ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาสเกตบอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fixed typo
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 17:
[[ไฟล์:Three point shoot.JPG|right|250px|thumb|การแข่งขันบาสเกตบอลหญิงชิงถ้วยยุโรปของ FIBA ปี พ.ศ. 2548]]
[[ไฟล์:Jordan by Lipofsky 16577.jpg|right|200px|thumb|ไมเคิล จอร์แดน ขณะกระโดดแสลมดังก์]]
'''บาสเกตบอล''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้า'''ห่วง'''หรือ'''ตะกร้า''' (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน
 
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี [[พ.ศ. 2434]] (ค.ศ. 1891) โดย[[เจมส์ เนสมิท]]<ref name="ESPN-history">ESPN.com, [http://sports.espn.go.com/nba/news/story?id=2660882 Newly found documents shed light on basketball's birth], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากลโลก กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากใน[[วายเอ็มซีเอ]]<ref name="ESPN-history"/><ref name="NaismithMuseum">Naismith Museum and Hall of Fame, [http://www.naismithmuseum.com/naismith_drjamesnaismith/main_drjamesnaismith.htm Dr. James Naismith], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็น[[กีฬาอาชีพ]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} มีการจัดตั้งลีก[[เอ็นบีเอ]] (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันใน[[กีฬาโอลิมปิก]]เมื่อ [[พ.ศ. 2479]] (ค.ศ. 1936)<ref name="ESPN-history"/> ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะใน[[สหรัฐอเมริกา]] กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
 
บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (''ชู้ต'', shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (''เลี้ยงลูก'', dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (''ฟาวล์'', foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล
 
เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาลุงจุลต่าง ๆ เช่น การชู้ต การส่ง และ การเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย<ref name="Guardian-popularity>guardian.co.uk, [http://www.guardian.co.uk/football/2008/dec/06/football-brand-globalisation-china-basketball They think it's all over], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref>
 
== ประวัติ ==
 
=== ประวัติของบาสเกตบอล ===
[[ไฟล์:Firstbasketball.jpg|right|thumb|สนามบาสเกตบอลแห่งแรก ที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์]]
ความพิเศษอย่างหนึ่งของบาสเกตบอล คือถูกคิดขึ้นโดยคนเพียงคนเดียว ต่างจากกีฬาส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการมาจากกีฬาอีกชนิด ช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2434 [[เจมส์ ไนสมิท|ดร. เจมส์ ไนสมิท]] ครูสอนพละศึกษาชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา และเป็นผู้ดูแลสถานที่ของวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสมาคม[[วายเอ็มซีเอ]] (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยสปริงฟิลด์) ในเมือง[[สปริงฟิลด์ (แมสซาชูเซตส์)|สปริงฟิลด์]] [[รัฐแมสซาชูเซตส์]] ค้นหาเกมในร่มที่ช่วยให้คนมีกิจกรรมทำระหว่างฤดูหนาวในแถบ[[นิวอิงแลนด์]] ว่ากันว่า หลังจากเขาไตร่ตรองหากิจกรรมที่ไม่รุนแรงเกินไปและเหมาะสมกับโรงยิม เขาเขียนกฎพื้นฐานและตอกตะปูติดตะกร้าใส่ลูกพีชเข้ากับผนังโรงยิม<ref name="">Better Basketball, [http://www.betterbasketball.com/history-of-basketball/ History of Basketball], เรียกดูข้อมูล 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> เกมแรกที่เล่นเป็นทางการเล่นในโรงยิมวายเอ็มซีเอในเดือนถัดมา คือเมื่อ [[20 มกราคม]] [[พ.ศ. 2435]] (ค.ศ. 1892) ในสมัยนั้น เล่นโดยใช้ผู้เล่นเก้าคน<ref>[http://www.rauzulusstreet.com/basketball/nba/nbahistory.htm National Basketball Association (NBA) History], เรียกดูข้อมูล 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> สนามที่ใช้ก็มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของสนามเอ็นบีเอในปัจจุบัน ชื่อ '''บาสเกตบอล''' เป็นชื่อที่เสนอโดยนักเรียนคนหนึ่ง และก็เป็นชื่อที่นิยมมาตั้งแต่ตอนต้น เกมแพร่ขยายไปยังวายเอ็มซีเอที่อื่นทั่วสหรัฐอเมริกา ไม่นานนักก็มีเล่นกันทั่วประเทศ
 
แต่ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าวายเอ็มซีเอจะเป็นผู้ที่พัฒนาและเผยแพร่เกมในตอนแรก ภายในหนึ่งทศวรรษสมาคมก็ไม่สนับสนุนกีฬานี้อีก เนื่องจากการเล่นที่รุนแรงและผู้ชมที่ไม่สุภาพ สมาคมกีฬาสมัครเล่นอื่นๆ มหาวิทยาลัย และทีมอาชีพก็เข้ามาแทนที่ ก่อน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] สหภาพการกีฬาสมัครเล่น (Amateur Athletic Union) และ สมาคมการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย (Intercollegiate Athletic Association) (ซึ่งปัจจุบันคือ[[เอ็นซีดับเบิลเอ]], NCAA) ได้แข่งกันเพื่อจะเป็นผู้กำหนดกติกาของเกม
 
เดิมนั้นการเล่นบาสเกตบอลจะใช้ลูกฟุตบอล ลูกบอลที่ทำขึ้นสำหรับบาสเกตบอลโดยเฉพาะในตอนแรกมีสีน้ำตาล ช่วงปลาย[[คริสต์ทศวรรษ 1950]] จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกสีส้มเพื่อให้ผู้เล่นและผู้ชมมองเห็นลูกได้ง่ายขึ้น และก็ใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ริเริ่มใช้ลูกบาสเกตบอลสีส้มคือนาย โทนี ฮิงเคิล (Tony Hinkle) โค้ช[[มหาวิทยาลัยบัตเลอร์]] (Butler University)<ref name="ButlerUniv">Butler University, [http://www.butler.edu/senior-gift/index.aspx?pg=6120 Paul D. “Tony” Hinkle (1898-1992)], เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref>
 
=== ลีกระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และลีกอื่น ๆ ===
[[ไฟล์:Kent Benson attempts a hook shot over Ken Ferdinand.jpg|thumb|210px|right|การแข่งขันระดับมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2520]]
ไนสมิทเป็นตัวตั้งตัวตีในการเริ่มบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} โดยเป็นโค้ชให้กับ[[มหาวิทยาลัยแคนซัส]] (University of Kansas) เป็นเวลาหกปี ลีกระดับมหาวิทยาลัยถือกำเนิดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 และเริ่มทัวร์นาเมนต์ที่ชื่อ'''เอ็นไอที''' (National Invitation Tournament, NIT) ในนิวยอร์กเมื่อปี [[พ.ศ. 2481]] (ค.ศ. 1938) ช่วง พ.ศ. 2491 ถึง 2494 บาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัยประสบปัญหานักกีฬาโดนซื้อเพื่อผลทางการพนัน<ref>ESPN, [http://espn.go.com/classic/s/basketball_scandals_explosion.html Explosion: 1951 scandals threaten college hoops], เรียกดูข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552</ref> เนื่องจากกลุ่มคนที่โกงนี้เกี่ยวข้องกับเอ็นไอที ทำให้อีกทัวร์นาเมนต์ซึ่งเป็นของ'''[[เอ็นซีเอเอ]]''' (NCAA) ขึ้นแซงเอ็นไอทีในแง่ความสำคัญ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ปัจจุบัน[[ทัวร์นาเมนต์เอ็นซีดับเบิลเอ]] หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''มาร์ชแมดเนส''' (March Madness ซึ่งแข่งในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี) ถือเป็นรายการแข่งขันระดับต้นๆ ในสหรัฐเป็นรองแค่เพียง[[ซูเปอร์โบล]]ของกีฬา[[อเมริกันฟุตบอล]] และ [[เวิลด์ซีรีส์]]ของกีฬา[[เบสบอล]]เท่านั้น<!--<ref name="TVWeekAds">TVWeek, [http://www.tvweek.com/news/2008/03/advertisers_nuts_over_march_ma.php Advertisers Nuts Over March Madness]</ref>-->
 
ในคริสต์ทศวรรษ 1920 มีทีมบาสเกตบอลอาชีพเกิดขึ้นเป็นร้อยทีมตามเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีการจัดระบบเกมอาชีพ เช่น นักกีฬาย้ายทีมไปมา ทีมแข่งกันในโรงเก็บอาวุธและโรงเต้นรำ มีลีกเกิดใหม่และล้มไป บางทีมเล่นถึงสองร้อยเกมในปีหนึ่งก็มี{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ส่วนระดับ[[ไฮสกูล]] (มัธยมปลาย) ของสหรัฐก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ปัจจุบันเกือบทุกโรงเรียนจะมีทีมบาสเกตบอลประจำโรงเรียน ในฤดูกาล ทั่วทั้งสหรัฐมีนักเรียนชายหญิงรวมกันถึง 1,002,797 คนเล่นเป็นตัวแทนในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} [[รัฐอินดีแอนา]]และ[[รัฐเคนทักกี|เคนทักกี]]เป็นสองรัฐที่คนให้ความสนใจบาสเกตบอลระดับไฮสกูลมากเป็นพิเศษ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
=== ลีกอื่นๆ===
[[ไฟล์:NationalBasketballAssociation.png|right|สัญลักษณ์ของเอ็นบีเอ]]
ในปี [[พ.ศ. 2489]] ถือกำเนิดลีก'''[[เอ็นบีเอ]]''' (National Basketball Association, NBA) ก่อตั้งโดยรวบรวมทีมอาชีพชั้นนำ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} และทำให้กีฬาบาสเกตบอลระดับอาชีพได้รับความนิยมสูงขึ้น ปี [[พ.ศ. 2510]] มีการจัดตั้งลีก'''เอบีเอ''' (American Basketball Association, ABA) ขึ้นอีกลีกมาเป็นคู่แข่งอยู่พักหนึ่ง{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ก่อนที่ลีกทั้งสองก็ควบรวมกันในปี [[พ.ศ. 2519]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ในเอ็นบีเอมีผู้เล่นมีชื่อเสียงหลายคน เช่น [[จอร์จ มิคาน]] (George Mikan) ผู้เล่นร่างใหญ่ที่โดดเด่นคนแรก [[บอบ คอสี]] (Bob Cousy) ผู้มีทักษะการครองบอล [[บิล รัสเซล]] (Bill Russell) ผู้ที่เก่งด้านการตั้งรับ [[วิลท์ แชมเบอร์เลน]] (Wilt Chamberlain) รวมถึง [[ออสการ์ รอเบิร์ตสัน]] (Oscar Robertson) และ [[เจอร์รี เวสต์]] (Jerry West) ผู้ที่เก่งในรอบด้าน [[คารีม อับดุล-จับบาร์]] (Kareem Abdul-Jabbar) และ [[บิล วอลตัน]] (Bill Walton) ผู้เล่นร่างยักษ์ในยุคหลัง [[จอห์น สต็อกตัน]] (John Stockton) ผู้ที่มีทักษะการคุมเกม ตลอดจนผู้เล่นสามคนที่ทำให้เอ็นบีเอได้รับความนิยมจนถึงขีดสุด คือ [[แลร์รี เบิร์ด]] (Larry Bird) [[แมจิก จอห์นสัน|เมจิก จอห์นสัน]] (Magic Johnson) และ [[ไมเคิล จอร์แดน]] (Michael Jordan)
 
ลีก'''[[ดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ]]''' (Women's National Basketball Association, WNBA) สำหรับบาสเกตบอลหญิงเริ่มเล่นในปี พ.ศ. 2540{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ถึงแม้ว่าในฤดูกาลแรกจะไม่ค่อยมั่นคงนัก นักกีฬามีชื่อหลายคน เช่น เชอริล สวูปส์ (Sheryl Swoopes) , ลิซา เลสลี (Lisa Leslie) และ ซู เบิร์ด (Sue Bird) ช่วยเพิ่มความนิยมและระดับการแข่งขันของลีก ลีกบาสเกตบอลหญิงอื่นๆ ล้มไปเนื่องจากความสำเร็จของดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
=== บาสเกตบอลระดับสากล ===
'''[[สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ]]''' (International Basketball Federation) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 มิถุนายน [[พ.ศ. 2475]] มีสมาชิกก่อตั้งแปดชาติ ได้แก่ [[ประเทศอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] [[ประเทศเชโกสโลวาเกีย|เชโกสโลวาเกีย]] [[ประเทศกรีซ|กรีซ]] [[ประเทศอิตาลี|อิตาลี]] [[ประเทศลัตเวีย|ลัตเวีย]] [[ประเทศโปรตุเกส|โปรตุเกส]] [[ประเทศโรมาเนีย|โรมาเนีย]] และ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] ในสมัยนั้นหน่วยงานดูแลเฉพาะนักกีฬาสมัครเล่น ดังนั้นในชื่อย่อจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]]ของสหพันธ์ หรือ '''ฟีบา''' (FIBA) ตัวอักษร "A" ย่อมาจากคำว่า "amateur" ซึ่งแปลว่าสมัครเล่น
 
