ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรศัพท์เคลื่อนที่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Btalliesirilak (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
 
== วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ ==
* ค
* [[1G]] ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ [[analog]] โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการให้บริการเสียงอย่างเดียว รองรับเพียงการโทรเข้าและรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น [[NMT]], [[AMPS]], DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี [[ค.ศ.1980]]
* [[2G]] ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ [[digital]] ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น [[GSM]], [[cdmaOne]], [[PDC]] มีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ [[circuit switching]] ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps
** [[2.5G]] ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ [[packet switching]] มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น [[GPRS]]ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3
** [[2.75G]] ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สาย ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น [[CDMA2000 1xRTT]], [[EDGE]] ให้ความเร็วน้อยกว่า 10 kbps
* [[3G]] ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติและแบบรับส่งข้อมูลซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูล ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น [[W-CDMA]], [[TD-SCDMA]], [[CDMA2000 1x-EVDO]] ความเร็ว มากกว่า 144 kbps
** [[3.5G]] ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น [[HSDPA]] ใน W-CDMA
* [[4G]] ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital พัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 Mpbs เลยทีเดียว สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call) หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile teleconferencing) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน
 
== ผู้ ==
* ว

== ผลิต ==
{{bar box
|width=300px
เส้น 39 ⟶ 36:
|caption=<small>หมายเหตุ: "อื่น ๆ 2555" ประกอบด้วย[[โซนีอีริกสัน]] [[โมโตโรลา]] แซดทีอี เอชทีซีและหัวเว่ย (2552–2553)</small>
}}
ก่อนปี 2553 [[โนเกีย]]เป็นผู้นำตลาด ทว่า นับแต่นั้นเกิดการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยยี่ห้ออย่างไมโครแมกซ์ เน็กเซียนและไอโมบายล์ซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของโนเกีย สมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ก็ได้กระแสมากขึ้นทั่วภูมิภาค ส่วนโนเกียมีแนวโน้มลดลง ในประเทศอินเดีย ส่วนแบ่งตลาดของโนเกียลดลงอย่างสำคัญจาก 56% เหลือประมาณ 31% ในช่วงเดียวกัน สัดส่วนนั้นถูกแทนด้วยผู้ขายโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพต่ำสัญชาติจีนและอินเดีย
 
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 จากข้อมูลของสแตรเทดจีอะนาไลติกส์ [[ซัมซุง]]แซงหน้าโนเกีย โดยขายได้ 93.5 ล้านเครื่องเทียบกับโนเกีย 82.7 ล้านเครื่อง ในปี 2555 สแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ลดระดับโนเกียเหลือสถานะ "ขยะ" ที่ BB+/B โดยมีความเชื่อเชิงลบเนื่องจากขาดทุนสูงและคาดหมายว่าจะเสื่อมลงอีกเนื่องจากการเติบโตของยอดขายสมาร์ตโฟน[[ลูเมีย]]ไม่เพียงพอกับรายได้จากสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่ลดลงอย่างรวดรเวที่มีการพยากรณ์ไว้อีกหลายไตรมาสถัดมา<ref>{{cite web |url=http://techcrunch.com/2012/04/27/samsung-may-have-just-become-the-king-of-mobile-handsets-while-sp-downgrades-nokia-to-junk/ |title=Samsung May Have Just Become The King Of Mobile Handsets, While S&P Downgrades Nokia To Junk |accessdate=28 April 2012}}</ref>
 
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ผู้ผลิตยอดขายสูงสุดสิบราย ได้แก่ ซัมซุง (20.6%), โนเกีย (9.5%), [[แอปเปิล (บริษัท)|แอปเปิล จำกัด]] (8.4%), [[แอลจี]] (4.2%), [[หัวเว่ย]] (3.6%), ทีซีแอลคอมมิวนิเคชัน (3.5), เสี่ยวหมี่ (3.5%), [[เลโนโว]] (3.3%), แซดทีอี (3.0%) และไมโครแมกซ์ (2.2%)<ref>{{cite web | url = https://www.gartner.com/newsroom/id/2944819 | title = Gartner Says Sales of Smartphones Grew 20 Percent in Third Quarter of 2014 | publisher = Gartner}}</ref>
 
== โทรศัพท์ในประเทศไทย ==