ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56:
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 มีพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้ได้วิทยฐานะวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า วทบ. (ทบ.)
 
ต่อมาโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า ณ ถนนราชดำเนินนอกอยู่ในสภาพแออัด ด้วยมีจำนวนนักเรียนนายร้อยเพิ่มขึ้น สถานที่ฝึกศึกษา เล่นกีฬา และสถานที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสภาพ[[สิ่งแวดล้อม]]สำหรับการเป็นโรงเรียนนายร้อยหลักของประเทศ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสถานที่ตั้งแห่งใหม่ ณ บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โรงเรียนนายร้อยแห่งนี้ได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 5 สิงหาคม 2524 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพลเอกหญิง[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] (ขณะดำรงพระยศ[[พันเอก]]) ได้เสด็จฯ มากระทำพิธี
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ข้าราชการ ลูกจ้าง นักเรียนนายร้อย พร้อมด้วยศิษย์เก่า ได้พร้อมใจกัน[[เดินเท้า]]ออกจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าสถานที่ตั้งเดิมเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ โดยมี[[พลเอกหญิง]]สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในการนำกำลังพลเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ด้วยความเรียบร้อยพร้อมเพรียงกัน
 
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ถือเป็นการเปิดโรงเรียนนายร้อยแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ และได้ดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบัน<ref>http://www.crma.ac.th/th/history</ref><ref>http://web.archive.org/20080322084104/www.geocities.com/cadethome/crma/history1.html</ref>
 
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นแหล่งผลิตนายทหารหลักของกองทัพบก ออกมารับใช้ประเทศชาติ เป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 100 กว่าปี คนแล้วคนเล่า ที่หล่อหลอมออกมาจากเป้าเดียวกัน ต่างประสบความสำเร็จในชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้สุดแท้แต่วิถีชีวิตของแต่ละบุคคล