ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PepeBonus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41:
 
== ประวัติโรงเรียน ==
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 เมื่อแรกสร้าง[[พระบรมมหาราชวัง]]ในสมัย[[รัชกาลที่ 1]] บริเวณวังข้าง ด้านใต้หมดเพียงป้อมอนันตคิรี กำแพงพระราชวังหักตรงไปทางตะวันตกจนถึงป้อมสัตบรรพตในระหว่าง กำแพงพระบรมมหาราชวังกับวัดพระเชตุพนมีบ้านเสนาบดีและวังเจ้า คั่นอยู่หลายบริเวณ
 
ครั้นเมื่อถึง[[รัชกาลที่ 2]] จึงมีการขยายเขตพระราชวังออกไป ในพระราชวังด้านใต้มีที่ว่าง โปรดฯให้ทำสวนปลูกต้นกุหลาบ สำหรับเก็บดอกใช้ในราชการจึงเกิดมีสวนกุหลาบขึ้นในพระราชวัง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา และในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] โปรดฯให้แบ่งสวนกุหลาบส่วนหนึ่งสร้างพระคลังศุภรัตน ทำเป็นตึกรูปเก๋งจีน แต่พื้นที่นอกจากสร้างคลังศุภรัตน ยังคงเป็นสวนกุหลาบต่อมาอย่างเดิม
 
[[ไฟล์:คลังศุภรัตน พระบรมมหาราชวัง.jpg|thumb|250px|พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง]]
[[ไฟล์:สวนกุหลาบวัดมหาธาตุ.jpg|thumb|250px|พระตำหนักสวนกุหลาบก่อนการบูรณะ]]
[[ไฟล์:New Suparat.jpg|thumb|250px|พระตำหนักสวนกุหลาบ ในปัจจุบัน]]
 
ต่อมาใน[[รัชกาลที่ 4|รัชกาลที่ 5]] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญพระชันษาถึงเวลาจะเสด็จมาประทับอยู่พระราชวังชั้นนอก แต่พระบรมพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะให้เสด็จประทับอยู่ในที่ใกล้พระองค์ จึงโปรดฯให้จัดตำหนักพระราชทานเป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ที่ในสวนกุหลาบ บริเวณอาคารพระคลังศุภรัตน ซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้เรียกพระตำหนักนี้ว่า พระตำหนักสวนกุหลาบ และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดฯให้[[กรมหลวงอดิศรอุดมเดช]] เสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบแทน จนออกจากวัง และจากนั้นมาก็ใช้เป็นคลังเก็บของเรื่อยไป<ref>http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=162&stissueid=2387&stcolcatid=2&stauthorid=13</ref>
 
=== ยุคที่ 1 พระพุทธเจ้าหลวงทรงให้กำเนิด ===
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดฯ ให้เลือกสรรลูกผู้ดีมาฝึกหัด จัดเป็น[[กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์|กรมทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์]] และให้เป็นที่ศึกษาหาความรู้ในราชสำนักสำหรับราชการด้วย และพระองค์เองก็ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ครั้นเมื่อกรมทหารมหาดเล็กเจริญขึ้นทรงพระราชดำริว่า เชื้อสายราชสกุลชั้นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์มีอยู่มากแต่มักไม่ได้รับการอบรม บางคนประพฤติเสเพลเป็นนักเลงหัวไม้ เมื่อเกิดถ้อยความก็ขึ้นชื่อว่า เชื้อเจ้านายไปรังแกผู้อื่น จึงโปรดให้หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ซึ่งมีอายุสมควรจะฝึกหัด เข้าเป็นทหารมหาดเล็ก
 
ต่อมา[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ได้ทรงดำริที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง เพื่อฝึกหัดหม่อมเจ้า และหม่อมราชวงศ์โดยเฉพาะ ให้เป็นทหารมหาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากฐานะทหารมหาดเล็กได้เสื่อมไปไม่เหมือนแต่ก่อน ประกอบกับสมัยนั้นราชการกระทรวงต่างๆ เปลี่ยนแปลงแบบแผนเป็นอย่างใหม่ เป็นที่นิยมของคนหนุ่มๆขึ้นมาก ไม่เหมือนสมัยก่อนซึ่งมีเพียงทหารมหาดเล็กอย่างเดียว ดังนั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงคิดว่าควรจะจัดตั้งโรงเรียนจะได้มีผู้สมัครเข้ามามาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงนำความเห็น ขึ้นกราบทูล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และได้รับความเห็นชอบด้วย พระองค์ดำรัสสั่งให้จัดตั้งโรงเรียน ตามที่คิดนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับจะทรงอุดหนุน ครั้นจะเลือกหาที่ตั้งโรงเรียนในโรงเรียน มหาดเล็กก็ไม่มีที่พอแก่การจัด จึงได้เลือก [[พระตำหนักสวนกุหลาบ]] ซึ่งตอนนั้นใช้เป็นคลังรุงรังรกอยู่ไม่เป็นประโยชน์นัก จึงกราบทูลฯขอ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในที่นั้น อาศัย เหตุนั้นจึงได้เรียกชื่อว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" เมื่อ [[พ.ศ. 2425]] เป็นต้น
 
[[ไฟล์:โรงเรียนราชินี.jpg|thumb|250px|left|สวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย]]
 
โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้จัดทั้งการฝึกหัดอย่างทหาร และเรียนแบบสามัญเหมือนโรงเรียนทั้งปวงด้วย ต่อมากิจการงานของโรงเรียนเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ มีหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์และบุตรหลานของข้าราชการ สมัครเรียนมากขึ้นทุกที จนเกินจำนวนตำแหน่งนายทหารมหาดเล็ก ฉะนั้น ณ จุดนี้เอง [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ก็ทรงตัดสินพระทัยว่า ถ้าหากเปลี่ยนให้เป็นโรงเรียน สำหรับข้าราชการทั่วไป จะเป็นประโยชน์ แก่บ้านเมืองยิ่งกว่าเป็นโรงเรียนสำหรับนายทหารมหาดเล็กกรมเดียว และได้เปลี่ยนฐานะนักเรียนจากทหารมาเป็นนักเรียนพลเรือน นอกจากนั้นพระองค์ก็ได้โปรดฯให้สร้าง [[ตึกยาว]]ทางพระราชวังด้านใต้ ใช้เป็นที่เล่าเรียนและที่อยู่นักเรียนอีกหลังหนึ่งด้วย การตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจึงนับว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ ปี ระกา [[พ.ศ. 2427]] นั่นเอง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อ [[พ.ศ. 2436]] จึงขยายออกไปตั้งนอกพระบรมมหาราชวัง และจากเหตุนี้เองจึงเรียกชื่อเพียง "โรงเรียนสวนกุหลาบ" กับได้แยกเป็น 2 แห่ง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย และ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ
 
