ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติภูกระดึง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 47:
คำว่า "ภูกระดึง" มาจากคำว่า ''ภู'' แปลว่า ''ภูเขา'' และ ''กระดึง'' แปลว่า ''กระดิ่ง'' เป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ''ภูกระดึง'' จึงอาจแปลได้ว่า ''ระฆังใหญ่'' ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าใน[[วันพระ]]ชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ เล่ากันว่าเป็นระฆังของ[[พระอินทร์]] ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือในบริเวณบางส่วนของยอดเขาหากเดินหนักๆหรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆังซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "ภูกระดึง"<ref name="กรมอุทยาน"/>
 
<ref name="แผนแม่บท" />
== ภูมิประเทศ ==
[[ไฟล์:Altitude Phu Kradueng.jpg|thumb|300 px|ระดับความสูงของภูกระดึง]]
ภูกระดึงเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ[[ที่ราบสูงโคราช]] ใกล้กับด้านลาดทางทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขามีความสูงจาก[[ระดับน้ำทะเล]] 400-1,200 [[เมตร]]ส่วนฐานหรือเชิงเขาเริ่มจากจุดต่ำสุดของพื้นที่ที่ระดับความสูง 260 เมตรไปจนถึงระดับความสูง 400 เมตร มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาล้อมรอบตัวภูกระดึง และพื้นที่ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นมีสภาพลาดชันยกตัวขึ้นเป็นขอบเขาและหน้าผาสูงชัน<ref name="แผนแม่บท"/> พื้นที่ราบบนยอดตัดของภูเขามีพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีลักษณะคล้ายรูใบบอนหรือรูป[[หัวใจ]]เมื่อมองจากด้านบน มีส่วนปลายใบอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และส่วนเว้าด้านในอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ราบบนเขาประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดที่สูงที่สุดอยู่ที่บริเวณ ''คอกเมย'' สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร<ref name="แผนแม่บท"/> สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ และจะค่อยๆลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ กลายเป็นแหล่งต้นน้ำของ[[ลำน้ำพอง]]<ref>[http://www.moohin.com/049/049e002.shtml อุทยานแห่งชาติภูกระดึง] หมูหิน.คอม สืบค้นวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553</ref><ref name="สำนัก"/>
 
ภูกระดึงเกิดขึ้นใน[[มหายุคมีโซโซอิก]] มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหิน: หมวดหินภูพานเป็นหินชั้นที่มีอายุน้อยที่สุดอยู่ชั้นบนสุดของโครงสร้างภูกระดึง พบทั่วไปบนหลังแปหรือที่ระดับความสูงตั้งแต่ 990 เมตรขึ้นไป หมวดหินเสาขัวพบตั้งแต่ระดับความสูง 600 เมตรขึ้นไป หมวดหินพระวิหารพบในระดับความสูง 400–600 เมตรและ หมวดหินภูกระดึงเป็นหินชั้นฐานของโครงสร้างภูกระดึง<ref name="แผนแม่บท"/>
 
== ภูมิอากาศ ==