ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
IRLGVBRIOHNGPORHJWE;OGVNWEOHNTPO6YHRIWE5TJG
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1:
{{บทความคัดสรร}}
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = {{lang|ja|日本国}} <small>{{ja icon}}</small>
| conventional_long_name =ประเทศญี่ปุ่น
| common_name = ญี่ปุ่น
| image_flag = Flag of Japan.svg
| image_coat = Imperial Seal of Japan.svg
| symbol_type = ตราแผ่นดินi
| national_motto =
| image_map =Japan (orthographic 0ooprojection).sv888888
| national_anthem = [[คิมิงะโยะ]]<center>[[ไฟล์:Kimi ga Yo instrumen9tal.ogg]]</center>
| other_symbol_type = ตรารัฐบาล:
| other_symbol = [[ไฟล์:Goshichi no kiri.svg|85x85px|Seal of the Office of the Prime Minister and the Government of Japan]] <br /> <small>[[พอโลเนีย]] ({{ญี่ปุ่น|五七[の]桐|โกะชิชิ โนะ คิริ}}) </small>
| official_languages = ไม่มี<ref>{{cite web|url=http://houseikyoku.sangiin.go.jp/column/column068.htm|title=法制執務コラム集「法律と国語・日本語」|publisher=Legislative Bureau of the House of Councillors|accessdate=19 มกราคม 2009|language=ญี่ปุ่น}}</ref>
| languages_type = ภาษาประจำชาติ
| languages = [[ภาษาญี่ปุ่น]]
| capital = [[โตเกียว]]
| latd = 35 |latm=41 |latNS=N |longd=139 |longm=46 |longEW=E |
| largest_city = [[โตเกียว]]
| government_type = [[ประชาธิปไตย|ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา]]และ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]
| leader_title1 = [[จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น|จักรพรรดิ]]
| leader_title2 = [[รายชื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]]
| leader_name1 = [[จักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]
| leader_name2 = [[ชินโซ อะเบะ]]
| area_rank = 62
| area_magnitude = 1 E11
| area_km2 = 377,944
| area_sq_mi = 145,925
| percent_water = 0.8
| population_estimate = 127,110,047<ref>{{cite web|url=http://japandailypress.com/japanese-population-decreases-for-third-year-in-a-row-098767 |title=Japanese population decreases for third year in a row|accessdate=1 September 2016}}</ref>
| population_estimate_year = 2555
| population_estimate_rank = 10
| population_census = 128,056,026<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/pdf/20111026.pdf|title=Population Count based on the 2010 Census Released|publisher=Statistics Bureau of Japan |accessdate=October 26, 2011}}</ref>
| population_census_year = 2010
| population_density_km2 = 337.1
| population_densitymi2 = 873.1 <!--Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| population_density_rank = 36
| GDP_PPP_year = 2560
| GDP_PPP = $ 5.420 ล้านล้าน
| GDP_PPP_rank =
| GDP_PPP_per_capita = $ 42,860
| GDP_PPP_per_capita_rank =
| GDP_nominal_year = 2560
| GDP_nominal = $ 4.841 ล้านล้าน
| GDP_nominal_rank =
| GDP_nominal_per_capita = $ 38,281
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| sovereignty_type = [[ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น|การสร้างชาติ]]
| established_event1 = วันก่อตั้งชาติ
| established_event2 = [[รัฐธรรมนูญเมจิ|รธน. เมจิ]]
| established_event3 = [[รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น|รธน. ปัจจุบัน]]
| established_event4 = [[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]
| established_date1 = [[11 กุมภาพันธ์]] [[117 ปีก่อนพุทธศักราช]] (เชิงสัญลักษณ์)
| established_date2 = [[29 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2433]]
| established_date3 = [[3 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2490]]
| established_date4 = [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2495]]
| Gini_year = 2551
| Gini = 32.1
| HDI_year = 2558
| HDI = {{increase}} 0.903
| HDI_rank = 17th
| HDI_category = <span style="color:green;">สูงมาก</span>
| currency = [[เยน]] (¥)
| currency_code = JPY
| country_code = JPN
| time_zone = [[เวลามาตรฐานญี่ปุ่น|JST]]
| utc_offset = +9
| time_zone_DST = ไม่มี
| utc_offset_DST =
| drives_on = ซ้ายมือ
| cctld = [[.jp]]
| calling_code = 81
| footnotes =
}}
{{ความหมายอื่น|||ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)|ญี่ปุ่น}}
 
[[ไฟล์:Fukuda meets Bush 16 November 2007.jpg|250px|thumb|left]]
'''ญี่ปุ่น''' ({{ญี่ปุ่น|日本|Nihon/Nippon|นิฮง/นิปปง}}) มีชื่อทางการคือ'''ประเทศญี่ปุ่น''' ({{ญี่ปุ่น|日本国|Nihon-koku/Nippon-koku|นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ}}) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออก]] ตั้งอยู่ใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ทางตะวันตกติดกับ[[คาบสมุทรเกาหลี]] และ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] โดยมี[[ทะเลญี่ปุ่น]]กั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับ[[ประเทศรัสเซีย]] มี[[ทะเลโอค็อตสค์]] เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษร[[คันจิ]]ของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า''ถิ่นกำเนิดของ[[ดวงอาทิตย์]]'' จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่า''ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย''
{| border="0" cellpadding="3px" cellspacing="2px" style="background:#fff; width:60%; margin:auto;"
 
|- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;"
ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก<ref name="area">{{Citation
| url=http://unstats.un.org/unsd/demographic/products/dyb/dyb2007/Table03.pdf
| format=pdf
| title=Demographic Yearbook—Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density
| publisher=United Nations Statistics Division
| year=2007
| accessdate = 2009-08-26}}</ref> หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือ[[เกาะ]][[ฮนชู]] [[ฮกไกโด]] [[คีวชู]] และ[[เกาะชิโกะกุ|ชิโกะกุ]] ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่น[[ภูเขาไฟฟูจิ]] ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน<ref name="poprank">{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2119rank.html|title=Rank Order-Population| publisher =CIA| date=2008-07| accessdate=2008-11-23}}</ref> เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือ[[กรุงโตเกียว]] ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน
 
สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่[[ยุคหินเก่า]] การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดใน[[เอเชียตะวันออก]] หลังจากแพ้[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน [[พ.ศ. 2490]]
 
ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมี[[จีดีพี]]สูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553<ref>[http://www.bloomberg.com/news/2010-08-16/china-economy-passes-japan-s-in-second-quarter-capping-three-decade-rise.html China Overtakes Japan as World's Second-Biggest Economy]{{dead link|date=May 2017}}</ref> ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของ[[สหประชาชาติ]] [[จี 8]] [[โออีซีดี]] และ[[เอเปค]] และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี
 
== ชื่อประเทศ ==
ในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (にっぽん) หรือ นิฮง (にほん) ซึ่งใช้[[คันจิ]]ตัวเดียวกันคือ '''日本''' คำว่า''นิปปง'' มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า ''นิฮง'' จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป
 
สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本) " ตั้งแต่ช่วงปลาย[[พุทธศตวรรษที่ 12]] จนถึงกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 13]]<ref>เช่น 熊谷公男 『大王から天皇へ 日本の歴史03』(講談社、2001) และ 吉田孝 『日本誕生』(岩波新書、1997)</ref><ref>เช่น 神野志隆光『「日本」とは何か』(講談社現代新書、2005)</ref> ตัวอักษร[[คันจิ]]ของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า''ถิ่นกำเนิดของ[[ดวงอาทิตย์]]'' และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่า''ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย'' ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับ[[ราชวงศ์สุย]]ของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน<ref>เช่น 網野善彦『「日本」とは何か』(講談社、2000)、神野志前掲書</ref> ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ<ref>{{cite web|url=http://www.lang.nagoya-u.ac.jp/proj/sosho/5/maeno.pdf|title=国号に見る「日本」の自己意識|author=前野みち子}}</ref>
 
ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน ({{lang-en|Japan}}), ยาพัน ({{lang-de|Japan}}), <ref>[[การเขียนคำทับศัพท์ภาษาเยอรมัน]]</ref> ฌาปง ({{lang-fr|Japon}}), <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|fr&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-ฝรั่งเศส)]{{dead link|date=May 2017}} {{en icon}}</ref> ฆาปอน ({{lang-es|Japón}}) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|es&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-สเปน)]{{dead link|date=May 2017}} {{en icon}}</ref> รวมถึงคำว่า'''ญี่ปุ่น''' ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า "ยิดปุ่น" ([[หมิ่นหนาน|ฮกเกี้ยน]]) หรือ "หยิกปึ้ง" ([[สำเนียงแต้จิ๋ว|แต้จิ๋ว]]) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่า "จีปังกู" แต่ในสำเนียง[[แมนดาริน]]อ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว ({{zh-all|t=日本国|p=Rìběn'guó}}) หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น ({{zh-all|t=日本|p=Rìběn}}) <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|zh-TW&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-จีน)]{{dead link|date=May 2017}} {{en icon}}</ref> ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า "อิลบน" ({{lang-ko|일본}}; 日本 ''Ilbon'') <ref>[http://www.google.com/dictionary?aq=f&langpair=en|ko&q=Japan&hl=en Google Dictionary (อังกฤษ-เกาหลี)]{{dead link|date=May 2017}} {{en icon}}</ref> และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า "เหญิ่ตบ๋าน" ({{lang-vi|Nhật Bản}}, 日本) <ref>ก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เวียดนามใช้ตัวอักษรจีน</ref> จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น}}
=== ยุคโบราณ ===
[[ไฟล์:MiddleJomonVessel.JPG|thumb|150px|เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง|left]]
สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า เมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนพุทธศักราช<ref>[http://www.t-net.ne.jp/~keally/preh.html Prehistoric Archaeological Periods in Japan]</ref> หลังจากนั้น[[ยุคโจมง]]ก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์<ref>[http://www.mnsu.edu/emuseum/prehistory/japan/jomon/paleolithic_jomon.html The Paleolithic Period / Jomon Period]{{dead link|date=May 2017}} EMuseum, Minnesota State University, Mankato</ref> มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่า''โจมง''ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า''ลายเชือก''ซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก
 
