ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''โขน''' เป็น[[ศิลปะ]]การแสดงชั้นสูงของ[[ไทย]]ที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบ[[ละครใน]] แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่ม[[นักแสดง|ตัวแสดง]] เปลี่ยน[[ทำนองเพลง]]ที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับ[[ละคร]] แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน<ref>[http://www.thaifolk.com/Doc/perform2.htm ความเหมือนและความแตกต่างของโขนและละครใน]</ref> มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]<ref>[http://personal.swu.ac.th/students/fa471010166/khon1.htm ประวัติและความเป็นมาของโขนในสมัยกรุงศรีอยุธยา]</ref> จากหลักฐาน[[จดหมายเหตุลาลูแบร์]] [[เอกอัครราชทูต]][[ฝรั่งเศส]]ในสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียง[[ซอ]]และ[[เครื่องดนตรี]]ประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวม[[หน้ากาก]]ปิดบังใบหน้าตนเองและถือ[[อาวุธ]]<ref name="ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของ[[ชาวไทย|ชาวสยาม]]">ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของ[[ชาวไทย|ชาวสยาม]], มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย : มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย : สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157</ref>
 
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น [[วรรณกรรม]] วรรณศิลป์ [[นาฏศิลป์]] คีตศิลป์ หัตถศิลป์<ref name="คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย">คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]</ref> โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่น[[ชักนาคดึกดำบรรพ์]]<ref>[http://personal.swu.ac.th/students/fa471010255/knone1.html กำเนิดโขน]</ref> มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการ[[ไหว้ครู]]ของ[[กระบี่กระบอง]] รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และ[[เพลง]][[ดนตรี]]เข้ามาประกอบการแสดง<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html รอบรู้เรื่องโขน]</ref> ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวม[[หัวโขน]] ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่[[ศีรษะ]]ถึง[[คอ]] เจาะรูสองรูบริเวณ[[ดวงตา]]ให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น [[ยักษ์|ตัวยักษ์]] [[ลิง|ตัวลิง]] [[เทวดา|ตัวเทวดา]] ฯลฯ ตกแต่งด้วย[[สี]] ลงรักปิด[[ทอง]] ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
 
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้[[หน้า|ใบหน้า]]จริงเช่นเดียวกับ[[ละคร]] แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทน[[ชุดเกราะ|เกราะ]] เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือ[[ลายกระจัง]]ตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัว[[ลิง]]จะเป็นลายวง[[ทักษิณาวรรต]]<ref>[http://www.cp.eng.chula.ac.th/cg/khon_web/khon_archive/costume_main.php?partid=00050100000000000000# เครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน]</ref> โดยสมมุติเป็น[[ขนสัตว์|ขน]]ของ[[ลิง]]หรือ[[หมี]] ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็น[[ทำนอง]]เรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้[[กาพย์ยานี]]และ[[กาพย์ฉบัง]]<ref>[http://www.snr.ac.th/elearning/orrawan-thai/page9.html บทพากย์ในการแสดงโขน]</ref> โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html การพากย์ การเจรจาในโขน]</ref> ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่อง[[รามเกียรติ์]]และ[[อุณรุท]] ปัจจุบัน[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และ[[กรมศิลปากร]] มีหน้าที่ในการจัดการแสดง<ref name="คำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ">คำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]</ref>
 
== ประวัติ ความเป็นมา ==
 
โขนจัดเป็น[[นาฏกรรม]]ที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า '''"โขน"''' ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงใน[[วรรณคดี|วรรณคดีไทย]]เรื่อง[[ลิลิตพระลอ]]ที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงาน[[ศพ|พระศพ]]ของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า ''"ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราว[[เทียน]]"''<ref>[http://student.swu.ac.th/hm471010167/%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99.htm การแสดงมหรสพในลิลิตพระลอ]</ref> โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายใน[[ภาษา]]ต่าง ๆ ดังนี้<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/history.html ประวัติและความเป็นมาของโขน]</ref><ref> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโขน กรมศิลปากร]</ref>
 
* คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" '' (บางครั้งสะกดด้วย ฬ เป็นคำว่า"โขฬะ" หรือ "โขฬ") ''<ref name="โขนในภาษาเบงคาลี">โขนในภาษาเบงคาลี, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 32, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> ที่เป็นชื่อเรียกของ[[เครื่องดนตรี]]ประเภท[[หนัง]]ชนิดหนึ่งของ[[ฮินดู]] ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับ[[ตะโพน]]ของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วย[[ดิน]] ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมใน[[รัฐเบงกอลตะวันตก|แคว้นเบงกอล]] [[ประเทศอินเดีย]] ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขลตามชื่อของเครื่องดนตรี
 
* คำว่าโขนใน[[ภาษากลุ่มอิหร่าน|ภาษาอิหร่าน]] มีที่มาจากคำว่าษูรัต ควาน ({{lang-en|Surat khwan}}) หมายความถึง[[ตุ๊กตา]]หรือ[[หุ่น]] ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมี[[นักร้อง|ผู้ขับร้อง]]และให้[[เสียง]]แทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน ({{lang-en|Khon}}) มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน
บรรทัด 33:
* คำว่าโขนใน[[ภาษาเขมร]] เป็นการกล่าวถึงโขนใน[[พจนานุกรม]][[ภาษาเขมร]] ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง
 
