม]] พ.ศ. 2532 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหลัง ลึกเข้าไปถึงริม[[ถนนพหลโยธิน]] เพิ่มอีก 4 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา และวันที่ [[18 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2536]] บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินบริเวณเดียวกัน เพิ่มอีก 5 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา
 
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2535]] บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหน้า ติดถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มอีก 1 ไร่ 3 งาน 9 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารบริการธุรกิจโฆษณา 13 ชั้น [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2537]] บจก.วัชรพล ก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง คือ อาคารโรงพิมพ์ 9 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 4 จำนวน 3 ชั้น และอาคารเก็บกระดาษ 5 จำนวน 4 ชั้น (โดยรื้อบ้านพักพนักงานออกทั้งหมด และรื้ออาคารพัสดุออกบางส่วน) ปัจจุบัน บริษัท วัชรพล จำกัด มีบริเวณที่ดินทั้งหมด 39 ไร่ 9 ตารางวา หรือ 15,609 ตารางวา และมีอาคารทั้งหมด 13 หลัง
 
=== ระบบการพิมพ์ ===
 
ในยุคข่าวภาพและเสียงอ่างทอง กองบรรณาธิการเป็นผู้จ้างโรงพิมพ์สำหรับการจัดพิมพ์หนังสือมาโดยตลอด จนกระทั่งเริ่มใช้ชื่อไทยรัฐเมื่อปลายปี พ.ศ. 2505 จึงเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ระบบ ''เลตเตอร์ เพรสส์'' (Letter Press - ฉับแกระ) ตรา ชิกาวา โอพีไอ (Chikawa OPI) และเรียงพิมพ์ด้วยตัวเรียงตะกั่ว แม่พิมพ์พื้นนูน<ref name="soivorapong1"/>
 
ต่อมา เมื่อราวปลายปี พ.ศ. 2508 ไทยรัฐเปลี่ยนไปใช้เครื่องพิมพ์ระบบ ''โรตารี'' (Rotary) พิมพ์บนกระดาษม้วน ด้วยแม่พิมพ์พื้นนูน ที่หลอมจากตะกั่ว จากนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2512 ไทยรัฐติดตั้งเครื่องพิมพ์ระบบ ''เว็บ ออฟเซ็ต'' (Web Offset) ตรา ''ฮามาดา เอโออาร์'' (Hamada AOR) จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 175 และ 177 จาก[[ประเทศญี่ปุ่น]] พิมพ์ได้ฉบับละ 16 หน้า (สี่สี 2 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 18,000 ฉบับต่อชั่วโมง<ref name="viphavadi2"/>
 
เมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] พ.ศ. 2513 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ระบบ ''ออฟเซ็ต'' (Offset) ตรา ''ฮามาดา เอ็นโออาร์'' (Hamada NOR) จำนวน 1 เครื่อง หมายเลข 192 พิมพ์ได้ฉบับละ 16 หน้า (สี่สี 2 หน้า) กำลังการผลิต 30,000 ฉบับต่อชั่วโมง และเมื่อวันที่ [[26 มิถุนายน]] พ.ศ. 2519 ไทยรัฐเปลี่ยนระบบการพิมพ์ จากการเรียงตัวตะกั่ว เป็นระบบเรียงพิมพ์ด้วยแสง โดยร่วมกับ บริษัท คอมพิวกราฟิก จำกัด พัฒนาเครื่องเรียงพิมพ์ ''ยูนิเวอร์แซล 4'' (Universal 4) ซึ่งทำงานกับ[[ภาษาอังกฤษ]] ให้ใช้งานเป็น[[ภาษาไทย]]ได้สำเร็จ
 
จากนั้น เมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] พ.ศ. 2522 ไทยรัฐเปลี่ยนไปใช้เครื่องพิมพ์ตรา ''แมน โรแลนด์ ยูนิแมน 2/2'' (Man Roland Uniman 2/2) จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 108 และ 113 จาก[[ประเทศเยอรมนี]] พิมพ์ได้ฉบับละ 20 หน้า (สี่สี 4 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง พร้อมทั้งเลิกใช้เครื่องพิมพ์ตรา ฮามาดา รุ่น เอโออาร์ ทั้งหมด ต่อมา ไทยรัฐติดตั้งเครื่องพิมพ์รุ่นเดียวกัน เพิ่มอีกคราวละ 1 เครื่อง เมื่อวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2524]] (หมายเลขเครื่อง 004) และวันที่ 1 มกราคม [[พ.ศ. 2525]] (หมายเลขเครื่อง 037)
 
