ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
 
หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ หรือ ร้อยตำรวจเอก รองศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขากฎหมายจาก[[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]] และปริญญาโทและปริญญาเอกสาขา[[มานุษยวิทยา]] จาก[[มหาวิทยาลัยคอร์เนล]] <ref name="thaibooks">[http://www.webcitation.org/query?id=1256566405767928&url=www.geocities.com/thaibooks_100/a-63.htm ประวัติ หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์]</ref> เคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] <ref>[http://www.midnightuniv.org/mnu2544/newpage6.html เรื่องแปลกๆ ของ อคิน รพีพัฒน์] นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, ฉบับพิเศษ วาระรำลึก 60 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์</ref> และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา[[มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]เป็นเวลา 7 ปี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน [[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] <ref>[http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=5026 "ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ ผู้เดินงานของมวลชนของทรัพย์สินฯ"] ผู้จัดการรายเดือน, เมษายน 2537</ref> ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิชุมชนไท <ref name="thaibooks"/>
หม่อมราชวงศ์อคิน ได้ชื่อว่าเป็นนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดท่านหนึ่งของไทย โดยเฉพาะงานเขียนเรื่อง "The Organization of Thai Society in The Early Period 1782 - 1873 หรือ "สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น: 2325 - 2416" และ งานเขียนที่มาจากงานวิจัยเชิงมานุษยวิทยาที่ชื่อ "The Rise and Fall of a Bangkok Slum" หรือ "ชีวิตและจุดจบของสลัมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ"
หม่อมราชวงศ์อคิน ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2535 และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารจัดการสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 มีผลงานได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ผลงานวิชาการดีเด่น "TTF Award" ประจำปี 2551 จากมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย ด้วยหนังสือชื่อ "วัฒนธรรมคือความหมาย: ทฤษฎีและวิธีการของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ"
 
หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ ยังเป็นนักวิชาการที่มีผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเมืองและชนบท อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในพื้นที่วิจัยทั้งในชุมชนแออัดและหมู่บ้านชนบทหลายแห่ง จนได้ชื่อว่าเป็น "เจ้าชาวบ้าน" และยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการส่งเสริมให้นักวิจัยและนักพัฒนาชนบทใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือในการศึกษาชุมชนและสังคม โดยริเริ่มจัดพิมพ์คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา ครั้งแรกในปี พ.ศ.2536 ต่อมา ท่านได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2535 และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารจัดการสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 มีผลงานได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ผลงานวิชาการดีเด่น "TTF Award" ประจำปี 2551 จากมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย ด้วยหนังสือชื่อ "วัฒนธรรมคือความหมาย: ทฤษฎีและวิธีการของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ"
 
นอกจากนั้น หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ ยังมีอัจฉริยภาพที่เป็นงานอดิเรกสำคัญ คือ การวาดภาพ ด้วยสีน้ำ สีน้ำมัน และลายเส้นดินสอ หรือปากกา จนมีผลงานกว่า 200 ชิ้น ได้จัดแสดงภาพวาดชื่อ นิทรรศการทัศนศิลป์ของ รศ.ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ "สมัครเล่น สมัครจริง สมัครใจ" ขึ้น ระหว่างวันที่ 8-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
หม่อมราชวงศ์อคิน มีบุตรสองคน คือ หม่อมหลวงหญิงกฤติกา รพีพัฒน์ และหม่อมหลวงหญิงณพอร รพีพัฒน์ <ref name="akin"/> สมรสสองครั้งกับจันทรา ปิตะชาติ และ บังเอิญ เกิดอารีย์ <ref>{{อ้างหนังสือ