ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงกรานต์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7367095 สร้างโดย 202.44.225.133 (พูดคุย)
บรรทัด 40:
พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของ[[ฤดูร้อน]] ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น '''Water Festival''' หรือ '''เทศกาลแห่งน้ำ'''<ref>[http://www.bangkokpost.com/lifestyle/family/288667/waging-water-wars-in-a-friendly-way Waging water wars in a friendly way] จาก[[บางกอกโพสต์]]</ref> ซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป
 
== วันสงกรานต์เอากันอย่าลืมใส่ถุงนะ ==
== การคำนวณ ==
ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์[[สุริยยาตร์]] ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่[[พระอาทิตย์]]ย้ายออกจาก[[ราศีมีน]]เข้าสู่[[ราศีเมษ]] เรียกว่า "[[วันมหาสงกรานต์]]" วันถัดมาเรียกว่า "[[วันเนา]]" ([[ภาษาเขมร]] แปลว่า "อยู่ ") และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยน[[จุลศักราช]]และเริ่มใช้[[กาลโยค]]ประจำปีใหม่ เรียกว่า "[[วันเถลิงศก]]"
 
การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์<ref>เอื้อน มนเทียรทอง. พระคัมภีร์สุริยยาตรศิวาคม. กรุงเทพฯ: สำนักโหร "หอคำ", ม.ป.ป.</ref> จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่า'''อัตตาเถลิงศก''' ทุก ๆ ปี ค่าหรคุณเถลิงศกที่คำนวณได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ [[25 มีนาคม]] [[พ.ศ. 1181]] ตามปฏิทินเกรกอเรียน มาจนถึงปีที่ต้องการ สำหรับกระบวนการหาหรคุณเถลิงศก มีดังต่อไปนี้
 
* ตั้งเกณฑ์ 292207 ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์ (ส่วนที่เป็นคำตอบจำนวนเต็ม) เอา 1 บวก เป็น'''หรคุณเถลิงศก'''
* เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ '''กัมมัชพลเถลิงศก'''
 
จากขั้นตอนข้างต้น อธิบายได้ว่า ในหนึ่งปีสุริยคติมีเวลาทั้งหมดคิดเป็น 292207 กัมมัช (กัมมัชคือหน่วยย่อยของเวลาในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยที่ 1 กัมมัช = 108 วินาที และ 800 กัมมัช = 1 วัน) ดังนั้นเวลาเป็นกัมมัชนับจากจุดเถลิงศก จ.ศ. 0 มาหาจุดเถลิงศกปีที่ต้องการ ก็หาได้โดยเอา 292207 คูณกับจุลศักราชที่ต้องการทราบ แต่เนื่องจากวันเถลิงศก จ.ศ. 0 เวลาเถลิงศกตรงกับ 11:11:24 นาฬิกา หรือคิดเป็น 373 กัมมัช นับแต่เวลา 0 นาฬิกา จึงเอา 373 บวกเข้ากับผลคูณที่หาไว้แล้ว <!--หมายเหตุ: ถ้าไม่เอา 373 บวกกับผลที่ได้ แล้วจะพบว่าหรคุณเถลิงศกเท่ากับ 1 ซึ่งถูกต้อง แต่กัมมัชพลเถลิงศกเท่ากับ 800 เวลาเถลิงศกผิดพลาดจากเดิมอย่างมาก และจะส่งผลให้เวลาเถลิงศกในปีหลัง ๆ ผิดพลาดตามไปด้วย--> ผลทั้งหมดที่ได้นี้มีหน่วยเป็นกัมมัช เมื่อจะแปลงเป็นวัน ก็เอา 800 หาร
 
จากผลที่ได้ ถ้าหารแบบสมัยใหม่โดยติดทศนิยม จะได้ว่าส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม นับ 0 ที่วันแรกของ จ.ศ. 0 ส่วนที่เป็นทศนิยม เป็นเศษส่วนของวันนับจาก 0 นาฬิกาของวันเถลิงศกไปหาเวลาเถลิงศก แต่ในสมัยโบราณการคำนวณด้วยทศนิยมเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ถ้าหารแบบติดเศษ แล้วเอาส่วนที่เป็นจำนวนเต็มบวก 1 ก็จะได้หรคุณเถลิงศก ส่วนที่เป็นเศษนั้นบอกถึงเวลานับแต่ 0 นาฬิกาไปหาเวลาเถลิงศกในหน่วยกัมมัช หากเอาไปหักลบออกจาก 800 ก็จะได้กัมมัชพลเถลิงศก หรือเวลาเป็นกัมมัชที่เหลือจนสิ้นวันเถลิงศก
 
เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน (Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร
 
:<code>JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) + 373)/800] + 1954167.5</code>
 
สำหรับวันมหาสงกรานต์ สามารถประมาณได้จากหรคุณเถลิงศก โดยให้ถอยหรคุณเถลิงศกไป 2 วัน 3 ชั่วโมง 57 นาที 36 วินาที (2.165 วัน หรือ 1732 กัมมัช) หรืออาจจะคำนวณตำแหน่งที่สังเกตได้จริง (สมผุส) ของดวงอาทิตย์ว่าย้ายเข้าสู่ราศีเมษ ณ วันเวลาใด ทำให้ได้สูตรหาหรคุณจูเลียนของวันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) เป็น
 
:<code>JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5</code>
 
ตารางต่อไปนี้เป็นวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกของปีนี้ ปีก่อนหน้าห้าปี และปีถัดไปอีกห้าปี สังเกตว่าบางปีจะมีเทศกาลสงกรานต์ตามที่คำนวณได้อยู่ทั้งหมดสี่วัน
 
=== ตารางวันมหาสงกรานต์ ===