ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขนมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Thai market sweets 01.jpg|thumb|350px|ขนมไทยหลายชนิด อาทิ [[ทองหยอด]], [[ทองหยิบ]], [[ฝอยทอง]] ซึ่งเป็นขนมที่มีที่มาจาก[[โปรตุเกส]] โดย [[ท้าวทองกีบม้า]]]]
'''ขนมไทย''' มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง
 
== รักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลีรักพี่มาลี ==
== ประวัติความเป็นมาของขนมไทย ==
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น [[ขนมครก]] [[ขนมถ้วย]] ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาสวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
 
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น [[ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์ เดอ ปีนา)|มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า)]] หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้นำสูตรมาจากโปรตุเกส
 
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
 
ในสมัย[[รัชกาลที่ 1]] มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์
 
ต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม
 
== การแบ่งประเภทของขนมไทย ==
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ <ref>ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด. 2539</ref>
* ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น [[ตะโก้]] [[ขนมลืมกลืน]] [[ขนมเปียกปูน]] [[ขนมศิลาอ่อน]] และผลไม้กวนต่าง ๆ รวมถึง[[ข้าวเหนียวแดง]] [[ข้าวเหนียวแก้ว]] และ[[กะละแม]]
* ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้[[ลังถึง]] บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น [[ช่อม่วง]] [[ขนมชั้น]] [[ข้าวต้มผัด]] [[ขนมสาลี่|สาลี่]]อ่อน [[สังขยา]] [[ขนมกล้วย]] [[ขนมตาล]] [[ขนมใส่ไส้]] [[ขนมเทียน]] [[ขนมน้ำดอกไม้]]
* ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ [[ทองหยอด]] [[ทองหยิบ]] [[ฝอยทอง]] [[เม็ดขนุน]] กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
* ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด [[ขนมกง]] [[ขนมค้างคาว]] [[ขนมฝักบัว]] [[ขนมนางเล็ด]]
* ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง นอกจากนี้ อาจรวม [[ขนมครก]] [[ขนมเบื้อง]] [[ขนมดอกลำเจียก]]ที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
* ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ [[ขนมถั่วแปบ]] [[ขนมต้ม]] [[ขนมเหนียว]] [[ขนมเรไร]] นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก [[ลอดช่อง]] [[ซ่าหริ่ม]]
 
== วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย ==
[[ไฟล์:Sakhu Sai Mu and Khao Kriap Pak Mo.jpg|thumb|250px|left|[[สาคู (อาหาร)|สาคู]]ไส้หมู และ[[ข้าวเกรียบปากหม้อ]]]]
ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
=== ข้าวและแป้ง ===
การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำ[[ข้าวยาคู]] พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำ[[ข้าวเม่า]] ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ [[กระยาสารท]] ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน และที่นำไปทำเป็นแป้ง เช่น [[แป้งข้าวเจ้า]] [[แป้งข้าวเหนียว]] นอกจากนั้นยังใช้[[แป้งมันสำปะหลัง]]ด้วย ส่วน[[แป้งสาลี]]มีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ<ref name="ขนมหวาน">ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด.2539</ref>
 
=== มะพร้าวและกะทิ ===
[[มะพร้าว]]นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ <ref name="ขนมหวาน"/>
* มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
* มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย<ref name="ส.พลายน้อย">ส. พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537</ref>
* มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี [[แกงบวด]]ต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย
 
=== น้ำตาล ===
แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใช้ทำขนมคือน้ำตาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง
 
=== ไข่ ===
เริ่มเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม <ref name="ขนมหวาน"/>
 
=== ถั่วและงา ===
ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมพิมพ์ถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์<ref>วรดุลย์ ตุลารักษ์. วัฒนธรรมอาหารการกิน:ขนมไข่เหี้ย. ครัว. 4 (37) :88 - 89 กรกฎาคม 2540</ref> ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้<ref>อบเชย อิ่มสบาย, บก. ตำรับขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2539</ref>
* ถั่วเขียวเลาะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
* ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
* ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ใน[[ขนมจ่ามงกุฎ]] ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
* งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น [[ขนมเทียนสลัดงา]] [[ขนมแดกงา]]
 
=== กล้วย ===
กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น[[กล้วยน้ำว้า]] กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง [[กล้วยไข่]]ให้สีเหลือง เป็นต้น<ref>ฆนนกาล มาตยศิริ. กล้วยในขนมไทย. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 16 -17, มกราคม 2542</ref>
 