=== ยุคที่ 2 ขยายออกนอกวัง ===
* '''โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย'''
หลังจากออกย้ายจาก[[พระบรมมหาราชวัง]] โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้เคลื่อนย้ายไปยังศาลา 4 หลัง ของวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือเรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวัดมหาธาตุด้านทิศเหนือ เพื่อรอการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ซึ่งในช่วงนี้มีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยอยู่ 2 ที่ ซึ่งอีกที่หนึ่งอยู่ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบไทยในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งโรงเรียนนี้คาดว่าเกิดจากการเคลื่อนย้าย ไปยังวัดมหาธาตุนั้นเคลื่อนย้ายไปไม่หมด ต่อมากระทรวงธรรมการได้งบประมาณในการสร้างที่ว่าการกระทรวงใหม่ และกระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกหัดทดลองวิธีสอนและตำราเรียน จึงยกตึกหลังแรกใน 3 หลัง ให้เป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า ซึ่งจริงๆ กระทรวงต้องการให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษมารวมกันที่นี่ แต่สถานที่คับแคบไป จึงนำมาเฉพาะโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยเพียงฝ่ายเดียว ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2452]] กระทรวงธรรมการ ได้ย้ายสถานที่ใหม่ ดังนั้นโรงเรียนสวนกุหลาบจึงต้องย้ายด้วย ซึ่งได้ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ บริเวณศาลาวัดมหาธาตุด้าน ใต้เป็นการชั่วคราว จนกระทั่งย้ายมาอยู่ที่โรงเลี้ยงเด็กริมคลองมหานาค (โรงเรียนสวนกุหลาบโรงเลี้ยงเด็กริมคลอง มหานาค) หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทยได้ย้ายไปตามสถานที่ต่างๆ ถึง 5 แห่ง โรงเรียนสวนกุหลาบก็ได้กลับมารวมอีกครั้งที่ "ตึกแถวหลังยาววัดราชบูรณะ" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมโยธาธิการออกแบบ แล้วใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะเพื่อเช่าสถานที่ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กำหนดเป็นโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาพิเศษ แล้วให้ชื่อว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" และการรวมตัวครั้งนี้เป็นการรวม "สวนกุหลาบ" ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษด้วย
 
* '''โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ'''
[[ไฟล์:Main narumitr.jpg|thumb|250px|ตึกแม้นนฤมิตร์]]
หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย ย้ายออกจาก[[พระบรมมหาราชวัง]]ไปแล้ว แต่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษยังคงอยู่ในพระบรมหาราชวัง โดยย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ตึก 2 หลังริม[[พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท|พระที่นั่งสุทไธสวรรย]] เรียกว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบริมพระที่นั่งสุทธัยสวรรค์" ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ วังพระองค์เจ้าภานุมาศ ซึ่ง หมายถึง "วังหน้า" เดิมในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า โดยอาศัยเก๋งจีนที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สอน หลังจากอาศัยอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง ก็ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่สตรีสวนสุนันทาลัย ( ปากคลองตลาด ) เนื่องจากโรงเรียนนี้มีนักเรียนน้อยลงเรื่อยๆ จำต้องปรับปรุง มีการพักการเรียนการสอนไว้ก่อน โรงเรียนสวนกุหลาบซึ่งยังไม่มีสถานที่แน่นอน จึงได้ย้ายมา เปิดการสอนเป็นชั่วคราว เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย จนกระทั่ง[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ได้มีหนังสือขอพระราชทานที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัยเพื่อปรับปรุงให้เป็น "[[โรงเรียนราชินี]]" โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงได้ย้ายมารวมอยู่กับ[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] เพราะว่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนครั้งใหญ่ ใช้งบประมาณในการสร้างโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแห่งใหม่ โดยมีข้อตกลงในการก่อสร้าง "[[ตึกแม้นนฤมิตร์]]" เป็นตึกเรียนหลังใหม่ และให้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบตึกแม้นนฤมิตร์ ทั้งนี้โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาก่อสร้าง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์ตึกแม้นนฤมิตร์แทน โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพระองค์ได้ออกเงินเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
 
