ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังกรโกโมโด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
'''มังกรโคโมโด''' ({{lang-en|Komodo dragon}}; ชื่อวิทยาศาสตร์: ''Varanus komodoensis'') เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่า[[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บนเกาะโคโมโด, รินจา, โฟลเร็ซ และกีลีโมตังในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 [[เมตร]] (6.6 ถึง 9.8 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม (150 ปอนด์)
 
มังกรโกโมโดมีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองเหี้ยชนิดอื่นทั่วไป แต่ทว่ามีลำตัวใหญ่และยาวกว่ามาก มีลำตัวสีเทาออกดำกว่า
 
== บทนำ ==
บรรทัด 32:
มังกรโคโมโดเป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวโลก เมื่อพันตรีปีเตอร์ เอาเวินส์ ทหารชาวดัตช์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาและสวนพฤกษศาสตร์ชวาที่เมืองเบยเตินซอร์ค (ปัจจุบันคือโบโกร์) ได้ยินเรื่องราวของมันและต้องการข้อมูลของมัน ดังนั้นในปี ค.ศ. 1910 เขาได้ติดต่อไปยังข้าหลวงของเกาะโฟลเร็ซ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะโคโมโด ข้าหลวงซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่นคนหนึ่งรับปากว่าจะหาข้อมูลมาให้
 
ต่อมาในปี ค.ศ. 1912 นักบินผู้หนึ่งเกิดเครื่องยนต์ขัดข้องขณะบินผ่านเกาะโกโคโมโด จึงต้องนำเครื่องลงฉุกเฉินที่นั่น เครื่องบินเสียหายแต่ตัวนักบินไม่เป็นอะไร ทว่าเมื่อเขาออกมาจากเครื่องก็ต้องตกใจ เมื่อพบว่ามีสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ หน้าตาเหมือนสัตว์ดึกดำบรรพ์รายล้อมเครื่องบิน เขารีบวิ่งหนีออกมาทันที และรอดชีวิตออกมาได้ นี่นับเป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปได้พบกับ[[จระเข้]]บกในตำนานของชาวพื้นเมือง ในปีเดียวกันข้าหลวงแห่งเกาะโฟลเร็ซได้ไปที่นั่น และได้รับการยืนยันเรื่องสัตว์ดังกล่าว จากนั้นข้าหลวงได้มีโอกาสยิงสัตว์ดังกล่าวได้ตัวหนึ่ง และส่งหนังยาว 2.20 เมตรของมันไปให้เอาเวินส์ และบอกว่ามันไม่ใช่จระเข้แต่ใกล้เคียงพวกเหี้ยมากกว่า จากนั้นไม่นาน ทางสวนพฤกษศาสตร์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเกาะโกโมโด และสามารถจับสัตว์ดังกล่าวเป็น ๆ ได้ถึง 4 ตัว มีอยู่ตัวหนึ่งยาวถึง 3 เมตร เอาเวินส์ได้เขียนเรื่องของมันลงวารสารวิชาการ และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้มันว่า ''Varanus komodoensis'' แปลว่า "เหี้ยแห่งโคโมโด" แต่ด้วยขนาดอันใหญ่โตของมัน ทำให้ผู้คนเรียกมันว่า "มังกรโคโมโด" อย่างที่รู้จักกัน<ref>[http://dek-d.com/board/view.php?id=542027 มังกรโกโมโด ตำนานที่มีชีวิต]</ref>
 
แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมังกรโคโมโดก็ยังเป็นที่รู้จักน้อยมาก เนื่องด้วยจากที่อยู่บนเกาะห่างไกลและภาวะจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการศึกษามังกรโกโคโมโดอย่างจริงจังโดยคณะนักวิทยาศาสตร์และนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน โดยได้มีภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมังกรโคโมโดในธรรมชาติ ภาพยนตร์ชุดนี้ได้สร้างความฮือฮาเป็นอย่างยิ่ง และในปีถัดมา มังกรโคโมโดที่มีชีวิต 2 ตัวก็ได้ถูกส่งไปยังทวีปยุโรป แม้จะมีรูปร่างหน้าตาน่ากลัว แต่มังกรโคโมโดทั้ง 2 ตัวนี้กลับมีอุปนิสัยอ่อนโยนน่ารัก<ref name="มัง">{{cite[[ภาพ:Komodo newsdragon |stalking url=http://tvdeer.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2015-01-05/18/png| title=ท่องโลกกว้างthumb|left|มังกรโกโมโดตามล่า[[กวางป่า]]]]
: เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน สีสันและลวดลาย และ ก่อกำเนิด|work=ไทยพีบีเอส |date=2015-01-05 |accessdate=2015-01-06}}</ref>
 
