ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดินิยมในเอเชีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
เลขที่ไม่ไกล้เคียงความจริง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''จักรวรรดินิยมในเอเชีย'''ซึ่งนำเสนอในบทความนี้ว่าด้วยการเข้ามายังบริเวณที่เดิมเรียก [[หมู่เกาะอินเดียตะวันออก]] ของชาติ[[ยุโรปตะวันตก]] จักรวรรดินิยมในเอเชียเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยการค้นเส้นทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งนำไปสู่[[ยุคแห่งการสำรวจ]]โดยตรง และนำ[[การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น]]มาสู่บริเวณซึ่งขณะนั้นเรียก [[ตะวันออกไกล]] เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 [[ยุคแห่งการเดินเรือ]]ขยายอิทธิพลของยุโรปตะวันตกและพัฒนาการค้าเครื่องเทศภายใต้[[ลัทธิอาณานิคม]]อย่างมาก มี[[จักรวรรดิอาณานิคม]]ยุโรปตะวันตกและจักรวรรดินิยมในเอเชียตลอดหกศตวรรษแห่งลัทธิอาณานิคม จนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ[[ติมอร์-เลสเต]] ซึ่งเป็นอาณานิคมสุดท้ายของ[[จักรวรรดิโปรตุเกส]] ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 จักรวรรดินำมาซึ่งมโนทัศน์[[ชาติ]]และ[[รัฐพหุชาติ]]แบบตะวันตก บทความนี้พยายามสรุปพัฒนาการของมโนทัศน์รัฐชาติของตะวันตกและตะวันออก
 
แรงผลักของอำนาจทางการเมือง พาณิชย์และวัฒนธรรมของยุโรปในเอเชียทำให้มีการค้า[[โภคภัณฑ์]]มากขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญจนนำมาซึ่งเศรษฐกิจ[[ตลาดเสรี]]สมัยใหม่ในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสทำลายการผูกขาดการค้าทางบกระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปของชาวอาหรับและอิตาลี โดยการค้นพบเส้นทางทางทะเลสู่อินเดียอ้อม[[แหลมกู๊ดโฮป]] อิทธิพลของ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์]]คู่แข่งซึ่งตามติดมา ทำให้อิทธิพลของโปรตุเกสในทวีปเอเชียค่อย ๆ หมดไป กองทัพดัตช์เป็นชาติแรกที่สถาปนาฐานทัพอิสระทางตะวันออก (ที่สำคัญที่สุด คือ ปัตตาเวีย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์อันมีป้อมค่ายแน่นหนา) แล้วจากนั้น ระหว่าง ค.ศ. 1640 ถึง 1660 ดัตช์แย่งชิงการค้ากับ[[มะละกา]] [[ซีลอน]] ท่าอินเดียใต้บางแห่ง และ[[ญี่ปุ่น]]ที่มีกำไรมากจากโปรตุเกส ต่อมา อังกฤษและฝรั่งเศสสถาปนานิคมในอินเดียและสถาปนาการค้ากับจีนและการได้มาของอังกฤษและฝรั่งเศสนี้จะค่อย ๆ แซงหน้าเนเธอร์แลนด์ หลัง[[สงครามเจ็ดปี]]ใน ค.ศ. 1763 อังกฤษกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินเดียและสถาปนา[[บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ]]เป็นอำนาจการเมืองที่สำคัญที่สุดใน[[อนุทวีปอินเดีย]]
บรรทัด 11:
=== การล่มสลายของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดียและการกำเนิดของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ===
 
อังกฤษก่อตั้ง[[บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ]] (The British East India Company) ขึ้นในปี [[พ.ศ. 2143]] (ค.ศ. 1600) แม้ว่าจะเป็นการเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขยายอำนาจเข้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษต่อมา เมื่ออังกฤษเข้าครอง[[เบงกอล]]ได้ หลังมีชัยชนะใน[[ยุทธการที่ปาลาศี]] ในปี [[พ.ศ. 2300]] (ค.ศ. 1757) บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลหรือ[[ราชวงศ์โมกุล]] (Mughal) ตกต่ำเสื่อมถอย เนื่องจากการคอรัปชั่น กดขี่ราษฎร และการก่อกบฏ จนในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลายลงในรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบ (Aurangzab) ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658 - 170717001
 
รัชสมัยของกษัตริย์[[ชาห์ จาฮัน]] (Shah Jahan, [[ค.ศ. 1628]] - [[ค.ศ. 1658|1658]]) เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรื่องและมีพระราชอำนาจสูงสุดของราชวงศ์โมก์ฮัน แต่พอถึงรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบก็เป็นยุคแห่งหายนะ เนื่องจากกษัตริย์โอรังเซบเป็นผู้ที่มีความอำมหิต และคลั่งไคล้ในศาสนา มีพระประสงค์จะกำจัดผู้ที่มีความคิดเห็น ความเชื่อหรือทัศนะที่แตกต่างไปจากความเชื่อของ[[มุสลิม]]ให้หมดไปจากแผ่นดินอินเดีย