[[ยุคยะโยะอิ]] เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่<ref>[http://www.wsu.edu/~dee/ANCJAPAN/YAYOI.HTM Yayoi and Jomon]{{dead link|date=May 2017}} World Civilizations, Washington State University</ref> การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น [[โฮ่วฮั่นชู]] (後漢書) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล <ref>後漢書, ''會稽海外有東鯷人 分爲二十餘國''</ref> ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า ''วะ'' (倭) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือ[[ยะมะไทโคะกุ]] (邪馬台国) ปกครองโดยพระนาง[[ฮิมิโกะ]] ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย
 
=== ยุคแรกเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น ===
[[ไฟล์:NintokuTomb.jpg|thumb|สุสานจักรพรรดิในสมัย[[ยุคโคะฟุง]]]]
[[ยุคโคะฟุง]] ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณภาค[[คันไซ]] ในยุคนี้[[พระพุทธศาสนา]]ได้เข้ามาจาก[[คาบสมุทรเกาหลี]]สู่หมู่เกาะญี่ปุ่น<ref name=yamato/> แต่[[พระพุทธรูป]]และ[[พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น]]หลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจาก[[จีน]]เป็นหลัก<ref>{{cite book |editor=Delmer M. Brown (ed.) |year=1993 |title=The Cambridge History of Japan |publisher=Cambridge University Press |pages=140–149}}</ref> [[เจ้าชายโชโตะกุ]]ทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมจากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงตรา''[[รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา]]'' ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย<ref name="yamato">[http://www.wsu.edu/~dee/ANCJAPAN/YAMATO.HTM The Yamato State]{{dead link|date=May 2017}} World Civilizations, Washington State University</ref> และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่[[ยุคอะซึกะ|สมัยอะซึกะ]]<ref>{{cite book |title=The Japanese Experience: A Short History of Japan |author=William Gerald Beasley |publisher=University of California Press |year=1999 |url=http://books.google.com/books?vid=ISBN0520225600&id=9AivK7yMICgC&pg=PA42&lpg=PA42&dq=Soga+Buddhism+intitle:History+intitle:of+intitle:Japan&sig=V65JQ4OzTFCopEoFVb8DWh5BD4Q#PPA42, M1 |pages=42 |isbn=0520225600 |accessdate=2007-03-27}}</ref>
 
[[ยุคนะระ]] (พ.ศ. 1253-1337) <ref>Dolan, Ronald E. and Worden, Robert L., ed. (1994) "Nara and Heian Periods, A.D. 710-1185" ''Japan: a country study''. Library of Congress, Federal Research Division.</ref> เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจาก[[จีนแผ่นดินใหญ่]] ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือ[[เฮโจเกียว]]หรือ[[จังหวัดนะระ]]ในปัจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรมเช่นโคะจิกิ (พ.ศ. 1255) และ[[นิฮงโชะกิ]] (พ.ศ. 1263) <ref>{{cite book |author=Conrad Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=64–79 | isbn=978-1405123594}}</ref> เมืองหลวงถูกย้ายไปที่[[นะงะโอกะเกียว]]เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยัง[[เฮอังเกียว]] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคเฮอัง]]
 
ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็น[[ยุคเฮอัง]]นั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร [[ฮิระงะนะ]] ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 16]] ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่อง[[ตำนานเก็นจิ#นิทานเก็นจิ|นิทานเก็นจิ]] (源氏物語) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของ[[ตระกูลฟุจิวะระ]] และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น [[คิมิงะโยะ]] ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน<ref>{{cite book |author=Conrad Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=122–123 | isbn=978-1405123594}}</ref>
 
=== ยุคศักดินา ===
[[ไฟล์:Japan Kyoto Kinkakuji DSC00108.jpg|thumb|220px|[[วัดคิงกะกุ]] ในเมือง[[เคียวโตะ]]]]
 
ยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของ[[ตระกูลไทระ]] [[มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ]] ได้แต่งตั้งตนเองเป็น[[โชกุน]] และสร้างรัฐบาลทหารในเมือง[[คะมะกุระ]] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคคะมะกุระ]]ซึ่งมีการปกครองแบบ[[ศักดินา]] แต่รัฐบาลคะมะกุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในภาคตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยะริโตโมะ [[ตระกูลโฮโจ]]ได้ก้าวขึ้นมาเป็น[[ชิกเก็ง|ผู้สำเร็จราชการให้โชกุน]] รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของ[[จักรวรรดิมองโกล]]ใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุ[[คะมิกะเซะ]]ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก<ref>[http://www.taots.co.uk/content/view/25/30/ Mongol Invasion 1274-1281] The Age of the Samurai</ref>
 
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกุระก็อ่อนแอลงจากสงครามครั้งนี้ จนในที่สุดต้องสูญเสียอำนาจให้แก่[[จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ]] ผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่อ[[อะชิกะงะ ทะกะอุจิ]]ในเวลาต่อมาไม่นาน<ref name="history1334">{{cite book |author=George Sansom |year=1961 |title=A History of Japan: 1334–1615 |publisher=Stanford| isbn=0-8047-0525-9}}</ref> อะชิกะงะ ทะกะอุจิย้ายรัฐบาลไปตั้งไว้ที่มุโระมะชิ [[จังหวัดเคียวโตะ|(เคียวโตะ)]] จึงได้ชื่อว่า[[ยุคมุโระมะชิ]] ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อำนาจของโชกุนเริ่มเสื่อมลงและเกิด[[สงครามโอนิง|สงครามกลางเมือง]]ขึ้น เพราะบรรดา[[ไดเมียว|เจ้าแคว้น]]ต่างทำสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสงครามที่เรียกว่า[[ยุคเซ็งโงะกุ]]<ref name=history1334/>
 
ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 มีพ่อค้าและ[[มิชชันนารี]]จากโปรตุเกสเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก ([[การค้านัมบัน]])
 
สงครามดำรงอยู่หลายสิบปี จน[[โอะดะ โนะบุนะงะ]]เอาชนะเจ้าครองแคว้นอื่นหลายคนโดยใช้เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้วเมื่อเขาถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2125 [[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]]ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมาสามารถปราบปรามบ้านเมืองให้สงบลงได้ใน พ.ศ. 2133 ฮิเดะโยะชิ[[การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)|รุกรานคาบสมุทรเกาหลี]]ถึง 2 ครั้ง<ref>[http://www.wsu.edu/~dee/TOKJAPAN/TOYOTOMI.HTM Toyotomi Hideyoshi]{{dead link|date=May 2017}} World Civilizations, Washington State University</ref> แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นก็ถอนทัพ<ref>{{cite book |author=[[Stephen Turnbull (historian)|Stephen Turnbull]] |year=2002 |title=Samurai Invasion: Japan's Korean War |publisher=Cassel |pages=227| isbn=978-0304359486}}</ref>
 
หลังจากฮิเดะโยะชิถึงแก่อสัญกรรม [[โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ]] ตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนบุตรชายของฮิเดะโยะชิ [[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ]] เพื่อที่จะได้อำนาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ใน[[ยุทธการเซะกิงะฮะระ]]ใน พ.ศ. 2143 จึงขึ้นเป็นโชกุนใน พ.ศ. 2146 และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ที่[[โตเกียว|นครเอะโดะ]] [[ยุคเอะโดะ]]จึงเริ่มต้นขึ้น [[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]]ได้ใช้วิธีหลายอย่าง เช่น บุเกโชฮัตโต เพื่อควบคุมไดเมียวทั้งหลาย ใน พ.ศ. 2182 รัฐบาลเริ่ม[[นโยบายปิดประเทศ]]และใช้นโยบายนี้อย่างไม่เข้มงวดนักต่อเนื่องถึงประมาณสองร้อยห้าสิบปี ในระหว่างนี้ ญี่ปุ่นศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผ่านการติดต่อกับชาวดัตช์ที่สามารถเข้ามาที่[[เกาะเดจิมะ]] (ใน[[นะงะซะกิ (เมือง)|เมืองนะงะซะกิ]]) เท่านั้น<ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=188|date=1971}}</ref> ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะนี้ยังมีการเริ่มต้นการให้ศึกษาประชาชนเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.wsu.edu/~dee/GLOSSARY/KOKUGAKU.HTM |title=Japan Glossary; Kokugaku | publisher = Washington State University | date=1999-07-14 | accessdate=2006-12-28}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
แต่ญี่ปุ่นก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกให้เปิดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2397 [[แมทธิว ซี. เพอร์รี|พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี]] และกองเรือดำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญี่ปุ่นเพื่อบังคับให้เปิดประเทศด้วย[[สนธิสัญญาคะนะงะวะ|สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา]] หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เพราะการเปิดประเทศและให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจต่อรัฐบาลเอะโดะ และเกิดกระแสเรียกร้องให้คืนอำนาจอธิปไตยแก่องค์จักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกว่า[[การปฏิรูปเมจิ]]) <ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=262-264|date=1971}}</ref> จนในที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอำนาจลง
 
=== ยุคใหม่ ===
{{บทความหลัก|กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:Japanese Empire.jpg|thumb|left|200px|แผนที่[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]] พ.ศ. 2485]]
ใน[[ยุคเมจิ]] รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ]]ได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอะโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอะโดะเป็น[[โตเกียว]] มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่นบังคับใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น|รัฐธรรมนูญ]]ใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้[[ระบบสองสภา]] นอกจากนี้ [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก<ref>{{cite book|title=JAPAN From Prehistory to Modern Times|author=John Whitney Hall|publisher =Charles E. Tuttle Company|page=286-287|date=1971}}</ref>และทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะใน[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง]] (พ.ศ. 2437-2438) และ[[สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น]] (พ.ศ. 2447-2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครอง[[ไต้หวัน]] [[เกาหลี]] และตอนใต้ของ[[เกาะซาคาลิน]]<ref>{{cite web |url= http://filebox.vt.edu/users/jearnol2/MeijiRestoration/imperial_japan.htm |title=Japan: The Making of a World Superpower (Imperial Japan) |author=Jesse Arnold | publisher = vt.edu/users/jearnol2 | accessdate=2007-03-27}}</ref>
 
