ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะฟรันซิสกัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
* [[สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5]]
 
== ประวัติศาสตร์คณะฟรันซิสกัน ==
หลังจากนักบุญฟรันซิสมรณะในปี ค.ศ.1226 ได้เกิดแนวคิดแปลกแยกออกไปอีกมากมาย มีการตั้งคณะย่อยๆ ออกไปอีกหลายคณะด้วยกัน ที่สำคัญเป็นความขัดแย้งทางความคิดในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามที่นักบุญฟรันซิสมุ่งหมายไว้ ซึ่งนักบุญฟรันซิสเอง โดยส่วนตัวแล้วก็มีความชอบทั้งการเพ่งพิศภาวนาอย่างสันโดษ และการออกไปสู่โลกแห่งความจริงที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่โดยทั่วไป จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่สมัยของนักบุญฟรันซิสยังมีชีวิตอยู่ก็มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันมาโดยตลอด สมัยต่อๆ มาก็มีบางพวกที่ต้องการอยู่แต่ในอาราม บางพวกก็ชอบที่จะเรียนหนังสือ หรือเป็นนักเทศน์ ซึ่งเป็นแนวคิดอิสระตามที่ภราดาแต่ละคนสนใจ
 
เริ่มต้นด้วยกลุ่มภราดาที่ต้องการดำเนินชีวิตอยู่อารามในเขตเมือง เรียกว่า ภราดาน้อยคอนเวนชวล (Friars Minor Conventual) มีความคิดที่จะขยายอุดมการณ์ของนักบุญฟรันซิส เพราะภราดาบางคนชอบที่จะอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดที่มีลักษณะเป็นเมือง หรือบางคนก็ชอบอยู่ตามชานเมือง เพราะว่าชานเมืองมักเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือสถานบำบัดต่างๆ ซึ่งในยุคกลาง สถานพยาบาลพวกนี้ถูกจัดตั้งนอกเขตเมือง เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคต่างๆ ทำให้พวกภราดามีความสะดวก สามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับการดูแลคนป่วยได้โดยง่ายกว่าหากต้องอาศัยอยู่ตามชนบทที่ห่างไกล นอกจากงานพยาบาลดูแลคนป่วยแล้ว พวกภราดาสามารถทำงานได้ทุกอย่าง ตั้งแต่งานเล็กๆ น้อยๆ จนถึงการสร้างโบสถ์วิหาร อย่างไรก็ตาม คณะเกิดข้อโต้แย้งและสร้างความแตกแยกกับกลุ่มภารดาที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ในเมือง หรือตามชานเมือง โดยทางคณะมีความคิดเห็นว่า การดำเนินชีวิตแบบฟรันซิสกันแท้นั้น เน้นเรื่องการพิศเพ่งภาวนาในที่เปลี่ยว จึงควรจะใช้ชีวิตในชนบทมากกว่าการใช้ชีวิตในอารามที่มีลักษณะเป็นเมือง และภราดาควรจะดำเนินชีวิตแบบสันโดษ ไม่ควรที่จะไปคลุกคลีและทำงานตามชุมชนเมืองเช่นที่พวกเขาทำอยู่ พวกเขาจึงแยกตัวออกมา เรียกขานตนเองว่า ภราดาของชุมชน (Friars of the Community) แต่ยังคงชอบที่จะเป็น ภราดาน้อย (Friars Minor) ตามแบบฉบับของนักบุญฟรันซิส จนกระทั้งปี ค.ศ.1517 จึงกลายเป็นคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล (Friars Minor Conventual) รักษา        จิตตารมณ์และรูปแบบการดำเนินชีวิตจนถึงปัจจุบันที่ส่วนใหญ่พวกเขาจะอาศัยอยู่ในอารามตามแหล่งชุมชนต่างๆ คอยช่วยเหลือและทำงานตามชุมชนเหล่านั้น มิใช่อยู่แต่เฉพาะในอารามแต่เพียงอย่างเดียว อันเป็นตัวอย่างหนึ่งของรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบฟรันซิสกัน
 
อย่างไรก็ดี เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง กลุ่มภราดาที่มีแนวคิดคัดค้านการดำเนินชีวิตที่ค่อนข้างจะมีอิสระและหละหลวมก็เกิดขึ้น คือ คณะภราดาน้อยกาปูชิน (Friars Minor Capuchin) เป็นคณะสำคัญที่แยกตัวออกจากคณะหลักหรือคณะแม่ ในปี ค.ศ.1520 โดยภราดามัทเทโอ ดา บาสซิโอ ([[Matteo da Bascio]]) ผู้เป็นภราดาฟรันซิสกันชาวอิตาเลียนซึ่งถือตามพระวินัยของนักบุญฟรันซิส อย่างเคร่งครัด ภราดาคนนี้กล่าวว่า ตนได้รับการดลใจจากพระเจ้า ให้มีความคิดที่ว่า การดำเนินชีวิตของบรรดาภราดาในยุคนั้นไม่สอดคล้องกับความตั้งใจของผู้ก่อตั้งคณะ คือ นักบุญฟรันซิส ภราดาผู้นี้จึงได้หาทางที่จะกลับไปสู่รูปแบบซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม คือ การใช้ชีวิตแบบสันโดษเรียบง่าย และการใช้โทษบาปอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ก่อตั้งคณะ ขณะเดียวกัน ผู้ใหญ่ของคณะที่ปกครองเขาได้พยายามที่จะยับยั้งแนวคิดปฏิรูปของภราดามัทเทโอและเพื่อนภราดาหลายคนที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกัน โดยใช้การบังคับจากอำนาจของพระศาสนจักรให้สงบและเก็บตัวพวกเขาให้พ้นจากหน้าที่ศาสนกิจ อย่างไรก็ดี พวกเขาได้รับความช่วยเหลือในเรื่องที่ลี้ภัยจาก นักพรตคณะคามอลโดลีส ([[Camaldolese]] monks) พวกภราดาสำนึกในบุญคุณของนักพรต ต่อมาจึงดัดแปลงหมวกคลุมศีรษะที่ติดอยู่กับเสื้อ (hood) เพื่อเป็นการระลึกถึงนักพรตเหล่านั้นด้วย ทั้งยังเป็นเครื่องหมายอีกอย่างหนึ่งว่า ต้องการปฏิบัติตนแบบเดียวกับผู้บำเพ็ญพรต (hermit)  โดยคาดสายประคำไว้ที่เอว ซึ่งเป็นที่มาของชุดนักบวชที่เรียกว่า แฮบบิท (religious habit)
 
จากนั้น ในปี ค.ศ.1528 พระสันตะปาปา เครเมนต์ที่ 7 ได้อนุมัติให้ภราดามัทเทโอดำเนินชีวิตแบบผู้บำเพ็ญพรต ตามความตั้งใจของท่าน และสามารถออกไปทุกที่เพื่อทำการเทศน์สอนคนยากจน การอนุมัตินี้ส่งผลกับผู้ที่พยายามที่จะฟื้นฟู ให้สามารถรักษาระเบียบวินัยของนักบุญฟรันซิสโดยการถือกฎอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรที่เขียนไว้ให้มากที่สุด จากนั้น ภราดา  มัทเทโอก็เริ่มต้นตั้งกลุ่ม ซึ่งต่อมาก็มีภราดาและผู้สนใจคนอื่นๆ เข้ามาร่วมมากมายจนมีสมาชิกจำนวนมากพอที่จะสามารถสถาปนาขึ้นเป็นแขวงปกครองแยกออกมา เรียกตนว่า ภราดาน้อยผู้บำเพ็ญพรต (The Hermit Friars Minor)  อันเป็นอีกรูปแบบของการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับ คณะภราดาน้อยคอนเวนชวล อย่างไรก็ดี คณะภราดาน้อยกาปูชิน หรือ ภราดาน้อยผู้บำเพ็ญพรต มีผู้ใหญ่ที่ปกครองกลุ่มคณะเป็นของตนเองแยกออกจาก คณะภราดาน้อยฟรันซิสกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นคณะหลักหรือคณะแม่ มีอิสระในการปกครองดูแล การจัดการและระเบียบปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเห็นชอบของคณะเอง แม้ว่าคณะแม่จะไม่ยอมรับ แต่การเคลื่อนไหวในการปฏิรูปก็ยังคงดำเนินต่อไปตามเสรีภาพทางความคิดของแต่ละคน
== คณะภราดาน้อยฟรันซิสกันในประเทศไทย ==
คณะภราดาน้อยฟรันซิสกันเข้ามาทำงานเผยแพร่พันธกิจในประเทศไทยครั้งแรกในปี ค.ศ.1582 หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี คณะทำงานจำต้องเดินทางออกจากประเทศไทย เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายปี ค.ศ.1767