=== ยุคที่ 3 กลับมารวมตัว ===
[[ไฟล์:LongBuilding.jpg|thumb|300px|right|[[ตึกยาว]]หรือ[[อาคารสวนกุหลาบ]] จากมุมมองด้านหน้าโรงเรียน]]
[[ไฟล์:การแข่งขันกรีฑานักเรียน.jpg|thumb|250px|right|การชก[[มวยไทยโบราณ]] ระหว่างนาย[[ยัง หาญทะเล]] ทหารคนสนิทของ[[กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์]] (คนขวา) กับนาย ไล่ หู นักมวยจีน (คนซ้าย) ที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2465
<ref>http://www.osknetwork.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1476#26459</ref>]]
ต่อมาการเดินทางอันยาวนานของ "สวนกุหลาบ" จึงได้สิ้นสุดลงเมื่อปี [[พ.ศ. 2454]] โดยโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ได้รวมกับฝ่ายไทยและได้แหล่งที่พำนักถาวร พร้อมกับนามว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" ถึงตรงนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบทั้งสองฝ่ายก็ได้มารวมกันอีกครั้งโดยอยู่ในพื้นที่ของ[[วัดราชบูรณะราชวรวิหาร|วัดราชบุรณะ]] และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้สร้าง[[ตึกยาว]]ขึ้นเพื่อดำเนินการสอน การที่พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้าง[[ตึกยาว]]นี้ ทรงมอบให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบโดยใช้งบประมาณของวัดราชบูรณะ ซึ่งในเวลานั้นเงินสร้างตึกให้ชาวบ้านเช่าโดยเปลี่ยนเป็นให้โรงเรียนเช่า เพื่อใช้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ทั้งนี้ด้วยความคิดของ[[เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี]] (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) ศิษย์เก่าเลขประจำตัวหมายเลข 2 ของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น โดยมีการเซ็นสัญญาเช่ากับพระธรรมดิลก เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะในสมัยนั้น โดยมีนายเอง เลียงหยง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 10,150 บาท จึงได้เกิด[[ตึกยาว]] รวมนักเรียนสวนกุหลาบจากที่ต่างๆ
 
ในปี [[พ.ศ. 2453]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอดพระเนตรการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง ก่อนสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2453]] นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดโรงเรียนนี้โดยแท้ นับเป็นมหากรุณาธิคุณแก่ทวยราษฎร์อย่าง ล้นเกล้าฯหาที่สุดมิได้
 
'''ตึกยาว''' ที่เคียงข้างตึกยาว(สวนกุหลาบ) ความจริงแล้วก่อนช่วงเกิดสงครามโลก ตึกยาวดังกล่าวเป็นของโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งมีหลักฐานเป็นภาพป้ายโรงเรียนเพาะช่างติดอยู่บริเวณทางเข้าตึกยาว
 
=== บทบาททางวิชาการ สังคม และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ===
* ริเริ่มโครงการฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์
* โรงเรียนมีความโดดเด่น ในด้าน ความรักความสมานสามัคคีกลมเกลียวระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง ความรักกตัญญูกตเวที ทั้งระหว่าง พ่อ-แม่ ระหว่างอาจารย์-ลูกศิษย์ มีความเป็นผู้นำ ดังคติประจำใจที่ว่า "เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อ-แม่ ดูแลน้อง"
* โรงเรียนมีความโดดเด่นด้านกิจกรรมมากมาย โดยจัดขึ้นในกลุ่ม ของนักเรียน (ตัวอย่าง ภายใน รร. คือ งานสมานมิตร และงานมุทิตาจิต ภายนอกโรงเรียน ได้แก่ สวนจาม สวนโดม สวนศรีตรัง เป็นต้น) ชึ่งในโรงเรียนก็ได้จัดกิจกรรมชุมนุมขึ้นของนักเรียนที่เปิดทำการทั้งหมดทั้งที่มีในคำสั่งโรงเรียนและไม่มีในคำสั่งโรงเรียน(ปีการศึกษา 2551) จำนวนทั้งหมดเฉลี่ย 30-50 ชุมนุมในแต่ละปีการศึกษา
 
=== บทบาททางการเมืองและการก้าวสู่ปัจจุบัน ===
[[พ.ศ. 2475]] มี [[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นที่ไม่คาดคิดว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย จะมีหน้าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในสมัยนั้นด้วย เมื่อ วันศุกร์ ที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] [[คณะราษฎร]] ได้จับตัวพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นตัวประกัน รวมทั้ง [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ด้วย บรรยากาศขณะนั้นตึงเครียดมีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก บรรยากาศด้านการเมืองรุนแรงน่าหวาดกลัวแม้กระทั่งในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 
ในวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น มีรถถังแล่นมาจอดขวางประตูโรงเรียน มีนายทหารและพลเรือนของคณะราษฎร นำโดย นาย[[สงวน ตุลารักษ์]] ได้เข้ามาในโรงเรียน เชิญอาจารย์ใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือ อาจารย์เอซี เชอร์ชิล และนักเรียน ม.6-ม.8 เข้าหอประชุมสามัคคยาจารย์สมาคม ประกาศทุกคนได้รับทราบว่า ขณะนี้ได้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ
 