จากข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโขนเป็นคำมาจากภาษาใด [[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน]] [[พ.ศ. 2525]] ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า ''"โขนหมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้าย[[ละครรำ]] แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่าหัวโขน"''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp ความหมายของโขนตามราชบัณฑิตยสถาน]</ref> หรือหมายความถึง[[ไม้]]ใช้ต่อเสริมหัว[[เรือ]]ท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไปที่เรียกว่าโขนเรือ หรือใช้สำหรับเรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่าเรือโขนเช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อยเหลือหลายในลิลิตพยุหยาตรา หรือหมายความถึงส่วนสุดทั้งสองข้างของราง[[ระนาด]]หรือ[[ฆ้องวงใหญ่]]ที่มีลักษณะงอนขึ้นว่าโขน<ref name="ที่มาของคำว่าโขน">ที่มาของคำว่าโขน, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 42, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
[[ไฟล์:Siamese theater group around 1900.jpg|left|thumb|วงปี่พาทย์ที่ใช้ในการแสดงโขน]]
 
ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงโขนโดย[[ลาลูแบร์]] เอาไว้ว่า ''"โขนนั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้า[[ปีศาจ]] ([[ยักษ์]]) ''"<ref name="ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม">ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย : มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย : สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157</ref> ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นต่อมหรสพในอดีตของชาวไทยในสายตาของชาวต่างประเทศ
 
การแสดงโขนโดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่องรามยณะหรือรามเกียรติ์ ในอดีตกรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับการแสดงเรื่องรามเกียรติ์<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html ความนิยมของรามเกียรติ์ในการแสดงโขน]</ref> มีหลายสำนวน ทั้งที่มีการประพันธ์ขึ้นใน[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] [[กรุงธนบุรี]]และ[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โดยเฉพาะบทประพันธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ที่[[กรมศิลปากร]]ได้ปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอนสำหรับแสดงเป็นโขนฉาก ในสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง 6 ชุด ได้แก่ ชุดนางสีดาหาย ชุดเผากรุงลงกา ชุด[[พิเภก]]ถูกขับ ชุดจอง[[ถนน]] ชุดประเดิมศึกลงกาและชุดนาคบาศ
 
แต่เดิมนั้นการแสดงโขนจะไม่มีการสร้างฉากประกอบการแสดงตามท้องเรื่อง การดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ เป็นแบบจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวเอง การจัดฉากในการแสดงโขนเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 โดยที่ทรงคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]ทรงคิดขึ้น
บรรทัด 46:
[[ไฟล์:Atthami Bucha Festival Laplae Uttaradit 02.jpg|thumb|การแสดงโขนกลางแปลง เรื่องรามเกียรติ์]]
โขนเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มักนิยมแสดงเป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูงเช่น แสดงในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ แสดงเป็นมหรสพสมโภชเช่น ในงาน[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] และแสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิงในโอกาสทั่ว ๆ ไป นิยมแสดงเพียง 3 ประเภทคือ [[โขนกลางแปลง]] [[โขนหน้าจอ]]และ[[โขนฉาก]] สำหรับ[[โขนนั่งราว]]หรือโขนโรงนอกไม่นิยมจัดแสดง เนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์และบทเจรจาเท่านั้น ไม่มีบทร้อง ใช้ราว[[ไม้|ไม้กระบอก]]แทน[[เตียง]]สำหรับนั่ง และ[[โขนโรงใน]]ซึ่งเป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไปแสดง แต่เดิมไม่มีองค์ประกอบจำนวนมาก ต่อมาภายหลังเมื่อมีความต้องการในการแสดงมากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการพัฒนาเป็นลำดับ แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/page.html ประเภทของโขน]</ref>
 
=== โขนกลางแปลง ===
บรรทัด 54:
เมื่อ [[พ.ศ. 2339]] ในสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] รัชกาลที่ 1 มีการเล่นโขนในงานฉลอง[[กระดูก|อัฐิ]]สมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิราช โดยโขน[[วังหน้า]]เป็นทัพ[[ทศกัณฐ์]]ฝ่ายลงกา และโขน[[วังหลัง]]เป็นทัพ[[พระราม]]ฝ่ายพลับพลา แลัวยกทัพมาเล่นรบกันในท้องสนามหน้า[[พลับพลา]] ดังปรากฏใน[[พงศาวดาร|พระราชพงศาวดาร]]ความว่า ''"ในการมหรสพสมโภชพระบรมอัฐิครั้งนั้น มี[[โขนชักรอก]]โรงใหญ่ ทั้งโขนวังหลังและวังหน้า แล้วประสมโรงเล่นกันกลางแปลง เล่นเมื่อศึกทศกัณฐ์ยกทัพกับสิบขุนสิบรถ โขนวังหลังเป็นทัพพระราม ยกไปแต่ทาง[[พระบรมมหาราชวัง]] โขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ ยกออกจากพระราชวังบวรฯ มาเล่นรบกันในท้องสนามหน้าพลับพลา ถึงมี[[ปืน]]บาเหรี่ยมรางเกวียนลากออกมายิงกันดังสนั่นไป"''
 
ซึ่งการแสดงโขนในครั้งนั้น เกิดการรบกันจริงระหว่างผู้แสดงทั้งสองฝ่าย จนเกิดการบาดหมางระหว่างวังหน้าและวังหลัง จนกระทั่ง[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี]] และ[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] สมเด็จพระพี่นางทั้งสองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] ต้องเสด็จมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้แก่วังหน้าและวังหลัง ทั้งสองฝ่ายจึงยอมเลิกบาดหมางซึ่งกันและกัน ทำให้เป็นข้อสันนิษฐานว่าเหตุใดการแสดงโขนกลางแปลงจึงนิยมแสดงตอนยกทัพรบและการรบบนพื้น<ref name="โขนกลางแปลง">โขนกลางแปลง, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 48, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> มีเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ไม่ต่ำกว่าสองวงในการบรรเลง<ref>[http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=347 การแสดงโขนกลางแปลงในสมัยรัชกาลที่ 1 ระหว่างฝ่ายพลับพลาวังหน้าและฝ่ายลงกาวังหลัง]</ref>
 
=== โขนนั่งราว ===
บรรทัด 61:
โขนนั่งราวหรือเรียกอีกอย่างว่าโขนโรงนอก วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงบนโรงที่ปลูกสร้างขึ้นสำหรับแสดง ตัวโรงมักมี[[หลังคา]]คุ้มกันแสงแดดและ[[ฝน|สายฝน]] ไม่มีเตียงสำหรับผู้แสดงนั่ง มีเพียงราวทำจาก[[ไม้ไผ่]]วางพาดตามส่วนยาวของโรงเท่านั้น มีช่องให้ผู้แสดงในบทของตัวพระหรือตัวยักษ์ ที่มีตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ สามารถเดินวนได้รอบราวซึ่งสมมุติให้เป็นเตียง ในส่วนผู้แสดงที่รับบทเป็นเสนายักษ์ เขนยักษ์ เสนาลิงหรือเขนลิง คงนั่งพื้นแสดงตามปกติ
 
มีการพากย์และเจรจา ไม่มีบทขับร้อง [[วงปี่พาทย์]]บรรเลงเพลงหน้าพาทย์เช่น กราวใน กราวนอก ฯลฯ ในการแสดงใช้ปี่พาทย์สำหรับบรรเลงเพลงถึงสองวง เนื่องจากต้องบรรเลงเป็นจำนวนมาก โดยตำแหน่งของปี่พาทย์ตัวแรกจะตั้งอยู่บริเวณหัวโรง ตำแหน่งของปี่พาทย์ตัวที่สองจะตั้งอยู่บริเวณท้ายโรง และกลายเป็นที่มาของการเรียกว่า ''"วงหัวและวงท้ายหรือวงซ้ายและวงขวา"'' <ref>[http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=350 โขนนั่งราว วิวัฒนาการจากโขนกลางแปลง]</ref>
 
=== โขนโรงใน ===
โขนโรงในเป็นโขนที่นำศิลปะการแสดงของละครใน เข้ามาผสมผสานระหว่างโขนกับละครใน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 รวมทั้งมี[[กวี|ราชกวี]]ภายใน[[สำนักพระราชวัง|ราชสำนัก]] ช่วยปรับปรุงขัดเกลาและประพันธ์บทพากย์ บทเจรจาให้มีความคล้องจอง ไพเราะสละสลวยมากยิ่งขึ้น โดยนำท่ารำท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เป็นการปรับปรุงวิวัฒนาการของโขน
 
ในการแสดงโขนโรงใน ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนางและเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวมหัวโขนในการแสดง มีการพากย์และเจรจาตามแบบฉบับของการแสดงโขน นำเพลงขับร้องประกอบอากัปกิริยาอาการของตัวละคร และเปลี่ยนมาแสดงภายในโรงแบบละครในจึงเรียกว่าโขนโรงใน มีปี่พาทย์บรรเลงสองวง ปัจจุบันโขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงนั้น ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงในซึ่งเป็นการแสดงระหว่างโขนกลางแปลงและโขนหน้าจอ<ref>[http://www.nsru.ac.th/oldnsru/webelearning/dance/kind_khone.html โขนโรงใน การผสมผสานระหว่างโขนและละครใน]</ref>
 
=== โขนหน้าจอ ===
[[ไฟล์:Nang Yai puppet.jpg|thumb|การเชิดหนังใหญ่ในการแสดงโขนหน้าจอ]]
 
โขนหน้าจอเป็นโขนที่แสดงหน้าจอ[[หนังใหญ่]] ซึ่งใช้สำหรับแสดงหนังใหญ่หรือหนังตะลุง โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดง สลับกับการเชิดตัวหนัง ที่ฉลุแกะสลักเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์อย่างสวยงามวิจิตรบรรจง เรียกว่า ''"หนังติดตัวโขน"'' ซึ่งในการเล่นหนังใหญ่ จะมีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาวแบบจอหนังใหญ่ ยาว 7 วา 2 ศอก ริมขอบจอใช้ผ้า[[สีแดง]]และ[[สีน้ำเงิน]]เย็บติดกัน ใช้เสาจำนวน 4 ต้นสำหรับขึงจอ ปลายเสาแต่ละด้านประดับด้วย[[หางนกยูง]]หรือธงแดง<ref name="โขนหน้าจอ">โขนหน้าจอ, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 52, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> มีศิลปะสำคัญในการแสดงคือการพากย์และเจรจา ใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังจะต้องเต้นตามจังหวะดนตรีและลีลาท่าทางของตัวหนัง
 
นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ภายหลังยกเลิกการแสดงหนังใหญ่คงเหลือเฉพาะโขน โดยคงจอหนังไว้พอเป็นพิธี เนื่องจากผู้ดูนิยมการแสดงที่ใช้คนแสดงจริงมากกว่าตัวหนัง จึงเป็นที่มาของการเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังว่าโขนหน้าจอ มีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขน ให้มีช่อง[[ประตู]]สำหรับเข้าออก โดยวาดเป็นซุ้มประตูเรียกว่าจอแขวะ โดยที่ประตูทางด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ส่วนประตูด้านขวาวาดเป็นกรุงลงกาของทศกัณฐ์ ต่อมาภายหลังจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้นเพื่อกันคนดูไม่ให้เกะกะตัวแสดงเวลาแสดงโขน<ref>[http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=353 โขนหน้าจอ การแสดงของโขนและหนังใหญ่]</ref> สำหรับโขนหน้าจอ กรมศิลปากรเคยจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมในงานฉลอง[[วันสหประชาชาติ]]ที่[[สนามเสือป่า]] เมื่อวันที่ [[24 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2491]] และงานฟื้นฟู[[ประเพณีสงกรานต์]] ณ [[ท้องสนามหลวง]] เมื่อวันที่ [[13 เมษายน]] - [[15 เมษายน]] [[พ.ศ. 2492]]<ref name="วิวัฒนาการของโขน">วิวัฒนาการของโขน, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 53, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
=== โขนฉาก ===
บรรทัด 84:
 
* '''โขนสด'''
โขนสด เป็นการแสดงที่ผสมผสานทาง[[วัฒนธรรม]] ที่ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้มีความเรียบง่าย มีการปรับเปลี่ยนลดท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์และการเจรจา เป็นการแสดงที่เกิดจากผสมผสานการแสดง 3 ชนิดคือ โขน [[หนังตะลุง]]และ[[ลิเก]] ไม่มีการพากย์เสียงและเจรจา โดยผู้แสดงจะเป็นผู้พูดบทเจรจาเอง แต่งกายยืนเครื่อง สวมหัวโขนบนศีรษะแต่ไม่คลุมหน้า สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้แสดงได้อย่างชัดเจน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชนบท แสดงด้วยกิริยาท่าทางโลดโผน จริงจังกว่าการแสดงโขนมาก<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/index01.html โขนสด การแสดงโขนตามแบบฉบับชาวบ้าน]</ref>
 
* '''โขนหน้าไฟ'''
บรรทัด 92:
โขนนอนโรง เป็นการแสดงโขนที่มักนิยมแสดงในเวลาบ่าย ก่อนวันแสดงจริงของโขนนั่งราว แสดงตอน ''"เข้าสวนพิราพ"'' เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น มีปี่พาทย์สองวงในการบรรเลงเพลงโหมโรง แสดงเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยก่อนแสดงจะมีผู้แสดงออกไปเต้นกระทุ้งเสาทั้ง 4 มุมของโรงแสดง ซึ่งการกระทุ้งเสานั้น เป็นการทดสอบความแข็งแรงของเวทีในการรับน้ำหนักตัวของผู้แสดง สมัยก่อนเวทีสำหรับแสดงใช้วิธีขุดหลุมฝังเสาและใช้ดินกลบ ทำให้ระหว่างทำการแสดงเวทีเกิดการทรุดตัว เป็นเหตุผลให้อาจารย์ผู้ทำการฝึกสอน มักให้ผู้แสดงไปเต้นตามหัวเสาทั้ง 4 มุมของเวที เพื่อให้การเต้นนั้นช่วยกระทุ้งหน้าดินที่ฝังเสาไว้ให้เกิดความแน่นมากขึ้น
 
หลังแสดงเสร็จ ผู้แสดงมักจะนอนเฝ้าโรงแสดงเพื่อแสดงโรงนั่งราวต่อในวันรุ่งขึ้น ในอดีตโขนนอนโรงเคยแสดงมาแล้วสองครั้งคือ ครั้งแรกแสดงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในงานสมโภชพระเศวตคชเดน์ดิลก และครั้งที่สองในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แสดงที่บริเวณท้องสนามหลวงในงานฉลอง[[รัฐธรรมนูญ]] ระหว่างวันที่ 10 - 11 ธันวาคม [[พ.ศ. 2475]]<ref name="โขนนอกตำรา - โขนนอนโรง">โขนนอกตำรา - โขนนอนโรง, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 50</ref>
 
* '''โขนชักรอก'''
โขนชักรอก เป็นการแสดงโขนที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่า โขนชักรอกนั้นมีการตั้งแต่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นการแสดงโขนในโรงแสดงที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ ยกพื้นสูงและมีหลังคา แสดงเหมือนกับโขนทุกประการ แตกต่างเพียงแต่ผู้แสดงนั้นสามารถลอยตัวขึ้นไปในอากาศด้วยการชักรอก มีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้โขนชักรอกไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนัก<ref name="โขนนอกตำรา - โขนชักรอก">โขนนอกตำรา - โขนชักรอก, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 50</ref>
 
กรมศิลปากรเคยจัดแสดงโขนชักรอกให้ประชาชนได้ชม เมื่อคราวงานเทศกาล[[วัดอรุณราชวราราม]] ร.ศ. 100 การจัดแสดงโขนชักรอกครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ร่วมมือกับบริษัทออร์กาไนเซอร์ จำกัด ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อนอนุรักษ์วัดอรุณและการแสดงที่หายากในปัจจุบัน ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2543]] เวลา 17.00 - 22.00 น. โดยใช้พื้นที่บริเวณหน้าวัดเป็นโรงแสดง มี[[พระปรางค์]]วัดอรุณเป็นฉากหลัง
บรรทัด 102:
[[ไฟล์:King Vajiravudh portrait photograph.jpg|thumb|พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ก่อตั้งคณะโขนสมัครเล่นตามแบบธรรมเนียมโบราณ]]
 