=== สี ===
สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ <ref name="ขนมหวาน"/>
* สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
* สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
* สีเหลืองจาก[[ขมิ้น]]หรือ[[หญ้าฝรั่น]]หรือก้านดอกกรรณิการ์
* สีแดงจาก[[ครั่ง]]
* สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง
=== กลิ่นหอม ===
กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ <ref name="ขนมหวาน"/>
* กลิ่นน้ำลอยดอก[[มะลิ]] ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
* กลิ่นดอก[[กระดังงา]] นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
* กลิ่น[[เทียนอบ]] จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
* กลิ่นใบ[[เตย]] หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม
 
== ขนมไทยแต่ละภาค ==
=== ขนมไทยภาคเหนือ ===
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน [[ขนมวง]] ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
 
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมเทียนหรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ [[ข้าวหนุกงา]] ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือ[[ข้าวเกรียบว่าว]] ลูกก่อ [[ถั่วแปะยี]] [[ถั่วแระ]] ลูกลานต้ม<ref>เฟื่อฟ้า เปียจำปา. อาหารคนเมือง ใน เชียงใหม่ หน้า 236 - 237. สุดารา สุจฉายา , บก. กทม. สารคดี. 2540</ref>
 
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ [[ขนมอาละหว่า]] ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง [[ขนมเปงม้ง]] ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน [[ขนมส่วยทะมิน]]ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ [[งาโบ๋]] ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้าย[[ตังเม]]แล้วคลุกงา กับ [[แปโหย่]] ทำจาก[[น้ำตาลอ้อย]]และถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด<ref>ปาริชาติ เรืองวิเศษ. บก., แม่ฮ่องสอน. กทม. สารคดีม. 2536</ref>
 
=== ขนมไทยภาคกลาง ===
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
 
=== ขนมไทยภาคอีสาน ===
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ [[บายมะขาม]]หรือมะขามบ่ายข้าว [[ข้าวโป่ง]] <ref>ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีสานเมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 42 - 43 มกราคม 2542</ref>นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู
ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง) <ref>ปาริชาติ เรืองวิเศษ. อาหารพื้นเมืองเลย. ใน เลย หน้า 173. สุดารา สุจฉายาม บก. กทม. สารคดี. 2539</ref>
=== ขนมไทยภาคใต้ ===
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
 
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ <ref name="สารานุกรม"/>
* '''ขนมหน้าไข่''' ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
* '''ขนมฆีมันไม้''' เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้ง[[ข้าวหมาก]] เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
* '''ขนมจู้จุน''' ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
* '''ขนมคอเป็ด''' ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
* '''ขนมคนที''' ทำจากใบ[[คนที]] ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
* '''ขนมกอแหละ''' ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
* '''ขนมก้านบัว''' ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
* '''ข้าวเหนียวเชงา''' เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
* '''ข้าวเหนียวเสือเกลือก''' คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยน[[ข้าวโพด]]เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
* '''ขี้หมาพองเช''' มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
* '''ขนมดาดา''' เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ใช้ในโอกาสเดียวกับ[[ฆานม]] ประกอบด้วยข้าวเจ้า ข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละเอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว
* '''ขนมกรุบ''' นิยมทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำอุ่น นำไปรีดให้แผ่บางบนใบตอง นำไปนึ่งแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วทอดให้กรอบคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวเป็นยางมะตูม
* '''ขนมก้องถึ่ง''' ทำจากถั่วลิสงคั่ว คลุกกับน้ำตาลร้อนๆ แล้วใช้ไม้ทุบให้ละเอียดจนเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้น
 
== ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล ==
ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้
=== ขนมไทยในงานเทศกาล ===
* งานตรุษ[[สงกรานต์]] ที่[[พระประแดง]] และราชบุรี ใช้กะละแมเป็นขนมประงานตรุษ<ref name="วันดี">วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2. กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527</ref> <ref name="ราชบุรี"/>
* [[สารทไทย]] เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้[[กระยาสารท]]เป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพอง ขนมท่อนใต้ [[ขนมบ้า]] ขนมเจาะหูหรือ[[ขนมดีซำ]] ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้ม ต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม (กะละแม) <ref name="วันดี"/> โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ [[ขนมพอง]] เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ [[ขนมดีซำ]]เป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า ใช้เป็นลูก[[สะบ้า]] ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ <ref>กิ่งกายจน์ ทิพย์สุขุม. วัฒนธรรมอาหารการกิน: ขนมลา ขนมเซ่น. ครัว. 4 (38) :92-93, สิงหาคม 2540</ref>
* เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่า เมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอ<ref name="วันดี"/> บางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรี <ref name="ราชบุรี"/>
* ในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อ ซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ) และห่อมัด (เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกมัด) <ref name="นครศรี">ปาริชาติ เรืองวิเศษม บก. นครศรีธรรมราช. กทม. สารคดี. 2537</ref>
* ในช่วงถือ[[ศีลอด]]ในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทาน[[ขนมอาเก๊าะ]]<ref>กันยารัตน์ พรหมวิเศษ. อาเก๊าะ:ขนมพิมพ์ไข่ของชาวไทยมุสลิมชายแดนปักษ์ใต้. วัฒนธรรมไทย. 32 (4) : 36-39, มกราคม 2542</ref>
* เดือนอ้าย มีพระราชพิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าราศีธนู นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูป มาฉันขนมเบื้องใน[[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]]<ref>สุรีย์ ดารา. วัฒนธรรมอาหารการกิน: ขนมเบื้อง บทพิสูจน์ฝีมือสตรีไทยสมัยก่อน. ครัว. 3 (28) : 92 -93, ตุลาคม 2539</ref>
* เดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟ โดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ) <ref name="นครศรี"/>
* เดือนสาม ทางภาคอีสานมีประเพณี[[บุญข้าวจี่]] ซึ่งจะทำ[[ข้าวจี่]]ไปทำบุญที่วัด<ref>ยูร กมลเสรีรัตน์. รสลายคราม:ข้าวจี่. ครัว. 1 (8) : 108 กุมภาพันธ์ 2538</ref>
* ชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวน[[ขนมอาซูรอ]]ในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม<ref name="สารานุกรม">สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523</ref>
 
=== ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ===
* การสะเดาะเคราะห์และแก้บนของศิลปินวายัง-[[มะโย่ง]]ของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ใช้ข้าวเหนียวสามสี (ขาว เหลือง แดง) [[ข้าวพอง]] (ฆีแน) [[ข้าวตอก]] (มือเตะ) รา (กาหงะ) และ[[ขนมเจาะหู]] (ลีงอโต๊ะแว)<ref name="กระยานิยาย">ส. พลายน้อย. กระยานิยาย. กทม. มติชน. 2541</ref>
* ใน[[พิธีเข้าสุหนัต]] ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน นำเรือใหม่ลงน้ำ ชาวไทยมุสลิมนิยมทำขนม[[ฆานม]]<ref name="กระยานิยาย"/>
* ขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน ในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด [[ขนมสามเกลอ]] [[ขนมโพรงแสม]] [[ขนมรังนก]] บางแห่งใช่[[ขนมพระพาย]]และ[[ขนมละมุด]]ก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น [[ขนมเปียก]] [[ขนมเปี๊ยะ]] ถ้าเป็นตอนเช้า ยังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ<ref>พลศรี คชาชีวะ. ขนมในพิธีแต่งงานของไทย. แม่บ้านทันสมัย. 7 (96) : 45-48, สิงหาคม 2535</ref> บางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย<ref name="ส.พลายน้อย"/>
* พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม จะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มี กะละแมหรือขนมดอดอย [[ขนมก้อ]]หรือตูปงปูตู [[ขนมลา]]และ[[ข้าวพอง]]<ref>สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523</ref>
* ขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ<ref name="ราชบุรี">สุดารา สุจฉายา. หลากสำรับในถิ่นราชบุรี ใน ราชบุรี. หน้า 282 - 289. สุดารา สุจฉายามบก. กม. สารคดี, 2541</ref>
* ในงานศพ ชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิ <ref name="ราชบุรี"/>
* การบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้ง[[ศาลพระภูมิ]]ใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา <ref>พลศรี คชาชีวะ. ขนมมิ่งมงคล. แม่บ้านทันสมัย. 11 (151) : 20 - 25, พฤศจิกายน 2539</ref> ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกัน <ref>ธนาภิต. ประเพณี พิธีมงคลและวันสำคัญของไทย. กทม. ชมรมเด็ก. 2539</ref> เครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำ[[ผงอิทธิเจ]] ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกัน<ref>เทพย์ สาริกบุตร.พระคัมภีร์พระเวทมหาพุทธาคม.กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร,2525</ref>
* พิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอด <ref name="ราชบุรี"/>
* ขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครู[[มวยไทย]]และ[[กระบี่กระบอง]] ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน) เผือกต้ม มันต้ม [[ขนมต้ม]]แดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน
* ในการเล่น[[ผีหิ้ง]]ของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม <ref>(เขียน ขนฺธสโร). อารยธรรมชอง จันทบุรี ใน อารยธรรมชองจันทบุรี และอาณาจักรจันทบูร เมืองเพนียต. กทม. โรงพิมพ์ไทยรายวัน. 2541</ref>
 
== ขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่น ==
* [[กรุงเทพมหานคร]] [[เขตธนบุรี]]มี[[ขนมฝรั่งกุฎีจีน]] [[เขตปทุมวัน]]มี[[ขนมกลีบลำดวน]]
* [[จังหวัดจันทบุรี]]และ[[จังหวัดตราด]] มีทุเรียนกวน
* [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] มี[[ขนมชั้น]]
* [[จังหวัดชลบุรี]] ตลาด[[หนองมน]] มีข้าวหลาม
* [[จังหวัดชุมพร]] มี[[ขนมข้าวควายลุย]]
* [[จังหวัดตรัง]] มี [[ขนมเค้กเมืองตรัง]]
* [[จังหวัดนครปฐม]] มี[[ขนมผิง]]และ[[ข้าวหลาม]]
* [[จังหวัดนครสวรรค์]] มี[[ขนมโมจิ]] [[ขนมฟักเขียวกวน]]
* [[จังหวัดนครพนม]] มี[[ขนมโซเซ]]
* [[จังหวัดปราจีนบุรี]] มี[[ขนมเขียว]]
* [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ส่วนใหญ่เป็นผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน เช่น มะยมเชื่อม พุทรากวน ที่[[ตำบลท่าเรือ]] มี[[ขนมบ้าบิ่น]]
* [[จังหวัดพัทลุง]] มี[[ขนมก้านบัว]]
* [[จังหวัดพิษณุโลก]] [[อำเภอบางกระทุ่ม]] มีกล้วยตาก
* [[จังหวัดเพชรบุรี]] เป็นแหล่งที่มีขนมหวานที่มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะขนมที่ทำมาจากน้ำ[[ตาลโตนด]]เช่น จาวตาลเชื่อม โตนดทอด ตังเม ส่วนขนมชนิดอื่นที่มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัย[[รัชกาลที่ 4]] เป็นต้นมาคือ [[ขนมขี้หนู]] [[ข้าวเกรียบงา]] [[ขนมหม้อแกง]]<ref>นิยม สุขรองแพ่ง. ขนมเมืองเพชร ใน เพชรบุรี. กุศล เอี่ยมอรุณ, บก. กทม. สารคดี. 2536</ref>{{บทความหลัก|ขนมเมืองเพชร}}
* [[จังหวัดสตูล]] มี [[ขนมบุหงาบูดะ]] [[ขนมโรตีกาปาย]] และข้าวเหนียวกวนขาว
* [[จังหวัดสมุทรปราการ]] มี[[ขนมจาก]]
* [[จังหวัดสมุทรสงคราม]] มี[[ขนมจ่ามงกุฎ]]
* [[จังหวัดสิงห์บุรี]] มีมะม่วงกวนหรือ[[ส้มลิ้ม]]
* [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] [[อำเภอบางปลาม้า]] มี[[ขนมสาลี่]]
* [[จังหวัดอ่างทอง]] [[อำเภอวิเศษชัยชาญ]] มี[[ขนมเกสรลำเจียก]]
* [[จังหวัดอุตรดิตถ์]] มีขนมเทียนเสวย ข้าวหลามทุ่งยั้ง
* [[จังหวัดอุทัยธานี]] [[หนองแก]] มี[[ขนมกง]] ขนมปังสังขยา
*[[จังหวัดอุบลราชธานี]] ข้าวหลาม
 
== ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น ==
ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] จากคุณ[[ท้าวทองกีบม้า]]ภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของ[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์]] ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจาก[[โปรตุเกส]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขนมไทย"