ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงไชย แมคอินไตย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 83:
ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ธงไชยประสบความสำเร็จต่อเนื่องมาถึงอัลบั้มชุดที่ 6 อัลบั้ม''[[พริกขี้หนู (อัลบั้มธงไชย แมคอินไตย์)|พริกขี้หนู]]'' มียอดจำหน่าย 3 ล้านตลับ<ref>{{cite web |url= http://www.mbamagazine.net/index.php/must-read-3/298-boomerang-man-|title= เบิร์ดธงไชย,...อัลบั้มพริกขี้หนู 3 ล้านชุด|last1= |first1= |last2= |first2= |date= |work= |publisher= |accessdate=3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561}}</ref> เป็นยอดจำหน่ายสูงสุดอีกอัลบั้มของธงไชย โดยสื่อบันเทิงได้ยกให้เป็นปรากฏการณ์ "เบิร์ดฟีเวอร์" อีกครั้งของเขา<ref>{{cite book |title="เบิร์ดฟีเวอร์"|last= |first= |authorlink= |coauthors= |year=พ.ศ. 2534 |publisher= นิตยสารท็อปเท็น|location=|isbn= |page=|pages=10 |url= |accessdate=2 มิถุนายน พ.ศ. 2561}}</ref> และถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุด "อัลบั้มแห่งทศวรรษ"<ref name=":DECADE">{{cite web |url=|title= BEST OF THE DECADE '90s*อัลบั้มที่ดีที่สุดของทศวรรษ! สุดยอดอัลบั้มในรอบ 10 ปี จาก 1990-1999 : ยุคที่วงการเพลงรุ่งเรืองถึงขีดสุด|last1= |first1= |last2= |first2= |date=31 มีนาคม พ.ศ. 2559 |work=|publisher=GMM Superstar|accessdate=2 มิถุนายน พ.ศ. 2561}}</ref> ซึ่งเป็นความสำเร็จ และความนิยมอย่างสูงในผลงานของเขา โดยมีเพลงเด่นคือ "พริกขี้หนู" "ขออุ้มหน่อย" "ไม่อาจหยั่งรู้" "ฝากไว้" เป็นต้น พร้อมกับคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มพริกขี้หนู และจากความสำเร็จของอัลบั้มดังกล่าวทำให้เขามีชื่อเช้าชิงรางวัล International Viewer's Choice Awards จากงาน The 1991 [[เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์]] ณ สหรัฐ<ref>The 1991 MTV Video Music Awards , on September 5, 1991, at the Universal Amphitheatre in Los Angeles, Bird– "Prik Kee Noo" เข้าชิงรางวัล International Viewer's Choice Awards </ref> ในปีเดียวกันเขายังมี[[คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์#คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2534|คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5]] โดยใช้ชื่อตอน ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด จำนวน 29 รอบ จำนวนผู้ชม 58,000 คน ซึ่งมีจำนวนรอบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<ref>"History Babb BirdBird",รายการฮัลโหลวันหยุด,ช่อง 7,4 มิถุนายน พ.ศ. 2555</ref> ก่อนที่ธงไชยจะหยุดงานในวงการบันเทิงอย่างไม่มีกำหนด
 
==== พุทธทศวรรษ 2540 ====
==== ละคร''วันนี้ที่รอคอย'' และซีเกมส์====
[[ไฟล์:ธงไชย และสิเรียม.jpg|thumb|220x220px|ธงไชย และ [[สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์]] นักแสดงนำละคร''วันนี้ที่รอคอย'']]
ปลายปี พ.ศ. 2536 ธงไชยกลับมาแสดงละคร''[[วันนี้ที่รอคอย]]'' รับบท เจ้าซัน และเจ้าชายศิขรนโรดม คู่กับ[[สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์]] ซึ่งละครดังกล่าวประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคนั้น<ref>{{cite web |url=http://www.siamsport.co.th/column/detail/32381|title='เบิร์ด-ธงไชย'' เทรน 'อ๋อม''ย้อนรอย,''วันนี้ที่รอคอย'' ในปีพ.ศ. 2536 โด่งดังเป็นพลุแตก|last1= |first1= |last2= |first2= |date=14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 |work= |publisher= Siamsport|accessdate=2 มิถุนายน พ.ศ. 2561}}</ref> ธงไชยได้รับรางวัลดารานำชายดีเด่น จากประกาศผล[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ]] ครั้งที่ 8
 
ต้นปี พ.ศ. 2537 ธงไชยออกอัลบั้ม ''[[ธ ธง (อัลบั้มธงไชย แมคอินไตย์)|ธ ธง]]'' ซึ่งมีเพลงเด่นคือ "เธอผู้ไม่แพ้" "เหนื่อยไหม" เป็นต้น เพลง "เหนื่อยไหม" ได้รางวัลประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยมจากงานประกาศผลรางวัลพระพิฆเนศทอง ธงไชยจัดคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม "คอนเสิร์ต ธ.ธง กับ เธอ (นั่นแหละ)" และ[[คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์#คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2537|คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 6]] โดยใช้ชื่อตอนว่าอยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างในฝัน
 
ในปี พ.ศ. 2538 ธงไชยกลับมารับบทบาท โกโบริ อีกครั้งในภาพยนตร์''[[คู่กรรม]]'' ภาพยนตร์นั้นสร้างสถิติภาพยนตร์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดใน 3 วันแรกของการเปิดตัวในยุคนั้น<ref>สำนักข่าว Thairath TV,ช่อง 32,4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557,ตอนภาพหลงยุค "คู่กรรม พ.ศ. 2538"</ref> ธงไชยได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากงานประกาศผล[[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] ประจำปี พ.ศ. 2538 และในปีเดียวกันธงไชยได้รับเลือกให้ร้องเพลง "Golden Stars" ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา[[ซีเกมส์]] ครั้งที่ 18 ปี พ.ศ. 2538 จัดที่[[สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี]]
 
=== ปี พ.ศ. 2540 - 2549===
==== การบวชและการสูญเสียมารดา ====
ในปี พ.ศ. 2540 ธงไชยได้เป็นศิลปินคนแรกของทวีปเอเชียที่ได้รับรางวัลนักร้องยอดนิยมจากการประกาศรางวัล Billboard Viewer's Choice Awards 1997<ref name=":รางวัลของธงไชย" /> แต่ธงไชยไม่ได้ไปรับรางวัลเนื่องจากมารดารับการรักษาอยู่ใน[[หน่วยอภิบาล]]