ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอลฟ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rxy (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 223.205.241.49 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย OctraBot
→‎ที่มาของชื่อ: ความลับสหรัฐ ผู้เปิดเผยมีความผิดตามกฏหมายระหว่างประเทศ
บรรทัด 1:
== ข้อมูลนี้ถูกเก็บเป็นความลับ ==
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= |สำหรับ= |ดูที่=พราย (แก้ความกำกวม)|เปลี่ยนทาง=พราย}}
 
[[ไฟล์:Ängsälvor - Nils Blommér 1850.jpg|thumb|300px|''Ängsälvor'' "เอลฟ์แห่งท้องทุ่ง" ภาพวาดของนิลส์ บลอมเมอร์ ในปี ค.ศ. 1850]]
 
'''เอลฟ์''' ({{lang-en|elf}}) คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ใน[[ตำนานนอร์ส]]และตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก ([[สแกนดิเนเวีย]]และ[[เยอรมัน]]) เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ แต่หลังจาก [[ลอร์ดออฟเดอะริงส์]] ผลงานอันโด่งดังของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] ปรากฏออกมา ภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า [[เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)|เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีน]]มีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิง
 
== ที่มาของชื่อ ==
คำว่า "เอลฟ์" ใน[[ภาษาอังกฤษ]] มาจาก[[ภาษาอังกฤษเก่า]]ว่า ''ælf'' (บ้างเรียกว่า ''ylf'') ซึ่งมาจากคำในตระกูลโปรโต-เยอรมันว่า ''*albo-z, *albi-z'' ภาษา[[นอร์สโบราณ]]ว่า ''álfr'' เยอรมันยุคกลางชั้นสูงว่า ''elbe'' ในตำนานอังกฤษ[[ยุคกลาง]]นับถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือว่า ''เอลฟ์ (elf) '' เป็นเพศชาย ส่วนเพศหญิงจะเรียกว่า ''elven'' (ภาษาอังกฤษเก่าว่า ''ælfen'' ซึ่งมาจาก ''*albinnja'')
 
แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล [[โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน]] คือ ''*albh-'' ซึ่งมีความหมายว่า "ขาว" อันเป็นรากเดียวกันกับคำใน[[ภาษาละติน]] ''albus'' ที่แปลว่า "ขาว"<ref name="hall">Hall, Alaric Timothy Peter. 2004. [http://69.72.226.186/~alaric/phd.htm The Meanings of Elf and Elves in Medieval England] (Ph.D. University of Glasgow).</ref> อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ ''Rbhus'' นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของ[[อินเดีย]] (ดู [[พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด|พจนานุกรมของอ๊อกซฟอร์ด]]) แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก
 
คำเรียกเอลฟ์แบบต่างๆ ใน[[ภาษากลุ่มเจอร์แมนิก]] นอกเหนือจาก[[ภาษาอังกฤษ]] มีดังนี้
* [[ภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ|เจอร์แมนิกเหนือ]]
** [[นอร์สโบราณ]] : ''álfr'' พหูพจน์ ''álfar''
** [[ภาษาไอซ์แลนด์|ไอซ์แลนด์]] : ''álfar, álfafólk'' และ ''huldufólk'' (ชนผู้ซ่อนตัว)
** [[ภาษาเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] : ''Elver, elverfolk'' หรือ ''alfer'' (คำว่า ''alfer'' ในปัจจุบันแปลว่า ภูต (fairies))
** [[ภาษานอร์เวย์|นอร์เวย์]] : ''alv, alven, alver, alvene / alvefolket''
** [[ภาษาสวีเดน|สวีเดน]] : ''alfer, alver'' หรือ ''älvor'' (สำหรับคำเพศหญิง)
* เจอร์แมนิกตะวันตก
** [[ภาษาดัตช์|ดัตช์]] : ''elf, elfen, elven, alven''
** [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]] : ''Elf'' (ชาย) , ''Elfe'' (หญิง) , ''Elfen'' "fairies", ''Elb'' (ชาย, พหูพจน์ ''Elbe'' หรือ ''Elben'') <ref>''Elb'' เป็นคำเพศชายที่สร้างขึ้นใหม่จากรูปศัพท์พหูพจน์ โดย [[เจค็อบ กริมม์]] ในหนังสือ ''Deutsches Wörterbuch'' เนื่องจากไม่ต้องการใช้คำ ''Elfe'' ซึ่งดูเหมือนชาวอังกฤษ</ref> เป็นคำสร้างขึ้นใหม่ ส่วน ''Elbe'' (หญิง) เป็นคำในภาษาเยอรมันยุคกลางชั้นสูง ''Alb Alp'' (ชาย) พหูพจน์ ''Alpe'' มีความหมายเหมือนกับ "incubus" (ภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก ''alp'' พหูพจน์ ''*alpî'' หรือ ''*elpî'')
* โกธิค : ''*albs'', พหูพจน์ ''*albeis'' ([[โปรคอพิอุส]] นักปราชญ์ชาวโรมัน มีชื่อเดิมว่า ''Albila'')
 
ใน [[ลอร์ดออฟเดอะริงส์]] ฉบับแปลภาษาไทย ใช้คำว่า "พราย" สำหรับความหมายของ [[เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)|เอลฟ์]] ซึ่งทำให้เกิดนิยามใหม่สำหรับความหมายของ "พราย" นอกเหนือจากความหมายแต่เดิมที่หมายถึง ผีจำพวกหนึ่ง (มักใช้กับผีผู้หญิงตายทั้งกลม)
 
== เอลฟ์ในตำนานนอร์ส ==
[[ไฟล์:Freyr art.jpg|thumb|200px|เทพเฟรย์ เจ้าแห่งเอลฟ์สว่าง (light-elves)]]
 
เรื่องของเอลฟ์ที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในตำนานปรัมปราของพวก[[นอร์ส]] ใน[[ตำนานนอร์ส|ปกรณัมนอร์สโบราณ]]เรียกพวกเอลฟ์ว่า '''อัลฟาร์''' (álfar) อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีหลักฐานที่เก่าแก่กว่าหรือหลักฐานในยุคเดียวกันกับพวกนอร์ส แต่ชื่อ อัลฟาร์ ก็มีความเกี่ยวพันอยู่อย่างมากใน[[นิทานพื้นบ้าน]]หลายแห่งจนอาจเชื่อได้ว่า เอลฟ์ เป็นที่รู้จักอยู่ทั่วไปนานแล้วในหมู่ชนเผ่าเยอรมัน ไม่ได้เป็นที่รู้จักแต่เพียงในหมู่สแกนดิเนเวียนโบราณเท่านั้น
 
ไม่มีแหล่งข้อมูลใดอธิบายได้ชัดเจนว่าเอลฟ์คืออะไร แต่พวกเอลฟ์ดูจะเป็นที่รู้จักในฐานะสิ่งมีชีวิตขนาดเดียวกันกับมนุษย์ มีพลังอำนาจมากและสวยงามมาก มีมนุษย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนได้รับยกย่องให้เป็นเอลฟ์หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เช่น กษัตริย์ โอลาฟ เกย์สตัด-เอลฟ์ (Olaf Geirstad-Elf) หรือ วีรบุรุษนาม โวลุนด์ (Völundr) ก็ถูกกล่าวขานว่าเป็น "ผู้เป็นใหญ่แห่งเอลฟ์" (vísi álfa) หรือว่าเป็น "หนึ่งในหมู่เอลฟ์" (álfa ljóði) ดังปรากฏในบทกวี Völundarkviða ซึ่งในวรรณกรรมร้อยแก้วยุคหลังระบุว่าเขาเป็นโอรสของกษัตริย์แห่ง "ฟินนาร์" (Finnar) อันเป็นพลเมืองแถบขั้วโลกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีเวทมนตร์ (หมายถึงพวก [[ซามี]] (Sami)) ในมหากาพย์ไทเดรค ราชินีชาวมนุษย์ผู้หนึ่งต้องประหลาดใจเป็นล้นพ้นเมื่อพบว่าคนรักของนางเป็นเอลฟ์ ไม่ใช่มนุษย์ นอกจากนี้ในมหากาพย์ Hrolf Kraki กษัตริย์องค์หนึ่งชื่อ เฮลกิ (Helgi) ขืนใจนางเอลฟ์ตนหนึ่งจนตั้งครรภ์ นางเอลฟ์ผู้นี้กล่าวกันว่าคลุมร่างด้วยผ้าไหมและเป็นสตรีที่สวยงามที่สุดเท่าที่คนเคยพบ
 
สายเลือดผสมระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์น่าจะเริ่มต้นมาจากความเชื่อเก่าแก่ในตำนาน[[นอร์สโบราณ]]นี้เอง ราชินีชาวมนุษย์ผู้มีคนรักเป็นเอลฟ์ให้กำเนิดวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ Högni ส่วนนางเอลฟ์ซึ่งถูกกษัตริย์เฮลกิขืนใจให้กำเนิดธิดานามว่า สกุลด์ (Skuld) ภายหลังได้วิวาห์กับ Hjörvard ซึ่งเป็นผู้สังหาร Hrólfr Kraki ในมหากาพย์ Hrolf Kraki เล่าว่า สกุลด์ผู้เป็นลูกครึ่งเอลฟ์มีอำนาจวิเศษทางเวทมนตร์ และไม่มีใครสามารถเอาชนะในการศึกกับนางได้เลย เมื่อนักรบคนใดของนางถูกสังหาร นางจะเสกให้เขาลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อไป หนทางเดียวที่จะเอาชนะนางได้คือต้องจับตัวนางเสียก่อนที่นางจะเรียกรวมกองทัพของนางได้ ซึ่งรวมถึงกองทัพเอลฟ์ด้วย<ref>''Setr Skuld hér til inn mesta seið at vinna Hrólf konung, bróður sinn, svá at í fylgd er með henni álfar ok nornir ok annat ótöluligt illþýði, svá at mannlig náttúra má eigi slíkt standast.'' จาก [http://www.heimskringla.no/original/fornaldersagaene/hrolfsagakraka.php มหากาพย์ Hrolf Kraki] {{no icon}}</ref>
 
ในมหากาพย์ ''Heimskringla'' และมหากาพย์''ธอร์สไตน์ (Thorstein) '' มีการบันทึกลำดับสันตติวงศ์ของกษัตริย์ผู้ครอง '''อัล์ฟเฮม''' ดินแดนซึ่งสอดคล้องกับแคว้น Bohuslän ในสวีเดนกับแคว้น Østfold ในนอร์เวย์ กษัตริย์เหล่านี้สืบทอดเชื้อสายมาจากเอลฟ์ จึงกล่าวกันว่าเป็นผู้ที่งดงามยิ่งกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป
 
<blockquote>
''แผ่นดินซึ่งปกครองโดยพระราชาอัลฟ์มีชื่อเรียกว่า อัล์ฟเฮม ทายาทของพระองค์ล้วนเป็นผองญาติของเอลฟ์ พวกเขางดงามยิ่งกว่าชนทั้งหลาย''<ref>[http://www.northvegr.org/lore/viking/001_02.php The Saga of Thorstein, Viking's Son] (ต้นฉบับภาษานอร์สโบราณ: [http://www.snerpa.is/net/forn/thorstei.htm Þorsteins saga Víkingssonar]). บทที่ 1.</ref>
</blockquote>
 
กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้มีชื่อว่า ''แกนดัล์ฟ'' (Gandalf) <ref>''Harald Fairhair's saga'' จาก ''Heimskringla''</ref>
 
[[นักประวัติศาสตร์]]และนักเทววิทยาชาว[[ไอซ์แลนด์]]ชื่อ Snorri Sturluson เรียกพวก[[คนแคระ]] (dvergar) ว่า "เอลฟ์มืด" (dark-elves: dökkálfar) หรือ "เอลฟ์ดำ" (black-elves: svartálfar) สิ่งนี้สะท้อนถึงความเชื่อในยุคกลางของสแกนดิเนเวียนหรือไม่ยังไม่แน่ชัด<ref name="hall" /> แต่เขาเรียกพวกเอลฟ์อื่นๆ ว่า เอลฟ์สว่าง (light-elves: ljósálfar) ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องระหว่างพวกเอลฟ์กับเทพเฟรย์ (Freyr) ผู้เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ Snorri บรรยายความแตกต่างของพวกเอลฟ์ไว้ว่า
 
<blockquote>
''"มีที่แห่งหนึ่งบนนั้น [ในห้วงเวหา] เรียกชื่อว่า นิวาสเอลฟ์ (Elf Home หรือ Álfheimr อัล์ฟเฮม) ผองชนผู้อาศัยอยู่ที่นั่นเรียกว่า เอลฟ์สว่าง (light elves: Ljósálfar) ส่วนพวกเอลฟ์มืด (dark elves: Dökkálfar) อาศัยอยู่ใต้พื้นโลก พวกเขามีร่างปรากฏไม่เหมือนกัน ทั้งมีความจริงแท้แตกต่างกันยิ่งกว่า เอลฟ์สว่างมีร่างปรากฏสว่างไสวยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ แต่พวกเอลฟ์มืดนั้นดำสนิทยิ่งกว่าห้วงเหว"''<ref>Snorri Sturluson . ''จารึกเอ็ดดา'', ถอดความโดย รัสมุส บี. แอนเดอร์สัน (1897). บทที่ 7. </ref>
</blockquote>
 
== เอลฟ์ในตำนานสแกนดิเนเวีย ==
[[ไฟล์:Älvalek.jpg|thumb|350px|''Älvalek'' "เอลฟ์เริงระบำ" ภาพวาดของออกัสต์ มัลสตรอม ในปี ค.ศ. 1866]]
 
ในนิทานพื้นบ้านของชาว[[สแกนดิเนเวีย]] ซึ่งได้ผสมผสานกลืนไปกับตำนานปรัมปราของนอร์สกับตำนานของชาว[[คริสเตียน]] เรียกชื่อ "เอลฟ์" ออกไปต่างๆ กัน กล่าวคือ ''elver'' ใน[[ภาษาเดนมาร์ก]] ''alv'' ใน[[ภาษานอร์เวย์]] ''alv'' หรือ ''alva'' ใน[[ภาษาสวีเดน]] (คำแรกใช้เรียกเอลฟ์ชาย คำหลังใช้เรียกเอลฟ์หญิง) แต่คำเรียกของชาวนอร์เวย์มักไม่ใคร่พบเห็นในตำนานพื้นบ้านเท่าใดนัก หากพวกเขาต้องการเอ่ยถึงก็มักใช้คำอื่นคือ ''huldrefolk'' หรือ ''vetter'' ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ขุดรูอาศัยอยู่ใต้พิภพ คล้ายคลึงกับพวก[[คนแคระ]]ในตำนานนอร์สมากกว่าพวกเอลฟ์ หากเทียบกับตำนาน[[ไอซ์แลนด์]]จะเปรียบได้กับชาว huldufólk (ชนผู้ซ่อนตัว)
 
เอลฟ์ในตำนานของ[[เดนมาร์ก]]และ[[สวีเดน]]จะแตกต่างไปจากพวก ''vetter'' ทั้ง ๆ ที่ดินแดนของพวกเขาประชิดแทบเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนภูตตัวเล็กมีปีกเหมือนแมลงในตำนานของชาว[[บริเตน]]จะเรียกว่า "älvor" ในคำสวีเดนยุคใหม่ หรือ "alfer" ในภาษาเดนมาร์ก ชาว "alf" ปรากฏในเทพนิยายเรื่องหนึ่งของ [[เอช. ซี. แอนเดอร์เซน]] นักเขียนชาวเดนมาร์ก เรื่อง ''เอลฟ์แห่งกุหลาบ (The Elf of the Rose) '' โดยที่เขามีตัวเล็กมากจนสามารถใช้ดอกกุหลาบเป็นบ้านได้ อีกทั้งยังมีปีกซึ่ง "ยาวจากไหล่จดปลายเท้า" ทว่าแอนเดอร์เซนยังได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับเอลฟ์อีกเรื่องหนึ่งคือ ''The Elfin Hill'' เอลฟ์ในเรื่องนี้กลับไปคล้ายคลึงกับเอลฟ์ในนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ของเดนมาร์ก คือเป็นสตรีผู้สวยงาม อาศัยอยู่ตามเนินเขาและภูผา สามารถเต้นรำกับชายหนุ่มจนกระทั่งเขาสิ้นชีวิต หากมองพวกนางจากด้านหลังจะเห็นเพียงความว่างเปล่า เช่นเดียวกับ ''ฮุลดรา (huldra) '' ในตำนานของนอร์เวย์และสวีเดน
 
เอลฟ์ในตำนานนอร์สซึ่งปรากฏร่องรอยอยู่ในลำนำพื้นบ้านส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง อาศัยอยู่ตามป่าเขาหรือหมู่หิน ''älvor'' ของชาวสวีเดน (เอกพจน์เรียก älva) เป็นเหล่าเด็กหญิงผู้งดงามจนน่าตื่นตะลึง อาศัยอยู่ในป่ากับกษัตริย์เอลฟ์ พวกนี้มีอายุยืนยาวมากและมักรื่นเริงไร้แก่นสาร ภาพวาดของพวกเอลฟ์มักเป็นภาพชนสวยงามผมสีอ่อน สวมเสื้อผ้าสีขาว แต่ก็ดุร้ายเกรี้ยวกราดหากถูกบุกรุก (เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในลำนำพื้นบ้านของสแกนดิเนเวีย) ในนิทาน พวกเขามักรับบทเป็นวิญญาณแห่งความเจ็บป่วย เรียกว่า ''älvablåst'' (สายลมแห่งเอลฟ์) ซึ่งปกติแล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่มักเกิดเหตุขึ้นเสมอหากพวกเขาถูกทำให้ขุ่นเคือง สามารถรักษาได้โดยใช้แรงลมต้าน ''Skålgropar'' ที่สร้างจากเครื่องเป่าลม พบในงานสลักโบราณของสแกนดิเนเวีย ในยุคเก่าแก่เรียกกันว่า älvkvarnar หรือ เครื่องสีของเอลฟ์ (elven mills) ซึ่งสื่อถึงความเชื่อของพวกเขา มนุษย์อาจเอาอกเอาใจพวกเอลฟ์ได้โดยการเสนอสิ่งของที่พวกเขาชื่นชอบ (ส่วนมากมักเป็นเนย) โดยวางเอาไว้ในเครื่องสีของเอลฟ์ สิ่งนี้อาจเป็นกำเนิดของวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกอยู่ในหมู่นอร์สโบราณ ที่เรียกว่า ''álfablót''
 
หากมนุษย์เฝ้ามองการเริงระบำของพวกเอลฟ์ เขาจะรู้สึกว่าตนกำลังแลดูการเต้นรำนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ความเป็นจริงเวลาได้ล่วงผ่านไปนานหลายปี (ปรากฏการณ์ทางเวลานี้มีปรากฏในวรรณกรรมของ[[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน|โทลคีน]] เรื่อง [[ซิลมาริลลิออน]] เมื่อ[[ธิงโกล]]เฝ้าดูเทพี[[เมลิอัน]] นอกจากนี้ยังปรากฏในตำนานของ[[ไอริช]] เกี่ยวกับ sídhe ด้วย) ลำนำบทหนึ่งในช่วงปลายของ[[ยุคกลาง]]เล่าเรื่องเกี่ยวกับ Olaf Liljekrans เขาได้รับเชิญจากราชินีเอลฟ์ให้เต้นรำด้วยกัน แต่เขาปฏิเสธเพราะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเขาเข้าร่วมการเต้นรำนั้น ขณะนั้นเขากำลังเดินทางกลับบ้านเพื่อไปสู่งานวิวาห์ของตน ราชินีเสนอของขวัญให้แก่เขา แต่เขาก็ปฏิเสธอีก นางจึงขู่จะฆ่าเขาหากเขาไม่ยอมเข้าร่วม เขาขี่ม้าหนีไป แต่ก็ตายหลังจากนั้นด้วยโรคร้ายที่ราชินีส่งตามหลังเขามา เจ้าสาวผู้อ่อนเยาว์ของเขาก็เสียชีวิตตามไปด้วยหัวใจแหลกสลาย<ref>โทมัส ไคท์ลีย์ (1870). ''[http://www.sacred-texts.com/neu/celt/tfm/ ตำนานภูตพราย]''. แปลบทลำนำไว้เป็นสองฉบับได้แก่: [http://www.sacred-texts.com/neu/celt/tfm/tfm018.htm Sir Olof in Elve-Dance] และ [http://www.sacred-texts.com/neu/celt/tfm/tfm019.htm The Elf-Woman and Sir Olof].</ref>
 
== เอลฟ์ในตำนานเยอรมัน ==
เอลฟ์ ในภาษาแซกซอนโบราณเรียก ''alf'' เยอรมันยุคกลางชั้นสูงเรียก ''alb'' หรือ ''alp'' (พหูพจน์ ''elbe, elber'') ส่วนในภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก ''alb'' (ตามที่ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 13) <ref>Marshall Jones Company (1930). ''Mythology of All Races Series'', Volume 2 Eddic, บริเตนใหญ่: มาร์แชล โจนส์, 1930, pp. 220.</ref> เอลฟ์ดั้งเดิมในตำนานเยอรมันยุคคนเถื่อนนอกศาสนา เป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่องสว่างอาศัยอยู่บนสวรรค์ ทั้งนี้อาจหมายรวมถึงพวกเอลฟ์มืดและคนแคระที่อาศัยอยู่ใต้พิภพด้วย (ดังที่เข้าใจว่าคล้ายคลึงกับพวก ''álfr'' ในตำนานนอร์สโบราณ) ในลำนำพื้นบ้านหลังยุคคริสเตียน เริ่มมีการพรรณนาถึงพวกเอลฟ์ว่าเป็นกลุ่มชนซุกซนชอบเล่นแผลงๆ นำความเจ็บป่วยมายังผู้คนและสัตว์เลี้ยง รวมถึงนำเอาฝันร้ายมาใส่ผู้นิทราด้วย คำใน[[ภาษาเยอรมัน]]ที่หมายถึงฝันร้าย คือ ''Albtraum'' มีความหมายตรงตัวว่า "ฝันของเอลฟ์" คำเก่าแก่กว่านั้นคือ ''Albdruck'' มีความหมายว่า "แรงกดของเอลฟ์" เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ฝันร้ายเกิดจากการที่เอลฟ์มานั่งทับอยู่บนทรวงอกของผู้ฝัน ความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในตำนานเยอรมนี้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับความเชื่ออย่างหนึ่งใน[[ตำนานสแกนดิเนเวีย]]เกี่ยวกับ [[มารา]] คือจิตภูตสตรีผู้ร้ายกาจที่บันดาลให้เกิดฝันร้าย นอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับตำนานว่าด้วย incubi และ succubi ด้วย<ref name="hall" />
 
กษัตริย์เอลฟ์มีปรากฏอยู่ในตำนานค่อนข้างน้อย ไม่เหมือนเหล่าเอลฟ์สตรีผู้มีอำนาจมากมายดังในตำนานของเดนมาร์กและสวีเดน [[มหากาพย์]]ยุคกลางของเยอรมันเรื่องหนึ่งชื่อ ''Nibelungenlied'' มีตัวละครเอกตัวหนึ่งเป็นคนแคระนามว่า ''Alberich'' คำนี้มีความหมายตรงตัวแปลว่า "กษัตริย์เอลฟ์ผู้ทรงอำนาจ" ความสับสนปนเประหว่างเอลฟ์กับคนแคระนี้มีปรากฏสืบต่อมาอยู่ในจารึกเอ็ดดา (Edda) ด้วย ชื่อของตัวละครนี้ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ''Alberon'' ในเวลาต่อมาได้ปรากฏใน[[วรรณกรรม]][[อังกฤษ]]ในชื่อ ''Oberon'' ในฐานะกษัตริย์แห่งเอลฟ์และภูตทั้งหลายในบทละครเรื่อง [[ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน]] ของ [[เชกสเปียร์]]
 
ใน[[เทพนิยาย]]ของ[[พี่น้องตระกูลกริมม์]]เรื่องแรก คือ ''Die Wichtelmänner'' ตัวเอกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อเรื่องเป็นหุ่นเปลือยสองตัวซึ่งทำงานช่วยช่างทำรองเท้า เมื่อช่างให้รางวัลแก่พวกเขาเป็นเศษผ้าชิ้นเล็กๆ พวกเขาก็ดีใจมาก แล้ววิ่งหนีหายไปไม่มีใครพบอีกเลย ''Wichtelmänner'' เป็นภูตเล็กๆ ชนิดหนึ่งทำนองเดียวกับ[[คนแคระ]] [[:en:Kobold|kobold]] และ [[:en:Brownie (mythology)|brownie]] แต่เมื่อบทประพันธ์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ กลับมีชื่อเรื่องว่า ''เอลฟ์กับช่างทำรองเท้า'' (The Elves and the Shoemaker) แนวคิดนี้ยังได้สะท้อนต่อมาอยู่ในวรรณกรรมของ [[เจ. เค. โรว์ลิ่ง]] เรื่อง [[แฮร์รี่ พอตเตอร์]] ในลักษณะของ เอลฟ์ประจำบ้าน
 
== เอลฟ์ในตำนานอังกฤษ ==
[[ไฟล์:Poor little birdie teased by Richard Doyle.jpg|thumb|left|250px|''Poor little birdie teased'' ภาพวาดโดย ริชาร์ด ดอยล์ นักวาดภาพยุควิคตอเรีย แสดงให้เห็นมุมมองความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในลำนำพื้นบ้านของอังกฤษ เป็นสิ่งมีชีวิตในป่าคล้ายมนุษย์ร่างเล็กจิ๋ว]]
คำว่า ''เอลฟ์ (elf) '' เป็นคำ[[ภาษาอังกฤษ]]ใหม่ ซึ่งนำมาจาก[[ภาษาอังกฤษเก่า]]ว่า ''ælf'' (พหูพจน์ ''ælfe'') คำนี้มาสู่บริเตนได้โดยผ่านชาวแองโกล-แซกซอน<ref name="hall" /> ยังมีคำที่หมายถึง [[พรายน้ำ|นางพรายน้ำ]] (nymph) ใน[[ตำนานเทพเจ้ากรีก|ตำนานกรีก]]และ[[ตำนานโรมัน|โรมัน]] ที่แปลมาโดยปราชญ์ชาวแองโกลแซกซอนว่า ''ælf'' และเพี้ยนเสียงไปเป็นคำต่างๆ<ref name="hall" />
 
มีเหตุผลเพียงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า เอลฟ์ของ[[แองโกลแซกซอน]] น่าจะคล้ายคลึงกับเอลฟ์ในตำนาน[[นอร์สโบราณ]] กล่าวคือ มีลักษณะเหมือนมนุษย์ รูปร่างสูงใหญ่เหมือนอย่างมนุษย์ มักมีผู้นำเป็นหญิง สามารถให้ความช่วยเหลือหรือทำอันตรายแก่มนุษย์ที่ประสบกับพวกเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ''æsir'' กับ ''álfar'' ที่พบในจารึกเอ็ดดา เป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงงานเขียนเรื่อง ''Wið færstice'' ในตำนานอังกฤษโบราณ รวมถึงเป็นที่มาของคำว่า os และ ælf ในชื่อ[[ภาษาแองโกลแซกซอน]]ด้วย (เช่น Oswald หรือ Ælfric) <ref name="hall" />
 
ในแง่ของความงดงามของเอลฟ์ใน[[ตำนานนอร์ส]] มีคำในภาษาอังกฤษเก่าบางคำ เช่น ''ælfsciene'' ("งามดั่งเอลฟ์") สำหรับใช้ในการบรรยายความงามอันยั่วยวนของสตรีบางคนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ เช่นในบทกวีอังกฤษโบราณเรื่อง ''Judith'' และ ''Genesis A'' เป็นต้น<ref name="hall" /> ในชุมชนหลายแห่งตลอดทั่วอังกฤษมักมีความเชื่อต่อพวกเอลฟ์ว่าเป็นพวกที่สวยงามและชอบช่วยเหลือคน แต่ในส่วนของแองโกลแซกซอนแล้ว พวกเอลฟ์เป็นเหมือนกับปีศาจ ตัวอย่างดังเช่นที่ปรากฏในบทกวีเรื่อง [[เบวูล์ฟ]] บรรทัดที่ 112 ในอีกทางหนึ่ง ''oaf'' ซึ่งเป็นคำที่เพี้ยนมาจาก ''elf'' เชื่อว่ามีความหมายเดิมสื่อถึงความลุ่มหลงงมงายอันเกิดจากเวทมนตร์มายาของพวกเอลฟ์
 
เรื่องของเอลฟ์ปรากฏอยู่มากมายในบทลำนำดั้งเดิมของ[[อังกฤษ]]และ[[สก็อตแลนด์]] รวมถึงนิทานพื้นบ้านทั้งหลาย โดยมากเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางไปยัง '''เอลป์เฮม''' (Elphame หรือ Elfland แดนเอลฟ์ คำเดียวกันกับ อัล์ฟเฮม (Álfheim) ในตำนานนอร์ส) ดินแดนลี้ลับที่น่าหวาดหวั่น บางครั้งภาพวาดของเอลฟ์จะเป็นโครงร่างแสงสว่าง เช่นราชินีแห่งเอลป์เฮมในบทลำนำ ''Thomas the Rhymer'' กระนั้นก็มีตัวอย่างมากมายที่เอลฟ์เป็นตัวละครอันแสนชั่วร้าย มักเป็นขโมยหรือฆาตกร เช่นใน ''Tale of Childe Rowland'' หรือลำนำ ''Lady Isabel and the Elf-Knight'' ซึ่งอัศวินเอลฟ์ลักพาตัวอิซาเบลไปเพื่อสังหารเสีย เอลฟ์ในบทลำนำเหล่านี้มักเป็นเพศชาย มีเอลฟ์หญิงแต่เพียงคนเดียวคือราชินีแห่งแดนเอลฟ์ที่ปรากฏในลำนำ ''Thomas the Rhymer'' เท่านั้น แต่ในบรรดาตำนานทั้งหมดนี้ไม่มีเรื่องไหนเลยที่เอลฟ์เป็นภูตพรายร่างเล็กจิ๋ว
 
นิทานพื้นบ้านของอังกฤษในช่วงต้นยุคใหม่นี้เองที่เริ่มวาดภาพเอลฟ์เป็นผองชนตัวเล็กๆ ผู้ว่องไวและซุกซน แม้จะไม่ใช่ปีศาจแต่ก็มักสร้างความรำคาญแก่มนุษย์หรือขัดขวางกิจธุระให้เสียหาย บางครั้งเล่ากันว่าพวกเอลฟ์สามารถหายตัวได้ ตำนานในลักษณะนี้ เอลฟ์มีความคล้ายคลึงกับพวกภูตมากขึ้น
 
ในเวลาต่อมา คำว่า เอลฟ์ และ ภูต เริ่มนำมาใช้แทนความหมายของจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติในหลายๆ รูปแบบ ดังเช่น [[ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน|พัค]] ฮอบกอบลิน โรบิน กู้ดเฟลโลว์ และอื่นๆ คำเหล่านี้และคำใกล้เคียงในหมู่ภาษายูโรเปียนอื่นๆ ก็ไม่ได้สื่อความหมายถึงชนเผ่าในตำนานพื้นบ้านอีกต่อไป
 
== เอลฟ์ยุคใหม่ ==
=== เอลฟ์ในตำนานคริสต์มาส ===
พวกเอลฟ์ คือ คนชนิดหนึ่งที่มีใบหูแหลมและยาวมาก และมีตัวเตี้ย พวกเอลฟ์ จะทำของขวัญให้ซานต้าเพื่อไปแจกเด็กๆในวันคริสมาส พวกเอลฟ์ต้องทำงานหนักในนคริสมาส เพื่อแจกของขวัญให้แก่เด็ก
 
=== เอลฟ์ในแฟนตาซียุคใหม่ ===
 
== ดูเพิ่ม ==
ชื่อที่มีคำว่าเอลฟ์ในราชวงค์พระเจ้าแผ่นดิน
* [[เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)]]
* [[เอลสวิธ]]
* [[พระเจ้าเอลฟ์เวียร์ดแห่งเวสเซกซ์]]
* [[พระเจ้าเอ็ดวี]]
หมายเหตุ คำที่ขึ้นว่าอัล,เอ็ด,แอมีความหมายทำนองว่า เหนือฟ้า หรือ เจ้าฟ้า
ถ้าเป็นพระเจ้าเอ็ดวี เขียนเป็นไทยได้ว่า พระเจ้าฟ้าวีแห่งอังกฤษ ต่างจากเจ้าฟ้าชายหรือเจ้าฟ้าหญิง ที่มีพระยศฐาเป็นลูก
พระเจ้าเอลฟ์เวียร์ดแห่งเวสเซกซ์ เขียนเป็นไทยได้ว่า พระเจ้าป่าเวียร์ดแห่งเวสเซกซ์
ป่าเป็นสิ่งที่ลี้ลับและทรงพระอำนาจยิ่ง กว้างใหญ่ครองคลุมทุกพื้นที่บนแผ่นดิน
 
== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Elf}}
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ตำนาน|อ]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ในตำนาน|อ]]
[[หมวดหมู่:เทพปกรณัมนอร์ส|อ]]
__NOINDEX__
__NONEWSECTIONLINK__
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เอลฟ์"