นักเรียนสวนกุหลาบได้ลุกขึ้นถามว่า "ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง" นายสงวน ตอบว่า "ไม่ต้องถามเวลานี้ ถ้าต้องการรายละเอียดต้องตอบด้วยปืน ขณะนี้ได้จับเจ้านายไปแล้ว"
 
บรรยากาศตอนนี้มีความสับสน นักเรียนที่ไม่เข้าใจเหตุการณ์ บ้างก็หลบอยู่ตามห้องเรียน บ้างก็กระโดดหนีออกจากโรงเรียนไป ที่เข้าประชุมก็ไม่ค่อยเข้าใจแจ่มชัดนัก แต่การกระทำครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะควบคุมความสงบสุขของ ครูและนักเรียนในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนใหญ่ และในขณะนั้นถือว่าใกล้ชิดกับราชวงศ์และข้าราชการชั้นสูงของกระทรวงธรรมการนั่นเอง
 
จากเหตุการณ์ตอนนี้พอสันนิษฐานว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีบทบาทสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะราษฎร์จำเป็นจะต้องควบคุมสถานการณ์ไว้ เพราะเป็นต้นแบบในด้านต่างๆของโรงเรียนทั่วไป ครูอาจารย์ และ นักเรียน ก็น่าจะเป็นพลังที่จะต่อต้านคณะปฏิวัติ ซึ่งก่อให้เกิดความระส่ำระสาย ยากที่คณะราษฎร์จะดูแลได้ จึงได้ใช้วิธีนำรถถังมาปิดโรงเรียนและควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว
 
นอกจากนี้ กิจกรรมอีกประการหนึ่งที่เป็นผลสะท้อนให้เห็นว่า โรงเรียนสวนกุหลาบมีบทบาททางการเมืองการปกครอง สมัยนั้นคือ การที่ลูกเสือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีส่วนช่วยรัฐบาลในการปราบ[[กบฏบวรเดช]] ในกรณีของการปราบกบฏบวรเดชนี้ รัฐบาลขณะนั้นได้ขอความร่วมมือจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ให้ส่งอาสาสมัครที่เป็นลูกเสือไปช่วยเป็นกองกำลัง ด้านลำเลียงกระสุนปืนส่งเสบียงบริเวณบางซื่อบ้าง และหลักสี่ทำหน้าที่เฝ้าคุกเพื่อไม่ให้มีการจลาจลบ้าง โดยแต่งกายชุดลูกเสือไปช่วยเป็นพลรบ การสู้รบครั้งนี้มีลูกเสือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ช่วย เป็นกองกำลังสนับสนุนจนฝ่ายรัฐบาลได้รับชัยชนะ ต่อมา[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่เกียรติยศ จากการปราบกบฏครั้งนี้ ให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อยู่ในห้องนิทรรศการ จาริกานุสรณ์) และนักเรียนรุ่นนั้นทุกคนได้รับเหรียญพิทักษ์[[รัฐธรรมนูญ]] ซึ่งมีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาด้วย
 
เมื่อในปี [[พ.ศ. 2541]] เหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นอีกเป็นหนที่สอง เมื่อนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กว่า 2,000 คน ได้เดินทางไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสอบถามข้อข้องใจ ในเรื่องสาเหตุของการสั่งย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนในสมัยนั้น (ผอ.ธานี สมบูรณ์บูรณะ) จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปรากฏไปตามสื่อต่าง ๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์
 
== ประวัติสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ==