ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิงคโปร์แอร์ไลน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ประวัติ: เ้่ีเ้่รเา
บรรทัด 21:
| website = http://www.singaporeair.com
}}
 
[[ไฟล์:SIA Building (crop).jpg|thumb|220px|อาคารสิงคโปร์แอร์ไลน์]]
 
'''สิงคโปร์แอร์ไลน์''' ({{Lang-en|Singapore Airlines (ย่อ: SIA)}}; {{Lang-ms|Syarikat Penerbangan Singapura}}; {{zh|c=新加坡航空公司|p=Xīnjiāpō Hángkōng Gōngsī}}, abbreviated {{lang|zh|新航}}; {{Lang-ta|சிங்கப்பூர் ஏர்லைன்சு}}) เป็นบริษัทสายการบินใน[[สิงคโปร์]] มี[[ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี]]เป็นท่าอากาศยานหลัก จัดว่ามีความแข็งแกร่งในตลาด[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] [[เอเชียตะวันออก]] [[เอเชียใต้]] และ"[[เส้นทางจิงโจ้]]" (เส้นทางบินระหว่างประเทศในทวีปออสเตรเลียกับ[[สหราชอาณาจักร]]โดยผ่านซีกโลกตะวันออก) นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินข้าม[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ซึ่งรวมถึง[[เที่ยวบินตรง]]เชิงพาณิชย์ที่ใช้เวลาบินนานที่สุดในโลกสองเส้นทาง คือ จากสิงคโปร์ไป[[ท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตี|นูอาร์ก]] และ[[ลอสแอนเจลิส]] ด้วยเครื่องบิน[[แอร์บัส เอ 340|แอร์บัส เอ 340-500]]<ref>{{cite news |first= |last= |authorlink= |coauthors= |title= Boeing jetliner tries for record for longest nonstop flight |url= http://www.seattlepi.com/business/247531_recordflight09.html |work= [[Seattle Post Intelligencer]] |publisher= |date= 2005-11-09 |accessdate= 2007-01-01 }}</ref><ref>[http://infopedia.nlb.gov.sg/articles/SIP_413_2005-02-02.html The first non-stop flight between Singapore and Los Angeles, USA], Singapore Infopedia (National Library Board of Singapore), retrieved on 1 January 2007.</ref>
 
สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบิน[[แอร์บัส เอ 380]] และนอกจากกิจการสายการบินแล้ว ยังขยายกิจการไปยังธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน เช่น การจัดการและวิศวกรรมอากาศยาน มีสายการบิน[[ซิลค์แอร์]]เป็นบริษัทสาขาที่สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นเจ้าของทั้งหมด ให้บริการเที่ยวบินภายในภูมิภาคไปยังเมืองที่มีความสำคัญระดับรองและมีผู้โดยสารน้อยกว่า และยังมี[[สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก]]เป็นบริษัทสาขาที่ดำเนินการบินฝูงบินขนส่งสินค้าและจัดการขนส่งและจัดเก็บสัมภาระบนเครื่องบินโดยสาร สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในสายการบิน[[เวอร์จินแอตแลนติก]]อยู่ 49% และลงทุนในสายการบิน[[ไทเกอร์แอร์ไลน์]]เป็นส่วนปันผล 49% เพื่อรับมือการแข่งขันจาก[[สายการบินต้นทุนต่ำ]] สิงคโปร์แอร์ไลน์จัดว่าเป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 11 ในเอเชีย และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก<ref>{{cite web |publisher= [[International Air Transport Association]] |year= 2005 |title= WATS Scheduled Passengers Carried |url= http://www.iata.org/pressroom/wats/wats_passengers_carried.htm }}</ref>
 
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร[[ฟอร์จูน]]ให้อยู่ในอันดับที่ 27 ในหมวดหมู่บริษัทที่เป็นที่ยกย่องชมเชยมากที่สุดในโลกประจำ [[พ.ศ. 2553]]<ref>[http://money.cnn.com/magazines/fortune/mostadmired/2010/industries/2.html World's Most Admired Companies]</ref><ref>{{cite web |publisher=The Business Times |year= 2010 |title= Top global firms better at engaging staff |url=http://www.asiaone.com/Business/News/SME+Central/Story/A1Story20100709-226142.html}}</ref> และได้สร้างตราบริษัทที่แข็งแกร่ง<ref>{{cite news |first= |last= |authorlink= |coauthors= |title= Airlines’ Reputations Hinge On the Basics, Study Shows |url= http://www.harrisinteractive.com/services/pubs/The_Wall_Street_Journal_Airlines_Reputations_2000.pdf |format=PDF|work= [[The Wall Street Journal]] |publisher= |date= |accessdate=2007-01-02}}</ref>ในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์<ref>{{cite news |first= |last= |authorlink= |coauthors= |title= Singapore Airlines raises the bar for luxury flying |url= http://www.seattlepi.com/business/300154_boeingsingapore18.html |work= [[Seattle Post Intelligencer]] |publisher= |date=2007-01-18 |accessdate=2007-01-18}}</ref>ในอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรม ความปลอดภัย และบริการ<ref>[http://www.venturerepublic.com/resources/Singapore_Airlines_-_An_Excellent_Asian_Brand.asp Singapore Airlines — An Excellent Asian Brand], Venture Republic, retrieved 2 January 2007</ref> ที่เชื่อมโยงเข้ากับความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมั่นคง<ref>[http://www.blackwell-synergy.com/doi/abs/10.1111/j.0955-6419.2004.00298.x?cookieSet=1&journalCode=busr Cost-Effective Service Excellence: Lessons from Singapore Airlines], [[Business Strategy Review]], retrieved 2 January 2007</ref> นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลมากมาย<ref>{{cite web |title= Our achievements |publisher= Singapore Airlines |url= http://www.singaporeair.com/saa/en_UK/content/company_info/news/achievements.jsp |accessdate= 2008-02-02}}</ref>และเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมในด้านการจัดซื้ออากาศยาน<ref>{{cite web |publisher= [[Ottawa Citizen]] |date= |title= Airbus wins $2.7B deal |url= http://www.canada.com/ottawacitizen/news/business/story.html?id=2abbd9ec-4e91-41ad-b093-eac5336e1c0c }}</ref> มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Airport House ใกล้กับท่าอากาศยานชางงีในย่าน[[ชางงี]]ในสิงคโปร์<ref>"[http://www.singaporeair.com/saa/en_UK/content/company_info/careers/AirlineGroundPositionFAQ.jsp Airline Ground Positions]." Singapore Airlines. Retrieved on 11 July 2009.</ref>
 
== ประวัติ ==
 
=== จุดเริ่มต้น ===
 
[[ไฟล์:24081987.jpg|thumb|220px|เครื่องบิน [[Airspeed Consul]] (VR-SCD) ซึ่งเป็นอากาศยานประเภทแรกที่สายการบินมลายาแอร์ไลน์ใช้บิน สายการบินดังกล่าวเป็นบริษัทผู้บุกเบิกของสิงคโปร์แอร์ไลน์]]
 
สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งสายการบิน[[มลายาแอร์เวย์]] (MAL) เมื่อวันที่ [[12 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2480]] ซึ่งเกิดจากการรวมตัวระหว่าง Ocean Steamship Company of Liverpool, the Straits Steamship Company of Singapore และ[[อิมพีเรียลแอร์เวย์]] เที่ยวบินแรกของสายการบินเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำจาก[[นิคมช่องแคบ]]ในสิงคโปร์ไปยัง[[กัวลาลัมเปอร์]] เมื่อวันที่ [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2490]] ด้วยเครื่องบิน [[Airspeed Consul]] สองเครื่องยนต์<ref>{{cite web|title= Telekom Malaysia and Malaysia Airlines Synergise Business Relationship |publisher= [[Telekom Malaysia]] Berhad |accessdate= 2007-09-03 |url= http://www.tm.com.my/about_TM/newsroom/2004/041123_2.htm}}</ref> ต่อมาในวันที่ [[1 พฤษภาคม]] ปีเดียวกัน ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินปกติตามตารางเวลาจากสิงคโปร์ไปกัวลาลัมเปอร์ [[อิโปห์]] และ[[ปีนัง]] สัปดาห์ละครั้ง ด้วยเครื่องบินแบบเดียวกับเที่ยวบินแรก<ref>{{cite web|title= The Creation of Singapore Airlines |publisher= Singapore Airlines |accessdate= 2007-07-01 |url= http://www.singaporeair.com/saa/en_UK/content/company_info/siastory/history.jsp}}</ref> ต่อมาใน [[พ.ศ. 2498]] มลายาแอร์เวย์ได้เริ่มนำเครื่องบิน [[ดักลาส ดีซี 3]] หลายลำเข้ามาเพิ่มในฝูงบิน และนำมาให้บริการใน [[พ.ศ. 2500]] อากาศยานอื่นๆ ที่ใช้งานในช่วงสองทศวรรษแรกได้แก่ [[ดักลาส ดีซี 4|ดักลาส ดีซี 4 สกายมาสเตอร์]], [[Vickers Viscount]], [[Lockheed L-1049 Super Constellation]], [[Bristol Britannia]], [[de Havilland Comet 4]] และ [[Fokker F27]]
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2506]] [[มลายา]] สิงคโปร์ [[ซาบะฮ์]] และ[[รัฐซาราวะก์|ซาราวะก์]] ได้รวมตัวกันเป็น[[สหพันธรัฐมาเลเซีย]] ทำให้ชื่อของสายการบินถูกเปลี่ยนจาก "มลายาแอร์เวย์" เป็น "มาเลเซียแอร์เวย์" แล้วได้ควบกิจการของสายการบิน[[บอร์เนียวแอร์เวย์]]เข้ามา ต่อมาใน [[พ.ศ. 2509]] สิงคโปร์ได้แยกตัวออกจากสหพันธรัฐ ชื่อของสายการบินจึงถูกเปลี่ยนอีกครั้งเป็น[[มาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์]] (MSA) ปีต่อมาสายการบินได้ขยายตัวมากขึ้นทั้งในด้านฝูงบินและเส้นทางบิน รวมถึงการสั่งซื้อเครื่องบิน[[โบอิง 707]] ซึ่งเป็นอากาศยานของโบอิงลำแรกของสายการบิน และการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในสิงคโปร์ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้สั่งซื้อเครื่องบิน[[โบอิง 737]] เข้ามาเพิ่มในฝูงบินอีก
 
=== การก่อตั้งบริษัทและการเติบโต ===
 
[[ไฟล์:Singapore Airlines SIA 747-412.jpg|thumb|220px|เครื่องบิน[[โบอิง 747|โบอิง 747-400]] ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ชื่อเครื่องว่า ''Megatop'' ที่[[ท่าอากาศยานโอกแลนด์]] [[นิวซีแลนด์]] เครื่องบินลำนี้จัดเป็นเรือธงของสายการบินมาตั้งแต่ [[พ.ศ. 2532]] จนกระทั่งเริ่มใช้เครื่องบิน[[แอร์บัส เอ 380]] ในเดือนตุลาคม [[พ.ศ. 2550]]]]
 
ใน [[พ.ศ. 2515]] สายการบินมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ยกเลิกการบินเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่งผลให้สายการบินแยกออกเป็นสองบริษัท คือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ และ[[มาเลเซียแอร์ไลน์]]<ref>{{cite news |title= Life |publisher= Asiaone |accessdate= 2007-02-01 |url=http://ourstory.asia1.com.sg/dream/life/life.html}}</ref><ref>{{cite web |title= Past, Present & Moving Forward |publisher= Malaysia Airlines |accessdate= 2007-02-01 |url= http://hq.malaysiaairlines.com/mh/eng/about_us/corporate_info/past_present_and_moving_forward/evolution.asp}}</ref><ref>{{cite web |title= The Creation of Singapore Airlines |publisher= Singapore Airlines |accessdate= 2007-02-01|url= http://www.singaporeair.com/saa/en_UK/content/company_info/siastory/history.jsp}}</ref> ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ยังคงใช้และให้บริการสิ่งต่างๆ ที่เคยเป็นของมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ ได้แก่ เครื่องบินโบอิง 707 และ 737 รวม 10 ลำ เส้นทางระหว่างประเทศที่ออกจากสิงคโปร์ รวมถึงสำนักงานในสิงคโปร์ ซึ่งมี [[เจ. วาย. ปิลไล]] อดีตผู้บริหารร่วมของมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ เป็นประธานคนแรกของสิงคโปร์แอร์ไลน์ พนักงานต้อนรับหญิงยังคงสวมเครื่องแบบ ''[[โสร่ง]]'' ''[[เกอบายา]]'' ที่ใช้มาตั้งแต่ [[พ.ศ. 2511]]
 
ในช่วงทศวรรษที่ 1970s สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการเพิ่มเส้นทางบินไปยังเมืองใน[[อนุทวีปอินเดีย]]และเอเชีย และการสั่งซื้อเครื่องบิน[[โบอิง 747]] เพิ่มเข้ามาในฝูงบิน Mr Yong Nyuk Lin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารในขณะนั้น ได้กล่าวในพิธีต้อนรับเครื่องบินโบอิง 747 สองลำแรกของสายการบิน ที่ท่าอากาศยานปายาเลบาร์ เมื่อวันจันทร์ที่ [[3 กันยายน]] [[พ.ศ. 2516]] เวลา 16.00 น. ไว้ว่า
 
{{cquote | May I emphasise that SIA as an organisation will continue to succeed only so long as the men and women behind it will not relax but continue to work diligently, plan boldly, and strive for excellence in performance.<ref>{{cite web |title= Yong Nyuk Lin's speech |url= http://stars.nhb.gov.sg/data/pdfdoc/PressR19730903.pdf |format=PDF |publisher= National Archive of Singapore |accessdate= 2008-09-25}}</ref>}}
 
ในช่วงทศวรรษที่ 1980s สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่มเปิดเส้นทางบินไปยังเมืองใน[[สหรัฐอเมริกา]] [[แคนาดา]] และ[[ยุโรป]] โดยมี[[มาดริด]]เป็นเมืองแรกในลาตินอเมริกา-สเปนที่สายการบินเปิดเส้นทางบิน ต่อมาใน [[พ.ศ. 2532]] สายการบินได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 747-400 เพิ่มเติม และตั้งชื่อว่า ''Megatops'' ตามมาด้วยเครื่องบิน[[โบอิง 777]] [[แอร์บัส เอ 310]] และ[[แอร์บัส เอ 340]] และในทศวรรษที่ 1990s ได้เปิดเส้นทางบินไปยัง[[แอฟริกา]]ตอนใต้ โดยมี[[โยฮันเนสเบิร์ก]]ใน[[แอฟริกาใต้]]เป็นเมืองแรก ตามมาด้วย[[เคปทาวน์]]และ[[เดอร์บัน]]
 
