ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลั่นทม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
 
ดอกลั่นทมยังเป็น[[ดอกไม้ประจำชาติ]]ของ[[ประเทศลาว]] และพบได้มากบริเวณทางขึ้น[[พระธาตุ]]ที่เมือง[[หลวงพระบาง]] สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
== ความเชื่อ ==
คนโบราณมี[[ความเชื่อ]]ว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ จึงได้มี[[การเปลี่ยนชื่อเพื่อความหมาย|การเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล]] ว่า '''ลีลาวดี''' ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด ไม่
 
[[ไฟล์:Flower11.jpg|thumb|ดอกลั่นทม]]
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ลั่นทมเป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
ลั่นทมเป็นต้นไม้สกุล Plumeria มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และถูกนำเข้ามาในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนโดยนักเดินเรือชาวสเปนหรือโปรตุเกส จึงไม่มีชื่อในภาษาไทย และไม่ปรากฏชื่อในวรรณกรรมโบราณ แหล่งที่มาของคำว่า ลั่นทม เข้าใจว่ามาจากคำว่า "สราญธม"(สะ-ราน-ทม) ในภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า "ความรักอันยิ่งใหญ่" ทั้งนี้ ในสมัยโบราณต้นไม้ชนิดนี้นิยมปลูกในวัด จึงไม่นิยมปลูกในบ้าน
 
มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลัมมีเรีย (plumeria)
 
== เกร็ด ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ลั่นทม"