ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทานตะวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org
GET REKT Xd
บรรทัด 15:
| binomial_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
}}
xDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDD GET REKT MAFUCK
'''ทานตะวัน''' มีชื่อตาม[[คำเมือง|ภาษาถิ่นพายัพ]]ว่า '''บัวผัด''' เป็น[[พืชปีเดียว]] (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี [[Asteraceae]] มีฐานรองกลุ่มดอก ([[Inflorescence]]) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในสกุล ''[[Helianthus]]'' ด้วยเช่นกัน
 
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของ[[อเมริกากลาง]] มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันใน[[ประเทศเม็กซิโก]]ตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล<ref>University of Cincinnati (2008, April 29). Ancient Sunflower Fuels Debate About Agriculture In The Americas. ScienceDaily. Retrieved April 29, 2008, from [http://www.sciencedaily.com­ /releases/2008/04/080429075321.htm]</ref>
 
== ตำนานดอกทานตะวัน ==
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ [[Clytie]] ที่หลงรักเทพ[[อพอลโล]] ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก
 
== การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย ==
ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก ปัจจุบัน มีการปลูกทานตะวันเป็นท้องทุ่งจำนวนมากในประเทศไทย แม้กระทั่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ ริม[[ถนนประเสริฐมนูกิจ]] หลัง[[โรงเรียนสตรีวิทยา 2]] [[เขตลาดพร้าว]] จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และนิยมถ่ายรูปที่ได้รับความนิยม <ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000036507|title=เที่ยวลาดพร้าว เข้าวัดไหว้พระ ชมทุ่งทานตะวัน |date=31 March 2009|accessdate=12 January 2015|publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>
 
== การใช้ประโยชน์ ==
ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมี[[กรดไขมันไม่อิ่มตัว]]สูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร
 
ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการ[[phytoremediation|ฟื้นฟู]]ดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสม[[ตะกั่ว]]ได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบ[[ไฮโดรโพนิกส์]]<ref>สุพัตรา แก้วแสนสุข, นิตยาไชยเนตร, และ พอจิต นันทนาวัฒน์. (2551). ผลของ[[ตะกั่วไนเตรต]]ต่ออัตราการงอกและการเจริญเติบโตของพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 9, 14 – 15 มีนาคม 2551, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา</ref> และส่งเสริมการย่อยสลาย[[คาร์โบฟูราน]]ได้ 46.71 mg/kg <ref>Teerakun, M. (2004). Phytoremediation of Carbofuran Residue in Soil. Thesis, Khon Kaen University.</ref><ref>ดูเพิ่มเติมที่ [[รายชื่อพืชที่สะสมสารบางชนิดได้ดี]]</ref>
 
{{Taxobox
| name = ต้นอ่อนทานตะวัน
| image = ต้นอ่อนทานตะวัน.jpg
| image_caption = ต้นอ่อนทานตะวันอายุ 7 - 11 วัน
| regnum = [[Plantae]]
| divisio = [[พืชดอก|Magnoliophyta]]
| classis = [[Magnoliopsida]]
| ordo = [[Asterales]]
| familia = [[Asteraceae]]
| tribus = [[Heliantheae]]
| genus = ''[[Helianthus]]''
| species = '''''H. annuus'''''
| binomial = ''Helianthus annuus''
| binomial_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
}}
== น้ำมันทานตะวัน ==
สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น การนำมาผัด หรือนำมาปรุงน้ำสลัด มีบางส่วนที่นำมาใช้บริโภคเป็นน้ำมันและเครื่องสำอาง
น้ำมันจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง โดยมีน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ (ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยป้องกัน[[โรคหลอดเลือดหัวใจ]] และ[[โรคมะเร็ง]]) และยังประกอบไปด้วย[[วิตามินเอ]] [[วิตามินดี]] [[วิตามินอี]] และ[[วิตามินเค]]อีกด้วย เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานก็ไม่เกิดกลิ่นหืน อีกทั้งยังทำให้สีกลิ่นและรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ทำ[[เนยเทียม]] น้ำมันสลัด ครีม นมที่มีไขมัน และอาหารอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี ฟอกสี ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทำฟิล์ม ใช้ในการฟอกหนัง เคลือบผิวผลไม้ในลักษณะขี้ผึ้ง เช่น การทำเทียนไข หรือเครื่องสำอาง บ้างใช้เป็นน้ำมันนวด หรือใช้เป็นส่วนผสมของครีมนวดผม หรือผสมในโลชั่นบำรุงผิว (เนื่องจากมีวิตามินอีสูง)
กากจากเมล็ดทานตะวันหลังการสกัดเอาน้ำมัน จะมี[[โปรตีน]]อยู่ประมาณ 30-40% สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ และยังใช้เป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปริมาณของ[[กรดอะมิโน]]อยู่เพียงเล็กน้อย และขาด[[ไลซีน]] จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง นำมาใช้ทำ Lecithin([[เลซิทิน]]) เพื่อใช้ในทางการแพทย์ในการช่วยลด[[คอเลสเตอรอล]]ในคนไข้ที่มีคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด<ref>หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ทานตะวัน” หน้า 107-108.</ref><ref>โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “ทานตะวัน” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/. [03 เม.ย. 2014].</ref><ref>กรมส่งเสริมการเกษตร. “ทานตะวัน” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ssnet.doae.go.th/ssnet2/Library/plant/sun.htm. [03 เม.ย. 2014].</ref>
== ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของทานตะวัน ==
สารสำคัญที่พบได้แก่ [[Abscisic acid]], [[Beta-carotene]], [[Citric acid]],[[ Coumaric acid]],[[Cumin alcohol]], [[Cyamidin]], [[Glycoside]], [[Glandulone A, B]] [[gibberellin A]], [[Vanillin]], [[Vitamin B2]]
ทั้งต้นพบว่ามีสาร [[Cryptoxanthin]], [[Earotenoids]], [[Globulin]], [[Glycocoll]], [[Quercimeritin]], [[Phospholipid Methionine]], [[Seopoline Heliangine]], [[Tocopherol]] ส่วนในเมล็ดพบโปรตีน 55%, ออกไซด์คาร์บอเนต 41.6%, น้ำมันประมาณ 55% และในน้ำมันพบสาร [[Linoleic acid]] 70%, [[Glycerol oil]], [[Phosphatide]], [[Phospholipid]], [[B-Sitosterol]] และพบน้ำมันระเหยอีกหลายชนิด ส่วนเปลือกเมล็ดพบน้ำมัน 5.17%, โปรตีน 4%, ขี้ผึ้ง 2.96% และยังมี [[Cellulose]], [[Pentosan]], และ [[Lignin]]
ทานตะวันมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการก่อมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลด[[ไขมันในเลือดสูง]]
เมื่อปี ค.ศ.1971 บูดาเปส ได้ทำการศึกษาทดลองผลการลดไขมันในเลือดของน้ำมันจากเมล็ดทานตะวันในหนูทดลอง พบว่าสาร [[Cephalin B]], [[Cephalin A lysocepphalin]], [[lecithin]], และ [[lysolecithin]] มีผลในการช่วยลดไขมันในเลือด
เมื่อปี ค.ศ.1999 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองศึกษาผลในการลดไขมันในเลือดของเมล็ดทานตะวันในหนูขาวทดลอง โดยทำการทดลองนานถึง 9 สัปดาห์ โดยกระตุ้นให้หนูขาวเป็นเบาหวาน โดยให้ Alloxan และให้น้ำมันดอกทานตะวัน หลังจากการทดลองพบว่าไขมันในเลือดมีระดับลดลง
เมื่อปี ค.ศ.2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของเมล็ดทานตะวัน โดยทำการทดลองในหนูเพศผู้ จำนวน 60 ตัว และกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้อาหารไขมัน 1% ส่วนกลุ่มที่สอง ให้เมล็ดองุ่น 10 gm. และกลุ่มที่สามให้นำมันดอกทานตะวัน 1 gm. และได้ทำการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่สามที่ให้น้ำมันดอกทานตะวัน สามารถลดไขมันได้มากกว่ากลุ่มที่สอง
เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาทดลองผลการลดไขมันในเลือดของทานตะวัน ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน จำนวน 14 คน โดยทำการทดลอง 28 วัน แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มที่สอง ให้น้ำมันมะกอกผสมกับน้ำมันเมล็ดทานตะวัน และกลุ่มสามคือกลุ่มที่ให้อาหารไขมันสูง ภายหลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่สองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05
เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือดของเมล็ดทานตะวัน โดยทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 31 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-64 ปี แบ่งเป็นชาย 12 คน และหญิง 19 คน และมีระดับไขมันในเลือด 294 mg./dl. ซึ่งได้ทำการทดลอง 4 สัปดาห์ โดยให้น้ำมันดอกทานตะวัน 8.3% และ 7.9% ผลการทดลองพบว่าคอเลสเตอรอลในเลือดมีระดับลดลง
เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศรัสเซีย ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของเมล็ดทานตะวัน โดยทำการทดลองในหนูขนาด 180-200 gm. ที่ถูกกระตุ้นให้ไขมันในเลือดสูง โดยให้น้ำมันดอกทานตะวัน 1 ซีซีต่อวัน และใช้ n-6 fatty acid fish oil 1 ซีซีต่อวัน และ Znso 0.43 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยทำการทดลองนาน 6 สัปดาห์ ภายหลังการทดลองพบว่าระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง<ref>หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ทานตะวัน” หน้า 375-379.</ref>
ในเมล็ดทานตะวันพบว่ามีสาร[[ฟอสโฟลิพิด]] (Phosphilipid) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูทดลองได้ แต่ผลการรักษายังไม่ชัดเจนนัก
ดอกเมื่อนำมาสกัดจะได้น้ำจากใบ แล้วนำมาใช้ทดลองกับกระต่ายทดลอง ด้วยวิธีการฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ พบว่าจะทำให้ความดันโลหิตต่ำ และกระตุ้นการหายใจ นอกจากนี้เมื่อนำมาหยอดลงบริเวณใบหูของกระต่ายก็ว่าทำให้เส้นเลือดขยายตัวขึ้น และยังทำให้การบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่เมื่อนำมาทดลองกับแมวด้วยวิธีการฉีดเข้าในผิวหนัง พบว่าจะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงกว่าเดิม
ฐานรองดอกเมื่อนำมาสกัดสารออกด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาใช้ทดลองกับแมวด้วยวิธีการฉีดเข้าไปในเส้นเลือดดำ พบว่ามีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ และทำให้แมวสลบ
น้ำมันจากดอกทานตะวัน เมื่อนำมาใช้ผสมกับอาหารแล้วให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามีผลต่อ[[ระบบภูมิคุ้มกัน]] ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรคมีมากขึ้น
สารสกัดจากดอกทานตะวัน เมื่อนำมาทดลองกับกระต่าย พบว่าสามารถทำให้เส้นเลือดมีการขยายตัว และไปกระตุ้นระบบประสาท ส่วนเรื่องการหาย พบว่าทำให้กระต่ายหายใจแรงขึ้น แต่มีความดันลดลง และเห็นได้ชัดเจนว่า ลำไส้เล็กของกระต่ายมีการบีบตัวมากขึ้น จึงได้มีการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้หย่อน หรือลำไส้ไม่มีกำลัง<ref>หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ทานตะวัน” หน้า 262.</ref>
สารสกัดจากใบทานตะวันด้วยแอลกอฮอล์ 0.2% สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ โดยสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย [[Bacillus aureus]] และ[[พารามีเซียม]] (Paramecium) ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย [[Bacillus coli]] และนอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นยาต้านโรค[[มาลาเรีย]] และช่วยเสริมฤทธิ์ของยาควินินได้อีกด้วย
จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าสารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินด้วย 50% เอทานอล มีค่า LD50 มากกว่า 1.0 กรัมต่อกิโลกรัม เมื่อทำการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร<ref>หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ทานตะวัน” หน้า 107-108.</ref>
== ต้นอ่อนทานตะวัน ==
คือต้นอ่อนของทานตะวันที่มีอายุ 7 - 11 วัน ในต้นอ่อนทานตะวันมีสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสีโพแทสเซียม ไขมัน
ต้นอ่อนทานตะวันจัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะมีสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า GABA (gamma aminobotyric acid)[[กรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก]]<ref>{{ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81}}</ref> ซึ่งเจ้าสารชนิดนี้มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรคมากมายหลายชน­­­ิด อาทิเช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก บำรุงเซลล์สมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงผิวพรรณ สายตา ชะลอความแก่ชรา
นอกจากนี้ก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 บี 6 วิตามินอี วิตามินซี และเซเลเนียม กรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9 มีโฟเลทสูง เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และขจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ในปอด โดยในศาสตร์ของแพทย์แผนอายุรเวทโบราณนั้น ต้นอ่อนทานตะวันสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใ­จได้อีกด้วย
และจากข้อมูลการวิจัยของ Medical Center, University of Maryland สหรัฐ เมื่อปี 2553 ระบุว่า ต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprouts) มี[[กรด Linoleic]] ในปริมาณมาก ช่วยในการบำรุงสมองและกระดูกให้แข็งแรง ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินอี และโฟเลต ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีด้วย
นอกจากนี้ ข้อมูลการวิจัยของ International Sprout Growers Association เมื่อปี 2554 ระบุว่ามีธาตุเหล็กสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ อีกด้วย
ต้นอ่อนทานตะวันมีโปรตีนมากกว่าผักกาดเขียวถึง 2 เท่า วิตามิน A, B2, E, D, K และยังมีวิตามิน A สูงกว่าน้ำมันเมล็ดข้าวโพดและเมล็ดถั่วเหลืองกว่า 3 เท่าเลยทีเดียว แต่เมื่อนำเมล็ดทานตะวันมาเพาะเป็นต้นอ่อนทานตะวัน คุณค่าทางอาหารจะเพิ่มมากขึ้น เช่น มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินA สูง ช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ และชะลอความแก่<ref>http://www.thaihealth.or.th/Content/26750-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html</ref>
== การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน ==
'''การเตรียมดิน'''
การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์
 
'''การปลูก'''
หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น
การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง
การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่
 
'''การใส่ปุ๋ย'''
ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น
 
'''การให้น้ำทานตะวัน'''
น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดน้ำ
ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขังการให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด
<ref>http://www.the-than.com/FLower/F8.html</ref>
==ทานตะวันกับแสงอาทิตย์==
คือ ดอกทานตะวันหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ เป็นการตอบสนองแบบ ([[Positive Phototropism]])<ref>https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87</ref>คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเพียงด้านเดียว เกิดจากฮอร์โมน ออกซิน ([[Auxin]])<ref>https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99</ref>เพราะแสงมีอิทธิพลทำให้การกระจายตัวของ(ออกซิน)เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เมื่อแสงส่องมายังพืช ด้านที่ได้รับแสงจะมีออกซินน้อยเพราะออกซินได้หนีไปอยู่ด้านที่มืดกว่า ด้านที่มืดจึงมีการยืดตัวและมีการเจริญเติบโตมากกว่าด้านที่รับแสง ยอดของพืชจึงโค้งเบนเข้าหาแสงจึงดูเหมือนว่าดอกทานตะวันหันหน้ามองพระอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากแบบ ([[Negative Phototropism]])<ref>https://en.wikipedia.org/wiki/Phototropism</ref> ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวหาแสง เช่น หญ้าแพรก
(ข้อสังเกต) ดอกทานตะวันที่มีอายุน้อยจะหันหน้าหาดวงอาทิตย์จริงแต่ดอกทานตะวันที่แก่แล้วหรืออายุมากแล้วจะไม่สนใจดวงอาทิตย์เลย ยิ่งเป็นดอกที่เหี่ยวแล้วจะไม่หันหน้าไปหาดวงอาทิตย์เลย นั่นคือวันสุดท้ายที่มันจะยังมีแรงหันหน้าไปหาดวงอาทิตย์ได้ ก้จะเป็นเวลาตอนเย็นกลางคืนทิ้งช่วงไป 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นรุ้งเช้าดอกทานตะวันก็จะไม่หันหน้าหาดวงอาทิตย์อีก ดอกทานตะวันที่เหี่ยวสวนใหญ่จะหันหน้าไปทาง([[ทิศตะวันตก]])<ref>https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81</ref> นอกเสียจากลมจะพัดแรงทำให้หันไปทิศทางอื่น
 
== ภาพทานตะวัน ==
<gallery>
ภาพ:Sunflowers in backyard.jpg|ทานตะวัน
ภาพ:Sunflower_Bumbebee.jpg|ผึ้งกำลังดูดน้ำหวานจากดอกทานตะวัน
|ทานตะวันที่กำลังเติบโต ใกล้เมืองฟาร์โก ดาโกตาเหนือ
ภาพ:Sunflower DSC01056.jpg|ต้นทานตะวัน สูงประมาณ 2 เมตร
ภาพ:Sunflower seedlings.jpg|ต้นกล้าของทานตะวัน หลังจากเริ่มงอกเพียง 3 วัน
ภาพ:Sunflowers Bulgaria 2.jpg|ทุ่งทานตะวันทางตะวันออกของ[[บัลแกเรีย]]
ภาพ:Sunflower-Louisiana.png|โครงสร้างของดอกทานตะวัน
ภาพ:Sunflower3a.JPG|ดอกทานตะวันกับผึ้ง
ภาพ:Tournesol.png|ดอกทานตะวัน ([[French language|French]]:''Tournesol'')
ภาพ:Sunflower10094.jpg|ดอกทานตะวันรัสเซียขนาดใหญ่
ภาพ:Helianthus annuus exposed 2004-05-22.jpg|ดอกทานตะวัน
ภาพ:Helianthus annuus stamper.jpg|ภาพจากเนเธอร์แลนด์, มิถุนายน 2549
ภาพ:Shortsum.jpg|ทานตะวันพันธุ์เตี้ย จาก ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาพ:Redsunflower.JPG|ทานตะวันดอกสีแดง จากไร่ใน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
ภาพ:Sffield.JPG|ทุ่งทานตะวัน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
</gallery>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{อุทยานดอกไม้}}
 
[[หมวดหมู่:พืชที่รับประทานได้]]