ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐกิจไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเนื้อหาที่ไม่สมบูรณ์ มีอคติ ขาดแหล่งอ้างอิง
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 66:
 
[[ธนาคารโลก]]รับรองประเทศไทยว่าเป็น "นิยาย<!-- story -->ความสำเร็จการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง" จากตัวชี้วัดทางสังคมและการพัฒนา<ref>{{cite web|title=Thailand|url=http://www.worldbank.org/en/country/thailand|publisher=World Bank|accessdate=17 July 2012}}</ref> แม้รายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัวต่ำ คือ 5,210 ดอลล่าร์สหรัฐ<ref>http://data.worldbank.org/indicator/NY.GNP.PCAP.CD/countries/TH-4E-XT?display=graph</ref> และมี[[ดัชนีการพัฒนามนุษย์]] (HDI) อยู่ที่อันดับ 89 แต่ประชากรที่อยู่ต่ำกว่า[[เส้นความยากจน]]ลดลงจาก 65.26% ในปี 2531 เหลือ 13.15% ในปี 2554 ตามเส้นฐานความยากจนใหม่ของ สศช.<ref>{{cite web|title=ตารางที่ 1.2 สัดส่วนคนจน เมื่อวัดด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค จำแนกตามภาคและพื้นที่ ปี พ.ศ. 2531 - 2554|url=http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=446&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=59|publisher=Office of the National Economic and Social Development Board|accessdate=9 May 2013}}</ref> ในไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 0.7% ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศกัมพูชา โมนาโกและกาตาร์<ref>{{cite web|title=Unemployment Rate|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2129rank.html|publisher=CIA - The World Factbook|accessdate=17 July 2012}}</ref> ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 [[ค่าแรงขั้นต่ำ]]ทางการทุกจังหวัดเป็น 300 บาท<ref name="BOTindicator">[http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Indicators/Docs/indicators.pdf เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ]. สืบค้น 3-9-2557.</ref>ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยถือว่าสูงสุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครัวเรือนที่รวยที่สุด 20% มีรายได้ครัวเรือนเกินครึ่ง [[ดัชนีจีนี]]ของรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 0.51 ครอบครัวรายได้น้อยและยากจนกระจุกอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างมาก<ref>Bird, Kelly; Hattel, Kelly; Sasaki, Eiichi; Attapich, Luxmon. (2011). [http://www.adb.org/sites/default/files/poverty-income-inequality-microfinance-thailand.pdf Poverty, Income Inequality, and Microfinance in Thailand]. Asian Development Bank. สืบค้น 4-9-2557.</ref>
 
== ประวัติ ==
ประเทศไทยเป็น[[เสือเศรษฐกิจ]]ของเอเชีย ในปี 2560 ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของ[[อาเซียน]] และเป็นอันดับเก้าของ
[[เอเชีย]] ระหว่างปี พ.ศ. 2529 - 2539 เป็นยุคของการเปิดเสรีครั้งใหญ่และการเติบโตแบบเศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจทุนนิยมโลกปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลสำคัญ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงเมื่อเทียบเงินเยนญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ โยกย้ายการลงทุนมาไทยและเอเชียอาคเนย์เพิ่มมากขึ้น การส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลที่มาจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และชนชั้นกลางก็เปิดเสรีทางการเงิน การค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตสูงเฉลี่ยราวร้อยละ 8 - 10 ต่อปี<ref>[http://fuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/thanes/files/Thai%20Economy%20(Perfect%20Book%202012).pdf วิชาเศรษฐกิจไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]</ref>
 
ภาคอุตสาหกรรมในช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2538 เติบโตราวปีละ 11 - 12 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ภาคเกษตร ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลน้อยมาก เติบโตในอัตราที่ต่ำมาก คือร้อยละ 3 - 4 ต่อปีในระยะเวลาดังกล่าว
 
อย่างไรก็ตาม หลังจาก[[วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540]] ประชากรหลายล้านคนตกงานและยากไร้ และจนกระทั่ง พ.ศ. 2544 ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมค่าเงินและเศรษฐกิจได้อีกครั้งหนึ่ง
 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย [[ทักษิณ ชินวัตร]] รับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ด้วยเจตนาจะเพิ่มกิจกรรมภายในประเทศและลดการพึ่งพาการค้าและการลงทุนต่างประเทศ นับแต่นั้น การบริหารประเทศเป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจ "รางคู่" (dual track) ซึ่งรวมกิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นกับการสนับสนุนตลาดเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศของไทย
 
นโยบายดังกล่าวเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า [[ทักษิโณมิค]] อุปสงค์การส่งออกที่อ่อนทำให้อัตราเติบโตของจีดีพีใน พ.ศ. 2544 อยู่ที่ 2.2% แต่ในสามปีต่อมา กิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและการฟื้นฟูการส่งออกทำให้สมรรถนะของประเทศกลับคืนอีกครั้ง โดยมีอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ 5.3%, 7.1% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2548 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและการขาดดุลการค้า ภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรง [[ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย|ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้]]รุนแรงขึ้นถึงที่สุด อนาคตที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลทักษิณ และผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจาก[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547]] ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ 4.5%
 
ใน พ.ศ. 2548 ประเทศไทยยังมีบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอยู่ที่ -4.3% ของจีดีพี หรือ -7,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับแต่ พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอีกครั้ง และเศรษฐกิจลอยตัวขึ้นจากการเติบโตในภาคส่งออก อย่างไรก็ตาม [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] ซึ่งถอดทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง รักษาการนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่มั่นใจ ในปี พ.ศ. 2550 คนไทยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 3,400 ดอลลาร์ ต่อปีหรือประมาณ 9,900 บาทต่อเดือน ในขณะที่คนสิงคโปร์มีรายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 32,470 ดอลลาร์ ต่อปีหรือประมาณ 95,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเท่ากับว่าคนไทยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวน้อยกว่าคนสิงคโปร์ 10 เท่า
 
ผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในประเทศเมื่อทำงานใหม่ ส่วนมากมัก อาศัยพ่อแม่ในการใช้รถยนต์ เนื่องจากรถยนต์มีราคาที่แพงมากและราคาน้ำมันในประเทศไทยนั้นราคาแพง
{{โครงส่วน}}
 
=== หลังปี 2555 ===
ในปี 2555 ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจาก[[อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554|อุทกภัยร้ายแรง]]เมื่อปีกลาย รัฐบาลยิ่งลักษณ์วางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ตั้งแต่ระบบจัดการน้ำระยะยาวจนถึง[[ลอจิสติกส์]] มีรายงานว่า [[วิกฤตยูโรโซน]]ส่งผลเสียต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยกระทบต่อการส่งออกของประเทศ จีดีพีของประเทศไทยโต 6.5% โดยมีอัตราภาวะเงินเฟ้อทั่วไป 3.02% และมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7% ของจีดีพีประเทศ
 
วันที่ 23 ธันวาคม 2556 เงินบาทไทยลดลงต่ำสุดในรอบสามปี เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองระหว่างหลายเดือนก่อน [[บลูมเบิร์ก]]ว่า เงินตราไทยอ่อนตัวลง 4.6% ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักตกลงด้วย (9.1%)
 
หลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] ครึ่งปีแรก สำนักข่าวทั่วโลกเอเอฟพีจัดพิมพ์บทความซึ่งอ้างว่าประเทศไทยอยู่บน "ขอบภาวะเศรษฐกิจถดถอย" หัวเรื่องหลักของบทความคือการที่ชาวกัมพูชาเกือบ 180,000 คนออกจากประเทศไทยด้ยวเกรงการปราบปรามการเข้าเมือง แต่สรุปด้วยสารสนเทศว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวลง 2.1% ไตรมาสต่อไตรมาส ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2557 ทว่า นับแต่ยกเลิกการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน [[สุพันธุ์ มงคลสุธี]] ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เขาคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโต 2.5 ถึง 3% ในปี 2557 ตลอดจนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในครึ่งปีหลังของปี 2557 ยิ่งไปกว่านั้น เขายังอ้างการพิจารณาโครงการลงทุนค้างในอนาคตของคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งประเมินว่ามีมูลค่าราว 700,000 ล้านบาท ว่าเป็นกระบวนการทรงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดในราวเดือนตุลาคม 2557
 
ในปี พ.ศ. 2558 ราคาน้ำมันได้ตกต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี<ref>http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/679556</ref> ประเทศไทยจึงส่งออกสินค้าไปยัง[[ตะวันออกกลาง]] ได้น้อยลงและความเหลื่อมล้ำระหว่างคนเมืองและคนชนบทมีมากขึ้น เนื่องจากราคายางพาราต่ำสุดในรอบ 8 ปีในขณะที่คนเมืองใช้น้ำมันในราคาที่ถูกขึ้น<ref>https://www.scbeic.com/th/detail/product/1142</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2559 การส่งออกไทยเป็นบวกโดยขยายตัว 0.45% เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่าร้อยละ 11.6 ของจีดีพีสูงสุดเป็นยอดบัญชีเกินดุลสะพัดที่สูงที่สุดในรอบ 12 ปี<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/738508 ธปท.ชี้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปี59ทุบสถิติ]</ref>
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 การส่งออกไทยขยายตัว 9.90 %<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/789580 ส่งออกปี60 โต 9.9% สูงสุดในรอบ 6 ปี]</ref>จีดีพีของประเทศไทยโต 3.9% อัตราภาวะเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 0.66 % โดยมีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีแบบขาดดุลงบประมาณมากถึง 552,921.7 ล้านบาท<ref>[https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-107694 อัด “งบฯกลางปี” โด๊ปรากหญ้า 4 ปี รัฐบาล “บิ๊กตู่” ขาดดุล 1.5 ล้าน ล.]</ref>สูงสุดในรอบ 11 ปี<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=434 รายงานการติดตามสถานะการคลัง]</ref>
 
=== หลังปี 2560 ===
ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 ดัชนี[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] สูงสุดในรอบ 24 ปี ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สูงสุดในรอบ 24 ปี 20 วันปิดที่ 1838.96 จุดสูงที่สุดนับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดทำการ
 
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 31.29 บาท ต่อ ดอลลาห์แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 4 ปี 3 เดือน<ref>http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/792536</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2561 ได้เกิด [[วิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกี พ.ศ. 2561]] และ [[วิกฤตเงินตราและหนี้เวเนซุเอลา พ.ศ. 2561]]
 
ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกถึง 70% ของจีดีพี และส่วนใหญ่ฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของไทยมาจากนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก<ref>[https://www.prachachat.net/economy/news-108218 Re-design เศรษฐกิจไทยต้องเติบโตอย่างยั่งยืน]</ref>จากสาเหตุดังกล่าวรัฐบาลจึงมักมีแนวคิดให้ค่าแรงในประเทศนั้นต่ำที่สุดและให้ราคาสินค้าในประเทศนั้นต่ำที่สุดเพื่อให้ราคาสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง<ref>https://books.google.co.th/books?id=XydEBAAAQBAJ&pg=PA24&hl=th&source=gbs_selected_pages&cad=3#v=onepage&q&f=false</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 3 ของโลก <ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-40317663</ref>แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะดีขึ้นแต่พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าได้ลดลง การขายสินค้าออนไลน์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น
 
== อุตสาหกรรม ==