บาสเกตบอลถูกบรรจุใน[[กีฬาโอลิมปิก]]เป็นครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2479]] ถึงแม้ว่าเคยจัดการแข่งขันเป็นกีฬาสาธิตก่อนหน้านั้นนานมากเมื่อ พ.ศ. 2447 สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่เก่งกีฬานี้ และทีมชาติสหรัฐพลาดเหรียญทองเพียงสามครั้งเท่านั้น โดยครั้งแรกที่พลาดแข่งที่[[มิวนิก]]ในปี พ.ศ. 2515 โดยแพ้ให้กับทีม[[สหภาพโซเวียต]]
การแข่งขัน'''เวิลด์แชมป์เปียนชิปส์''' (World Championships) สำหรับบาสเกตบอลชายเริ่มแข่งปี พ.ศ. 2493 ที่[[ประเทศอาร์เจนตินา]] ส่วนประเภทหญิงเริ่มแข่งสามปีถัดมาใน[[ประเทศชิลี]] กีฬาบาสเกตบอลหญิงเริ่มแข่งในโอลิมปิกปี พ.ศ. 2519 โดยมีทีมที่โดดเด่นเช่น [[ประเทศบราซิล|บราซิล]] [[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]] และ [[สหรัฐอเมริกา]]
 
ฟีบา ยกเลิกการแบ่งผู้เล่นเป็นสมัครเล่นและอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2532 และปี พ.ศ. 2535 ผู้เล่นอาชีพก็ได้แข่งในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกากลับมาอีกครั้งโดยการส่ง'''ดรีมทีม''' ที่ประกอบด้วยผู้เล่นจากเอ็นบีเอ แต่ปัจจุบันประเทศอื่นสามารถพัฒนาตามทันสหรัฐอเมริกา ทีมที่มีผู้เล่นเอ็นบีเอล้วนๆ ได้ที่หกในการแข่งเวิลด์แชมเปียนชิปส์ในปี [[พ.ศ. 2545]] ที่เมือง[[อินเดียแนโพลิส]] [[รัฐอินดีแอนา]] [[สหรัฐอเมริกา]] ตามหลัง [[ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร|เซอร์เบียและมอนเตเนโกร]] [[ประเทศอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] [[ประเทศเยอรมนี|เยอรมนี]] [[ประเทศนิวซีแลนด์|นิวซีแลนด์]] และ [[ประเทศสเปน|สเปน]] ในโอลิมปิกปี [[พ.ศ. 2547]] สหรัฐแพ้เป็นครั้งแรกนับจากที่เริ่มใช้ผู้เล่นอาชีพ โดยพ่ายให้กับทีมชาติ[[ประเทศเปอร์โตริโก|เปอร์โตริโก]] และสุดท้ายได้เป็นอันดับสาม รองจาก[[ประเทศอาร์เจนตินา|อาร์เจนตินา]] และ[[ประเทศอิตาลี|อิตาลี]]
 
ปัจจุบัน มีการแข่งขันทัวร์นาเมนต์บาสเกตบอลทั่วโลกในทุกระดับอายุ ตั้งแต่ห้าจนถึงหกสิบปี ระดับไฮสกูล (มัธยมปลาย) มหาวิทยาลัย ไปจนถึงระดับลีกอาชีพ และมีแข่งทั้งประเภทชายและหญิง
 
ความนิยมกีฬาชนิดนี้ทั่วโลกสังเกตได้จากสัญชาติของผู้เล่นในเอ็นบีเอ จะสามารถพบนักกีฬาจากทั่วทุกมุมโลก [[สตีฟ แนช]] (Steve Nash) ผู้ที่ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าในเอ็นบีเอปี พ.ศ. 2548 เป็น[[ประเทศแคนาดา|ชาวแคนาดา]]ที่เกิดที่[[ประเทศแอฟริกาใต้]] ดาราดังของทีม[[ดัลลัส แมฟเวอริกส์]] [[เดิร์ก โนวิตสกี]] (Dirk Nowitzki) ก็เกิดใน[[ประเทศเยอรมนี]]และเล่นให้กับทีมชาติเยอรมนี
 
อีกตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นการพัฒนาถึงระดับโลก คือทีมออลทัวร์นาเมนต์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เล่นยอดเยี่ยมจากการแข่งเวิลด์แชมป์เปียนชิปส์ปี พ.ศ. 2545 ได้แก่ เดิร์ก โนวิตสกี, [[เพยา สโตยาโควิช]] (Peja Stojakovic) จากเซอร์เบียและมอนเตเนโกร, [[มานู จิโนบิลี]] (Manu Ginobili) จากอาร์เจนตินา, [[เหยา หมิง]] (Yao Ming) จาก[[ประเทศจีน|จีน]] และ เพโร คาเมรอน (Pero Cameron) จาก[[ประเทศนิวซีแลนด์|นิวซีแลนด์]] ทุกคนยกเว้นคาเมรอนเป็นหรือจะเป็นผู้เล่นในเอ็นบีเอในเวลาต่อมา
 
== กฎและกติกา ==
กฎเกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก
 
จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่า'''การชู้ต''' (หรือ'''ช็อต''' shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.75 เมตร (22 ฟุต 1 3/4 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า '''ฟรีโทรว์''' (free throw) เมื่อฟาวล์มีค่าหนึ่งคะแนน
 
=== กติกาการเล่น ===
เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 '''ควอเตอร์''' (quarter) แต่ละควอเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาวล์ หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)
 
ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์
 
เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และ[[สปอนเซอร์]] ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
 
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
 
เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวน[[ฟาล์ว]]ผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว [[โพเซสซันแอร์โรว์]] และ[[ช็อตคล็อก]]
 
=== อุปกรณ์การเล่น ===
[[ไฟล์:Basketball.jpeg|thumb|ลูกบาสเกตบอล]]
อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน แต่ในการแข่งขันต้องมีอุปกรณ์อื่นเพิ่ม เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น
 
ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 84 คูณ 50 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 87 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้
 
ห่วงที่ทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม ในการแข่งขันเกือบทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3 เมตร) พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก
 
=== ข้อบังคับ ===
ลูกสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก (โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง ภาษาอังกฤษเรียก '''ดริบบลิง''', dribbling)
 
ลูกจะต้องอยู่ในสนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนามนั้นจะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า '''แทรเวลลิง''', travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า '''ดับเบิล-ดริบบลิง''', double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก (carrying) ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม (frontcourt) แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง (backcourt) อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่
 
ผู้เล่นจะต้องนำลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด (8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ) ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน 5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี
 
ห้ามผู้เล่นรบกวนห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก '''โกลเทนดิง''' (goaltending) ถ้าฝ่ายรับทำผิด จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล
 
=== ฟาวล์===
[[ไฟล์:Basketball foul.jpg|thumb|กรรมการแสดงสัญญาณฟาวล์โดยการเป่านกหวีดแล้วชูกำปั้นข้างซ้ายขึ้น]]
การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น '''ฟาวล์''' (foul) ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาวล์แต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาวล์ได้เช่นเดียวกัน คนที่ถูกฟาวล์จะได้ส่งลูกจากข้างสนาม (inbound) เพื่อเล่นต่อ หรือได้ชู้ตลูกโทษ หรือ '''ฟรีโทรว์''' (free throw) ถ้าการฟาวล์เกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูก การชู้ตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน ผู้เล่นจะได้ชู้ตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชู้ตตอนถูกฟาวล์นั้นได้แต้มหรือไม่ เวลาชู้ตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร (15 ฟุต)
 
การที่จะมีฟาวล์หรือไม่อยู่วิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่ ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาวล์ของกรรมการ การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาวล์อาจแตกต่างกันในแต่ละเกม ลีก หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน
 
ผู้เล่นหรือโค้ชซึ่งแสดงน้ำใจนักกีฬาที่แย่ เช่น เถียงกับกรรมการ หรือ ชกกับผู้เล่นอื่น อาจโดน'''เทคนิคัลฟาวล์''' หรือ '''ฟาวล์เทคนิค''' (technical foul) ซึ่งถูกลงโทษโดยให้อีกทีมได้ชู้ตลูกโทษ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำก็อาจถูกไล่ออกจากสนามได้ ฟาวล์ที่เกิดจากการเล่นที่รุนแรงเกินไป จะเรียกว่า'''ฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา''' หรือ '''ฟาวล์รุนแรง''' (unsportsmanlike foul ในสากลหรือ flagrant foul ในเอ็นบีเอ) ก็จะได้รับโทษที่สูงขึ้นกว่าฟาวล์ธรรมดา บางครั้งอาจถูกให้ออกจากสนามด้วย
 
