ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมโครซอฟท์ วินโดวส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
แทนที่เนื้อหาด้วย "ไม่ให้หา หมวดหมู่:..."
บรรทัด 1:
ไม่ให้หา
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{กล่องข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
| name = ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
| logo = [[ไฟล์:Windows logo and watermark - 2012.svg|296px|สัญลักษณ์ของวินโดวส์]]
| screenshot = [[ไฟล์:Windows_10_รุ่น_14393_(Redstone).png|300px]]
| caption = ภาพหน้าจอเริ่มของวินโดวส์ 10 รุ่น 1607 (14393)
| website = {{URL|windows.microsoft.com}}
| developer = [[ไมโครซอฟท์]]
| family =
| source_model = [[ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์|โคลสซอร์ซ]]
| released = [[20 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2528]]
| latest_release_version = Windows 10 รุ่น 1607 (v10.0.14393)
| latest_release_date = [[2 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2559]]
| latest_test_version = Windows 10 รุ่น 1703 (v10.0.15007)
| latest_test_date = [[12 มกราคม]] [[พ.ศ. 2560]]
| marketing_target = [[คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล]]
| language = 137 ภาษา<ref>{{cite web|url=http://msdn.microsoft.com/goglobal/ee461121#AvailableLanguagePacks |title=Listing of available Windows 7 language packs |publisher=Msdn.microsoft.com |date= |accessdate=April 5, 2014}}</ref>
| kernel_type =
| ui = วินโดวส์เชลล์
| license = [[ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์]]แบบ[[ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์|กรรมสิทธิ์]]
| working_state = ปัจจุบัน/เสถียร
| supported_platforms = ARM, ไอเอ-32, ไอเทเนียม, [[เอกซ์86-64]]
| updatemodel = {{ubl|วินโดวส์อัปเดต|วินโดวส์แอนีไทม์อัปเกรด|[[วินโดวส์สโตร์]]|วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์อัปเดตเซอร์วิส}}
| package_manager = วินโดวส์อินสตอลเลอร์ (.msi), [[วินโดวส์สโตร์]] (.appx)<ref>{{cite web|url=http://msdn.microsoft.com/en-us/library/windows/apps/hh464929.aspx |title=App packages and deployment (Windows Store apps) (Windows) |publisher=Msdn.microsoft.com |date= |accessdate=April 5, 2014}}</ref>
}}
 
'''ไมโครซอฟท์ วินโดวส์''' ({{lang-en|Microsoft Windows}}) เป็น[[ระบบปฏิบัติการ]] ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท[[ไมโครซอฟท์]] เปิดตัวเมื่อปี [[พ.ศ. 2528]] (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาด[[คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล]] มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก <ref>[http://marketshare.hitslink.com/report.aspx?qprid=8 สัดส่วนผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ]</ref> รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้
 
== วินโดวส์ 1.0 ==
[[ไฟล์:Windows 1.0 Screenshot.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 1.0]]
[[วินโดวส์ 1.0]] เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ [[20 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2528]] มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ [[ดอส]]) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วิสามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ [[แมคอินทอช]] ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจาก[[แอปเปิล (บริษัท)|บริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์]] แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก
 
วินโดวส์ 1.0 อยู่ในระยะการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
 
== วินโดวส์ 2.0 ==
[[ไฟล์:Windows 2.0 Screenshot.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 2.0]]
[[วินโดวส์ 2.0]] เปิดตัวเมื่อวันที่ [[1 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2530]] 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงของวินโดวส์ 2.0 วินโดวส์กับแมคอินทอชมีความใกล้เคียงกันมาก จนเกิดคดีฟ้องร้องกันของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ 2 แห่ง คือ [[ไมโครซอฟท์]] และ [[บริษัทแอปเปิล|แอปเปิล]]
 
วินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ 2.1 ==
[[ไฟล์:Windows 2.1.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 2.1]]
[[วินโดวส์ 2.1]] เปิดตัวในวันที่ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2531]] ยังเป็นสภาวะการทำงานที่ต้องอาศัยดอส วินโดวส์รุ่นนี้มี 2 รุ่นย่อย คือ 286 และ 386 ซึ่งทำงานกับโปรเซสเซอร์ Intel 80286 และ 80386 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
 
ใน [[พ.ศ. 2532]] ไมโครซอฟท์ได้ออกรุ่นอัปเดตของวินโดวส์ 2.1 คือ วินโดวส์ 2.11 (คล้ายกับระบบ Service Pack ในปัจจุบัน) อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ 3.0 ==
[[ไฟล์:Windows 3 0 workspace.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 3.0]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ 3.0]]''
 
วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่ [[22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2533]] ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบ[[ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้|กราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์]]ใหม่, มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ [[โน้ตแพด]], เกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล
 
วินโดวส์ 3.0 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ 3.1 ==
{{บทความหลัก|วินโดวส์ 3.1x}}
[[ไฟล์:Windows 3.11workspace.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 3.11]]
วินโดวส์ 3.1 เปิดตัวเมื่อ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2535]] ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภท[[ทรูไทป์]] และได้มีการลงเกม [[ไมน์สวีปเปอร์]] มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่[[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2536]] ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
 
ในรุ่น 3.1 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และ[[โพรโทคอล]], เกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2 สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ
 
วินโดวส์ 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ เอ็นที 3.1 ==
[[ไฟล์:Windows NT 3 1.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.1]]
[[วินโดวส์เอ็นที 3.1|วินโดวส์เอ็นที 3.1]] เปิดตัวเมื่อ [[27 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2536]] เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของวินโดวส์ สามารถทำงานต่างๆได้ด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์นี้ ไม่จำเป็นต้องลงระบบดอสอีกต่อไป เอ็นทีออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพโดยเฉพาะ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ซึ่งวินโดวส์ตัวก่อนหน้าทั้งหมด เป็นสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต โปรแกรม 32 บิต (ซึ่งในขณะนั้นมักเป็นโปรแกรมขั้นสูง) สามารถใช้งานกับวินโดวส์เอ็นทีได้ แต่ไม่สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 ได้ แต่โปรแกรม 16 บิต สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 และเอ็นที ได้ เพราะเอ็นทีจะมีระบบแปลงไฟล์ ให้สามารถใช้งานในเอ็นทีได้
 
เอ็นที ย่อมาจาก ('''N'''ew '''T'''echnology) มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ในช่วงนี้ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ใช้ตามบ้าน แต่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นมักยังใช้ วินโดวส์ 3.1 ธรรมดา
 
วินโดวส์ เอ็นที 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2543]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ เอ็นที 3.5 ==
[[ไฟล์:Windows NT 3 5.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.5]]
วินโดวส์ เอ็นที 3.5 เปิดตัวเมื่อ [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2537]] เป็นรุ่นต่อของวินโดวส์เอ็นที 3.1 จุดประสงค์หลักของไมโครซอฟท์ในการพัฒนาวินโดวส์เอ็นที 3.5 คือ การเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของวินโดวส์ รวมถึงความสามารถอื่นๆ เช่น VFAT ที่จะทำให้สามารถตั้งชื่อไฟล์และต่างๆ ได้ถึง 255 ตัวอักษร และความต้องการขั้นต่ำของระบบได้ลดลงต่ำกว่าเอ็นที 3.1 ด้วย ทำให้สามารถครอบคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น
 
แต่อย่างไรก็ตาม วินโดวส์ เอ็นที 3.5 ไม่สามารถติดตั้งได้ใน[[แล็ปท็อป|โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์]] ที่ไม่มีไดรเวอร์สำหรับ PCMCIA อแดปเตอร์การ์ด และไม่สามารถติดตั้งในคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นที่ใหม่กว่า Intel P4 ได้
 
วินโดวส์เอ็นที 3.5 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ เอ็นที 3.51 ==
[[ไฟล์:Nt351excel.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.51]]
วินโดวส์ เอ็นที 3.51 เปิดตัวเมื่อ [[30 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2538]] เอ็นที 3.51 สามารถทำงานบนสถาปัตยกรรม RISC เป็นเพียงวินโดวส์ไม่กี่รุ่นที่สามารถรองรับ RISC ได้ และนอกจากนี้ยังสามารถรองรับไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์, PCMCIA และระบบบีบอัดไฟล์ หรือ NTFS ได้
 
เอ็นที 3.51 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์ถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
== วินโดวส์ 95 ==
[[ไฟล์:Am windows95 desktop.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 95]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ 95]]''
 
วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 4.0 (ไม่เอ็นที) เปิดตัว [[24 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2538]] เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์ 95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์
 
วินโดวส์ 95 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544]]
{{clear}}
== วินโดวส์ เอ็นที 4.0 ==
[[ไฟล์:Windows NT 4 0.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 4.0]]
[[วินโดวส์ เอ็นที 4.0]] เปิดตัวเมื่อ [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2539]] โดยเน้นตลาดเน็ตเวิร์กมากขึ้น โดยจะมี interface คล้ายกับวินโดวส์ 95 แต่ว่าระบบมีความเสถียรมากกว่า โดยการเพิ่ม API (Application Programming Interface) เข้ามาทำให้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ติดต่อกับวินโดวส์ได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน วินโดวส์เอ็นที 4.0 ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับบรรดากลุ่มองค์กรที่ต้องการเครื่อง server ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังพอมีเหลือให้เห็นอยู่บ้างในเครื่อง server รุ่นเก่าๆ
 
เอ็นที 4.0 มี 2 รุ่นย่อย คือ รุ่น Workstation อยู่ในการสนับสนุนถึง [[30 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2547]] และ รุ่น Server อยู่ในการสนับสนุนถึง [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2547]]
{{clear}}
 
== วินโดวส์ 98 ==
[[ไฟล์:Windows 98 SE.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 98]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ 98]]''
 
วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2541]] เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อของวินโดวส์ 95 จุดเด่นของวินโดวส์ 98 คือการใช้มาตรฐานไดรเวอร์แบบ WDM และ VxD ซึ่ง WDM เป็นมาตรฐานใหม่ที่วินโดวส์รุ่นต่อๆ มา ได้ใช้เป็นหลัก ส่วน VxD เป็นมาตรฐานเก่า ซึ่งวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 ไม่รองรับ ซึ่งทำให้วินโดวส์ 98 เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมสมัยเก่าและใหม่ โปรแกรมสมัยปัจจุบัน แม้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวินโดวส์ 98 แต่หลายโปรแกรมก็สามารถใช้กับวินโดวส์ 98 ได้พอสมควร วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ [[10 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2542]]
 
วินโดวส์ 98 อยู่ในการสนับสนุนจนถึง [[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
{{clear}}
== วินโดวส์ 2000 ==
[[ไฟล์:Win2000.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 2000]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ 2000]]''
 
วินโดวส์ 2000 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.0 เปิดตัวเมื่อ [[17 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2543]] เป็นระบบปฏิบัติการเอ็นที มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ขั้นสูงและกลุ่มธุรกิจ ในช่วงนี้ได้แบ่งเป็น 5 รุ่นย่อย คือ Professional, Server, Advanced Server, Datacenter Server, Advanced Server 64-bit Limited Edition
 
วินโดวส์ 2000 อยู่ในการสนับสนุนจนถึง [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2553]]
{{clear}}
== วินโดวส์ มี ==
[[ไฟล์:Windows Me.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ มี]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์มี]]''
 
วินโดวส์ มี ({{lang-en|Windows Me}}) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว [[14 กันยายน]] [[พ.ศ. 2543]] วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์
 
วินโดวส์ มี อยู่ในการสนับสนุนจนถึง [[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
{{clear}}
== วินโดวส์ เอกซ์พี และ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ==
[[ไฟล์:XP Desktop.JPG|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอกซ์พี]]
[[ไฟล์:WindowsServer2003Screenshot.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ เอกซ์พี]]''
 
วินโดวส์ เอกซ์พี หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.1 และ เอ็นที 5.2 เปิดตัว [[25 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2544]] เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจาก วินโดวส์ เนปจูน ถูกยุบรวมกับวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า E'''xp'''erience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นวินโดวส์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้จะเปิดตัวมาแล้วถึง 9 ปี แต่จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์ เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack
 
เอกซ์พีรุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2547, เอกซ์พีรุ่นปรับปรุง SP1 และ 1a ยุติการสนับสนุน 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549, รุ่นปรับปรุง SP2 32 บิต ยุติการสนับสนุน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 64 บิต และ SP3 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ส่วนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 จะได้รับการสนับสนุนต่อจนถึง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และวินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี ยังแผนจะยุติการสนับสนุนอีกด้วย''และ การสนับสนุน Windows XP ที่มี Service Pack 2 (SP2) ได้หยุดลงในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553
{{clear}}
วินโดวส์ เอกซ์พี หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557
 
== วินโดวส์ วิสตา และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 ==
[[ไฟล์:Windows Vista.jpg|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ วิสตา]]
[[ไฟล์:Windows Server 2008.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008]]
[[ไฟล์:Windows Home Server Console.jpg|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ วิสตา]]''
 
วินโดวส์ วิสตา หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.0 ได้รับลิขสิทธิ์ [[30 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2549]] แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง [[30 มกราคม]] [[พ.ศ. 2550]] ในช่วงของวิสตา วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ วิสตามีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น ในการตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน, การแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม, ความสามารถในการค้นหา, การพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว ดังตัวอย่างเปรียบเทียบในตาราง
{|class="wikitable"
|-
! ประเภทความต้องการ !! ความต้องการขั้นต่ำของเอกซ์พี (SP3) !! ความต้องการขั้นต่ำของวิสตา
|-
| [[หน่วยประมวลผลกลาง]] (โปรเซสเซอร์) || 233 MHz || 800 MHz
|-
| [[แรม]] || 64 MB || 512 MB
|-
| เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ || 4.2 GB || 15 GB
|-
| ไดรฟ์ที่ต้องการ || CD-ROM || DVD-ROM
|-
|}
<!--คัดลอกมาจากเว็บวิกิด้วยกัน ทราบว่าวิกิจะไม่อ้างอิงกันเอง ไม่ทราบจะลงแหล่งอ้างอิงอย่างไรครับ-->เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
 
วิสตา รุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2553]] ส่วนวิสตารุ่นปรับปรุง SP1 <!-- เดิม จะสนับสนุนต่อไปถึง--> ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 ได้ยุติการสนับสนุนในระยะ mainstream support ลงเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 และทุกรุ่นหยุดการสนับสนุนในระยะ Extended support อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน 2560
 
วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ สิ้นสุดการสนับสนุนแล้วเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 สนับสนุน ส่วนวินโดวส์วิสตา และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
{{clear}}
 
== วินโดวส์ 7 และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 ==
[[ไฟล์:Windows 7.png|thumb|ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 7]]
[[ไฟล์:Windows Sever 2008 R2.jpg|thumb|ภาพหน้าจอวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2]]
''ดูบทความหลักที่ [[วินโดวส์ 7]]''
 
วินโดวส์ 7 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.1 เปิดตัวการขายปลีกเมื่อ [[22 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2552]] เป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุดของไมโครซอฟท์ ส่วน เอ็นที 6.1 อีกรุ่นหนึ่ง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ระดับสูง คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 เปิดตัวในวันเดียวกับวินโดวส์ 7 ในวินโดวส์ 7 ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้วิสตาไม่ประสบความสำเร็จ และมีความต้องการขั้นต่ำไม่ต่างจากวิสตามากนัก นอกจากแรมและการ์ดจอ ที่ต้องการเพิ่ม แต่ที่ผ่านมา จากการเปิดตัววิสตา ได้กรุยทางส่วนหนึ่งไว้ให้ วินโดวส์ 7 เพราะช่องว่างระหว่างการเปิดตัวนั้น ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายได้เพิ่มความสามารถในหลายด้าน คอมพิวเตอร์ในช่วงหลังวิสตา พร้อมจะรองรับวินโดวส์ที่ใหญ่กว่าเอกซ์พีได้ อีกทั้งวินโดวส์ 7 ได้มีการบริหารจัดการดี ทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิสตา ปัจจุบัน มีผู้ใช้วินโดวส์ 7 มากกว่าวิสตาเสียอีก
 
วินโดวส์ 7 และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 14 มกราคม 2563
{{clear}}
 
== วินโดวส์ 8 ==
{{main|วินโดวส์ 8}}
[[ไฟล์:Windows 8 Consumer Preview Start Screen.png|thumb|ภาพหน้าจอวินโดวส์ 8]]
 
วินโดวส์ 8 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง<ref>[http://www.datamation.com/entdev/article.php/3909851/Windows-8-Due-in-Two-Years.htm Windows 8: Due in Two Years?]</ref> วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้น<ref>http://www.blognone.com/node/22798</ref><ref>http://www.blognone.com/node/26068</ref>, วินโดวส์ เอกซ์พลอเรอร์ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบอนแทนแบบเดิม <ref>http://www.blognone.com/node/22836</ref> เป็นต้น ปัจจุบันวินโดวส์ 8 ได้เปิดวางขายเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555
 
Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างสรรค์ใหม่ ตั้งแต่ชิปเซ็ตไปจนถึงประสบการณ์ผู้ใช้ และแนะนำส่วนติดต่อผู้ใช้รูปแบบใหม่ที่ทำงานได้อย่างราบรื่นสำหรับทั้งระบบสัมผัสและเมาส์และแป้นพิมพ์ โดยจะทำหน้าที่เป็นแท็บเล็ตเพื่อความบันเทิงและพีซีที่มีคุณลักษณะครบครันเพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วง Windows 8 ยังประกอบด้วยส่วนปรับปรุงของเดสก์ท็อป Windows ที่คุ้นเคย พร้อมแถบงานใหม่และการจัดการไฟล์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
 
Windows 8 มาพร้อมหน้าจอเริ่มที่มีไทล์ซึ่งเชื่อมต่อกับบุคคล ไฟล์ แอป และเว็บไซต์ แอปต่างๆ จะดูโดดเด่นสะดุดตาและสามารถดาวน์โหลดได้อย่างสะดวกจากสถานที่ใหม่ นั่นก็คือ Windows Store ที่อยู่บนหน้าจอเริ่ม
 
นอกจากนี้ Microsoft ยังเปิดตัว Windows RT ที่ทำงานบนแท็บเล็ตและพีซีบางเครื่อง พร้อมกับ Windows 8 ด้วย Windows RT ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์พกพาแบบเพรียวบางที่มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน และใช้แอปจาก Windows Store เท่านั้น นอกจากนี้ Windows RT ยังมาพร้อม Office ในตัวที่เหมาะสำหรับหน้าจอสัมผัสด้วย
 
Windows 8 ได้สิ้นสุดการสนับสนุนจาก Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสิ้นสุดการสนับสนุนเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา
 
== วินโดวส์ 8.1 ==
{{main|วินโดวส์ 8.1}}
[[ไฟล์:หน้าจอเริ่มวินโดวส์ 8.1.PNG|thumb|ภาพหน้าจอวินโดวส์ 8.1]]
ในวันที่ 18 ตุลาคม 2013 ทาง Microsoft ออกชุดอัปเดตระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ชื่อ Windows 8.1
สนับสนุนการใช้ Skype แอพ Mail XBox Video Office Bing Food and Drink Xbox Music Internet Explorer 11 (IE11)
 
Windows 8.1 เหมาะสำหรับการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาพร้อมกันและการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการแสดงผลและใช้งานได้สูงสุดถึง 4 แอปพลิเคชัน
ในเวลาเดียวกัน สามารถปรับขนาดหน้าต่างของแต่ละแอปพลิเคชันบนหน้าจอได้ ความสามารถสำหรับแอปพลิเคชันหนึ่งที่จะในการเปิดอีกแอปพลิเคชันหนึ่ง
และการรองรับหน้าจอหลายๆ จอทำให้ผู้ใช้เห็นเดสก์ท็อป หรือแอพต่างๆ บน วินโดวส์ สโตร์ จากหน้าจอใดหน้าจอหนึ่งหรือทั้งหมดได้
 
- การทำงานได้ครบวงจรบนคลาวด์ด้วย SkyDrive ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้จากทุกที่ สะดวกกว่าแต่ก่อน สามารถเข้าถึงไฟล์ได้เสมอไม่ว่าจะผ่านดีไวซ์หรือสถานที่ใดก็ตาม ด้วย SkyDrive Smart Files ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข เก็บรักษา และแชร์ไฟล์ ที่ใดก็ได้ เมื่อใดก็ได้ บนอุปกรณ์ใดก็ตามที่กำลังใช้งานอยู่
 
- วินโดวส์ สโตร์ ที่ออกแบบใหม่อย่างสวยงาม ดีไซน์ใหม่ของ วินโดวส์ สโตร์ ได้ปรับปรุงวิธีการแสดงแอปพลิเคชันเด่นๆ ทำให้คุณเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ต้องการได้ง่ายขึ้น การจัดวางหน้าจอและจัดหมวดหมู่แอปพลิเคชันแบบใหม่ เช่น หมวด ‘New & Rising’ ช่วยให้ง่ายขึ้นในการติดตามแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่กำลังฮอตที่สุด, ระบบการแนะนำแอปพลิเคชันที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน โดยใช้ระบบการแนะนำที่ล้ำสมัยของ Bing และระบบที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาแอปพลิเคชันโปรดใหม่ๆ, นอกจากนี้ แอปพลิเคชันต่างๆ จะได้รับการอัปเดตโดยอัตโนมัติในWindows 8.1 ดังนั้นผู้ใช้จะมีแอปพลิเคชันเวอร์ชันใหม่ที่สุดและดีที่สุดเสมอ จากนักพัฒนาที่มีชื่อเสียง รวมทั้งมีแอปพลิเคชันอย่างเป็นทางการจาก Facebook และ National Geography พร้อมทั้งนี้จะนำแอปพลิเคชันใหม่ ๆ มาอัปเดตบนวินโดวส์ สโตร์ อย่างต่อเนื่อง
 
== วินโดวส์ 10 ==
{{main|วินโดวส์ 10}}
[[ไฟล์:Windows_10.jpg|thumb|ภาพหน้าจอวินโดวส์ 10 ในเวอร์ชันต้นแบบ]]
[[ไฟล์:Windows 10 รุ่น 14393 (Redstone).png|thumb|ภาพหน้าจอวินโดวส์ 10 ในเวอร์ชันปัจจุบันนี้]]
ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 วินโดวส์ 10 มีแนวทางการออกแบบที่สืบทอดจาก [[วินโดวส์ 8]] โดยมีหน้าต่างแบบจอสัมผัส และแบบดั้งเดิมที่ใช้เมาส์และคีย์บอร์ด สถาปัตยกรรมของระบบเอื้อให้สามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ [[แท็บเล็ต]] และ[[โทรศัพท์มือถือ]] โดยเพิ่มแอปจากร้านค้าวินโดวส์ เพื่อการรองรับโปรแกรมเพิ่มเติม อัปเดตระบบให้ผู้ใช้ [[วินโดวส์ 8.1]] และ[[วินโดวส์ 7]] โดยไม่คิดมูลค่า และได้หมดอายุไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559
 
== วินโดวส์ที่นิยมมากที่สุด ==
ในขณะนี้ Windows 7 มียอดผู้ใช้มากกว่า Windows XP ที่เป็นรุ่นเก่ากว่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะว่าผู้พัฒนาโปรแกรมต่างก็เข้าไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อ Windows 7 มากกว่า Windows XP และ Microsoft ได้หยุดสนับสนุน XP ไปแล้วเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2014 ที่ผ่านมา
 
== ไทม์ไลน์ ==
 
=== ตารางในแต่ละรุ่น ===
สีแดง คือ ล้าสมัย , สีเหลือง คือ ล้าสมัยแต่ยังคงสนับสนุนอยู่ , สีเขียว คือ เวอร์ชันปัจจุบัน
{| class="wikitable"
! rowspan="2" |ชื่อรุ่น
! rowspan="2" |เวอร์ชันล่าสุด
! rowspan="2" |วันที่เปิดตัว
! rowspan="2" |โค๊ดเนม
! colspan="2" |ระยะเวลาซัพพอร์ท
! colspan="3" |เวอร์ชันล่าสุดของ
|-
!หลัก
!ขยาย
!IE
!DirectX
!Edge
|-
|Windows 1.0
|1.01
|20 พฤศจิกายน 1985
|Interface Manager
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|N/A
|N/A
|N/A
|-
|Windows 2.0
|2.03
|9 ธันวาคม 1987
|ไม่มี
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|N/A
|N/A
|N/A
|-
|Windows 2.1
|2.11
|27 พฤษภาคม 1988
|ไม่มี
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|N/A
|N/A
|N/A
|-
|Windows 3.0
|3.0
|22 พฤษภาคม 1990
|ไม่มี
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|N/A
|N/A
|N/A
|-
|Windows 3.1
|3.1
|6 เมษายน 1992
|Janus
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows For Workgroups 3.1
|3.1
|ตุลาคม 1992
|Sparta, Winball
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows NT 3.1
|NT 3.1.528
|27 กรกฎาคม 1993
|ไม่มี
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows For Workgroups 3.11
|3.11
|11 สิงหาคม 1993
|Sparta, Winball
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows 3.2
|3.2
|22 พฤศจิกายน 1993
|ไม่มี
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows NT 3.5
|NT 3.5.807
|21 กันยายน 1994
|Daytona
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows NT 3.51
|NT 3.51.1057
|30 พฤษภาคม 1995
|ไม่มี
| colspan="2" |31 ธันวาคม 2000
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows 95
|4.0.950
|24 สิงหาคม 1995
|Chicago, 4.0
|31 ธันวาคม 2000
|31 ธันวาคม 2001
|5.5
|6.1
|N/A
|-
|Windows NT 4.0
|NT 4.0.1381
|31 กรกฎาคม 1996
|Cairo
|31 ธันวาคม 2000
|31 ธันวาคม 2001
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows 98
|4.10.1998
|25 มิถุนายน 1998
|Memphis, 97, 4.1
|30 มิถุนายน 2002
|11 กรกฎาคม 2006
|6
|6.1
|N/A
|-
|Windows 98 SE
|4.10.2222
|5 พฤษภาคม 1999
|ไม่มี
|30 มิถุนายน 2002
|11 กรกฎาคม 2006
|6
|6.1
|N/A
|-
|Windows 2000
|NT 5.0.2195
|15 ธันวาคม 1999
|ไม่มี
|30 มิถุนายน 2005
|13 กรกฎาคม 2010
|5
|N/A
|N/A
|-
|Windows ME
|4.90.3000
|14 กันยายน 2000
|Millenium, 4.9
|31 ธันวาคม 2003
|11 กรกฎาคม 2006
|6
|9.0c
|N/A
|-
|Windows XP
|NT 5.1.2600
|25 ตุลาคม 2001
|Whistler
|14 เมษายน 2009
|8 เมษายน 2014
|8
|9.0c
|N/A
|-
|Windows XP 64-bit Edition
|NT 5.2.3790
|28 มีนาคม 2003
|ไม่มี
|14 เมษายน 2009
|8 เมษายน 2014
|6
|9.0c
|N/A
|-
|Windows Server 2003
|NT 5.2.3790
|24 เมษายน 2003
|ไม่มี
|13 กรกฎาคม 2010
|14 กรกฎาคม 2015
|8
|9.0c
|N/A
|-
|Windows XP Professional x64 Edition
|NT 5.2.3790
|25 เมษายน 2005
|ไม่มี
|14 เมษายน 2009
|8 เมษายน 2014
|8
|9.0c
|N/A
|-
|Windows Fundamentals for Legacy PCs
|NT 5.1.2600
|8 กรกฎาคม 2006
|Eiger, Mönch
|14 เมษายน 2009
|8 เมษายน 2014
|8
|9.0c
|N/A
|-
|Windows Vista
|NT 6.0.6002
|30 มกราคม 2007
|Longhorn
|10 เมษายน 2012
|11 เมษายน 2017
|9
|11
|N/A
|-
|Windows Home Server
|NT 5.2.4500
|4 พฤศจิกายน 2007
|ไม่มี
| colspan="2" |8 มกราคม 2013
|8
|9.0c
|N/A
|-
|Windows Server 2008
|NT 6.0.6002
|27 กุมภาพันธ์ 2008
|Longhorn Server
|13 มกราคม 2015
|14 มกราคม 2020
|9
|11
|N/A
|-
|Windows 7
|NT 6.1.7601
|22 ตุลาคม 2009
|Blackcomb, Vienna
|13 มกราคม 2015
|14 มกราคม 2020
|11
|11
|N/A
|-
|Windows Server 2008 R2
|NT 6.1.7601
|22 ตุลาคม 2009
|ไม่มี
|13 มกราคม 2015
|14 มกราคม 2020
|11
|11
|N/A
|-
|Windows Home Server 2011
|NT 6.1.8400
|6 เมษายน 2011
|Vail
| colspan="2" |12 เมษายน 2016
|9
|11
|N/A
|-
|Windows Server 2012
|NT 6.2.9200
|4 กันยายน 2012
|ไม่มี
|9 มกราคม 2018
|10 มกราคม 2023
|10
|11.1
|N/A
|-
|Windows 8
|NT 6.2.9200
|26 ตุลาคม 2012
|ไม่มี
| colspan="2" |12 มกราคม 2016
|10
|11.1
|N/A
|-
|Windows 8.1
|NT 6.3.9600
|17 ตุลาคม 2013
|Blue
|9 มกราคม 2018
|10 มกราคม 2023
|11
|11.2
|N/A
|-
|Windows Server 2012 R2
|NT 6.3.9600
|18 ตุลาคม2 013
|Server Blue
|9 มกราคม 2018
|10 มกราคม 2023
|11
|11.2
|N/A
|-
|Windows 10
|NT 10.0.14393
|29 กรกฎาคม 2015
|Threshold, Restone
|13 ตุลาคม 2020
|14 ตุลาคม 2025
|11
|12
|25
|-
|Windows Server 2016
|NT 10.0.14393
|12 ตุลาคม 2016
|ไม่มี
|11 มกราคม 2022
|11 มกราคม 2027
|11
|12
|25
|}
=== เส้นทางสายวินโดวส์ (ถึง Windows 8) ===
[[ไฟล์:Windows Family Tree.svg|789px|center]]
 
== วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน ==
* [[วินโดวส์โมเบิล]] (Windows Mobile) วินโดวส์ซีอี (Windows CE) ใช้สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว และอุปกรณ์พกพา
** [[พ็อคเกตพีซี]] (Pocket PC) สำหรับ PDA
** พ็อคเก็ตพีซีรุ่นสำหรับโทรศัพท์ (Pocket PC Phone Edition) สำหรับลูกผสมของ PDA และโทรศัพท์
** สมาร์ทโฟน สำหรับโทรศัพท์
** Portable Media Center สำหรับ Digital Media Players
* [[วินโดวส์เอกซ์พี]] สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ค (เลขรุ่น: NT 5.1.2600)
** Windows XP Starter Edition สำหรับคอมพิวเตอร์วางขายใหม่ ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย)
** Windows XP Embedded สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
** Windows XP Home Edition สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
** Windows XP Home Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของ[[สหภาพยุโรป]]
** Windows XP Professional Edition สำหรับธุรกิจและผู้ใช้ระดับสูง
** Windows XP Professional Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของ[[สหภาพยุโรป]]
** Windows XP Tablet PC Edition สำหรับโน้ตบุ้คที่มีจอแบบสัมผัส
** Windows XP Media Center Edition สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ้คที่เน้นไปทางบันเทิงโดยเฉพาะ
* [[วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003]] สำหรับ[[เซิร์ฟเวอร์]] (เลขรุ่น: NT 5.2.3790)
** Small Business Server สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (สนับสนุน 2 ซีพียู)
** Web Edition สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป (สนับสนุน 2 ซีพียู)
** Standard Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำ[[คลัสเตอร์]] (สนับสนุน 4 ซีพียู)
** Enterprise Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์ (สนับสนุน 8 ซีพียู)
** Datacenter Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์เทียบเท่า[[เมนเฟรม]] (สนับสนุน 128 ซีพียู)
** Storage Server สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย
* [[วินโดวส์ วิสตา]] (Windows Vista) หรือชื่อเก่าคือ [[วินโดวส์ ลองฮอร์น]] (เลขรุ่น: NT 6.0.6000 , NT 6.0.6001 , NT 6.0.6002)
** Windows Vista Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวบรวมทุกความสามารถไว้ในตัวเดียว
** Windows Vista Enterprise ออกแบบมาสำหรับลดขั้นตอนการดูแล และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
** Windows Vista Business ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ
** Windows Vista Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
** Windows Vista Home Basic ออกแบบให้มีฟังก์ชันพื้นฐานและไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น
** Windows Vista Starter มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
* Windows Home Server 2007 (สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและการทำงานในบ้าน)
* [[:en:Windows Server 2008|วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008]] สำหรับเซิร์ฟเวอร์
** Windows Server 2008 Standard
** Windows Server 2008 Enterprise
** Windows Server 2008 Datacenter
** Windows HPC Server 2008 (รุ่นที่พัฒนาต่อจาก Windows Compute Cluster Server 2003)
** Windows Windows Web Server 2008
** Windows Storage Server 2008
** Windows Small Business Server 2008 (สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก)
** Windows Essential Business Server 2008
** Windows Server 2008 for Itanium-based Systems (สำหรับการรองรับตัวประมวลผล [[:en:Itanium|อินเทล อิทาเนียม]])
** Windows Server 2008 Foundation (เฉพาะเครื่อง OEMs เท่านั้น)
* [[วินโดวส์ 7]] (Windows 7) หรือ [[วินโดวส์ เซเวน]] (Windows Seven) (เลขรุ่น: NT 6.1.7600 , NT 6.1.7601)
** Windows 7 Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวมทุกๆ ความสามารถไว้ทั้งหมด
** Windows 7 Enterprise เหมือนรุ่น Ultimate แต่จำหน่ายให้ผู้ใช้ระดับองค์กรเท่านั้น
** Windows 7 Professional เหมือน Windows Vista Business แต่เพิ่มคุณสมบัติด้านความบันเทิงเข้ามาด้วยเหมือน Windows XP Professional
** Windows 7 Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
** Windows 7 Home Basic มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
** Windows 7 Starter รุ่นนี้ไม่มีวางจำหน่าย แต่ว่าจะติดมากับเน็ตบุ๊ค (Netbook) รุ่นใหม่ๆ เท่านั้น
* [[:en:Windows Server 2008 R2|วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2]] (NT 6.1) สำหรับเซิร์ฟเวอร์
** Windows Server 2008 R2 Foundation
** Windows Server 2008 R2 Standard
** Windows Server 2008 R2 Web Server
** Windows HPC Server 2008 R2
** Windows Server 2008 R2 Enterprise
** Windows Server 2008 R2 Datacenter
** Windows Server 2008 R2 for Itanium-based Systems (สำหรับการรองรับตัวประมวลผล [[:en:Itanium|อินเทล อิทาเนียม]])
* Windows Home Server 2011 (สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและการทำงานในบ้าน)
* [[วินโดวส์ 8]] (Windows 8) หรือ วินโดวส์ เอท (Windows Eight) (เลขรุ่น: NT 6.2.9200)
** Windows 8 รุ่นมาตรฐาน
** Windows 8 Pro เทียบได้กับรุ่น Professional ของ Windows รุ่นเก่าๆ คือเพิ่มฟีเจอร์มาจากรุ่นมาตรฐานอีกบางส่วน
** Windows 8 Enterprise รุ่น Pro แบบขายกับองค์กร เพิ่มฟีเจอร์มาอีกเล็กน้อย ไม่มีวางจำหน่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
** Windows RT ไม่มีวางจำหน่าย แต่จะติดตั้งมากับฮาร์แวร์ เช่น แท็บเลต สมาร์ทโฟน และมี Office 2013 RT ที่ทำงานในโหมดเดสก์ท็อปมาให้
* [[วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2012]] สำหรับเซิร์ฟเวอร์
** Windows Server 2012 Foundation (รุ่นพื้นฐาน มีเฉพาะแบบ OEMs เท่านั้น เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านและองค์กรขนาดเล็ก)
** Windows Server 2012 Essentials (พัฒนาต่อยอดจาก Windows Home Server มีทุกอย่างใน Foundation เพิ่มฟีเจอร์ Hyper-V,ตัวประมวลผลสูงสุด 2 ตัว, รองรับผู้ใช้งานได้ 25 Users เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก)
** Windows Server 2012 Standard (มีทุกอย่างใน Essentials เพิ่ม Active Directory Domain Server, ตัวประมวลผลสูงสุด 64 ตัว, หน่วยความจำสูงสุด 4 TB, จำนวนผู้ใช้งานไม่จำกัด เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง)
** Windows Server 2012 Datacenter (มีทุกอย่างใน Standard ไม่จำกัด Visualization Rights เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่)
* [[วินโดวส์ 8.1]] (Codename Blue) เป็นรุ่นปรับปรุงต่อจาก Windows 8 ไม่นับว่าเป็น ServicePack ของ Windows 8
* [[วินโดวส์ 10]] (Windows 10) หรือ วินโดวส์ เท็น (Windows Ten) (เลขรุ่น: NT 10.0.10240, NT 10.0.10586, (Insider Preview) NT 10.0.14279)
** Windows 10 Home เป็นรุ่นมาตรฐาน สำหรับการใช้ภายในบ้าน
** Windows 10 Pro เทียบได้กับรุ่น Pro ของ Windows 8 คือเพิ่มฟีเจอร์มาจากรุ่นมาตรฐานอีกบางส่วน อาทิ BitLocker , Hyper-V , Remote Desktop ที่สามารถทำได้ทั้ง Client และ host
** Windows 10 Enterprise เทียบได้กับรุ่น Pro ของ Windows 10 แต่เพิ่มฟิวเจอร์มาอีก เช่น AppLocker และ [[:en:Windows ToGo|Windows ToGo]]
** Windows 10 Enterprise LTSB (Long Term Servicing Branch) เหมือนกับ Windows 10 Enterprise ทุกประการ แต่จะต่างที่จะไม่มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ผ่าน Windows Update
** Windows 10 Education เหมือนกับ Windows 10 Enterprise ทุกประการ แต่จะให้ใช้กับนักศึกษาและสถานศึกษา
** Windows 10 Mobile เป็นรุ่นที่ออกแบบสำหรับโทรศัพท์ และ แท็บเล็ตขนาดเล็ก โดยจะทำงานคล้ายๆ กับ Windows Phone 8.1 และ Windows RT
** Windows 10 Insider Preview เป็นรุ่นที่ปล่อยให้กลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ Windows Insider Program ร่วมกันทดสอบฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงแก้ไขปัญหาใน Windows 10 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา Windows 10 รุ่นการพัฒนาต่อไป
** Windows 10 IoT Core เป็น Windows สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Embedded System ต่อยอดจาก Windows Embedded มีจำหน่ายเฉพาะอุปกรณ์ (OEMs)
** Windows 10 S เป็น Windows สำหรับนักเรียนและนักศึกษา โดยที่ไม่สามารถรันไฟล์ .exe ได้ แต่จะให้ติดตั้งและใช้แอพที่รันบน Windows Store เท่านั้น โดยมีค่าไลเซนส์น้อยมาก โดยมีราคาเริ่มต้นพร้อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ 189 ดอลลาร์สหรัฐ และฟรี ''[[Minecraft Educational Edition|Minecraft: Education Edition]]''. ในระยะเวลา 1 ปี
 
== วินโดวส์รุ่นก่อนๆ ==
* ใช้ฐานจากดอส
** [[พ.ศ. 2528]] (ค.ศ. 1985) - [[20 พฤศจิกายน]] - [[วินโดวส์ 1.0]]
** [[พ.ศ. 2530]] (ค.ศ. 1987) - [[9 ธันวาคม]] - [[วินโดวส์ 2.0]]
** [[พ.ศ. 2533]] (ค.ศ. 1990) - [[22 พฤษภาคม]] - [[วินโดวส์ 3.x|วินโดวส์ 3.0]]
** [[พ.ศ. 2535]] (ค.ศ. 1992) - [[สิงหาคม]] - วินโดวส์ 3.1 (เลขรุ่น: 3.1.103)
** [[พ.ศ. 2535]] (ค.ศ. 1992) - [[ตุลาคม]] - วินโดวส์ for Workgroups (เลขรุ่น: 3.1 3.1.102)
** [[พ.ศ. 2536]] (ค.ศ. 1993) - [[พฤศจิกายน]] - วินโดวส์ for Workgroups 3.11 (เลขรุ่น: 3.1 3.11.412)
* วินโดวส์ 9x
** [[พ.ศ. 2538]] (ค.ศ. 1995) - [[24 สิงหาคม]] - [[วินโดวส์ 95]] (เลขรุ่น: 4.00.950)
** [[พ.ศ. 2541]] (ค.ศ. 1998) - [[25 มิถุนายน]] - [[วินโดวส์ 98]] (เลขรุ่น: 4.1.1998)
** [[พ.ศ. 2542]] (ค.ศ. 1999) - [[5 พฤษภาคม]] - วินโดวส์ 98 Second Edition (เลขรุ่น: 4.1.2222)
** [[พ.ศ. 2543]] (ค.ศ. 2000) - [[14 กันยายน]] - [[วินโดวส์ Me]] (เลขรุ่น; 4.9.3000)
* ใช้เคอร์เนลเอ็นที
** [[พ.ศ. 2536]] (ค.ศ. 1993) - [[27 กรกฎาคม]] - [[วินโดวส์เอ็นที|วินโดวส์เอ็นที 3.1]] (เลขรุ่น: NT 3.10.528)
** [[พ.ศ. 2537]] (ค.ศ. 1994) - [[21 กันยายน]] - [[วินโดวส์เอ็นที|วินโดวส์เอ็นที 3.5]] (เลขรุ่น: NT 3.50.807)
** [[พ.ศ. 2538]] (ค.ศ. 1995) - [[30 พฤษภาคม]] - [[วินโดวส์เอ็นที|วินโดวส์เอ็นที 3.51]] (เลขรุ่น: NT 3.51.1057)
** [[พ.ศ. 2539]] (ค.ศ. 1996) - [[29 กรกฎาคม]] - [[วินโดวส์เอ็นที 4.0]] (เลขรุ่น: NT 4.0.1381) - รุ่นสุดท้ายที่ทำงานบนสถาปัตยกรรม [[RISC]] เช่น [[DEC Alpha]], [[MIPS architecture|MIPS]] และ [[PowerPC]] รุ่นหลังจากนี้จะเน้นสถาปัตยกรรม x86 เพียงอย่างเดียว
** [[พ.ศ. 2543]] (ค.ศ. 2000) - [[17 กุมภาพันธ์]] - [[วินโดวส์ 2000]] (เลขรุ่น: NT 5.0.2195)
 
== วินโดวส์ที่ถูกยกเลิก ==
[[ไฟล์:Nashville desktop.jpg|thumb|ภาพหน้าจอวินโดวส์แนชวิลล์]]
[[ไฟล์:Aneptunelogon.gif|thumb|left|ภาพหน้าจอวินโดวส์เนปจูน]]
* [[พ.ศ. 2539]] (ค.ศ. 1996) - [[วินโดวส์แนชวิลล์]] (เลขรุ่น: 4.10.999) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 95
* [[พ.ศ. 2542]] (ค.ศ. 1999) - [[วินโดวส์เนปจูน]] (เลขรุ่น: NT 5.5.5111) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ xp
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{วินโดวส์}}
 
[[หมวดหมู่:ไมโครซอฟท์ วินโดวส์| ]]
[[หมวดหมู่:ระบบปฏิบัติการ]]