==== อุปนิสัย ====
[[ภาพ:Komodo dragon stalking deer.png|thumb|left|มังกรโกโมโดตามล่า[[กวางป่า]]]]
มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะบนเกาะโคโมโดและหมู่เกาะใกล้เคียงเท่านั้น ไม่พบในที่อื่นใดของโลกอีก มีอุปนิสัยดุร้าย ชอบอยู่เป็นฝูง มังกรโคโมโดเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร จะวิ่งล่าเหยื่อด้วยการซุ่มจู่โจมกัดเหยื่อด้วยฟันที่คม แต่มันจะวิ่งไล่ได้เพียงครั้งเดียว ถ้าหากมันจับเหยื่อไม่ได้ มันจะต้องหยุดนิ่งเพื่อชาร์จพลังสำหรับการวิ่งครั้งใหม่ มังกรโกโมโดเป็นสัตว์ไม่มีพิษแต่ก็เสมือนว่ามีพิษ เนื่องจากในน้ำลายของมันมีเชื้อแบคทีเรียอยู่มากกว่าถึง 50 ชนิด เหยื่อที่ถูกกัดจะเกิดอาการโลหิตเป็นพิษ และจะถึงแก่ความตายในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งบางครั้งเมื่อเหยื่อที่มังกรโคโมโดกัดและทิ้งน้ำลายไว้ใน[[แผล]] หลบหนีไป มังกรโกโมโดจะติดตามไปเพื่อรอให้เหยื่อตายก่อนจะลงมือกินอีกด้วย เหยื่อของมังกรโกโมโดตามธรรมชาตินั้น มักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น กวาง หรือวัวควายของชาวบ้าน
 
เส้น 76 ⟶ 72:
ในกรณีของมังกรโกโมโดพบว่า ลูกมังกรโกโมโดที่เกิดจากไข่ที่เกิดจากการเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์นั้นเป็นตัวผู้ทั้งหมด เนื่องจากมังกรโกโมโดตัวเมียมี[[โครโมโซมเพศ]] 2 ชุด ที่แตกต่างกัน คือ W และ Z ขณะที่ตัวผู้มีโครโมโซมที่เหมือนกัน 2 ชุด คือ Z และ Z ถ้าไม่มีตัวผู้จะเหลือโครโมโซม W และ Z ในตัวเมีย ในกรณีนี้ตัวเมียจะแบ่งเซลล์ไข่ของตัวเองออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมีโครโมโซม W และอีกส่วนเป็นโครโมโซม Z จากนั้นตัวเมียจะทำสำเนาตัวเองเป็นโครโมโซม W และ W กับ Z และ Z สำหรับมังกรโกโมโดโครโมโซม W และ W จะไม่ทำงาน ดังนั้นจึงมีเพียงแต่โครโมโซม Z และ Z เท่านั้น จึงทำให้ไข่ที่เกิดมาเป็นตัวผู้ทั้งหมด ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการในอดีต ที่บรรพบุรุษของมังกรโกโมโดเดินทางยังเกาะโกโมโดจากแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยังมีจำนวนประชากรที่น้อยและขาดแคลน ทำให้ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นมาเช่นนี้
 
จากการสำรวจพบว่ามังกรโคโมโดในธรรมชาติ 2 ใน 3 เป็นตัวผู้ นั่นแสดงว่าแม้มังกรโคโมโดจะสามารถสืบพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ได้ แต่ก็มีความยืดหยุ่นที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้การผสมพันธุ์ได้ด้วย <ref name="มัง">{{cite news|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2015-01-05/18/|title=ท่องโลกกว้าง
: เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน สีสันและลวดลาย และ ก่อกำเนิด|work=ไทยพีบีเอส|date=2015-01-05|accessdate=2015-01-06}}</ref> แต่ทว่าด้วยความสามารถพิเศษในการสืบพันธุ์แบบนี้ ทำให้มังกรโคโมโดตัวเมียมีอายุสั้นกว่าตัวผู้ถึงครึ่งต่อครึ่ง<ref>จุดประกาย 7 WILD, ''เล่ห์ร้ายยัยตัวแสบ''. '''กรุงเทพธุรกิจ'''ปีที่ 29 ฉบับที่ 10479: วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==