=== Modern History ===
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2547]] สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เปิดเส้นทางบินตรงข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากสิงคโปร์ไปยัง[[ลอสแอนเจลิส]]และ[[ท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตี|นูอาร์ก]] โดยใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 ซึ่งเป็นการบินตรงระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และเส้นทางระหว่างสิงคโปร์กับนูอาร์กยังได้รับการบันทึกไว้ว่าใช้เวลาบินมากที่สุดในบรรดาเส้นทางบินเชิงพาณิชย์ทั่วโลก โดยใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง นอกจากนี้สายการบินยังได้ปรับเปลี่ยนผังที่นั่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 จำนวนห้าลำที่ใช้บินไปยังลอสแอนเจลิสและนูอาร์ก จากเดิมที่เป็นชั้นธุรกิจ 64 ที่นั่งและชั้นประหยัดพิเศษ 117 ที่นั่ง ให้เป็นชั้นธุรกิจทั้งสิ้น 100 ที่นั่ง<ref>[http://www.latimes.com/business/la-fi-allbiz4mar04,1,3403241.story LAtimes.com]</ref>
 
เมื่อวันที่ [[22 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2549]] [[รัฐบาลออสเตรเลีย]]ได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ทำการบินระหว่าง[[ออสเตรเลีย]]และสหรัฐอเมริกาก่อนบินกลับหรือหลังบินออกจากสิงคโปร์<ref name="australia">{{cite news |url=http://www.iht.com/articles/2006/02/21/bloomberg/sxsia.php |title=Australia rebuffs bid by Singapore Airlines |first=Vesna |last=Poljak |work=[[International Herald Tribune]] |date=2006-02-21 |accessdate=2008-08-06}}</ref> ซึ่งทางสายการบินได้โต้กลับว่าการตัดสินใจครั้งนี้สืบเนื่องจากเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากออสเตรเลียประสบปัญหาผู้โดยสารน้อย ทำให้รัฐบาลพยายามจำกัดการแข่งขันและตั้งค่าโดยสารไว้ค่อนข้างสูง<ref name="australia"/> โดยอ้างว่าเป็นมาตรการคุ้มครองสายการบิน[[แคนตัส]]จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น<ref>[http://www.iht.com/articles/2006/02/21/bloomberg/sxsia.php Australia rebuffs bid by Singapore Airlines — International Herald Tribune]</ref> ทั้งนี้สิงคโปร์แอร์ไลน์เคยเผชิญกับมาตรการคุ้มครองลักษณะนี้มาก่อนเมื่อครั้งมีการร้องทุกข์จากสายการบิน[[แอร์แคนาดา]] จนทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ถูกระงับเส้นทางบินไปยัง[[โตรอนโต]] และเคยถูกเพิกถอนสิทธิการใช้เครื่องบินโบอิง 747-400 บินไปยัง[[จาการ์ตา]]อันเนื่องมาจากการประท้วงของสายการบิน[[การูดาอินโดนีเซีย]]ที่ไม่สามารถแข่งขันด้วยเครื่องบินรุ่นเดียวกันนี้ได้<ref>[http://www.iht.com/articles/1991/11/23/sing_0.php Growing Pains at Singapore Airlines: Carrier's Expansion Is Running Into Global and Regional Competition - International Herald Tribune]</ref>
 
==== แอร์บัส เอ 380 ====
 
[[ไฟล์:SIA Airbus A380, 9V-SKD, SIN, 092008.jpg|thumb|left|220px|เครื่องบิน[[แอร์บัส เอ 380]] ของสิงคโปร์แอร์ไลน์]]
 
เมื่อวันที่ [[29 กันยายน]] [[พ.ศ. 2543]] สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 3XX (ชื่อเรียกของ เอ 380 ในขณะนั้น) จำนวน 25 ลำ มูลค่ารวม 8.6 พันล้าน[[ดอลลาร์สหรัฐ]] ประกอบด้วยเครื่องบินที่สั่งซื้อขาด 10 ลำ และสั่งจองล่วงหน้า 15 ลำ<ref>[http://www.a380.singaporeair.com/news_pr_20000929.html Singapore Airlines Announces US$8.6 Billion Airbus A3XX* Order]</ref> สายการบินได้ยืนยันคำสั่งซื้อในวันที่ [[12 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2544]] ต่อมาในเดือนมกราคม [[พ.ศ. 2548]] สายการบินได้เปิดตัวคำขวัญ "First to Fly the A380 - Experience the Difference in 2006" เพื่อประชาสัมพันธ์ในการเป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบิน[[แอร์บัส เอ 380]] ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบเครื่องบินภายในไตรมาสที่สองใน [[พ.ศ. 2549]]<ref>[http://www.a380.singaporeair.com/news_pr_20050105.html SIA Reveals The "First to fly" Logo For Its A380]</ref> แต่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 แอร์บัสได้ประกาศว่าเกิดปัญหาทางเทคนิคโดยไม่คาดคิด ทำให้การส่งมอบเบื้องต้นต้องถูกเลื่อนออกไปอีกหกเดือน<ref>[http://news.bbc.co.uk/1/hi/business/4598779.stm Airbus confirms super-jumbo delay] (BBC News: June 1, 2005) </ref>เป็นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ทำให้ [[Chew Choon Seng]] [[ประธานบริหาร]]ของสิงคโปร์แอร์ไลน์แถลงว่าอาจฟ้องร้องแอร์บัส โดยกล่าวว่า
 
{{cquote | Airbus took some time to acknowledge the delay in the timetable for the A380's entry into service...I would have expected more sincerity.<ref>{{cite news |publisher= AFP |date= 2005-08-07 |title= Singapore Airlines chief furious at A380 delay, threatens to sue Airbus |url=http://sg.biz.yahoo.com/050806/1/3u1d9.html }}</ref>}}
 
Chew Choon Seng ยังได้กล่าวอีกว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์จะหันไปให้ความสำคัญต่อโบอิงแทน เนื่องจากได้รับส่งมอบเครื่องบิน[[โบอิง 777|โบอิง 777-300ER]] ก่อนเอ 380 แต่อย่างไรก็ตาม สายการบินได้ส่งสัญญาณว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลต่อนโยบายส่งเสริมการตลาด
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัสเอ 380 ลำแรกที่ลงลวดลายของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียบร้อยแล้วได้มาถึงสิงคโปร์ แล้วถูกนำไปแสดงในงาน [[Asian Aerospace]] 2006 ต่อมาเมื่อวันที่ [[14 มิถุนายน]] ในปีเดียวกัน สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้สั่งซื้อเครื่องบิน[[โบอิง 787]] เพื่อการขยายตัวของฝูงบินในอนาคต คำสั่งซื้อประกอบด้วยโบอิง 787-9 จำนวน 20 ลำ และสั่งจองอีก 20 ลำ คำสั่งซื้อนี้ออกหนึ่งวันหลังจากแอร์บัสประกาศเลื่อนการส่งมอบเอ 380 ออกไปอีก 6 เดือน
 
วันที่ [[3 ตุลาคม]] พ.ศ. 2549 แอร์บัสประกาศเลื่อนการส่งมอบเป็นครั้งที่สาม ทำให้กำหนดส่งมอบเอ 380 ลำแรกเลื่อนออกไปเป็นเดือนตุลาคมในปีถัดไป<ref>[http://www.airbus.com/en/presscentre/pressreleases/pressreleases_items/06_10_03_a380_delays_company_restructuring_plan.html Airbus Confirms Further A380 Delay and Launches Company Restructuring Plan] (Airbus: October 3, 2006) </ref>
 
วันที่ [[25 ตุลาคม]] พ.ศ. 2550 เที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกที่ใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบิน SQ 380<ref>{{cite news |title=First A380 Flight on 25–26 October |url=http://www.a380.singaporeair.com/content/news/newsrelease/20070816/index.html |publisher=Singapore Airlines |date=2007-08-16 |accessdate=2007-08-16 }}</ref> พาผู้โดยสาร 455 คนออกจากสิงคโปร์ไปยังซิดนีย์ ถึง[[ท่าอากาศยานซิดนีย์]]เวลา 15:24 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีสื่อมากมายไปทำข่าวเกี่ยวกับเที่ยวบินแรกนี้<ref>{{cite news |title=Superjumbo in Sydney on maiden flight |url=http://news.ninemsn.com.au/article.aspx?id=290092 |publisher= ninemsn |date=2007-10-25 |accessdate=2007-10-25}}</ref> วันต่อมาสายการบินมอบรายได้ทั้งหมดจากเที่ยวบินนี้ให้แก่องค์กรการกุศลสามแห่ง สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่มใช้งานเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ตามตารางเที่ยวบินจริงในวันที่ [[28 ตุลาคม]] ปีเดียวกัน
 
ปัจจุบันเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ใช้ในเส้นทางบินไปยัง[[ซิดนีย์]] [[โตเกียว]] [[ปารีส]] [[ฮ่องกง]] [[เมลเบิร์น]] และ[[ซูริก]] วันละหนึ่งเที่ยวบิน และไป[[ลอนดอน]]วันละสองเที่ยวบิน
 
สิงคโปร์แอร์ไลน์เปิดเที่ยวบินด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 วันละสามเที่ยวบินเป็นการชั่วคราวระหว่างสิงคโปร์และลอนดอน ตั้งแต่วันที่ 23-28 เมษายน [[พ.ศ. 2553]] เพื่อระบายผู้โดยสารที่ตกค้างก่อนหน้าไม่กี่วันเนื่องจากเหตุภูเขาไฟ [[Eyjafjallajökull]] ปะทุ
 
