ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armcity (คุย | ส่วนร่วม)
Armcity (คุย | ส่วนร่วม)
/* ประวัติสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ในกำกับ
บรรทัด 15:
'''สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์''' ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2545]] เป็นคณะแพทยศาสตร์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้รับผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้ว
 
== ประวัติ ==== ประวัติสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ในกำกับของรัฐบาลแห่งที่สองของประเทศไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2547 และเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชนตามความเรียกร้องของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และร่วมมือกับโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข โดยสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาได้มีการลงนามในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ณ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เมื่อ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ส่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเพื่อขอการรับรองจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้มาประเมินมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โรงพยาบาลตรัง และโรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต เมื่อวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันพี่เลี้ยงโดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์[[มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์]]ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และปลัดกระทรวงสาธารณสุขกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยลักษณ์ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการของแพทยสภาเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อการรับรองหลักสูตรเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 แพทยสภาได้แจ้งผลการพิจารณารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบ ใฝ่รู้ มีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรม และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นได้ บัณฑิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพ ได้แก่ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 นอกจากนั้นบัณฑิตแพทย์ต้องมีทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพ ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ และการติดต่อสื่อสาร ทักษะการสอบถามประวัติและการตรวจร่างกาย ทักษะการส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้อง ทักษะการวินิจฉัยโรคให้สอดคล้องกับสาเหตุ ทักษะการดูแลรักษา รวมทั้งการส่งต่ออย่างเหมาะสม และสามารถทำหัตถการทางคลินิกตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา รวมถึงทักษะการสืบค้น และการบริหารข้อมูลสารสนเทศ บัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนด้วยความเต็มใจ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีชุมชนท้องถิ่น ปัจจุบัน สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีนักศึกษาแพทย์แล้ว 10 รุ่น (ปีการศึกษา 2560) จากพื้นที่ 5 จังหวัด คือ [[นครศรีธรรมราช]] [[ตรัง]] [[ภูเก็ต]] [[พังงา]] และ [[กระบี่]] ==
== ทำเนียบคณบดี ==
รายนามคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้