ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเมืองถลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{สั้นมาก}}
 
{| class="wikitable"
'''สงครามพม่าตีเมืองถลาง''' ({{lang-roman|Burmese–Siamese}} (1809–12)) สงครามความขัดแย้งระหว่าง [[พม่า]] ภายใต้การนำของ [[พระเจ้าปดุง]] แห่ง [[ราชวงศ์คองบอง]] และ [[สยาม]] ภายใต้การนำของ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] และ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] แห่ง [[ราชวงศ์จักรี]] ระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. ถึง เดือนมกราคม ค.ศ. 1812 โดยความขัดแย้งครั้งนี้จบลงที่สยามได้ชัยชนะ
|ศึกถลาง พ.ศ.๒๓๕๒
|
|
|
|}
{| class="wikitable"
| colspan="2" |"ซาแอร์ สุลต่าน เมาลานา"
 
(Syair Sultan Maulana)
 
รศ.ดร.รัตติยา สาและ : แปล
 
เรื่องราวเกี่ยวกับกองทัพหัวเมืองปักษ์ใต้และมลายู ช่วยรบพม่าที่เมืองถลางซึ่งนำมาเป็นบทผนวกต่อไปนี้ เป็นเอกสารที่แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย จากต้นฉบับภาษายาวี โดย นางสาวรัตติยา สาและ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา
 
ศ.ดร.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ นำเสนอในที่ประชุมสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จังหวัดภูเก็ต
 
ในเอกสารไม่ได้ระบุว่าเป็นสงครามระหว่างเมืองถลางกับพม่าครั้งใด แต่เมื่อได้วิเคราะห์ตามประวัติศาสตร์และสถานการณ์แวดล้อมตลอดจนสภาพภูมิประเทศตามเรื่องราวในเอกสารนี้แล้วก็สันนิษฐานได้ว่า เป็นการสงคราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ ซึ่งเมืองถลางได้ถูกพม่าทำลายอย่างย่อยยับจนเมื่อกองทัพฝ่ายไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปได้แล้ว เมืองถลางก็เหลือเพียงซากเมือง ทรัพย์สิน ผู้คน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น เอกสารต่าง ๆ ถูกเผาไหม้พินาศไปหมดสิ้น
 
= ไทย-มลายูร่วมรบพม่าที่เมืองถลาง =
 
"ชาแอ็ร สุลต่าน เมาลานา" เป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ของมลายู บรรจุเรื่องราวของการทำศึกสงครามที่เมืองถลางระหว่างพ.ศ. - พ.ศ. โดยบันทึกไว้เป็นร้อยกรองประเภท "ชาแอร์" ที่มีความยาวทั้งหมด ๑,๑๐๒ บท เป็นเอกสารฉบับลายมือเขียนภาษามลายู อักษรยาวี มีการใช้สำนวนภาษามลายูแบบเก่า และสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของการใช้ภาษาไทยด้วย มุหัมมัด ยูโส้ฟ หาเช็ม ได้ชี้แจงว่าเอกสารเรื่องนี้อยู่ในกลุ่มเอกสารมลายูตามรายการ MS. NO.19 ในบันทึกของ K.G. Niemann ได้มาจากกองเอกสารของ J. Crawfurd ซึ่งจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอังกฤษ ต่อมามุหัมมัด ยูโส้ฟ หาเช็ม ได้ปริวรรตเป็นอักษรรูมี และจัดพิมพ์จำหน่ายโดยมหาวิทยาลัยมาลายา กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓โดยใช้ชื่อหนังสือว่า "ชาแอ็ร สุลต่าน เมาลานา" (Syair Sultar Mauiana) และ C. Skinner ได้ปริวรรตเป็นอักษรรูมี อีกหนึ่งฉบับและแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มจำหน่ายโดย The Koninklijk Instituut Voor Taal- Land-in Volkenkunde,Leiden เมื่อ ค.ศ.1983 (พ.ศ.๒๕๒๖)โดยใช้ชื่อหนังสือว่า "The Battle for Junk Ceylon"
 