ถ้าทีมทำฟาวล์เกินกว่าที่กำหนด (ในหนึ่งควาเตอร์ หรือ ในครึ่งเกม) ซึ่งก็คือ สี่ครั้งสำหรับกติกาสากลและเอ็นบีเอ ทีมตรงข้ามสามารถชู้ตลูกโทษสำหรับการฟาวล์ที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อๆ ไป จากนั้นจนกว่าจะจบช่วง ไม่ว่าการฟาวล์จะเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูกหรือไม่ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าผู้เล่นฟาวล์รวมห้าครั้งนับเทคนิคัลฟาวล์ด้วย (บางลีก รวมถือเอ็นบีเอ ยอมให้ฟาวล์ได้หกครั้ง) ผู้เล่นนั้นไม่สามารถเล่นในเกมได้อีก เรียกว่า'''ฟาวล์เอาท์''' (foul out)
 
== เทคนิคพื้นฐาน ==
=== ตำแหน่งผู้เล่นและโครงสร้าง ===
[[ไฟล์:Basketball positions th.png|right|250px|thumb|ตำแหน่งผู้เล่น]]
ถึงแม้ว่าในกฎจะไม่กำหนดตำแหน่งใด ๆ ของผู้เล่น แต่เรื่องนี้มีวิวัฒนาการจนเป็นส่วนหนึ่งของบาสเกตบอล ในช่วงห้าสิบปีแรกของเกม จะใช้ การ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซ็นเตอร์หนึ่งคนในการเล่น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการแบ่งชัดเจนขึ้นเป็น '''[[พอยท์การ์ด]]''' (หรือ'''การ์ดจ่าย''') '''[[ชู้ตติ้งการ์ด]]''' '''[[สมอลฟอร์เวิร์ด]]''' '''[[เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (บาสเกตบอล)|เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด]]''' และ '''[[เซ็นเตอร์ (บาสเกตบอล)|เซ็นเตอร์]]''' ในบางครั้งทีมอาจเลือกใช้ การ์ดสามคน แทนฟอร์เวิร์ดหรือเซ็ตเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า '''three guard offense'''
 
การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบ'''โซน''' (zone defense) และ แบบ'''แมน-ทู-แมน''' (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผนการเล่นเอาไว้
 
ส่วนการเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การ'''คัท''' (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การ'''สกรีน''' (screen) หรือ '''พิก''' (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมในขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้างๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็น'''พิกแอนด์โรล''' (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่า'''โรล''') สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับเพื่อนร่วมทีม
 
โครงสร้างของการตั้งรับ การบุก และตำแหน่งการเล่น ถูกเน้นในการเล่นบาสเกตบอลระดับสูง และเป็นสิ่งที่โค้ชจะขอเวลานอกเพื่อคุยกับลูกทีม
 
=== การชู้ต ===
การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุดในการเล่น
 
ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
 
ผู้เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบ'''แบ็คสปิน''' (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆแต่มันค่อนข้างยาก แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
 
วิธีการชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ '''เซ็ตช็อต''' (set shot) และ '''จัมพ์ช็อต''' (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
 
ผู้เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ
 
=== การส่งบอล ===
ใน'''การส่งบอล''' (pass) ระหว่างผู้เล่น ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
 
การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือ'''การส่งระดับอก''' (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
 
การส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่งลูกธรรมดา
 
การส่งแบบ ข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
 
การส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนนเป็นต้น
 
จุดสำคัญของการส่งลูกก็คือ จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือ[[สตีล (บาสเกตบอล)|ขโมย]]ลูกไปได้ ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่า'''การส่งสกิป''' (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น
 
=== การเลี้ยงลูก ===
[[ไฟล์:Basketball game.jpg|thumb|right|210px|ผู้เล่นทีมวิทยาลัยกองทัพเรือสหรัฐ (ซ้าย) พยายามเลี้ยงลูกหลบฝ่ายรับทีมวิทยาลัยกองทัพบก (ขวา)]]
การเลี้ยงลูกเป็นการบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
 
เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากที่สุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
 
ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้
 
== การเล่นรูปแบบอื่นๆ ==
บาสเกตบอลยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น (มักได้แก่ลูกบาสเกตบอล และห่วง) การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
 
เกมที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ '''ฮาล์ฟคอร์ต''' (half court game) โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้อง'''เคลียร์'''ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชู้ตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาวสนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต
 
== ดูเพิ่ม ==