[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่าย[[ไตรภาคี]] ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีก ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยการครอบครอง[[แมนจูเรีย]]ใน พ.ศ. 2474 และเมื่อถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา<ref>{{cite web|url=http://www.drc-jpn.org/AR-6E/sugiyama-e02.htm|title=Fundamental Issues underlying US-Japan Alliance: 2. Lytton Report and Anglo-Russo-Americana (ARA) Secret Treaty|publisher=Defense Research Center|author=Katsumi Sugiyama}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามใน[[สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล]]กับ[[นาซีเยอรมนี]] และเข้าร่วมกับ[[ฝ่ายอักษะ]]ในปี 1941<ref>{{cite web |url= http://www.friesian.com/pearl.htm |title= The Pearl Harbor Strike Force |author= Kelley L. Ross | publisher = friesian.com |accessdate=2007-03-27}}</ref>
[[ไฟล์:Nagasakibomb.jpg|thumb|right|[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ|ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนะงะซะกิ]]ในวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]]]
ในยุค[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ [[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]) ในวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2484]] โดย[[การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์|การโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล]] และการยาตราทัพเข้ามายัง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและ[[เนเธอร์แลนด์]] ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจาก[[ยุทธนาวีแห่งมิดเวย์]] ([[พ.ศ. 2485]]) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]โดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ[[ระเบิดปรมาณู]]ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่[[เมืองฮิโรชิมา]]และ[[นะงะซะกิ]] (ในวันที่ [[6 สิงหาคม|6]] และ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ตามลำดับ) และ[[ปฏิบัติการพายุสิงหาคม|การรุกรานของสหภาพโซเวียต]] (วันที่ [[8 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ [[15 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน<ref>{{cite web |url=http://library.educationworld.net/txt15/surrend1.html |title=Japanese Instrument of Surrender |publisher=educationworld.net |accessdate=2008-11-22}}</ref> สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่ง[[พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์]]เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ
 
ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระ การควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามใน[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]ใน พ.ศ. 2499<ref>{{cite web|url=http://www.taiwandocuments.org/sanfrancisco01.htm|title=San Francisco Peace Treaty|publisher=Taiwan Document Project|accessdate=2008-11-22}}</ref> และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิก[[สหประชาชาติ]]ในปี 1956(พ.ศ. 2499)<ref>{{cite web|url=http://www.un.org/News/Press/docs/2006/org1469.doc.htm|title=United Nations Member States|publisher=[[สหประชาชาติ]]|accessdate=2008-11-22}}</ref> หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่การเติบโตก็หยุดในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังฟองสบู่แตก<ref name="webeco">{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/ECONOMY.pdf|title=Japan Fact Sheet: Economy|publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-22}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> เศรษฐกิจที่ถดถอยต่อเนื่องยาวนานกว่าสิบปีมีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 26<ref>{{cite web|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/business/5178822.stm|title=Japan scraps zero interest rates |publisher=BBC News|date=2006-07-14|accessdate=2008-11-22}}</ref> แต่กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิด[[วิกฤติทางการเงิน (พ.ศ. 2551)|วิกฤติทางการเงิน]]ใน พ.ศ. 2551<ref name="recess"/>
 
== การเมืองการปกครอง ==
{{การเมืองการปกครองญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:Emperor Akihito and empress Michiko of japan.jpg|thumb|150px|left|[[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]และ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ]]]]
 
ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็น[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] และมีรูปแบบการปกครองเป็น[[ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา]] องค์จักรพรรดิไม่ทรงปกครองประเทศ พระองค์มีพระราชอำนาจเท่าที่[[รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น]]ให้ไว้ องค์จักรพรรดิมิได้ทรงเป็น[[ประมุขแห่งรัฐ]] แต่ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำในทางพิธีการ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน"<ref name=constitution>[http://www.sangiin.go.jp/eng/law/index.htm รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น]{{dead link|date=May 2017}} ราชมนตรีแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น (1946-11-03) </ref>องค์จักรพรรดิพระองค์ปัจจุบัน คือ [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]] ส่วนรัชทายาทคือ [[เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น]]
 
อำนาจการปกครองส่วนใหญ่นั้นตกอยู่แก่[[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]] และสมาชิกคนอื่น ๆ ใน[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ส่วน[[อำนาจอธิปไตย]]นั้นเป็นของ[[ชาวญี่ปุ่น|ปวงชนชาวญี่ปุ่น]]<ref name=constitution/>
 
[[ไฟล์:Diet of Japan Kokkai 2009.jpg|thumb|right|อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ซึ่งใช้ระบบ[[ระบบสองสภา]] ประกอบด้วย ''สภาผู้แทนราษฎร'' ({{nhg2|衆議院|ชุงิ-อิง}}) เป็น[[สภาล่าง]] มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ ''[[ราชมนตรีสภา]]'' ({{nhg2|参議院|ซังงีง}}) เป็น[[สภาสูง]] มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป<ref>[http://www.th.emb-japan.go.jp/th/japan/explorejp/page20-24.pdf สำรวจญี่ปุ่น: รัฐบาล] สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย</ref> [[พรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)|พรรคเสรีประชาธิปไตย]]เป็น[[พรรครัฐบาล]]มาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน [[พ.ศ. 2498]]<ref> ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน [[พ.ศ. 2536]] ที่เกิด[[รัฐบาลผสม]]ของพรรคฝ่ายค้าน {{cite web |url=http://www.jimin.jp/jimin/english/history/index.html |title=A History of the Liberal Democratic Party |publisher=พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น|accessdate=2007-03-27}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> จนในปี [[พ.ศ. 2552]] [[พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น]]ชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี<ref>{{cite web |url=http://www.businessweek.com/globalbiz/blog/eyeonasia/archives/2009/08/historic_victor.html|title=Historic victory for DPJ in Japan's election|author=Ian Rowley|publisher=Business Week|accessdate=2009-09-26}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
สำหรับอำนาจบริหารนั้น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเลือกสมาชิกด้วยกันมาหนึ่งคนให้เป็น[[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]] แล้วองค์จักรพรรดิจึงทรงลงพระนามาภิไธยรับรองการแต่งตั้งนั้น ส่วนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้ง[[รัฐมนตรี]]และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย[[ชินโซ อะเบะ]]
 
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จาก[[กฎหมายของจีน]] และมีพัฒนาการเฉพาะตัวใน[[ยุคเอะโดะ]]ผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น [[ประชุมราชนีติ]] ({{nhg2|公事方御定書|Kujikata Osadamegaki}}) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้น[[พุทธศตวรรษ 2400]] เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้[[ระบบซีวิลลอว์]]ของยุโรป โดยเฉพาะของ[[ฝรั่งเศส]]และ[[เยอรมนี]] เป็นต้นแบบ เช่น ใน [[พ.ศ. 2439]] รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้[[ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น|ประมวลกฎหมายแพ่ง]] ({{nhg2|民法|Minpō}}) โดยมี[[ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน]]เป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] จนปัจจุบัน<ref name="civilcode">{{cite web |url=http://www.britannica.com/eb/article-9043364?hook=6804 |title="Japanese Civil Code" |publisher=Encyclopædia Britannica |year=2006 |accessdate=2006-12-28}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ ({{nhg2|憲法|Kenpō}}) ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก[[ประมวลกฎหมายทั้งหก]] ({{nhg2|六法|Roppō}}) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ บรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา องค์จักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรในประกาศด้วย ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้ว องค์จักรพรรดิไม่มี[[อำนาจยับยั้ง|พระราชอำนาจในการยับยั้ง]]กฎหมาย
 
[[ไฟล์:Saikosai thumb.jpg|thumb|right|อาคารศาลสูงสุดของญี่ปุ่น]]
ศาลญี่ปุ่น นั้นมีระบบเดียว คือ ศาลยุติธรรม แบ่งเป็นสามชั้นจากสูงลงต่ำ ดังนี้
# [[ศาลสูงสุดแห่งญี่ปุ่น|ศาลสูงสุด]] (ศาลฎีกา)
# ศาลสูง (ศาลอุทธรณ์)
# ศาลชั้นต้น
* 3.1 ศาลจังหวัด
* 3.2 ศาลแขวง
* 3.3 ศาลครอบครัว
 
== นโยบายต่างประเทศและการทหาร ==
{{บทความหลัก|กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น|กองทัพบกญี่ปุ่น|กองทัพอากาศญี่ปุ่น|กองทัพเรือญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:Fukuda meets Bush 16 November 2007.jpg|250px|thumb|left|นายกรัฐมนตรี [[ยะซุโอะ ฟุกุดะ]] พบกับประธานาธิบดี [[จอร์จ ดับเบิลยู. บุช]] พ.ศ. 2550]]
ญี่ปุ่นรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางทหารกับ[[สหรัฐอเมริกา]]ซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก โดยมี[[ความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น]]เป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศ<ref>{{cite web |url=http://www.realclearpolitics.com/articles/2007/03/japan_is_back_why_tokyos_new_a.html |title=Japan Is Back: Why Tokyo's New Assertiveness Is Good for Washington| author=Michael Green |publisher=Real Clear Politics | accessdate=2007-03-28}}</ref> ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของ[[สหประชาชาติ]]ตั้งแต่ปี 1956 ได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของ[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] รวม 9 ครั้ง<ref name="fpolicy">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/policy/index.htm|title=ญี่ปุ่น: เส้นทาง 60 ปี ในฐานะประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-15}}</ref> (ล่าสุดเมื่อปี 2005-2006) <ref>[http://www.thegreenpapers.com/ww/UNSecurityCouncil.phtml The United Nations Security Council] The Green Papers Worldwide</ref> และยังเป็นหนึ่งในกลุ่ม [[G4]] ซึ่งมุ่งหวังจะเข้าเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของ [[จี 8]]และ[[เอเปค]] มีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั่วโลก<ref name=fpolicy/><ref>{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/policy/policy2008.htm|title=นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในปีค.ศ. 2008 |publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย|date=2007-08|accessdate=2008-11-15}}</ref> นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) รายใหญ่ของโลก โดยบริจาค 7.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007<ref>{{cite web |url=http://www.oecd.org/dataoecd/27/55/40381862.pdf|title=Net Official Development Assistance in 2007|publisher=[[OECD]]| accessdate=2008-11-15}}</ref> จากการสำรวจของ[[บีบีซี]]พบว่านอกจากประเทศจีนและเกาหลีใต้แล้ว ประเทศส่วนใหญ่มองอิทธิพลของญี่ปุ่นที่มีต่อโลกในเชิงบวก<ref>{{cite web |url=http://news.bbc.co.uk/2/shared/bsp/hi/pdfs/06_03_07_perceptions.pdf|title=Poll: Israel and Iran Share Most Negative Ratings in Global Poll|publisher=BBC World Service|date=2007-03-06| accessdate=2008-11-15}}</ref>
 
ญี่ปุ่นมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิทธิในดินแดนต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กับ[[รัสเซีย]]เรื่อง[[เกาะคูริล]] กับ[[เกาหลีใต้]]เรื่อง[[หินลีอังคอร์ท]] (หรือ''ทะเกะชิมะ'' ในภาษาญี่ปุ่น) กับ[[จีน]]และ[[ไต้หวัน]]เรื่อง[[หมู่เกาะเซ็งกะกุ]]<ref>{{cite web |url=http://apecthai.org/2008/th/political.php?intertradeid=26|title=จีน-ญี่ปุ่น ผลประโยชน์ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใด |publisher=International Cooperation Study Center, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์| accessdate=2008-11-15}}</ref> กับจีนเรื่อง[[เขตเศรษฐกิจจำเพาะ]]รอบ ๆ [[โอะกิโนะโทะริชิมะ]]<ref>{{cite web |url=http://www.asiaquarterly.com/content/view/29/40/|title=Okinotorishima: Just the Tip of the Iceberg |publisher=Harvard Asia Quarterly|date=2005| accessdate=2008-11-15}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหากับ[[เกาหลีเหนือ]]กรณีการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเกาะคูริล ในทางกฎหมายแล้วญี่ปุ่นยังคงทำสงครามอยู่กับรัสเซีย เพราะไม่เคยมีการลงนามในข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้<ref>{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/rs.html#Issues|title=The World Factbook - Russia: Transnational Issues|publisher=CIA|accessdate=2008-11-15}}</ref>
 
[[มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น]]ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2489) บัญญัติว่า
 
{{คำพูด|1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ<br />2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่น ๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม}}
 
สำหรับกองทัพญี่ปุ่นนั้นจะเรียกว่า[[กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น]]ขึ้นอยู่กับ[[กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น|กระทรวงกลาโหม]] ประกอบด้วย[[กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น|กองกำลังป้องกันตนเองทางบก]] [[กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น|กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล]] และ [[กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น|กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ]] กองกำลังของญี่ปุ่นถูกส่งไปเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศอิรักใน พ.ศ. 2547-2549 ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติการของกองทัพในต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2<ref name="iht">{{cite web |url=http://www.iht.com/articles/2006/06/20/news/japan.php|title=Tokyo says it will bring troops home from Iraq|publisher=International Herald Tribune|date=2006-06-20|accessdate=2008-11-15}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> อย่างไรก็ตาม การส่งกองกำลังไปยังอิรักนี้ถูกต่อต้านจากประชาชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก<ref>{{cite web |url=http://www.asahi.com/column/hayano/eng/TKY200412170133.html|title=Self-serving utilization of opinion poll data|publisher=Asahi.com|date=2004-12-17| accessdate=2008-11-22}}</ref>
 
=== ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ===
{{บทความหลัก|ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น}}
ประเทศญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์มายาวนานกว่า 600 ปี ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430<ref name="emb">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/index.htm|title=ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-15}}</ref> ความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศเติบโตขึ้นจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นในพุทธทศวรรษที่ 2520) การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยนับเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน) <ref name="econ">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/economic.htm|title=เศรษฐกิจ|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-16}}</ref> และทำให้มีชาวญี่ปุ่นมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก<ref>ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างแดนมากเป็นอันดับ 7 ของโลก{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/jis/publ/pub3_49/pub9.htm|title=จำนวนประชากรชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย |publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย| accessdate=2008-11-16}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย<ref name=econ/> ทั้งสองประเทศมีการทำข้อตกลงทวิภาคีหลายข้อ เช่นข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยี (JTPP: Japan- Thailand Partnership Programme in Technical Cooperation) การจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA:Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) <ref>{{cite web |url=http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=133|title=ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น|publisher=กระทรวงการต่างประเทศ| accessdate=2008-11-16}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> เป็นต้น จากการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศที่จัดทำในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น พบว่าคนไทยร้อยละ 98 เห็นว่าญี่ปุ่นคือมิตรประเทศ<ref name=emb/>
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
ญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 [[จังหวัด]]<ref>คำว่าจังหวัดในภาษาญี่ปุ่นมี 4 แบบ คือ โทะ (都) ใช้เฉพาะโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวง, โด (道) เฉพาะฮกไกโด, ฟุ (府) ใช้กับเคียวโตะและโอซะกะซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงในอดีต และเค็ง (県) ใช้กับจังหวัดอื่น ๆ เมื่อพูดถึงจังหวัดรวม ๆ จะใช้ว่า โทะโดฟุเก็ง (都道府県) </ref> และ แบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร
 
ในแต่ละจังหวัดมีมีการแบ่งเขาการปกครองออกเป็นเทศบาลย่อยๆ <ref>ซึ่งเทศบาลมีหลายระดับ ตั้งแต่ กุ(区 ชิ (市) โช (町) และมุระหรือซน (村) ซึ่งเรียกรวมกันว่า[[ชิโจซง]]</ref> แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเทศบาลลงได้<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/np20020126a8.html|title=City-merger talks on increase|publisher=The Japan Times|date=2002-01-26|accessdate=2008-11-15}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> การรวมเขตเทศบาลนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เทศบาลใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เทศบาลใน พ.ศ. 2553<ref>{{cite web|url=http://www.soumu.go.jp/gapei|title=合併相談コーナー|publisher=Ministry of Internal Affairs and Communications|accessdate=2008-11-16}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป
 
{| border="0" cellpadding="3px" cellspacing="2px" style="background:#fff; width:60%; margin:auto;"
|- style="text-align:center; background:lightcoral;"
! style="width:25%;"| ''' [[ฮกไกโด]]'''
! style="width:25%;"| '''[[โทโฮะกุ]]'''
! style="width:25%;"| '''[[คันโต]]'''
! style="width:25%;"| '''[[ชูบุ]]'''
|- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;"
|
1.&nbsp; [[จังหวัดฮกไกโด|ฮอกไกโด]] <br />
|
2.&nbsp; [[จังหวัดอะโอะโมะริ|อาโอโมริ]]<br />
3.&nbsp; [[จังหวัดอิวะเตะ|อิวะเตะ]] <br />
4.&nbsp; [[จังหวัดมิยะงิ|มิยะงิ]]<br />
5.&nbsp; [[จังหวัดอะกิตะ|อะกิตะ]] <br />
6.&nbsp; [[จังหวัดยะมะงะตะ|ยะมะงะตะ]] <br />
7.&nbsp; [[จังหวัดฟุกุชิมะ|ฟุกุชิมะ]] <br />
|
8.&nbsp; [[จังหวัดอิบะระกิ|อิบะระกิ]] <br />
9.&nbsp; [[จังหวัดโทะชิงิ|โทะชิงิ]] <br />
10.&nbsp; [[จังหวัดกุมมะ|กุมมะ]] <br />
11.&nbsp; [[จังหวัดไซตะมะ|ไซตามะ]] <br />
12.&nbsp; [[จังหวัดชิบะ|ชิบะ]]<br />
13.&nbsp; [[จังหวัดโตเกียว|โตเกียว]] <br />
14.&nbsp; [[จังหวัดคะนะงะวะ|คะนะงะวะ]] <br />
|
15.&nbsp; [[จังหวัดนีงะตะ|นีงะตะ]] <br />
16.&nbsp; [[จังหวัดโทะยะมะ|โทะยะมะ]] <br />
17.&nbsp; [[จังหวัดอิชิกะวะ|อิชิกะวะ]] <br />
18.&nbsp; [[จังหวัดฟุกุอิ|ฟุกุอิ]] <br />
19.&nbsp; [[จังหวัดยะมะนะชิ|ยะมะนะชิ]] <br />
20.&nbsp; [[จังหวัดนะงะโนะ|นะงะโนะ]] <br />
21.&nbsp; [[จังหวัดกิฟุ|กิฟุ]] <br />
22.&nbsp; [[จังหวัดชิซึโอะกะ|ชิซุโอะกะ]] <br />
23.&nbsp; [[จังหวัดไอจิ|ไอจิ]] <br />
 
|- style="text-align:center; background:lightcoral;"
! style="width:25%;"| '''[[คันไซ]]
! style="width:25%;"| '''[[ชูโงะกุ]]'''
! style="width:25%;"| '''[[ชิโกะกุ]]'''
! style="width:25%;"| '''[[คีวชู]] และ [[โอะกินะวะ]]'''
|- style="text-align:left; vertical-align:top; background:Lavenderblush; font-size:92%;"
|
24.&nbsp; [[จังหวัดมิเอะ|มิเอะ]] <br />
25.&nbsp; [[จังหวัดชิงะ|ชิงะ]] <br />
26.&nbsp; [[จังหวัดเคียวโตะ|เคียวโตะ]] <br />
27.&nbsp; [[จังหวัดโอซะกะ|โอซะกะ]] <br />
28.&nbsp; [[จังหวัดเฮียวโงะ|เฮียวโงะ]] <br />
29.&nbsp; [[จังหวัดนะระ|นะระ]] <br />
30.&nbsp; [[จังหวัดวะกะยะมะ|วะกะยะมะ]] <br />
|
31.&nbsp; [[จังหวัดทตโตะริ|ทตโตะริ]] <br />
32.&nbsp; [[จังหวัดชิมะเนะ|ชิมะเนะ]] <br />
33.&nbsp; [[จังหวัดโอะกะยะมะ|โอะกะยะมะ]] <br />
34.&nbsp; [[จังหวัดฮิโระชิมะ|ฮิโระชิมะ]] <br />
35.&nbsp; [[จังหวัดยะมะงุชิ|ยะมะงุชิ]] <br />
|
36.&nbsp; [[จังหวัดโทะกุชิมะ|โทะกุชิมะ]] <br />
37.&nbsp; [[จังหวัดคะงะวะ|คะงะวะ]] <br />
38.&nbsp; [[จังหวัดเอะฮิเมะ|เอะฮิเมะ]] <br />
39.&nbsp; [[จังหวัดโคจิ|โคจิ]] <br />
|
40.&nbsp; [[จังหวัดฟุกุโอะกะ|ฟุกุโอะกะ]]<br />
41.&nbsp; [[จังหวัดซะงะ|ซะงะ]]<br />
42.&nbsp; [[จังหวัดนะงะซะกิ|นะงะซะกิ]] <br />
43.&nbsp; [[จังหวัดคุมะโมะโตะ|คุมะโมะโตะ]] <br />
44.&nbsp; [[จังหวัดโออิตะ|โออิตะ]] <br />
45.&nbsp; [[จังหวัดมิยะซะกิ|มิยะซะกิ]] <br />
46.&nbsp; [[จังหวัดคะโงะชิมะ|คะโงะชิมะ]] <br />
47.&nbsp; [[จังหวัดโอะกินะวะ|โอะกินะวะ]] <br />
|}
 
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Satellite image of Japan in May 2003.jpg|thumb|แผนที่ประเทศญี่ปุ่น]]
[[ไฟล์:Japan topo en.jpg|thumb|แผนที่ประเทศญี่ปุ่นแสดงป่าไม้และเทือกเขา]]
 
ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นหมู่เกาะซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3,000 เกาะวางตัวอยู่ใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ทางตะวันออกของทวีปเอเชีย เกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้ได้แก่[[ฮกไกโด]] [[ฮนชู]] [[ชิโกกุ]] และ[[คีวชู]] นอกจากนี้ยังมี[[หมู่เกาะริวกิว]]ทางตอนใต้ของเกาะคีวชู ซึ่งเกาะทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่า[[หมู่เกาะญี่ปุ่น]] ญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยทะเลทุกด้าน ได้แก่[[ทะเลโอค็อตสค์]]ทางเหนือ [[ทะเลญี่ปุ่น]]ทางตะวันตก [[ทะเลจีนตะวันออก]]ทางตะวันตกเฉียงใต้ [[ทะเลฟิลิปปินส์]]ทางใต้ และ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ทางตะวันออก พื้นที่ประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขา<ref>{{cite web |url=http://www.worldinfozone.com/country.php?country=Japan |title=Japan Information—Page 1 |publisher=WorldInfoZone.com |accessdate=2006-12-28}}</ref> ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการเพาะปลูกได้ เพราะมีลักษณะสูงชันและมีโอกาสที่จะเกิดดินถล่มจากแผ่นดินไหวหรือฝนที่ตกหนัก ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอย่างหนาแน่น และทำให้เมืองสำคัญในญี่ปุ่นมีประชากรหนาแน่นมาก<ref>{{cite web |url=http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c02cont.htm#cha2_6|title=Chapter 2 Population: Population Density and Regional Distribution|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> ใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีป่าไม้ร้อยละ 66.4 พื้นที่ทางการเกษตรร้อยละ 12.6 อาคารร้อยละ 4.9 พื้นน้ำร้อยละ 3.5 ถนนร้อยละ 3.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 9<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c01cont.htm#cha1_1|title=Chapter 1 Land and Climate: Land|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ใน[[วงแหวนแห่งไฟ]] บริเวณรอยต่อระหว่าง[[แผ่นเปลือกโลก]] 3 แผ่น<ref>[http://www.seinan-gu.ac.jp/~djohnson/natural/plates.html Tectonic Plates]{{dead link|date=May 2017}}</ref> ทำให้เกิด[[แผ่นดินไหว]]ความรุนแรงต่ำบ่อย ๆ <ref>[http://www.seisvol.kishou.go.jp/eq/higai/higai1996-new.html 日本付近で発生した主な被害地震(平成8年~平成20年5月)] Japan Meteorological Agency{{ja icon}}</ref> และยังมีแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหลายครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา<ref>[http://www.seisvol.kishou.go.jp/eq/higai/higai-1995.html 過去の地震災害(1995年以前)] Japan Meteorological Agency{{ja icon}}</ref> เช่นเหตุการณ์[[แผ่นดินไหวในชูเอะสึ พ.ศ. 2547]] และ [[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554]] เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ยังทำให้ญี่ปุ่นมีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว<ref>[http://www.jnto.go.jp/eng/arrange/attractions/hotSprings.html Attractions: Hot Springs]{{dead link|date=May 2017}} Japan National Tourist Organization</ref> [[ภูเขาฟูจิ]]ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นก็เป็นภูเขาไฟ
 
หมู่เกาะญี่ปุ่นวางตัวยาวในแนวเหนือใต้ จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ประเทศญี่ปุ่นสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 6 เขต คือ
* [[ฮกไกโด]]: พื้นที่ตอนเหนือสุดของประเทศมีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้จะมี[[หยาดน้ำฟ้า]]ไม่มาก แต่ในฤดูหนาวก็มีหิมะปกคลุมทั่วทั้งเกาะ
* [[ทะเลญี่ปุ่น]]: ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของเกาะฮนชู ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดผ่านในช่วงฤดูหนาวทำให้มีหิมะตกมาก ในช่วงฤดูร้อนอากาศมักจะเย็นกว่าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าบางครั้งจะเกิด[[ปรากฏการณ์เฟห์น]]ที่ทำให้อากาศร้อนมากผิดปกติ<ref> {{cite web |url=http://www.osaka-jma.go.jp/matue/column/phenomena/foehn.html|title=Foehn phenomenon|publisher=Matsue Local Meteorological Observatory|accessdate=2008-11-02}}{{ja icon}}</ref>
* [[ชูบุ|ที่สูงตอนกลาง]]: อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวและระหว่างกลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างมาก
* [[ทะเลเซะโตะ]]: ภูเขาบริเวณ[[ชูโงะกุ]]และ[[ชิโกะกุ]]ช่วยป้องกันบริเวณทะเลเซะโตะจากลมฤดูต่าง ๆ ทำให้บริเวณนี้มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกน้อยตลอดทั้งปี<ref> {{cite web |url=http://www.env.go.jp/park/setonaikai/intro/outline.html|title=瀬戸内海国立公園:自然環境の概要|publisher=Ministry of the Environment|accessdate=2008-11-04}}{{ja icon}}</ref>
* [[มหาสมุทรแปซิฟิก|ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก]]: ตั้งอยู่ชายฝั่งมหาสมุทรทางตะวันออกของประเทศ ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวเย็นแต่ไม่ค่อยมีหิมะตก ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและชื้นเพราะลมตะวันออกเฉียงใต้
* [[หมู่เกาะริวกิว|หมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้]]: หมู่เกาะริวกิวมีอุณหภูมิกึ่งเขตร้อน คืออากาศอุ่นในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อน มีฝนตกมากและมี[[ไต้ฝุ่น]]ผ่านมาในช่วงเปลี่ยนฤดู
 
ฤดูฝนหลักเริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนพฤษภาคมที่[[โอกินาวา|โอะกินะวะ]] และจึงค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปจนถึงฮกไกโดในปลายเดือน[[กรกฎาคม]] บนเกาะฮนชูฤดูฝนจะเริ่มในกลางเดือนของเดือนมิถุนายน มีระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง และในช่วงปลาย[[ฤดูร้อน]]จนถึงต้น[[ฤดูใบไม้ร่วง]]มักมี[[ไต้ฝุ่น]]พัดผ่าน โดยเฉลี่ยจะมีไต้ฝุ่นพัดเข้าใกล้ญี่ปุ่นปีละ 11 ลูก<ref>[http://www.jma.go.jp/jma/kishou/know/typhoon/1-4.html 台風の発生数、接近数、上陸数、経路] Japan Meteorological Agency{{ja icon}}</ref>
 
== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Tokyo stock exchange.jpg|thumb|left|[[ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว]] เป็น[[ตลาดหลักทรัพย์]]ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก]]
 
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง<ref>[http://books.google.com/books?id=5aEKtvs0WHAC&pg=PA3&as_brr=3&hl=ja&source=gbs_toc_r&cad=0_0#PPA3, M1 The Japanese Economy] Takahashi Ito, pp 3-4.</ref> ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ<ref>{{cite web |url=http://www.country-data.com/cgi-bin/query/r-7176.html |title=Japan: Patterns of Development |publisher=country-data.com |month=January | year=1994 |accessdate=2006-12-28}}</ref> โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหา[[ค่าเงินเยนแข็งตัว]]จนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิด[[ยุคฟองสบู่ในญี่ปุ่น|ฟองสบู่แตก]]ต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของ[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม|เศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543]] <ref name="ciaecon">{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html#Econ |title=World Factbook; Japan—Economy |publisher=CIA |date=2006-12-19 | accessdate=2006-12-28}}</ref> สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิด[[วิกฤติทางการเงิน (พ.ศ. 2551)|วิกฤติทางการเงิน]]ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก<ref name="recess">{{cite news|url=http://business.timesonline.co.uk/tol/business/economics/article4521121.ece|title=Japan heads towards recession as GDP shrinks|publisher=The Times|date=2008-08-13|accessdate=2008-08-17}}</ref><ref >{{cite web |url=http://www.economist.com/finance/displaystory.cfm?story_id=12522884|title=That sinking feeling|publisher=The Economist|date=2008-10-30|accessdate=2008-11-1}}</ref> แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น<ref >{{cite web |url=http://www.nytimes.com/2008/09/20/business/worldbusiness/20yen.html|title=In Japan, Financial Crisis Is Just a Ripple |publisher=The New York Times|date=2008-09-19|accessdate=2008-11-22}}</ref> แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว<ref >{{cite web |url=http://edition.cnn.com/2009/WORLD/asiapcf/02/16/japan.economy/index.html|title=Japan's economy 'worst since end of WWII'|publisher=CNN|date=2009-02-16|accessdate=2009-02-16}}</ref>
 
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก<ref name="imf">{{cite web |url=http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2006/02/data/weorept.aspx?sy=2005&ey=2005&scsm=1&ssd=1&sort=country&ds=.&br=1&c=512%2C446%2C914%2C666%2C612%2C668%2C614%2C672%2C311%2C946%2C213%2C137%2C911%2C962%2C193%2C674%2C122%2C676%2C912%2C548%2C313%2C556%2C419%2C678%2C513%2C181%2C316%2C682%2C913%2C684%2C124%2C273%2C339%2C921%2C638%2C948%2C514%2C686%2C218%2C688%2C963%2C518%2C616%2C728%2C223%2C558%2C516%2C138%2C918%2C353%2C748%2C196%2C618%2C278%2C522%2C692%2C622%2C694%2C156%2C142%2C624%2C449%2C626%2C564%2C628%2C283%2C228%2C853%2C924%2C288%2C233%2C293%2C632%2C566%2C636%2C964%2C634%2C182%2C238%2C453%2C662%2C968%2C960%2C922%2C423%2C714%2C935%2C862%2C128%2C716%2C611%2C456%2C321%2C722%2C243%2C965%2C248%2C718%2C469%2C724%2C253%2C576%2C642%2C936%2C643%2C961%2C939%2C813%2C644%2C199%2C819%2C184%2C172%2C524%2C132%2C361%2C646%2C362%2C648%2C364%2C915%2C732%2C134%2C366%2C652%2C734%2C174%2C144%2C328%2C146%2C258%2C463%2C656%2C528%2C654%2C923%2C336%2C738%2C263%2C578%2C268%2C537%2C532%2C742%2C944%2C866%2C176%2C369%2C534%2C744%2C536%2C186%2C429%2C925%2C178%2C746%2C436%2C926%2C136%2C466%2C343%2C112%2C158%2C111%2C439%2C298%2C916%2C927%2C664%2C846%2C826%2C299%2C542%2C582%2C443%2C474%2C917%2C754%2C544%2C698%2C941&s=NGDPD&grp=0&a=&pr1.x=64&pr1.y=9 |title=World Economic Outlook Database; country comparisons |publisher=[[ไอเอ็มเอฟ]] |date=2006-09-01 |accessdate=2007-03-14}}</ref> รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) <ref name="imf"/> และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วย[[ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ|อำนาจการซื้อ]]<ref>{{cite web |url=http://www.nationmaster.com/graph/eco_gdp_ppp-economy-gdp-ppp |title=NationMaster; Economy Statistics |publisher=NationMaster |accessdate=2007-03-26}}</ref> ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น [[รถยนต์]] [[อิเล็กทรอนิกส์|อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์]] เครื่องจักร [[เหล็กกล้า]] [[โลหะนอกกลุ่มเหล็ก]] เรือ สารเคมี<ref>[http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c06cont.htm Chapter 6 Manufacturing and Construction]{{dead link|date=May 2017}}, Statistical Handbook of Japan, Ministry of Internal Affairs and Communications</ref>
 
จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน<ref name="roudou">{{cite web |url=http://www.stat.go.jp/data/roudou/sokuhou/nen/ft/pdf/index.pdf|title=労働力調査(速報)平成19年平均結果の概要|publisher=Statistic Bureau|accessdate=2008-11-01}}</ref> ญี่ปุ่นมี[[อัตราว่างงาน]]ที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4<ref name="roudou"/> ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย<ref>[http://www.conference-board.org/economics/database.cfm Summary Statistics] Groningen Growth and Development Centre, Sep 2008</ref> บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น[[โตโยต้า]] [[โซนี่]] [[เอ็นทีที โดโคโม]] [[แคนนอน]] [[ฮอนด้า]] [[ทาเคดา]] [[นินเทนโด]] [[นิปปอน สตีล]] และ [[เซเว่น อีเลฟเว่น]] ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง<ref>[http://www.forbes.com/lists/results.jhtml?bktDisplayField=stringfield3&bktDisplayFieldLength=3&passListId=18&passYear=2005&passListType=Company&searchParameter1=unset&searchParameter2=unset&resultsStart=1&resultsHowMany=100&resultsSortProperties=%2Bstringfield3%2C%2Bnumberfield1&resultsSortCategoryName=category&passKeyword=&category1=category&category2=category&fromColumnClick=true]{{dead link|date=May 2017}} Forbes Global 2000 Retrieved on 2008-11-02</ref> [[ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว]]ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะ[[ดัชนีนิเคอิ]]มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วย[[มูลค่าตลาด]]<ref>[http://www.nyse.com/events/1170156816059.html Market data.] New York Stock Exchange (2006-01-31). Retrieved on 2007-08-11.</ref>
 
ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่น[[เคเระสึ]]หรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ [[การจ้างงานตลอดชีวิต]]และการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน<ref >{{cite web|url=http://www.economist.com/business/displaystory.cfm?story_id=12564050|title=Criss-crossed capitalism |publisher=The Economist|date=2008-11-06|accessdate=2008-11-17}}</ref> ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท<ref name="shareholder">{{cite web |url=http://www.economist.com/business/displaystory.cfm?story_id=9414552|title=In the locust position|publisher=The Economist|date=2007-06-28|accessdate=2008-11-02}}</ref> แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้<ref>{{cite web |url=http://www.economist.com/specialreports/displayStory.cfm?story_id=10169956|title=Going hybrid|publisher=The Economist|date=2007-11-29|accessdate=2008-11-02}}</ref><ref name="shareholder"/>
 
ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6<ref>{{cite web |url=http://www.maff.go.jp/toukei/abstract/2_1/69a.htm|title=Total area and cultivated land area|publisher=Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries|accessdate=2008-11-07}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6<ref>{{cite web |url=http://www.maff.go.jp/toukei/abstract/2_1/69c.htm|title=Total population and agricultural population|publisher=Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries|accessdate=2008-11-07}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ<ref>{{cite web|last=農林水産省国際部国際政策課|title=農林水産物輸出入概況(2005)|date=2006-05-23|url=http://www.maff.go.jp/toukei/sokuhou/data/yusyutugai2005/yusyutugai2005.pdf|format=PDF|accessdate=2007-09-13}}{{dead link|date=May 2017}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.maff.go.jp/toukei/abstract/2_5/76.htm|title=Self-sufficiency ratio of food by commodities (Preliminary)|publisher=Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries|accessdate=2008-11-07}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น
 
== โครงสร้างพื้นฐาน ==
[[ไฟล์:Ikata Nuclear Powerplant.JPG|thumb|right|[[โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิกะตะ]]]]
[[ไฟล์:JR_Central_Shinkansen_700.jpg|thumb|left|รถไฟ[[ชิงกันเซ็ง]]หรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่น]]
''ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่[[การคมนาคมในประเทศญี่ปุ่น]]''
 
ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจาก[[ปิโตรเลียม]] ร้อยละ 20 จาก[[ถ่านหิน]] ร้อยละ 14 จาก[[ก๊าซธรรมชาติ]]<ref name=energy>[http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c07cont.htm Chapter 7 Energy]{{dead link|date=May 2017}}, Statistical Handbook of Japan 2007</ref> การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด<ref name=energy/> แต่หลังจากเกิดเหตุ[[อุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ]] รัฐบาลญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในทศวรรษที่ 2570<ref>{{cite web|url=http://www.reuters.com/article/2012/09/14/us-japan-nuclear-idUSBRE88D05520120914|title=Japan aims to abandon nuclear power by 2030s|publisher=Reuters|date=2012-09-14|accessdate=2012-09-21}}</ref>
 
ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่น[[กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น]] รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน [[ชินกันเซ็น|รถไฟชินกันเซ็น]]ซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา<ref>จนเป็นต้นเหตุสำคัญของอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่จังหวัดเฮียวโงะใน พ.ศ. 2548 [http://news.bbc.co.uk/2/hi/talking_point/4481721.stm Japan's train crash: Your reaction] BBC News 2005-05-02</ref> ทางรถไฟญี่ปุ่น ระยะทางรวมทั้งสิ้น23,474 กิโลเมตรแบ่งเป็น ราง 1.435 เมตร สำหรับวิ่งรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟใต้ดินหลายเมือง ระยะทาง 2,664 กม รางรถไฟ 1.067 เมตร สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟทางใกล ระยะทาง 22,445 กม.
ทางด่วนแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่นมีระยะทางทั้งสิ้น 11,520 กิโลเมตร
การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมี[[รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศญี่ปุ่น|สนามบิน]] 173 แห่งทั่วประเทศ [[สนามบินฮาเนดะ]]ที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่[[อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร|หนาแน่นที่สุดในเอเชีย]]<ref>{{cite web|url=http://www.airports.org/cda/aci_common/display/main/aci_content07_c.jsp?zn=aci&cp=1-5-212-218-222_666_2__|title=Year to date Passenger Traffic|publisher=Airports Council International|date=2008-08}}</ref> สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่[[สนามบินนาริตะ]] [[สนามบินคันไซ]] และ[[สนามบินนานาชาตินาโงยา]] แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง<ref>{{cite web|url=http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9500E3DC1031F932A35750C0A961958260|title=Japan's Road to Deep Deficit Is Paved With Public Works|publisher=The New York Times|date=1997-03-01|accessdate=2008-11-23}}</ref> สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ<ref>{{cite web|url=http://www.fukuoka-now.com/jp/news/show/1860|title=Outlook Bleak for Saga Airport Profitability|publisher=Fukuoka Now|date=2008-07-31|accessdate=2008-11-23}}</ref>
 
== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ==
[[ไฟล์:Honda ASIMO Walking Stairs.JPG|thumb|right|หุ่นยนต์[[อาซิโม]]ของ[[ฮอนด้า]]]]
[[ไฟล์:Kibo PM and ELM-PS.jpg|thumb|left|[[โมดูลห้องทดลองของญี่ปุ่น|โมดูลคิโบ]]ของ[[องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น]]]]
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก<ref name=techno>[http://www.oecd.org/dataoecd/17/62/41559228.pdf Science and Innovation: Country Notes, Japan] OECD Science, Technology and Industry Outlook 2008, [[OECD]]</ref> ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอ[[สิทธิบัตร]]เป็นอันดับ 3 ของโลก<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nb20070811a6.html|title=Japanese led world in filing of patent applications in 2005|publisher=The Japan Times|date=2007-08-11|accessdate=2008-11-07}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่[[อิเล็กทรอนิกส์]] [[รถยนต์]] เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด [[สารเคมี]] [[สารกึ่งตัวนำ]] และ[[เหล็ก]] เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของ โลก<ref>[http://www.reuters.com/article/2012/01/20/us-gm-idUSTRE80I2EY20120120] ข่าวจากรอยเตอร์</ref> เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด
 
ญี่ปุ่นยังเป็น หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมัน อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา <ref>[http://www.hybridcars.com/history/history-of-hybrid-vehicles.html] รถยนต์</ref> ของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อย<ref>[http://www.ucsusa.org/assets/documents/clean_vehicles/autorank_brochure_2007.pdf Automaker Rankings 2007: The Environmental Performance of Car Companies] Union of Concerned Scientists</ref><ref>[www.greenercars.org/highlights_greenest.htm Greenest Vehicles of 2008] American Council for an Energy Efficient Economy</ref> ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้าน[[เซลล์เชื้อเพลิง]]เป็นอันดับหนึ่งของโลก<ref name=oecdpa/>
 
[[องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น]]เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทาง[[ดาราศาสตร์]]และ[[จักรวาลวิทยา]]ของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้าง[[สถานีอวกาศนานาชาติ]]และ[[โมดูลห้องทดลองของญี่ปุ่น|โมดูลคิโบ]] มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วย[[กระสวยอวกาศ]]ใน พ.ศ. 2552<ref>{{cite web|url=http://www.jaxa.jp/press/2008/07/20080708_15a2ja_j.html|title=Press Release|publisher=JAXA|date=2008-07-08|accessdate=2008-11-16}}</ref>
 
== ประชากร ==
[[ไฟล์:Shibuya night.jpg|220px|thumb|[[ชิบุยะ|แยกชิบุยะ]]ถนนที่มีผู้สัญจรมากที่สุดในโตเกียว]]
จากการสำรวจในวันที่ 1 สิงหาคม 2012 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127,692,273 คน<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/2005/kihon1/00/01.htm|title=Population Census: Total Population|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref> ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/2005/kihon1/00/06.htm|title=Population Census: Foreigners|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref> เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสาย[[ชาวยะมะโตะ]] และมีชนกลุ่มน้อยเช่น[[ชาวไอนุ]]และ[[ชาวริวกิว]] รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่า[[บุระกุ]]<ref>{{cite web|url=http://www.economist.com/obituary/displaystory.cfm?story_id=E1_VJRPNJ|title=Sue Sumii|publisher=The Economist|date=1997-07-03|accessdate=2008-11-06}}</ref>
 
ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก<ref>{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2102rank.html |title=The World Factbook: Rank order—Life expectancy at birth |publisher=[[CIA]] |date=2008-10-23|accessdate=2008-11-5}}</ref> โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ <ref name=pop>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/handbook/c02cont.htm|title=Statistical Handbook of Japan: Chapter 2 Population|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25<ref name=pop/>) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2550) ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด<ref>{{cite web|url=http://www.stat.go.jp/english/data/kokusei/2005/kihon1/00/02.htm|title=Population Census: Population by Age|publisher=Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications}}</ref>) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระ[[เงินบำนาญ]]ของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20020924b1.html|title=Cloud of population decline may have silver lining|publisher=The Japan Times|date=2002-09-24|accessdate=2008-11-05}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
=== จำนวนประชากร ===
{{เมืองใหญ่สุดในญี่ปุ่น}}
 
[[ไฟล์:Osaka Dotonbori.jpg|220px|thumb|ย่าน[[โดทมโบะริ]] [[โอซะกะ (เมือง)|นครโอซะกะ]]]]
 
''ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่[[รายชื่อเมืองในญี่ปุ่นเรียงตามจำนวนประชากร]]'' และ ''[[จำนวนประชากรญี่ปุ่นแยกตามจังหวัด]]''
 
รวมทั้งหมด 31,998,482
 
=== ศาสนา ===
[[ไฟล์:Miyajima Alex.jpg|right|thumb|220px|[[โทริอิ]]ของ[[ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ]]ซึ่งเป็นศาลเจ้าลัทธิชินโต]]
{{บทความหลัก|ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น}}
จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นนับถือพุทธชินโตเยอะที่สุดเท่ากับผู้ที่ไม่มีศาสนาในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตน[[การไม่มีศาสนา|ไม่มีศาสนา]]<ref>[http://www2.ttcn.ne.jp/~honkawa/9460.html 世界各国の宗教 (2000年)] อ้างอิงจาก電通総研日本リサーチセンター、''世界主要国価値観データブック''</ref> ในอดีตศาสนาในญี่ปุ่นถูก ผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้า[[ชินโต]]เพื่อทำพิธี[[ชิจิ-โกะ-ซัน]] แต่งงานใน[[โบสถ์ (คริสต์ศาสนา)|โบสถ์คริสต์]]และฉลองใน[[วันคริสต์มาส]] จัดงานศพแบบ[[พุทธ]] และบูชาบรรพบุรุษแบบ[[ขงจื๊อ]] นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น ศาสนาเทนริเกียว ลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว
 
=== ภาษา ===
ประชากรมากกว่าร้อยละ 95 ใช้[[ภาษาญี่ปุ่น]]เป็น[[ภาษาแม่]]<ref>[https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ja.html#People The World Factbook; Japan-People] CIA (2008) </ref> ภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการผันคำกริยาและคำศัพท์ที่แสดงถึงสถานะระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมที่มีระดับขั้นของญี่ปุ่น ภาษาพูดนั้นมีทั้งภาษากลางและสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น เช่น[[สำเนียงคันไซ]] โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมักมีวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ<ref>{{cite web |url=http://www.indiana.edu/~japan/digest5.html |archiveurl=http://web.archive.org/web/20060427225148/http://www.indiana.edu/~japan/digest5.html |archivedate=2006-04-27 |title=Japan Digest: Japanese Education |date=2005-09-01 |author= Lucien Ellington|publisher=Indiana University |accessdate=2006-04-27}}</ref>
 
=== การศึกษา ===
{{บทความหลัก|การศึกษาของญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:Yasuda Auditorium, Tokyo University - Nov 2005.JPG|220px|thumb|[[มหาวิทยาลัยโตเกียว]]ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น]]
ระบบการศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นผลจาก[[การปฏิรูปเมจิ]] <ref>{{cite web |url=http://www.fpri.org/footnotes/087.200312.ellington.japaneseeducation.html |title=Beyond the Rhetoric: Essential Questions About Japanese Education |author=Lucien Ellington|publisher=Foreign Policy Research Institute |date=2003-12-01 |accessdate=2007-04-01}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นมีระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อ จากข้อมูลของ[[กระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|กระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่น]] (MEXT) ใน พ.ศ. 2547 พบว่าร้อยละ 75.9 ของผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ <ref>{{cite web |url= http://www.mext.go.jp/english/statist/05101901/005.pdf |title= School Education |publisher= [[Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology (Japan)|MEXT]] | format = [[PDF]] | accessdate=2007-03-10}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> การศึกษาในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขัน<ref>{{cite web |url=http://www.usyd.edu.au/news/international/226.html?newsstoryid=1568 |title=Rethinking Japanese education |author=Kate Rossmanith|publisher=The University of Sydney |date=2007-02-05| accessdate=2007-04-01}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.bookrags.com/research/gakureki-shakai-ema-02/ Gakureki Shakai]{{dead link|date=May 2017}}</ref> โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่งจัดขึ้นโดย[[โออีซีดี]] จัดอันดับให้เด็กญี่ปุ่นมีความรู้และทักษะเป็นอันดับ 6 ของโลก<ref>[http://www.oecd.org/document/22/0,3343, en_2649_201185_39713238_1_1_1_1, 00.html OECD’s PISA survey shows some countries making significant gains in learning outcomes]{{dead link|date=May 2017}}, [[OECD]], 04/12/2007. [http://www.oecd.org/dataoecd/42/8/39700724.pdf Range of rank on the PISA 2007 science scale]</ref>
มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เช่น [[มหาวิทยาลัยโตเกียว]] [[มหาวิทยาลัยเคโอ]] และ [[มหาวิทยาลัยเคียวโตะ]] เป็นต้น
 
=== การรักษาพยาบาล ===
คุณภาพของระบบรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นมีระดับที่สูงมาก เห็นได้จากอายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรที่สูงและอัตราการตายของทารกที่ต่ำ<ref name=websocial>{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/40SocialSecurity.pdf|title=Social Security System |publisher=Web Japan|accessdate=2009-10-13}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น<ref>{{cite web |url=http://www.sia.go.jp/e/ss.html|title=Overview of the Social Insurance Systems|publisher=Social Insurance Agency|accessdate=2008-11-23}}</ref> ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ<ref>{{cite web |url=http://www.ipss.go.jp/s-info/e/Jasos/Health.html |title=Health Insurance: General Characteristics |publisher=National Institute of Population and Social Security Research |accessdate=2007-03-28}}</ref> ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นทั้งหมดได้รับการคุ้มครองด้วยประกันของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2516<ref>{{cite web |url=http://www.nyu.edu/projects/rodwin/lessons.html |author=Victor Rodwin|title=Health Care in Japan |publisher=New York University |accessdate=2007-03-10}}</ref> แต่ปัจจุบันรัฐบาลต้องปรับระบบประกันเปล่านี้เพื่อรองรับโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป<ref name=websocial/>
 
== วัฒนธรรม ==
[[วัฒนธรรม]]ญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรม[[ยุคโจมง]]ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก[[เอเชีย]] [[ยุโรป]] และ[[อเมริกาเหนือ]] ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น [[อิเกะบะนะ]] (การจัดดอกไม้) [[โอะริงะมิ]] [[อุกิโยะ-เอะ]]<ref name="woa1">{{cite web |url=http://www.asianstudies.msu.edu/wbwoa/eastasia/Japan/culture.html|title=Japanese Culture|publisher=Windows on Asia |accessdate=2008-11-17}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> [[ตุ๊กตาญี่ปุ่น|ตุ๊กตา]] [[เครื่องเคลือบ]] [[เครื่องปั้นดินเผา]] การแสดง เช่น [[คะบุกิ]] [[โน]] บุนระกุ<ref name=woa1/> [[ระกุโงะ]] และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น [[ซะโด|พิธีชงชา]] [[บุโด|ศิลปการต่อสู้]] [[สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น|สถาปัตยกรรม]] [[สวนญี่ปุ่น|การจัดสวน]] [[คะตะนะ|ดาบ]] และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์[[มังงะ]]หรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น<ref>{{cite web |url=http://www.dnp.co.jp/museum/nmp/nmp_i/articles/manga/manga1.html |title= A History of Manga |publisher=NMP International |accessdate=2007-03-27}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> [[แอนิเมชัน]]ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า [[อะนิเมะ]] วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523<ref>{{cite web |url=http://uk.gamespot.com/gamespot/features/video/hov/index.html |title= The History of Video Games |author= Leonard Herman, Jer Horwitz, Steve Kent, and Skyler Miller|publisher=[[Gamespot]] |accessdate=2007-04-01}}</ref>
 
=== ดนตรี ===
[[ไฟล์:KotoPlayer.jpg|220px|thumb|การเล่น[[โคะโตะ]]]]
[[ดนตรีญี่ปุ่น]]ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น [[บิวะ]] [[โคะโตะ]] ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7<ref name=webmu>{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/MUSIC.pdf|title= Japan Fact Sheet: Music |publisher=Web Japan| accessdate=2008-11-23}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> และ[[ชะมิเซ็ง]]เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21<ref name=webmu/> ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก [[ดนตรีตะวันตก]]เริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า [[เจ-ป็อป]]<ref>{{cite web |url=http://observer.guardian.co.uk/omm/story/0, ,1550807, 00.html |title= J-Pop History |publisher=[[The Observer]]| accessdate=2007-04-01}}</ref> ญี่ปุ่นมีนัก[[ดนตรีคลาสสิก]]ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น [[วาทยากร]] [[เซจิ โอะซะวะ]]<ref>{{cite web |url=http://www.bach-cantatas.com/Bio/Ozawa-Seiji.htm|title=Seiji Ozawa (Conductor)|date=2007-06-22| accessdate=2008-11-23}}</ref> นัก[[ไวโอลิน]] [[มิโดะริ โกะโต]]<ref>{{cite web |url=http://edition.cnn.com/2008/SHOWBIZ/11/03/ta.midori/|title=Midori Goto: From prodigy to peace ambassador|date=2008-11-06| accessdate=2008-11-23}}</ref> เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของ[[เบโทเฟน]]ทั่วไปในญี่ปุ่น<ref>[http://www.fujitv.co.jp/event/art-net/clsc_07note/01.html なぜか「第9」といったらベートーヴェン、そして年末。]{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
=== วรรณกรรม ===
[[ไฟล์:Ch5 wakamurasaki.jpg|220px|thumb|ภาพจากเรื่อง[[ตำนานเก็นจิ]]]]
[[วรรณกรรมญี่ปุ่น]]ชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ ''[[โคะจิกิ]]'' และ ''[[นิฮงโชะกิ]]''<ref name="woalit1">{{cite web |url=http://www.asianstudies.msu.edu/wbwoa/eastasia/Japan/literature.html|title=Japanese Culture: Literature|publisher=Windows on Asia |accessdate=2008-11-17}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ ''[[มังโยชู]]'' ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด<ref>{{cite web |url=http://edb.kulib.kyoto-u.ac.jp/exhibit/np/manyo.html|title=万葉集-奈良時代|publisher=Kyoto University Library|accessdate=2008-11-17}}</ref> ในช่วงต้นของ[[ยุคเฮอัง]] มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า ''คะนะ'' ([[ฮิระงะนะ]] และ [[คะตะคะนะ]]) ''[[นิทานคนตัดไม้ไผ่]]'' ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น<ref name=woalit1/> ''[[ตำนานเก็นจิ]]'' ที่เขียนโดย[[มุระซะกิ ชิกิบุ]]มักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก<ref>[http://www.taleofgenji.org/ The Tale of Genji]</ref> ระหว่าง[[ยุคเอะโดะ]] วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ [[โชนิน]] ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น [[โยะมิฮง]] กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ใน[[สมัยเมจิ]] วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น<ref name="woalit2">{{cite web |url=http://www.asianstudies.msu.edu/wbwoa/eastasia/Japan/recentpst.html|title=Japanese Culture: Literature (Recent Past)|publisher=Windows on Asia |accessdate=2008-11-17}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> [[โซเซะกิ นะสึเมะ]]และ[[โองะอิ โมริ]]เป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น<ref name=woalit2/> ตามมาด้วย [[ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ]], [[ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ]], [[ยะซุนะริ คะวะบะตะ]], [[มิชิมะ ยุกิโอะ]] และล่าสุด [[ฮะรุกิ มุระกะมิ]]<ref name="lit&sport">{{cite web |url=http://www.th.emb-japan.go.jp/th/japan/explorejp/page12-19.pdf|title=สำรวจญี่ปุ่น: ปฏิทินประจำปี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กีฬา|publisher=สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย|accessdate=2008-11-17}}</ref> ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]] 2 คน ได้แก่ [[ยะซุนะริ คะวะบะตะ]] (พ.ศ. 2511) <ref>{{cite web |url=http://nobelprize.org/nobel_prizes/literature/laureates/1968/index.html|title=The Nobel Prize in Literature 1968|publisher=Nobel Foundation|accessdate=2008-11-18}}</ref> และ [[เค็นซะบุโร โอเอะ]] (พ.ศ. 2537) <ref>{{cite web |url=http://nobelprize.org/nobel_prizes/literature/laureates/1994/oe-bio.html|title=Kenzaburo Oe The Nobel Prize in Literature 1994 |publisher=Nobel Foundation|accessdate=2008-11-18}}</ref>
 
=== กีฬา ===
[[ไฟล์:Ryogoku_Kokugikan_Tsuriyane_05212006.jpg|220px|thumb|left|การแข่งขัน[[ซูโม่]]ใน[[เรียวโงกุ โคกุงิกัง]] ใน [[โตเกียว]]]]
หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา<ref name="websport">{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/SPORTS.pdf|title=Japan Fact Sheet: SPORTS |publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-19}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น<ref name="websport"/> กีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่
 
* [[ซูโม่]]เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน<ref>{{cite web |url=http://www.pbs.org/independentlens/sumoeastandwest/sumo.html |title=Sumo: East and West |publisher=PBS |accessdate=2007-03-10}}</ref> และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น [[ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น]] เช่น [[ยูโด]] [[คาราเต้]] และ[[เคนโด้]] ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน
 
* [[เบสบอลอาชีพญี่ปุ่น|การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่น]]เริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2479<ref>{{cite book |author=Nagata, Yoichi and Holway, John B. |editor=Pete Palmer |title=Total Baseball |edition=fourth edition |year=1995 |publisher=Viking Press |location=New York |pages=547 |chapter=Japanese Baseball}}</ref> มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบัน[[เบสบอล]]เป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูง<ref name="websport"/> นักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ [[อิจิโร ซุซุกิ]] และ [[ฮิเดะกิ มะสึอิ]] <ref name=lit&sport/>
 
* ตั้งแต่มีการก่อตั้ง[[เจลีก|ลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น]] ใน พ.ศ. 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น<ref>{{cite web |url=http://www.tjf.or.jp/takarabako/PDF/TB09_JCN.pdf |title= Soccer as a Popular Sport: Putting Down Roots in Japan |publisher= The Japan Forum |format = [[PDF]] | accessdate=2007-04-01}}</ref> ญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัด[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับ[[เกาหลีใต้]]ในการแข่ง[[ฟุตบอลโลก 2002]] ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย สามารถชนะเลิศ[[เอเชียนคัพ]] 3 ครั้ง
 
=== อาหาร ===
[[ไฟล์:Breakfast at Tamahan Ryokan, Kyoto.jpg|220px|thumb|อาหารเช้าแบบโรงแรมญี่ปุ่น]]
ชาวญี่ปุ่นกิน[[ข้าว]]เป็นอาหารหลัก [[อาหารญี่ปุ่น]]ที่มีชื่อเสียงได้แก่[[ซูชิ]], [[เท็มปุระ]], [[สุกียากี้]], [[ยะกิโทะริ]] และ [[โซบะ]] เป็นต้น<ref>{{cite web|url=http://www.jnto.go.jp/eng/indepth/history/food/jfood_01.html|title=Traditional Dishes of Japan|publisher=Japan National Tourist Organization|accessdate=2008-11-27}}</ref> อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่น [[ทงกะสึ]], [[ราเม็ง]][[ปลาดิบ]] และ [[แกงกะหรี่ญี่ปุ่น]]<ref name=webfood>{{cite web|url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/JAPANESE_FOOD.pdf|title=Japanese Food Culture|publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-27}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก<ref name=webfood/>
 
ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่น<ref>{{cite web|url=http://www.jnto.go.jp/eng/indepth/history/food/index.html|title=Japanese Delicacies|publisher=Japan National Tourist Organization|accessdate=2008-11-27}}</ref>และอาหารประจำฤดู<ref>{{cite web|url=http://www.tjf.or.jp/eng/content/japaneseculture/pdf/ge09shun.pdf|title=Seasonal Foods|publisher=The Japan Forum|accessdate=2008-11-27}}</ref> วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือ[[ถั่วเหลือง]] ซึ่งนำมาทำ[[โชยุ]], [[มิโซะ]], [[เต้าหู้]]<ref>[http://www.jref.com/culture/japanese_food.shtml Japanese Food] Japan Reference</ref> [[ถั่วแดง]]ซึ่งมักนำมาทำ[[ขนมญี่ปุ่น|ขนม]] และ[[สาหร่าย]]ชนิดต่าง ๆ เช่น[[คมบุ]] นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกิน[[ซะชิมิ]]หรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.jnto.go.jp/eng/indepth/history/food/jfood_02.html#Seafood|title=Local cuisine of Hokkaido|publisher=Japan National Tourist Organization|accessdate=2008-11-27}}</ref>
 
[[ชา]]ในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม<ref>{{cite web|url=http://www.zennoh.or.jp/bu/nousan/tea/dekiru03.htm|title=茶ができるまで|publisher=全国茶生産団体連合会・全国茶主産府県農協連連絡協議会|accessdate=2008-11-27}}</ref> เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้า[[สาเก]] (หรือ''นิฮงชุ'') ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว<ref>{{cite web|url=http://www.sake-world.com/html/brewing-process.html|title=The Sake Brewing Process|accessdate=2008-11-27}}{{dead link|date=May 2017}}</ref> และ[[โชชู]]ซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น<ref>{{cite web|url=http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/fl20040530x1.html|title=Shochu|publisher=The Japan Times|date=2004-05-30 |accessdate=2008-11-27}}{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
=== การท่องเที่ยว ===
รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยว โดยทางการญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวให้กับประเทศเป้าหมาย รวมถึงประเทศไทย กระแสไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นน่าจะยังได้รับความนิยมในหมู่คนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญๆ ทั้งจากมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวที่ยังคงมีผลบังคับใช้ บวกกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและโปรโมชั่นอัดแน่นจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงอานิสงส์ส่วนหนึ่งก็มาจากเงินเยนที่อ่อนค่า รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทาง[http://sanookholiday.com/ทัวร์ญี่ปุ่น ทัวร์ญี่ปุ่น]มากขึ้นทุกปี
 
== อ้างอิง ==
<div style="overflow:scroll;height:300px;">
{{รายการอ้างอิง|3}}