ไทยรัฐได้นำเครื่องแยกสี ''ครอสฟิลด์'' (Crosfield) เข้ามาใช้ เมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2528]] และเพิ่มอุปกรณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ [[16 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2533]] ต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม [[พ.ศ. 2529]] ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ตรา ''แมน โรแลนด์ ยูนิแมน 4/2'' จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 137 และ 138 พิมพ์ได้ฉบับละ 32 หน้า (สี่สี 4 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง พร้อมทั้งเลิกใช้เครื่องพิมพ์ ฮามาดา เอ็นโออาร์ 1 เครื่อง
 
เมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] พ.ศ. 2531 ไทยรัฐได้นำระบบเรียงพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ตรา ''เอเท็กซ์'' (Atex) เข้ามาใช้ในการเรียงพิมพ์ รวมถึงเมื่อวันที่ 1 มกราคม [[พ.ศ. 2534]] จึงได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตราเดียวกัน ในการจัดหน้าข่าวด้วย เมื่อวันที่ [[19 มกราคม]] พ.ศ. 2536 ไทยรัฐจัดพิมพ์หน้าสีเพิ่มขึ้น จึงได้นำระบบแยกสีประกอบหน้า ไซน์เทค (Scitex - Color Separation and Pagination System) มาใช้ประกอบโฆษณาสี และหน้าข่าวสี่สี และเพิ่มอุปกรณ์แยกสีดังกล่าว เพื่อประกอบหน้าข่าวสี่สีเพิ่ม เมื่อวันที่ [[1 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2537 และเพื่อรองรับงานพิมพ์ 40 หน้า เมื่อวันที่ [[1 กันยายน]] พ.ศ. 2538 พร้อมกันนั้น ไทยรัฐได้เพิ่มระบบเรียงพิมพ์และประกอบหน้า (Editorial System) ด้วยระบบ พี.อิงค์ (P.Ink)
 
ต่อมา เมื่อวันที่ [[13 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2538]] ไทยรัฐสร้างความฮือฮาในวงการพิมพ์ ด้วยการติดตั้งเครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ จีโอแมน (Man Roland Geoman) จากเยอรมนี จำนวน 6 เครื่อง หมายเลข 006, 007, 008, 009, 010 และ 011 มูลค่ามหาศาลถึง 2,000 ล้านบาท สามารถพิมพ์ได้ฉบับละ 48 หน้า (สี่สี 24 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง และในวันเกิดของกำพลปีนั้นเอง ที่ตัวเขาเป็นผู้กดปุ่มเดินเครื่องพิมพ์เหล่านี้ด้วยตนเอง<ref>[http://www.thairath.co.th/corp?subMenu=history&era=era05&page=2 ประวัติไทยรัฐ ยุคถนนวิภาวดีฯ (6)]</ref>
 
ปัจจุบันไทยรัฐ ใช้เครื่องพิมพ์ตรา''แมน โรแลนด์'' รุ่นจีโอแมน จาก[[ประเทศเยอรมนี]] ซึ่งมีกำลังในการผลิตชั่วโมงละ 360,000 ฉบับ โดยใช้พิมพ์ฉบับละ 40 หน้า (สี่สี 20 หน้า) ซึ่งในแต่ละวัน ใช้[[กระดาษ]]ทั้งหมด 230 ม้วน คิดเป็นน้ำหนัก 225 ตัน และใช้[[หมึก]][[สีดำ]] 1,200 กิโลกรัม, [[สีแดง]] 445 กิโลกรัม, [[สีฟ้า]] 430 กิโลกรัม, [[สีเหลือง]] 630 กิโลกรัม โดยทางบริษัทฯ มักจะนำผู้เข้าเยี่ยมชมกิจการ เข้าชมการผลิตหนังสือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดังกล่าว จนกระทั่ง[[อุดม แต้พานิช]] กล่าวถึงการเข้าชมกิจการของ บจก.วัชรพล และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในการแสดง[[เดี่ยวไมโครโฟน]]ของเขาว่า เป็นการ “เยี่ยมแท่นพิมพ์”
 
== โครงการในอนาคต ==
ไทยรัฐมีแผนการทำธุรกิจในสื่อโทรทัศน์ และวิทยุอินเทอร์เน็ตในปี 2556 โดยการเปิดเผยของนายวัชร วัชรพล ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร บริษัท วัชรพล จำกัด ระบุว่าจะใช้เงินรวมทั้งสิ้น 400 ล้านบาท เพื่อลงทุนทำธุรกิจโทรทัศน์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการสร้างสตูดิโอ การสั่งซื้ออุปกรณ์ การเตรียมบุคลากร สถานที่ และการรองรับการออกอากาศผ่านวิทยุอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
 
== คอลัมน์ ==
=== ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ===
[[ไฟล์:ทุ่งหมาเมิน.jpg|thumb|right|300px|ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน]]
'''ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน''' เป็นผลงานการ์ตูน ของ [[ชัย ราชวัตร]] ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยเนื้อหาเป็นแนวการเมืองและล้อเลียนข่าวประจำวัน ตีพิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 <ref>[http://www.baanlaesuan.com/house_preview.aspx?articleId=1655 บ้านเก่าหลังใหม่และถุงสามใบของ ชัย ราชวัตร] นิตยสาร บ้านและสวน ฉบับที่ 357 ประจำเดือน พฤษภาคม 2549</ref><ref>[http://www.siam-handicrafts.com/webboard/question.asp?QID=2599 หยดหมึกและลายเส้นประชาธิปไตย ใน" การ์ตูน ( ล้อ ) การเมือง "] สำเนาจาก ผู้จัดการรายวัน 7 กุมภาพันธ์ 2548 </ref>
โดยมีตัวละครที่สำคัญคือ
* ผู้ใหญ่มา - ผู้ใหญ่บ้านรูปร่างท้วม มีผ้าขาวม้าคาดพุง
* ไอ้จ่อย - ลูกบ้านตัวผอม นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว ใส่แว่นตาดำ ถือถุงกระดาษ
 
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2523 กำกับโดย [[สมชาติ รอบกิจ]] บทภาพยนตร์โดย หยอย บางขุนพรหม (ศรีศักดิ์ นพรัตน์) โดยมี [[ล้อต๊อก]] รับบท ผู้ใหญ่มา และ [[นพดล ดวงพร]] ในบทบาท ไอ้จ่อย
 
=== เปิดฟ้าส่องโลก ===
เป็นคอลัมน์ประจำหน้าต่างประเทศของ[[นิติภูมิ นวรัตน์]] เป็นคอลัมน์แรกๆของเมืองไทย ที่จุดประเด็นการต่อต้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และชี้ให้เห็นด้านดีของ[[ประเทศมุสลิม]] ปัจจุบัน นิติภูมิยุติบทบาทการเขียนคอลัมน์นี้ โดยหันไปสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิก]][[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]][[การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ|ระบบบัญชีรายชื่อ]] ในนาม[[พรรคเพื่อไทย]] พร้อมทั้งมอบหมายให้คุณ[[นิติ นวรัตน์]] บุตรชายเป็นผู้เขียนแทน
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[ไทยรัฐทีวี]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.thairath.co.th เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ]
* หน้าสำหรับแฟน [https://www.facebook.com/ThairathFan www.thairath.co.th] ใน[[เฟซบุ๊ก]]
* [http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=50231 ส่วนผสมลงตัวสื่อยักษ์ “ไทยรัฐ”] จาก[[เว็บไซต์]] [[นิตยสาร]][http://www.positioningmag.com โพสิชันนิง]
* [http://www.thairath.co.th/content/newspaper/316861 ไทยรัฐพร้อมแล้ว รุกสู่ธุรกิจโทรทัศน์]
 
{{หนังสือพิมพ์ไทย}}
{{หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ}}
 
[[หมวดหมู่:หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ| ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทยรัฐ"