ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญบั้งไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pleamir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
ยังมีงานประเพณีบุญบั้งไฟในภาคกลางของไทยอีกที่หนึ่ง ในพื้นที่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ 85 เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟที่ถือเป็นความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟใน อ.แม่เปิน เกิดขึ้น และได้อนุรักษ์ไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2532 จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดประเพณีเป็นประจำในช่วงเดือน 6 หรือประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีการละเล่นประเพณีบุญบั้งไฟเช่นเดียวกัน โดยเป็นหนึ่งในประเพณีของล้านนา โดยมีความเชื่อคล้ายกับภาคอีสาน คือ เป็นการถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน
==ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ==
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ และโลกเทมนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์ตายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยแล้ว
ความหมายของบั้งไฟ
คำว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า “บ้องไฟ” แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า”บั้งไฟ”ดังที่ เจริญชัย ดงไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น