=== การลดขนาดฝูงบิน ===
 
เมื่อวันที่ [[16 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2552]] สายการบินได้ประกาศระงับการใช้งานอากาศยาน 17 ลำในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อรับมือกับปัญหาจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าลดลง โดยแรกเริ่มนั้นได้วางแผนว่าจะระงับการใช้งานเพียงสี่ลำ และสายการบินได้แถลงว่าจำเป็นต้องเลื่อนการส่งมอบอากาศยานที่จัดซื้อแล้วออกไปก่อน<ref>{{cite news |title=Singapore Airlines to cut 17 percent of fleet |url=http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM5hjAgD8lLr7vtoAT-Hfdw6TZnS95g |publisher=AFP |date=2009-02-16 |accessdate=2009-02-16 }}</ref><ref>{{cite news |title=Air France, Singapore Air Adjust Fleets To Recession |url=http://money.cnn.com/news/newsfeeds/articles/djf500/200902161208DOWJONESDJONLINE000293_FORTUNE5.htm |publisher=AFP |date=2009-02-16 |accessdate=2009-02-16 }}</ref>
 
== การจัดการบริษัท ==
 
=== โครงสร้าง ===
 
โครงสร้างของสิงคโปร์แอร์ไลน์แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งรวมถึง [[Aircraft ground handling]] [[การเช่าอากาศยาน]] Air [[catering]] และ [[Tour operating]] และยังปรับโครงสร้างโดยแยกหน่วยปฏิบัติการออกเป็นบริษัทสาขาต่างๆ ที่สายการบินเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเพื่อรักษาความเป็นสายการบินสำหรับผู้โดยสารอันเป็นธุรกิจหลักไว้ ตามข้อมูลปีการเงินเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกอบด้วยบริษัทสาขา 25 แห่ง บริษัทในเครือ 32 แห่ง และบริษัทร่วมทุนสองแห่ง เมื่อวันที่ [[15 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]] สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในร้อยละ 35.5 ในบริษัทร่วมทุน [[Singapore Aircraft Leasing Enterprise]] ให้แก่[[ธนาคารแห่งประเทศจีน]]ในราคา 980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref>[http://www.saleleasing.com/content_press_release.php?oid=press_release&limit=5# BOC Aviation]</ref>
 
บริษัทหลักในกลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้แก่
 
<center>
{|class="wikitable sortable" style="font-size:98%;"
|-
!บริษัท||ประเภท||กิจกรรมหลัก||สถานที่ก่อตั้ง||การถือหุ้นของกลุ่มบรรษัท<br /> (31 มีนาคม พ.ศ. 2550)
|-
|International Engine Component Overhaul Private Limited||ร่วมทุน||Aircraft overhaul||[[สิงคโปร์]]||41%
|-
|[[SIA Engineering Company]] Limited||สาขา||วิศวกรรม||[[สิงคโปร์]]||81.9%
|-
|[[SilkAir]] (Singapore) Private Limited||สาขา||[[สายการบิน]]||[[สิงคโปร์]]||100%
|-
|Singapore Aero Engine Services Private Limited||ร่วมทุน||Engine overhaul||[[สิงคโปร์]]||41%
|-
|[[Singapore Airlines Cargo]] Private Limited||สาขา||[[สายการบินขนส่งสินค้า]]||[[สิงคโปร์]]||100%
|-
|[[Singapore Airport Terminal Services]] Limited||สาขา||[[บริษัทถือหุ้นใหญ่]]||[[สิงคโปร์]]||81.9%
|-
|[[Singapore Flying College]] Private Limited||สาขา||[[สถาบันฝึกอบรมการบิน]]||[[สิงคโปร์]]||100%
|-
|[[TajSATS]] Air Catering||ร่วมทุน||[[Catering]]||[[อินเดีย]]||50%
|-
|[[Tiger Airways Holdings]] Limited||ในเครือ||[[บริษัทถือหุ้นใหญ่]]||[[สิงคโปร์]]||34.4%
|-
|[[เวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์|เวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์จำกัด]]||ในเครือ||[[บริษัทถือหุ้นใหญ่]]||[[สหราชอาณาจักร]]||49%
|}
</center>
 
=== การลงทุนเชิงปฏิบัติการ ===
 
[[ไฟล์:singapore.airlines.b747-400.9v-spa.arp.jpg|thumb|220px|เครื่องบิน[[โบอิง 747|โบอิง 747-412]] บินออกจาก[[ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์]]]]
[[ไฟล์:Singapore Airlines A380-800 9V-SKJ ZRH 2010-7-20.png|thumb|220px|เครื่องบิน[[แอร์บัส เอ 380]] ลงจอดที่ [[ท่าอากาศยานซูริค]] [[สวิตเซอร์แลนด์]]]]
 
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ลงทุนในสายการบินอื่นๆ เพื่อขยายตลาดออกไปนอกสิงคโปร์ แม้ว่าผลทางการเงินมักจะเป็นไปในทางลบ เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้ร่วมมือกับ[[เดลต้าแอร์ไลน์]]และ[[สวิสแอร์]]เป็นพันธมิตรไตรภาคี<ref>{{cite news|url=http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=990CE7DA1F38F93AA3575AC0A963958260&sec=&spon=&pagewanted=print|title=Delta Seeks to Expand Its Tie With Three Airlines in Europe | work=The New York Times | first=Edwin | last=McDowell | accessdate=23 May 2010}}</ref> แต่ก็ยุติความร่วมมือใน พ.ศ. 2542 หลังจากแต่ละสายการบินถอนหุ้นร้อยละ 5 ที่ลงทุนในอีกสองสายการบินออกไป ปีถัดมาสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 25 ในสายการบิน[[แอร์นิวซีแลนด์]] แต่ต่อมา[[รัฐบาลนิวซีแลนด์]]ได้ซื้อหุ้นในแอร์นิวซีแลนด์เพื่อช่วยเหลือให้รอดพ้นจากการล้มละลาย ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือลดลงเหลือร้อยละ 4.5 ซึ่งต่อมาหุ้นจำนวนนี้ถูกขายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547
 
เมื่อวันที่ [[30 มีนาคม]] พ.ศ. 2543 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในสายการบิน[[เวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์]]ด้วยเงินสด มูลค่า 600 ล้าน[[ปอนด์สเตอร์ลิง]]<ref>{{cite news|first= Shu-Ching Jean|last= Chen|authorlink= Chen Shu-Ching Jean|coauthors= |title= Branson May Spread Wings Unbound In Asia|url= http://www.forbes.com/markets/2007/07/11/sia-virgin-branson-markets-equity-cx_jc_0711markets1.html |work= |publisher= [[Forbes]]|date= 2007-07-11 |accessdate= 2007-09-03 }}</ref> โดยหวังจะได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางข้าม[[มหาสมุทรแอตแลนติก]]ที่มีผลกำไรดี แต่ใน พ.ศ. 2550 ก็มีรายงานเกี่ยวกับความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวและมีความเป็นไปได้ที่จะถอนหุ้น<ref>[http://www.reuters.com/article/topNews/idUKL0955460420070709?rpc=44 Report says Singapore Air may sell Virgin Atlantic stake | Reuters]</ref> จนกระทั่งวันที่ [[14 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2551 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศเสนอขายหุ้นในเวอร์จินแอตแลนติกอย่างเป็นทางการ และยอมรับอย่างเปิดเผยว่าหุ้นที่ถืออยู่ในสายการบินดังกล่าวนั้นให้ตอบแทนน้อยกว่าที่คาดไว้<ref>[http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporebusinessnews/view/347747/1/.html SIA invites offers for its 49% stake in Virgin Atlantic]</ref> ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เข้าสู่ตลาดสายการบินต้นทุนต่ำโดยก่อตั้งสายการบิน[[ไทเกอร์แอร์เวย์]] ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นร้อยละ 49 และมีผู้ถือหุ้นอื่นๆ ได้แก่
* Indigo Partners LLC บริษัทด้านการลงทุนที่ก่อตั้งโดย Bill Franke (ร้อยละ 24)
* Irelandia Investments Limited บริษัทด้านการลงทุนของ Tony Ryan และครอบครัว (ร้อยละ 16)
* Temasek Holdings Pte Ltd (ร้อยละ 11)
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ไทเกอร์แอร์เวย์ได้จดทะเบียนใน [[Singapore Exchange]] ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถืออยู่ลดลงเหลือร้อยละ 34.4
 
=== แรงงาน ===
 
เมื่อสิ้นปีงบประมาณในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ว่าจ้างพนักงานทั้งหมด 29,457 คน<ref>{{cite web |publisher=Singapore Airlines |title=Singapore Airlines Annual Report 2006-07 |accessdate=2007-09-06 |url=http://www.singaporeair.com/saa/en_UK/docs/company_info/investor/annual/SIA_AnnReport0607.pdf?}}</ref> โดยสายการบินแม่ว่าจ้าง 13,942 คน (ร้อยละ 47.3) แบ่งออกเป็นนักบิน 2,174 คน และลูกเรือ 6,914 คน มีสหภาพแรงงานห้าองค์กรเป็นตัวแทนลูกจ้างของกลุ่มบรรษัท ได้แก่
* Singapore Airlines Staff Union (SIASU)
* SIA Engineering Company Engineers and Executives Union (SEEU)
* Singapore Airport Terminal Services Workers' Union (SATSWU)
* Air Transport Executives Staff Union (AESU)
* Air Line Pilots' Association Singapore (ALPA-S)
 
สหภาพแรงงานและผู้บริหารขัดแย้งกันเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังการลดค่าจ้าง การยุบตำแหน่ง และการเกษียณก่อนอายุอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาและหลังสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก อย่างเช่นการระบาดของโรค[[ซาร์ส]]เมื่อ พ.ศ. 2546<ref name=SIAretrench>{{cite web|title=Huge losses hits Singapore Airlines|url=http://www.theage.com.au/articles/2003/07/31/1059480436459.html|work=AFP|publisher=The Age|accessdate=25 February 2011}}</ref> ซึ่งส่งผลต่อกำลังใจของพนักงาน เฉพาะเพียง ALPA-S ก็ขัดแย้งกับกับผู้บริหารไม่น้อยกว่า 24 ครั้งนับตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2524 (ก่อตั้งหลังจากที่ Singapore Airlines Pilots Association ที่เป็นสหภาพก่อนหน้า มีสมาชิก 15 คนถูกกล่าวหาและตัดสินว่ามีความผิดฐานริเริ่มกิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่ผิดกฎหมายใน พ.ศ. 2523 ซึ่งเริ่มเกิดความขัดแย้งกับผู้บริหาร และ SIAPA ถูกถอนทะเบียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 [[กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (สิงคโปร์)]] ได้แก้ไข Trade Unions Act เพื่อลบล้างข้อกำหนดในธรรมนูญของ ALPA-S ที่กำหนดให้สมาชิกทั่วไปต้องให้สัตยาบันอย่างเป็นทางการก่อนตกลงในการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการบริหาร<ref>[http://www.mom.gov.sg/publish/momportal/en/press_room/press_releases/2003/20031130-PrimeMinistersOfficePressStatementImprovingLabourRelationsInSingaporeAirlines.html Prime Minister's Office Press Statement: Improving Labour Relations in Singapore Airlines (SIA)]</ref> ใน พ.ศ. 2550 สายการบินเป็นข่าวดังอีกครั้งเมื่อ ALPA-S ไม่ยอมรับอัตราเงินเดือนที่ผู้บริหารเสนอให้นักบินเครื่องบินแอร์บัส เอ 380<ref>[http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporebusinessnews/view/272407/1/.html SIA's latest offer in A380-pilot wage dispute rejected]</ref> ข้อพิพาทถูกนำขึ้นให้อนุญาโตตุลาการตัดสิน<ref>[http://travel.asiaone.com/Travel/News/Story/A1Story20070609-13263.html SIA pilots reject last-ditch offer to settle A380 pay dispute]</ref> ขอบเขตเงินเดือนของนักบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนตั้งแต่วันแรกที่นั่งพิจารณาข้อพิพาท และสื่อได้ตั้งข้อสังเกตว่านักบินของสายการบินจำนวน 935 คนที่ขับเครื่องบินโบอิง 777 ได้รับเงินเดือน (มากกว่า S$270,000) ที่จุดกึ่งกลางของขั้นเงินเดือนสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรองประธานบริษัท (S$233,270)<ref>[http://travel.asiaone.com/Travel/News/Story/A1Story20070609-13259.html Boeing 777 captains get higher pay than SIA vice-presidents]</ref>
 
ความขัดแย้งต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสหภาพเช่นกัน โดยรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงเมื่อเกิดความขัดแย้งที่รุนแรง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เกิดความขัดแย้งภายใน ALPA-S จนนำไปสู่การขับไล่สมาชิกระดับกรรมการบริหารทั้งคณะจำนวน 22 คน เหตุการณ์ดังกล่าวถูกสันนิษฐานว่าเป็น "การเมืองภายใน" ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนักบิน รวมถึงผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับกรณีการถอนทะเบียน SIAPA<ref>[http://straitstimes.asia1.com.sg/storyprintfriendly/0,1887,221800,00.html? <!-- You have to be a subscriber to read this news story! -->SQ pilots under political pressure]</ref> และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 [[Lim Swee Say]] เลขาธิการ NTUC ได้แถลงคัดค้านการฟ้องร้องทางกฎหมายโดยสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งภายใน SIASU<ref>[http://www.asiaone.com/News/The%2BStraits%2BTimes/Story/A1Story20080130-47296.html SIA union urged to settle internal feud]</ref>
 
ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทและสหภาพได้ร่วมกันเปิดตัว "Singapore Airlines Group Union-Management Partnership" และ Labour Movement 2011 (LM2011) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ โดยข้อสัญญาทั้งสองนั้นเป็นไปเพื่อสร้าง "pro-worker" และ "pro-business"<ref>[http://www.singaporeair.com/saa/en_UK/content/company_info/press_release/JointReleaseOnLM2011.jsp Singapore Airlines Group Union-Management Partnership And LM2011]</ref> ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 Stephen Lee ประธานสายการบิน ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและสหภาพว่า "มั่นคงและอบอุ่น" ในช่วงสองปีหลัง โดยมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่ดีขึ้น Lee ได้กล่าวเป็นนัยว่า บุคคลในรัฐบาลหลายคน ซึ่งรวมถึง Minister Mentor Lee Kuan Yew ได้เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยบรรเทาความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารและสหภาพ และทั้งสองฝ่ายได้ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยมากขึ้น<ref>[http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporelocalnews/view/342550/1/.html SIA says state of ties between management and unions is stable]</ref>
 
=== Financial performance ===