ชาแอ็รนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสงครามเมืองถลางเพิ่มเติมและเป็นการมองเหตุการณ์จากทางด้านไทรบุรี ช่วยทำให้การมองประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชัดเจนยิ่งขึ้นเพิ่มเติมจากข้อมูลจากกรุงเทพ ฯ แต่อย่างเดียว เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ผู้รจนา เริ่มด้วยการเชิญชวนผู้อ่านให้ติดตามฟังกลอนสดุดีเจ้าผู้ครองนครเคดาร์ คือ สุลต่านอาหมัด ตาฌุดดีน (Ahmad Tajuddin) หรือ ตึงกู ปะแงรัน หรือเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) พระองค์เป็นพระราชโอรสของสุลต่าน อับดุลลอฮ์ อัลมุกัรรัมชัฮ (Sultan Abdullah Al- Mukarram Shah)ในสมัยที่พระองค์ขึ้นครองราชนั้นทรงแต่งตั้งดาโตะ มาฮราฌา ซึ่งมีศักดิ์เป็นชนก พระชายาของพระองค์เองให้เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนอัครมหาเสนาบดี โดยมีหน้าที่บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ นายทหาร และเสนาบดีทั้งหมด เมื่อท่านผู้นี้ถึงแก่อนิจกรรมจึงได้รั้งตำแหน่งนี้ไว้ชั่วคราว
 
ต่อจากนั้นเป็นเรื่องของขบถปาตานี (ปัตตานี)ซึ่งนำโดยดาโตะ เบิงกาลัน เคดาห์ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของไทยในสมัยนั้นได้รับคำสั่งจากกรุงเทพฯ โดยผ่านทางเจ้าเมืองสงขลา ให้จัดส่งกองกำลังเข้าสมทบกับกองทัพของเมืองสงขลาเพื่อลงไปปราบขบถครั้งนี้ด้วย สุลต่านอาหมัด ฯทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดาโต๊ะ มาฮา ราฌา เป็นแม่ทัพใหญ่ และปาดูกา มาฮามึนตรี เป็นรองแม่ทัพนำกำลังทหารจำนวนหนึ่ง เพื่อเดินทางไปปัตตานี แต่เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันเองภายในกองทัพจึงทำให้การเดินทัพมีการแวะพักแรมสนุกสนานกันอยู่ที่ปาดังตือรัป และมีการต่อต้านถ่วงกำลังไม่ให้เดินทางต่อไปยังเมืองปาตานี ทางสงขลาก็พยายามส่งตัวแทนครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อไปย้ำสุลต่านอัหมัดฯ ให้รีบส่งกองกำลังไปปาตานีเพราะกองทัพจากเมืองอื่น ๆ นั้นได้ไปถึงปาตานีล่วงหน้าก่อนแล้วทั้งนั้น ทำให้สุลต่านอัหมัดฯ ทรงร้อนพระทัยมากได้โปรดเกล้าฯ ให้มาฮา ราฌา เลลา และเจ้าหน้าที่อีกหลายนายเดินทางโดยเรือไปที่ปาดังตือรัป แต่ดาโตะ มาฮา ราฌา ก็ไม่ยอมยกกำลังทหารไปเองได้แต่สั่งงานฌายา อินดึรา และมือมัต เสอตียา ฌายา กับเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งเดินทางเพื่อไปสืบดูเหตุการณ์เท่านั้นเอง และทราบว่าปาตานีถูกกองทัพฝ่ายสยามและสงขลาบดขยี้จนแพ้พ่ายแล้ว สุลต่านอัหมัดฯ กริ้วมากจึงเสด็จพระราชดำเนินไปที่ปาดังตือรับด้วยพระองค์เอง ทรงปลดแม่ทัพใหญ่และรองแม่ทัพออกจากตำแหน่งแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เตอมึงฆงคุมกำลังพลห้าพันคนไปปาตานีแทนโดยมีเสอรี ปาดูกา ตูวัน เป็นผู้ช่วย เดินทัพไปถึงปาตานีแล้วก็ไม่ได้รบกันเพราะเขารบกันเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองสงขลาเคืองมากและเข้าใจว่าสุลต่าน อัหมัด นั้นทรงรู้เห็นเป็นใจกับดาโตะ มาฮา ราฌา จึงกักตัวเตอมึงฆง และเจ้าหน้าที่บางคนไว้ส่วนที่เหลือนั้นก็ไล่กลับไปเคดาร์พร้อมกันนั้นก็ข่มขู่จะปราบปรามเมืองเคดาห์ด้วย
 
สุลต่านอัหมัดฯโปรดเกล้าฯให้ลักษมาณาเดินทางพร้อมผู้คนจำนวนหนึ่งไปพบเจ้าเมืองสงขลาที่ปาตานีเพื่อขอขมายอมรับโทษทุกอย่างและวิงวอนขอตัวจำเลยทุกคนที่เจ้าเมืองสงขลากักตัวอยู่นั้นกลับคืน เจ้าเมืองสงขลายอมยกโทษให้
 
จากนั้นไม่นานนักพม่ายกกำลังพลเป็นหมื่น ๆ และเรือเป็นร้อย ๆ ลำ เข้าโจมตีเมืองถลางพม่ายกทัพมาครั้งนี้ผิดฤดูกาลจึงสามารถนำกำลังกองทัพเข้ายึดเมืองเล็ก ๆ ในบริเวณ รอบ ๆ เกาะและก็สามารถล้อมเมืองถลางได้ ชาวถลางขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค และดินปืน จึงไม่กล้าตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกมา ได้แต่ตั้งมั่นอยู่กันภายในกำแพงเมืองทั้งวันทั้งคืน
 
เจ้ากรุงสยามโปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราชนำกำลังทัพบกและทัพเรือลงไปช่วย วังหน้าเตรียมกองหน้าเดินทัพโดยทางบกไปก่อนซึ่งมีพระยาจ่าเสนฯ เป็นแม่ทัพและเดินทัพไปจนถึงเมืองไชยาส่วนกองทัพพระยายมราชเดินทางโดยเรือมีกำลังพลเป็นหมื่น ๆ และมีนายทหารผู้ชำนาญการรบกับพม่าหลายนายยกพลขึ้นบกที่เมืองนครศรีธรรมราช พระยายมราชตั้งพระยาท้ายน้ำ เป็นแม่ทัพนำกำลังพลยกเดินทางไปเมืองถลางในวันนั้นเลย ส่วนตัวท่านนั้นยังคงอยู่ที่นครศรีธรรมราช
 
ทางเมืองสงขลานั้นให้นายทหารหลายนายนำสาส์นไปเคดาห์ และเสนอเงื่อนไขที่จะคุ้มครองเคดาห์ ถ้ายอมส่งข้าวสารไปเป็นเสบียงของกองทัพสยามที่เมืองตรัง นอกจากนั้นยังได้เรียกตราคืนจากสุลต่าน อัหมัดฯ ด้วย โดยขอผ่านทาง ดาโต๊ะ มาฮา ราฌา เหตุการณ์นี้เกือบกลายเป็นชนวนสงครามระหว่างเคดาห์กับสงขลา และเปิดโอกาสให้ ดาโต๊ะ มาฮา ราฌาและปาดูกา มาฮา มึนตรี ได้แก้แค้นสุลต่าน อัหมัดฯ โดยการเสนอตัวรับใช้เจ้าเมืองสงขลาอย่างเต็มที่
 
เรื่องนี้ทำให้สุลต่านอัหมัดฯ กังวลมาก ในที่สุดจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ลักษมาณา เป็นแม่ทัพนำกองทัพเคดาห์ไปช่วยสยามสู้รบกับพม่าที่ยกทัพรุกรานเมืองถลาง จึงได้เตรียมกำลังพลและเรือปืนพร้อมปืนใหญ่ พร้อมกันนั้นก็ได้มีหนังสือแจ้งไปยังเกาะลังกาวีให้เตรียมเรือและผู้คนให้พร้อมแล้วท่านจะนำกองกำลังไปรวมกันที่นั่น การจัดขบวนของเคดาห์นั้นเป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีเมือง ทั้งยังมีการประกอบพีธีทางศาสนาตามราชประเพณีของการออกทำศึกสงครามด้วย เรือส่วนใหญ่นั้นสามารถแล่นไปถึงเกาะลังกาวีได้อย่างปลอดภัย ถึงแม้ว่าจะมีเรือบางลำเกิดรั่วบ้างก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีและก็ไปถึงที่หมายได้ ที่เกาะลังกาวีนั้นมีเสอรี เปอเกอรามา ฌายา เป็นแม่ทัพ และเสอรี ดี วังสา เป็นผู้ช่วย จากเกาะลังกาวีเรือทุกลำแล่นไปถึงเกาะกือตัม โดนลมเหนือต้านไว้ พอถึงตันฌงจินจิน คลื่นลมปั่นป่วนหนัก จำต้องหลบอยู่ที่นั่นก่อนจนกว่าลมเหนือสงบลงจึงออกเรือแล่นต่อไปยังเกาะตะรุเตาและแวะพักอยู่ที่นั่นหนึ่งวัน ผู้บังคับการเรือตะรุเตานั้นชื่อ สุลัยมาน ท่านได้เตรียมกำลังพลเข้ามาสมทบด้วยและได้ร่วมนำกองเรือเดินทางต่อไปถึงเปอรัมบง แวะพักที่นั่นได้สักครู่พระอาทิตย์เบิกฟ้าจึงออกเรือแล่นต่อไปถึงเมืองตาลีบงเมื่อตอนเที่ยงวัน แต่ก็ไม่เห็นว่ามีกองเรือสยามที่ไปล่วงหน้าก่อนแล้วนั้นหลงเหลืออยู่ หัวหน้าท้องที่เมืองตาลีบง มีตำแหน่งเป็น อาดีปาตี ชื่อ เจ้าปะแงรัน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระเจ้ากรุงสยามเป็นหลวงฤทธิสงคราม จากสงขลามีหลวงยกกระบัตรเป็นผู้ช่วยนำพลเดินเท้าจำนวน ๕๐๐ นาย ไปที่เมืองตาลีบง มีการสร้างค่ายและปักเสา มีการเตรียมเรือกันทั้งวันทั้งคืน ถึงแม้ว่ามีคนน้อยแต่ก็ได้กำลังพลของตรังเข้าสมทบอีก ๕๐ ลำเรือ ส่วนกองทัพจากนครศรีธรรมราชและพัทลุงนั้นไปล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่แวะอยู่ที่เกาะปันฌัง ไม่กล้าเดินทางต่อไปยังเมืองถลาง
 
เมื่อลักษมาณาเมืองเคดาห์ไปจนถึงเมืองตาลีบงก็หยุดพักรอรับข่าวสาร พออยู่ได้สองวันก็มีหนังสือจากถลางแจ้งว่าพม่าถอยทัพหนีไปแล้ว แต่ลมเหนือยังไม่ทิ้งช่วง เกรงว่าพวกพม่าจะย้อนกลับไปใหม่ พวกเขาจึงถูกขอร้องให้รีบไปที่นั่น ครั้นอีกหนึ่ง วันถัดมาก็มีหนังสือตามหลังมาอีกว่าพม่าย้อนกลับมาโจมตีถลางทุกวัน ตรงตามที่เมอฆัตไปสืบมา ดังนั้นท่านลักษณามาเมืองเคดาห์จึงได้ร่วมกันกับเจ้าปะแงรันเมืองตาลีบงยกกำลังกองทัพเรือโดยมีกองกำลังของเมืองสงขลาและสตูลเข้าสมทบด้วยและเดินทางมุ่งหน้าไปที่เกาะมูที่ยาและหลบลมเหนืออยู่ที่นั่นก่อนชั่วคราว
 
ทางพระยาท้ายน้ำนั้นเมื่อไปถึงเมืองตรังก็ตั้งใจจะมุ่งตรงไปยังเมืองถลางแต่เนื่องจากไม่มีเรือที่จะข้ามฟากไปได้ จึงจำต้องจัดเตรียมหาเรือให้พร้อมก่อน ระหว่างนั้นก็ได้สั่งการให้หลวงคำแหงสงครามออกเรือไปสืบข่าวสารให้พลาง ๆ เมื่อแล่นเรือไปถึงเมืองตาลีบง จึงได้พบเรือที่มาจากกรมเบ็ง ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นเรือของผู้ตรวจการที่คอยติดตามและสอดส่องดูแลกรมการทุกคน และได้ทราบว่ากองทัพเคดาห์กับตาลีบงนั้นได้ผนวกเข้าเป็นทัพเดียวกันแล้วด้วย จากนั้นหลวงคำแหงสงครามจึงนำเรือออกจากรมเบ็งมุ่งไปที่ช่องแคบปันฌัง เรือทอดสมออยู่ที่นั่นได้สักครู่ก็เห็นกองเรือของพัทลุงแล่นมาจากเกาะกาลัต คนเหล่านี้ขาดเสบียงอาหารและไม่กล้ารบกับพวกพม่าซึ่งมีกำลังพลมากกว่า กองทัพนครศรีธรรมราชก็เช่นเดียวกัน ชวนกันหนีกลับไปที่ช่องแคบกอแระเพราะต้องการรอที่จะสมทบกับกองกำลังซึ่งมาจากที่อื่น เมื่อไม่เห็นว่ามีใครมาก็เคลื่อนทัพไปที่เกาะยาวทำให้ข้าหลวงฯ โกรธมาก แต่ท่านลักษมาณาเคดาห์กับหลวงฤทธิสงครามเมืองตาลีบงช่วยกันคลี่คลายปัญหา จึงทำให้กองทัพพัทลุงรอดตัวไม่ถูกทำโทษ
 
กองทัพเคดาห์ ตาลีบง สงขลา ออกเรือมุ่งหน้าไปที่อูฌงมึรปู ค้างคืนที่นั่นได้เพียงหนึ่งคืนก็ต้องย้อนกลับเข้าไปอยู่ที่ช่องแคบอย่างเดิมเพราะว่าไม่อาจฝ่าคลื่นลมได้ ต้องพายเรือตลอดคืนไปพักทัพกันที่เอโก็รนาฆา พร้อมกันนั้นก็ได้มอบหมายให้ผู้บังคับการเรือของตาลีบงที่ชื่อ เอลัก และฝีพายที่เป็นชาวเลไปสอดแนมที่เกาะถลางและที่ตันฌงฌัมบูว่าพวกพม่าอยู่กันอย่างไรสอดแนมอยู่ที่ถลางได้สามคืนก็ได้ข้อมูลพอเพียง ดังนั้นเมื่อถึงยามนาคทัพแมลงป่อง เรือทุกลำถึงถอนสมอแล้วแล่นหน้าไปถึงที่ช่องแคบเลเฮ็รเป็นจุดแรก
 
ฝ่ายพม่านั้นยกพลบุกเข้าโจมตีถลาง อย่างหนัก มีการสร้างค่ายหลายแห่ง มีการเคลื่อนค่ายอยู่เรื่อย ๆ และล้อมกำแพงเมืองถลางไว้โดยรอบ คนถลางนั้นก็ยิงปืนตอบโต้ออกจากกำแพงอย่างไม่หยุดยั้งเหมือนกัน เสียงปืนดังไกลไปถึงเอโก็รนาฆา
 
กองทัพของเคดาห์ ตาลีบง สงขลาแยกกันออกเรือไปจากเอโก็รนาฆา เรือของเตอมึงฆงเกิด รั่วอย่างแรงต้องช่วยกันพยุงไปที่ช่องแคบเลเฮ็ร ทำให้ขบวนกองทัพเรือต้องเสียรูป ครั้นตกคืนวันศุกร์ฤกษ์งามยามดีก็ยกกองทัพออกจากช่องแคบเลเฮ็ร เข้าไปใกล้ตันณงฌัมบู ระหว่างทางเรือของเตอมึงฆงเกิดรั่วเหมือนเก่าอีก เช้ามืดต้องแวะเข้าแอบอยู่ที่เกาะเปอนาฆา พอใกล้สว่างก็พายเรือเข้าไปใกล้ตันณงฌัมบู ส่วนกองทัพพม่านั้นพอฟ้าสว่างก็ยกขบวนไปที่ค่ายแล้วยิงปืนใหญ่เข้าใส่ก่อนเท่าที่มองเห็นนั้นพม่ามีเรือรบ ๑๙ ลำเป็นเรือว่างเปล่าเพราะผู้คนนั้นไปรวมกันอยู่ที่ในค่าย พม่าสร้างค่ายห้าแห่งเรียงกันอยู่บนภูเขาและติดปืนใหญ่ไว้พร้อม กองทัพไทยยกพลไปจนถึงชายหาดก็ระดมยิงเข้าไปที่ค่ายพม่าแตกกระเจิง
 
กองกำลังของนครศรีธรรมราชนั้นคอยแต่จะพ่วงท้ายเพื่อนอยู่เรื่อย พวกพม่านั้นพอถึงเวลาเที่ยงก็พากันถอยหนี ฝ่ายไทยได้ทีจึงยกพลขึ้นบกไล่ตามและปล้นสะดม พวกนครศรีธรรม- ราชนั้นแย่งของก่อนใคร ๆ และถ้าเจอพม่านอนเจ็บก็จะฆ่าทิ้งทันที ข้าหลวงฯ นั้นกระโดดขึ้นบกใช้ดาบฟันศัตรูตายทีละสามศพ ท่านใช้ดาบชำนาญมาก จากนั้นทหารสยามจึงจัดการเผาค่ายและเรือรบของพม่าจนวอดวายหมดเพราะว่าไม่มีใครจะดูแลให้ ในขณะที่กองทัพฝ่ายสยามกำลังหาลู่ทางที่จะไปช่วยเหลือคนถลางที่อยู่ในวงล้อมของพม่านั้นปรากฏว่าพวกพม่าได้ย้อนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อฝ่ายสยามเห็นว่าจะเสียทีจะถอยกำลังพลไปรออยู่ที่เกาะเปอนาฆาและวางแผนที่จะเข้าโจมตีพม่าตรงช่องแคบปากพระ
 
ที่เมืองตาลีบงนั้น พระยาท้ายน้ำกำลังป่วยหนัก แต่ก็ได้พยายามแข็งใจนำกำลังกองทัพออกจากตาลีบงไปที่ช่องแคบเลเฮ็ร ที่นั่นมีกองกำลังที่มาจากเกาะเปอนาฆารออยู่แล้ว จึงได้พากันออกเรือเพื่อจะได้เข้าไปโจมตีพวกพม่าที่ช่องแคบปากพระ ระหว่างทางก็ได้แวะพักทัพที่เกาะเมอรูวะก่อนคืนนั้นเองพระยาท้ายน้ำถึงแก่อนิจกรรม ข่าวนี้ถูกอำพรางด้วยนานาวิธีเพราะเกรงว่าทหารจะเสียกำลังใจ ความหวังดีของฝ่ายกรมการในครั้งนี้ทำให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจผิดหาว่าหลอกผู้อื่นเพื่อตนจะได้เป็นใหญ่แทนพระยาท้ายน้ำ จึงพากันแข็งข้อทำให้แผนการเข้าโจมตีพม่าที่ช่องแคบปากพระต้องล้มเลิกไป จนกระทั่งมาทราบข่าวว่ามีเรือกำปั่นของพม่าลำหนึ่งแล่นมาที่ตันฌงญัมบู.......ลักษมาณาและเจ้าปะแงรัน ตาลีบงจึงเชิญผู้บังคับการเรือทุกคนหารือกันเพื่อจะเข้าไปโจมตีเรือพม่าลำนั้น พอไล่หลังจวนจะถึงเรือพม่านั้นทันหนีเข้าไปในที่มั่นของเขาเสียก่อนแล้วยิงปืนเข้าใส่ฝ่ายสยามทันที บังเอิญกองเรือของนครศรีธรรมราชที่แล่นตามหลังมานั้นไปถึงจึงได้เข้าสมทบด้วย แทนที่จะได้ทีเพราะได้กำลังเพิ่มแต่กลับต้องเสียทีพม่าอีกเพราะเรือนครศรีธรรมราช ๓ ลำเกิดไฟไหม้ กู้ขึ้นมาได้สองลำ ผู้คนต้องล้มตายและบาดเจ็บหลายคน ต้องถอยหนีจึงโดนทหารพม่าโห่เยาะเย้ยไล่หลัง
 
มลายูและสยามถอยทัพไปตั้งหลักที่เกาะญอร์ พักทัพที่นั่นได้หนึ่งวัน คืนนั้นก็เห็นเพลิงลุกโชติตรงกลางเมืองถลาง รุ่งเช้าเมื่อพายเรือไปที่เกาะเปอนาฆาจึงทราบจากพวกถลางที่หนีนั้นว่าพม่าเผาเมืองถลางจนเสียหายแล้ว กองทัพเรือท้อใจมากเพราะหวังว่าจะได้รับกำลังสนับสนุนจากกองทัพบก รอกันนานถึงสี่สิบวันแล้วยังไม่มีใครมา เสบียงก็ไม่มีเพิ่มจึงจำเป็นต้องถอนตัว กองเรือนครศรีธรรมราชและข้าหลวงฯ นั้นชวนกันกลับโดยไม่บอกใครเลย ทำให้กองกำลังจากตาลีบง สงขลา และเคดาห์น้อยใจ ประกอบกับข้าวสารก็หมดและหลายคนต้องอดอยากจึงยิ่งท้อแท้หมดกำลังใจ แต่พอไปถึงเกาะปันฌังก็ได้พบเรือเสบียงที่นั่น เมื่อได้อาหารพอเพียงก็ยกกำลังกองเรือย้อนกลับไปเกาะเมอรูวะอีกครั้ง พยายามวางแผนหาลู่ทางที่จะเข้าไปช่วยถลางแต่ติดขัดอยู่ที่ต้องรอกองทัพบกไปถึงเสียก่อน รอนานยี่สิบวันก็ยังไม่มีกำลังทหารจากกองทัพบกไปถึงที่นั่น
 
ทหารพม่านั้นออกจากที่มั่นคิดจะเข้าไปโจมตีที่เกาะเมอรูวะ แต่คงไม่กล้านักจึงได้แต่หลอกล่ออยู่ตรงปากทางของช่องแคบปากพระ พายเรือเข้าออกอยู่ ๓ วันหวังจะยั่วให้ฝ่ายกองเรือมลายูไล่ตามประจวบกันตอนนั้นพระยาวิชิตณรงค์และพระยามหาสงครามไปถึงพร้อมกับกองกำลังของพัทลุงและกองกำลังนครศรีธรรมราชย้อนกลับไปทันถึงที่นั่นด้วยทำให้พวกพม่า เข้าใจผิดคิดว่าไทยส่งกำลังทหารเข้าเสริมจึงไม่ได้กระทำการใด ๆ ฝ่ายไทยก็ยังคงรอกำลังจากกองทัพบกต่อไป รอกันจนขาดแคลนน้ำดื่ม พระยาทั้งสองจึงได้หารือกับหัวหน้ากองเรือทั้งหมดแล้วตกลงออกเรือไปรอกองทัพบกที่ช่องแคบเลเฮ็รทุกคน ในช่วงนั้นซายิด ออสมัน ถึงแก่กรรม ตึงกู อิดริส และเตอมิงฆงไม่ลงรอยกับพระยาทั้งสอง จึงคิดอุบายเพื่อให้ได้กลับเคดาห์ เตอมึงฆงไม่สามารถกลับเมืองได้เพราะถูกตึงกู บิสนู เจ้าเมืองสตูลทัดทานไว้ จำต้องยอมย้อนกลับไปร่วมมือกับท่านแม่ทัพเดคาห์เหมือนเดิม
 
ฝ่ายพระยาจ่าเสนฯและพระยายมราชนั้นยกพลเดินทางโดยทางบก โดยแบ่งกำลังเป็นสองกองพล สำหรับกรมการของพระยาจ่าเสนฯ แบ่งเป็นสามหมู่ มีพระยาทศโยธาเป็นกองหน้าและเดินทางล่วงหน้า เพื่อนทั้งหมดโดยออกจากเมืองไชยาไปตั้งหลักที่พังงา และมีการประลองกับพวกพม่าที่หมู่บ้านตะกั่วทุ่ง เมือพม่าถอยหนีจึงยกพลไปที่หมู่บ้านบางครีแล้วคาดจะไปร่วมกับกองทัพเรือต่อไป แต่เมื่อรู้ว่าถลางถูกพม่าตีแตกแล้วจึงเลิกล้มแผนนั้นและแอบหนีไปพบพระยาพิชัยอินทราจึงถูกชวนไปช่วยถลางด้วยกัน
 
กองทัพของพระยายมราชนั้นเมื่อเดินทัพออกจากนครศรีธรรมราชไปได้ประมาณครึ่งทางก็ได้รับหนังสือแจ้งว่าพม่าตีถลางแตกยับเยินแล้วจึงเสียใจมาก และรีบตัดสินใจยกกำลังทัพบกรุดไปที่ตรังทันทีเพื่อจัดเตรียมเรือที่จะข้ามฟากไปยังถลางเพียงยี่สิบวันเท่านั้นกองทัพสามารถสร้างเรือขนาดเล็กขนาดใหญ่ได้แปดสิบลำในระหว่างนั้นก็ได้ส่งหนังสือไปที่ช่องแคบเลเฮ็รขอให้กองทัพเรือช่วยหาทางป้องกันตัวเองไปก่อนและถ้ามีลู่ทางก็ให้พยายามเข้าโจมตีพวกพม่าด้วยโดยให้พระยาวิชิตณรงค์เป็นหัวหน้า แต่พระยาวิชิตณรงค์กระทำการไม่สำเร็จ ทุกคนได้แต่รอรีกันอยู่ที่เกาะปันฌัง รอกันนานถึงสองเดือนจึงเห็นพระยาพิชัยสงครามไปถึงตามคำสั่งของพระยายมราชพร้อมกับมีกองกำลังของพัทลุงและปาตานี เมื่อรวมกับเรือมลายูก็เป็นหนึ่งร้อยสี่สิบลำ พระยาพิชัยสงครามนั้นเมื่อไปถึงก็สั่งการให้สร้างค่ายเพื่อเป็นที่พักของพระยายมราชทันที ในการรบครั้งนี้ลักษมาณาเคดาห์กับเจ้าปะแงรันเมืองตาลีบงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่คุมกองหน้าและคอยป้องกันพม่าทางทะเล ส่วนการโจมตีทางบกนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายสยามที่จะจัดการเอง นอกจากนั้นพระยายมราชยังได้สั่งการให้หลวงคำแหงคอยประกบตัวลักษมาณาเคดาห์ด้วยเพราะระแวงว่าจะเอาใจออกห่างสยามไปฝักใฝ่พม่า พระยามหาสงครามคุมปีกขวาโดยมีกองกำลังปาตานีหนุนด้วย พระจะนะกับเจ้าเมืองสงขลาคุมปีกซ้าย พระยาพิชัยสงครามและเจ้าเมืองพัทลุงคอยเกณฑ์คนอยู่ข้างหลังสุด
 
พวกพม่าชำนาญในการรบภาคพื้นดินมากกว่าภาคทะเล ในที่สุดทหารฝ่ายสยามสามารถยึดค่ายที่อาเอ็ร กือลูมี กลับคืนมาได้เป็นแห่งแรกและสู้รบกันอย่างต่อเนื่องจนสามารถยึดค่ายใหญ่ของพม่าที่สร้างยาวตามแนวคลองตียงถึงหาดบางครีได้สำเร็จ และพวกพม่าก็แพ้พ่ายไป
 
พระยาพิชัยอินทรากับพระยาทศโยธานำกำลังกองทัพเคลื่อนออกจากตะกั่วทุ่ง แล้วยึดค่ายพม่าที่หมู่บ้านโคกกลอยได้สำเร็จและตั้งกำลังคอยซุ่มตามป่าเผื่อจะมีพวกพม่าแอบซ่อนอยู่ และก็จับพวกพม่าได้หลายคน กองกำลังโดยส่วนใหญ่นั้นได้กระจัดกระจายออกไปทำธุระกันเหลือแต่ท่านลักษมาณาเคดาห์เจ้าปะแงรันเมืองตาลีบงและหลวงคำแหงเท่านั้นที่เป็นหัวหน้าคอยดูแลสถานการณ์ทั้งทางบกและในย่านทะเลบังเอิญในช่วงที่เจ้าปะแงรันออกไปทอดแหนั้นก็มีพวกพม่าอีกเกือบหนึ่งร้อยลำเรือย้อนกลับมาที่ถลางอีกครั้ง ลักษมาณาเคดาห์จึงคิดใช้กลลวงพม่า โดยให้เรือทุกลำที่มีอยู่นั้นเข้าเทียบฝั่งเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานตรงปากอ่าว จากนั้นให้รัวปืนใหญ่เข้าใส่พม่าอย่างหนักทำให้พรรคพวกที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ รีบรุดเข้าไปช่วย พม่าเลยเข้าใจว่าฝ่ายสยามส่งกำลังเข้าเสริมเพิ่มมากกว่าเก่าจึงถอยทัพไป ถัดจากนั้นอีกเก้าวันพระยายมราชได้สั่งการให้เรือมลายูและสยามร่วมร้อยลำออกติดตามพวกพม่าโดยมีพระสุระสงครามเป็นแม่ทัพใหญ่ ลักษมาณาเคดาห์เป็นกองหน้า บุตรเจ้าเมืองลิโฆ็รเป็นปีกขวา นายฤทธิ์เป็นปีกซ้ายร่วมกับเจ้าเมืองปาตานี เจ้าเมืองแบงรันเมืองตาลีบงไม่ต้องไปแต่ให้คอยลาดตระเวนในย่านทะเลรอบ ๆ เกาะถลางไว้ กองกำลังเหล่านี้ได้ติดตามดูแลถึงช่องแคบปากจือเกาะในเขตตะกั่วป่า และเมื่อมั่นใจว่าพม่าไม่ย้อนกลับมาแน่นอนแล้ว จึงเดินทางกลับไปถลาง
 
ที่เมืองถลางนั้นพระยายมราชได้ตั้งพระยาพิชัยสงครามเป็นผู้รักษาราชการแทน ส่วนท่านนั้นกลับไปอยู่ที่เมืองตรัง พอสิ้นมรสุมก็มีหนังสือไปถึงพระยาพิชัยสงครามอนุญาตให้กองทัพมลายูกลับเมืองได้และเมื่อไปถึงเคดาห์ทุกคนได้เข้า[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย|กราบบังคมทูลฯ]] เรื่องราวการปฏิบัติราชการสงครามที่เพิ่งผ่านพ้นไปสร้างความโสมนัสยินดีแก่สุลต่านอัหมัด ตาฌุตดินเป็นล้นพ้น เพราะนอกจากได้ช่วยกอบกู้เมืองถลางให้กลับคืนเป็นของสยามได้แล้วยังเป็นการชำระความที่สยามระแวงสงศัยว่าเคดาห์เอาใจออกห่างจากสยาม จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ลักษมาณาดำรงตำแหน่งเป็น ปึนดาฮารา และปาดูกา เสอรี ราฌาเป็นลักษมาณา.
|}
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับไทย]]
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับพม่า]]