ในสมัยโบราณ[[ข้าราชการ]] [[มหาดเล็ก]]ที่รับราชการใน[[สำนักพระราชวัง]] มักได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ฝึกหัดแสดงโขน เนื่องจากโขนนั้นถือเป็นการละเล่นของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ใช้สำหรับแสดงในงานพระราชพิธีเท่านั้น ทำให้ต้องมีการคัดเลือกผู้แสดงที่มีความสามารถ ฉลาดเฉลียว จดจำและฝึกหัดท่ารำท่าเต้นต่าง ๆ ให้เข้าใจได้โดยง่าย ดังคำสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า ''"บางทีเกิดมี 'กรมโขน' ขึ้นจะมาแต่การเล่นดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษกนี้เอง โดยทำนองจะมีพระราชพิธีอื่นอันมีการเล่นแสดงตำนานเนือง ๆ จึงเป็นเหตุให้ฝึกหัดโขนหลวงนี้ขึ้นไว้ สำหรับเล่นในการพระราชพิธี และเอามหาดเล็กหลวงมาหัดเป็นโขนตามแบบแผน ซึ่งมีอยู่ในตำราพระราชพิธีอินทราภิเษก"'' แต่เดิมนั้นใช้ผู้ชายล้วนในการแสดงทั้งตัวพระและตัวนาง การได้รับคัดเลือกให้แสดงโขนในสมัยนั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจต่อผู้ที่ได้ถูกรับคัดเลือก เนื่องจากโขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง และกลายเป็น[[ประเพณี]]สืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ผู้แสดงโขนในพระราชสำนักจะต้องเป็นพวกมหาดเล็ก ข้าราชการหรือบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น<ref name="ตำนานโขนหลวง">ตำนานโขนหลวง, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 57, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
=== ยุคเจริญรุ่งเรือง ===
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เสนาอำมาตย์และผู้ว่าราชการเมือง เข้ารับการฝึกหัดโขนเพื่อเป็นการประดับเกียรติยศแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล และโปรดให้หัดไว้เฉพาะแต่เพียงผู้ชายตามประเพณีดั้งเดิม ทำให้ผู้ที่ฝึกหัดโขน มีความคล่องแคล่วว่องไว สามารถใช้อาวุธต่าง ๆ ในการต่อสู้ได้อย่างชำนาญ รวมทั้งโปรดให้มีการแต่งบทละครสำหรับแสดงโขนขึ้นอีกด้วย ทำให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากต่างหัดโขนไว้ในคณะของตนเองหลากหลายคณะเช่น โขนของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และโขนของกรมพิทักษ์เทเวศร์ เป็นต้น และมีการประกวดแข่งขันประชันฝีมือ รวมทั้งได้มีการฝึกหัดโขนให้พวก[[ทาส|ลูกทาส]]และลูกหมู่<ref>[http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/history.asp 'ลูกหมู่' ประวัติความเป็นมาของโขน]</ref>ซึ่งเป็นผู้ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ ตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณอีกด้วย ทำให้โขนในสมัยนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
 
ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ประทับ ณ [[พระราชวังสราญรมย์]] ได้โปรดให้มีการฝึกหัดโขนขึ้นตามแบบโบราณ โดยมีชื่อคณะว่า '''"โขนสมัครเล่น"''' โปรดให้ยืมครูผู้ฝึกสอนจากเจ้าพระยาเทเวศ์วิวัฒน์ จำนวน 3 คน ได้แก่
บรรทัด 113:
# ขุนพำนักนัจนิกร '' (เพิ่ม สุครีวกะ) '' ต่อมาภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระดึกดำบรรพ์ประจง ทำหน้าที่เป็นครูลิง ผู้ฝึกหัดสอนโขนในตัวลิง
 
สำหรับผู้ที่เข้ารับการฝึกหัดโขนนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ถวายงานรับใช้ใกล้ชิดพระองค์มาโดยตลอดเช่น ลูกขุนนาง เจ้านายและมหาดเล็ก เป็นต้น โดยทรงฝึกหัดโขนด้วยความเอาพระทัยใส่เป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งให้การสนับสนุนในการแสดงโขนมาโดยตลอด เคยนำออกแสดงในงานสำคัญสำคัญหลายครั้งเช่น งานเปิดโรงเรียนนายร้อย ([[ทหารบก]]) ชั้นมัธยม เมื่อวันเสาร์ที่ [[25 ธันวาคม]] [[ร.ศ. 128]] ([[พ.ศ. 2452]]) ดังความในสูจิบัตรที่แจกจ่ายในงาน ความว่า<ref name="โขนสมัครเล่นในรัชกาลที่ 6">โขนสมัครเล่นในรัชกาลที่ 6, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 79, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
{{คำพูด|''โขนโรงนี้ เรียกนามว่า 'โขนสมัครเล่น' เพราะผู้เล่นเล่นโดยความสมัครเอง ไม่ใช่ถูกกะเกณฑ์หรือเห็นแก่สินจ้าง มีความประสงค์แต่จะให้ผู้ที่คุ้นเคยชอบพอกันและที่เป็นคนชั้นเดียวกัน มีความรื่นเริงและเพื่อจะได้ไม่ลืมว่า ศิลปะวิทยาการเล่นเต้นรำ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นของ[[ฝรั่ง]]จึงจะดูได้ ของโบราณของไทยเรามีอยู่ ไม่ควรจะให้เสื่อมสูญไปเสีย โขนโรงนี้ได้เคยเล่นแต่ที่พระราชวังสราญรมย์เป็นพื้น แต่ครั้งนี้เห็นว่าผู้ที่เป็น[[นักเรียนนายร้อย]] ก็เป็นคนชั้นเดียวกัน และเป็นที่หวังอยู่ว่าจะเป็นกำลังของชาติเราต่อไป พวกโขนจึงมีความเต็มใจมาช่วยงาน เพื่อให้เป็นการครึกครื้น ถ้าแม้ว่าผู้ที่ดูรู้สึกว่าสนุกและแลเห็นอยู่ว่า การเล่นอย่างไทยแท้ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรดูอยู่แล้ว ผู้ที่ออกน้ำพักน้ำแรงเล่นให้ดูก็จะรู้สึกว่าได้รับความพอใจยิ่งกว่าได้สินจ้างอย่างใด ๆ ทั้งสิ้น''}}
บรรทัด 123:
การแหวกม่านประเพณีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานอนุญาตให้มีละครหญิงได้นั้น ทำให้เจ้านายชั้นสูง เสนาอำมาตย์ขุนนางต่าง ๆ พากันเปลี่ยนแปลงเพศของผู้แสดงในสังกัดตนเองเป็นอย่างมาก ทำให้แต่เดิมโขนที่มีเฉพาะผู้ชายล้วนนั้น เริ่มมีการเล่นผสมผสานกับละครหญิง ที่ได้รับความนิยมแทนที่โขนอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้หัวหน้าคณะที่เคยฝึกหัดและทำนุบำรุงโขนไว้ ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงการแสดงในสังกัดตนเอง บางรายก็มีโขนและละครหญิงควบคู่กันไป บางรายถึงกัยยกเลิกโขนในสังกัดและเปลี่ยนมาหัดละครหญิงเพียงอย่างเดียว ทำให้โขนค่อย ๆ สูญหายไป ยกเว้นบางสังกัดที่มีความนิยมชมชอบศิลปะไทยแบบโบราณเช่นโขน ที่ยังคงอนุรักษ์รักษาไว้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และโขนหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ไว้เท่านั้น รวมทั้งได้ก่อตั้งเป็นกรมโขนขึ้นก่อนจะยกเลิกไปในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
 
ต่อมาภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว โขนที่เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อมโทรมก็ยิ่งตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านของสภาพจิตใจผู้แสดงและในด้านของศิลปวัตถุ<ref>[http://www.finearts.go.th/node/324 โขนในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์]</ref> และในสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 โปรดให้เลิกโรงมหรสพต่าง ๆ รวมทั้งโขน เนื่องจากมหรสพต่าง ๆ นั้นเป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังเป็นอย่างมาก และโอนงานทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะ ให้อยู่ภายใต้สังกัดของกรมศิลปากร
 
== ลักษณะบทโขน ==
บรรทัด 141:
# บทเจรจา
 
ซึ่งบทร้องนั้นเป็นการร้องกลอนบทละคร ใช้สำหรับแสดงโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น บทพากย์ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง เมื่อพากย์จบหนึ่งบท ปี่พาทย์จะตีตะโพนท้าและตี[[กลองทัด]]ต่อจากตะโพนสองที ผู้แสดงภายในโรงจะร้องรับว่า "เพ้ย" พร้อม ๆ กัน ซึ่งคำว่าเพ้ยนี่ สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้น มาจากคำว่า "เฮ้ย" ในการบัญชาศึกสงครามของแม่ทัพนายกอง ค่อย ๆ เพี้ยนเสียงจนกลายเป็นคำว่าเพ้ยในปัจจุบัน<ref name="คนพากย์ เจรจา ต้นเสียง ลูกคู่">คนพากย์ เจรจา ต้นเสียง ลูกคู่, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 169, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> สำหรับบทพากย์เป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์ยานี 11 บท มีชื่อเรียกแตกต่างกัน วิธีพากย์บทโขนในการแสดง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ดังนี้<ref>[http://www.thainame.net/project/khonthai/laksanakhon.html ลักษณะบทโขนที่ใช้ในการแสดง]</ref><ref>[http://personal.swu.ac.th/students/fa471010166/khon3.htm ลักษณะบทโขน 6 ประเภท]</ref>
 
* '''การพากย์เมืองหรือพากย์พลับพลา'''
บรรทัด 199:
สำหรับบทเจรจานั้น แตกต่างจากบทร้องและบทพากย์ตรงที่เป็นบทกวีแบบร่ายยาว มีการส่งและรับคำสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ใช้ถ้อยคำสละสลวย คล้องจอง มีสัมผัสนอกสัมผัสใน บทเจรจาในการแสดงโขนเป็นบทที่คิดขึ้นในขณะแสดง เป็นความสามารถและไหวพริบปฏิภาณเฉพาะตัวของผู้เจรจา ปัจจุบันบทเจรจามีการแต่งเตรียมไว้แล้ว ผู้พากย์บทเจรจาจะว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้น้ำเสียงในการเจรจาให้เหมาะกับตัวโขน ใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ของตัวละครในเรื่องเช่น เจรจาเสียงเทวดาก็ต้องปรับน้ำเสียงให้นุ่ม สุภาพ เจรจาเสียงยักษ์ก็ต้องปรับเสียงให้ดัง ดุร้ายและแกร่งกร้าว เจรจาตัวนางก็ต้องปรับเสียงให้นุ่ม อ่อนหวาน เป็นต้น
 
การพากย์บทเจรจาใช้ผู้ชายเป็นผู้ให้เสียงไม่ต่ำกว่าสองคน เพื่อทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา บางครั้งมีการเหน็บแนมเสียดสีโต้ตอบระหว่างกัน ถ้าในการแสดงโขนมีบทร้อง ผู้พากย์และเจรจาจะต้องทำหน้าที่บอกบทให้แก่ผู้แสดงอีกด้วย<ref>[http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/art04/03/401/khone_jerajar.htm บทเจรจาของโขน]</ref> เวลาแสดงผู้พากย์และเจรจาจะยืนประจำจุดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้เช่น โขงกลางแปลง จะยืนอยู่ใกล้กับจุดของตัวแสดง แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือมนุษย์และยักษ์ โขนนั่งราวและโขนหน้าจอ จะยืนอยู่บริเวณริมฉากประตูซ้ายและขวาข้างละหนึ่งคน โขนโรงในจะนั่งเรียงติดกับคนร้องข้างละ 2 คน<ref name="คำเจรจา">คำเจรจา, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 174, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> ดังตัวอย่างการบทพากย์และเจรจาระหว่างหนุมานและนางพิรากวน ที่ร้องไห้คร่ำครวญด้วยความเสียใจ ด้วยมัยราพณ์สั่งให้ออกมาตักน้ำเพื่อนำไปต้มพระรามและไวยวิกบุตรชาย ความว่า<ref name="บทพากย์และเจรจาโขนชุดศึกมัยราพณ์">บทพากย์และเจรจาโขนชุดศึกมัยราพณ์, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด ศึกมัยราพณ์, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]], หน้า 27</ref>
 
{{คำพูด|"''หนุมานชาญศักดา ซุ่มกายาแอบฟังนางร่ำไห้ ได้ยินคำว่าปราศัยถึง[[พระราม|พระจักรี]] ขุนกระบี่นึกสงสัยในวาจา จึงออกมาจากสุมทุม[[ต้นไม้|พุ่มพฤกษา]]เข้าใกล้นาง ทรุดกายลงนั่งข้าง ๆ พลางกราบไหว้ ทักถามว่ามาจากไหนจ๊ะ ป้าจ๋า ไยมาร่ำโศกาน่าสงสาร ถึงตัวฉันเป็น[[สัตว์|เดรัจฉาน]]สัญจรป่า ก็มีจิตคิดสงสารป้าจับ[[หัวใจ|ดวงใจ]] เรื่องทุกข์ร้อนเป็นอย่างไร โปรดเล่าให้ฟังบ้างเถิดป้า หากฉันช่วยได้ฉันก็จะอาสา อย่าโศกี - '''หนุมาน'''"''
บรรทัด 212:
บทละครที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงโขน ปัจจุบันใช้[[รามเกียรติ์]]เพียงเรื่องเดียว เป็นบทละครที่มีสำนวนหลากหลายภาษาเช่น [[ภาษาไทย]] [[ภาษาชวา]] [[ภาษาเขมร]]และ[[ภาษาสันสกฤต]] เป็นต้นกำเนิดของรามเกียรติ์หรือ[[รามายณะ]]เมื่อหลายพันปีก่อน แต่งโดย[[ฤๅษี]]วาลมิกิ ชาวอินเดียในสมัยโบราณให้ความเคารพนับถือบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เชื่อกันว่าหากได้อ่านหรือฟังจะสามารถลบล้างบาปและความผิดที่ได้กระทำไว้
 
รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของ[[พระนารายณ์]]ที่[[อวตาร]]มาเกิดเป็นพระราม เพื่อปราบ[[นนทุก|นนทก]]หรือทศกัณฐ์ดั่งวาจาที่ไว้ให้ตอนพระนาราย์ปราบนนทก ด้วยการให้นนทกมาเกิดเป็นพญายักษ์ มีสิบเศียรสิบกร มีฤทธิ์มากมาย ส่วนตนจะมาเกิดเป็นมนุษย์ธรรมดาเพื่อตามปราบให้สิ้นซาก สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์เริ่มต้นขึ้น ภายหลังจากทศกัณฐ์เกิดหลงรักนางสีดา [[มเหสี]]ของพระราม จึงลักพาตัวมาไว้ที่กรุงลงกาเพื่อให้เป็นมเหสีของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์ซึ่งเป็นพระอนุชาที่ติดตามออกผนวชในป่า ได้ออกติดตามเพื่อชิงตัวนางสีดากลับคืน ระหว่างทางพบกับพาลี สุครีพ [[ท้าวมหาชมพู]]และชมพูพาน รวมทั้งได้กองทัพลิงมาเป็นบริวาร มีหนุมานเป็นทหารเอก ร่วมทำศึกกับทศกัณฐ์จนกระทั่งได้รับชัยชนะ<ref>[http://www.paktho.ac.th/student/ram/story_ram.htm เรื่องย่อวรรณคดีไทยชุด รามเกียรติ์]</ref>
 
รามเกียรติ์ตามแบบฉบับของไทย แต่งเป็นบทละครสำหรับแสดงเป็นตอน ๆ หรือแสดงทั้งเรื่อง ใช้สำหรับแสดงโขน หนังใหญ่และละคร แต่งขึ้นหลายยุคหลายสมัย ดังนี้
บรรทัด 219:
รามเกียรติ์คำฉันท์ เป็นบทละครที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยใด แต่งขึ้นสำหรับใช้ในการแสดงหนังใหญ่ จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ที่มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโขน ทำให้สามารถระบุได้ว่าการแสดงโขนนั้น ต้องมีมาแต่ก่อนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันต้นฉบับคำฉันท์สูญหายไปเกือบหมดตามกาลเวลา มีการกล่าวถึงใน[[หนังสือ]][[จินดามณี]]ของพระโหราธิบดีเพียง 3 - 4 บทเท่านั้นคือ บทละครตอน[[พระอินทร์]]สั่งให้พระมาตุลีนำ[[รถ|ราชรถ]]มาถวายยังสนามรบ บทละครตอนพระรามโศกเศร้าเสียใจ รำพันคร่ำครวญเมื่อคราวที่ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา บทละครแบบพรรณาตอนมหาบาศบุตรของทศกัณฐ์ และบทละครตอนพิเภกคร่ำครวญหลังทศกัณฐ์ล้ม
 
รามเกียรติ์คำพากย์ เป็นบทละครที่[[หอสมุดแห่งชาติ]] กรมศิลปากร ได้ทำการแบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค ๆ เป็นการดำเนินเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ภาค 2 ตอนสีดาหาย จนถึงภาค 9 ตอน[[กุมภกรรณ]]ล้ม รูปแบบการแต่งเป็นบทพากย์ที่ค่อนข้างยาวและสั้น แต่เดิมใช้พากทย์สำหรับเล่นหนังใหญ่ ภายหลังนำมาใช้ประกอบในการเล่นโขนด้วย นอกจากรามเกียรติ์คำฉันท์และรามเกียรติ์คำพากย์แล้ว ยังมีบทละคร[[นิราศ]]สีดาหรือราชาพิลาป ที่พระโหราธิบดีคัดลอกนำมาใส่ในหนังสือจินดามณีหลายบท สำหรับบทละครนิราศสีดานี้ ทางกรมศิลปากรเคยตีพิมพ์นำเสนอเผยแพร่แล้วครั้งหนึ่งในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ [[49]] ฉบับประจำเดือน[[กุมภาพันธ์]] [[ร.ศ. 120]]<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/story.html บทละครที่ใช้สำหรับการแสดงโขน]</ref>
 
บทละครรามเกียรติ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีบางสำนวนกล่าวถึงตอนพระรามประชุมพลจนถึงตอน[[องคต]]สื่อสาร เป็นบทละครที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบทละครรามเกียรติ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พบว่าเนื้อความบางตอนไม่ตรงกัน ถ้อยคำต่าง ๆ ดูไม่เหมาะสม จึงเข้าใจว่าบทละครดังกล่าวเป็นบทละครรามเกียรติ์ฉบับเชลยศักดิ์ ที่มีผู้คัดลอกไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา<ref>[http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/story.asp บทละครรามเกียรติ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา]</ref>
 
=== บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี ===
บทละครรามเกียรติ์สมัย[[กรุงธนบุรี]] เป็นบทละครที่[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง 4 ตอนเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในการแต่งในสมุด[[ไทยดำ]] โดยทรงพระราชนิพนธ์บทละครไม่เรียงตามลำดับก่อนหลังของเนื้อเรื่องคือ บทละครเล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ บทละครเล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินทร์ จนถึงท้าวมาลีวราชเสด็จมา บทละครเล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมืองและตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด บทละครเล่ม 4 ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ์<ref>[http://www.natasin.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=55&page=9 บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี]</ref>
 
=== บทละครรามเกียรติ์สมัยรัตนโกสินทร์ ===
บทละครรามเกียรติ์ เป็นบทละครในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ที่มีพระราชประสงค์จะรวบรวมบทละครรามเกียรติ์ทั้งหมดให้เป็นเรื่องเดียวกัน โปรดให้มีการประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์และพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง เป็นบทละครที่มีความยาวมากที่สุดในรามเกียรติ์ทุกเรื่องในภาษาไทย เป็นวรรณคดีเขียนในสมุดไทย 117 เล่มสมุดไทย คำนวณข้อความต่าง ๆ ในบทละครเป็นคำกลอนได้ประมาณ 50,286 คำกลอน<ref name="รามเกียรติ์ บทละครในรัชกาลที่ 1">รามเกียรติ์ บทละครในรัชกาลที่ 1, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 122, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref><ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/story.html คำกลอนในบทละคร บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1]</ref> ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 มีความเยิ่นเย้อและยาวเกินไป ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ประกอบการเล่นโขน จึงทรงคัดเลือกเพียงบางตอนคือ บทละครตั้งแต่หนุมานถวายแหวนแก่นางสีดาจนถึงทศกัณฐ์ล้ม นำมาพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ใช้สำหรับเล่นโขนในพระราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือ 36 เล่มสมุดไทย เป็นคำกลอนประมาณ 14,300 คำกลอน<ref name="รามเกียรติ์ บทละครในรัชกาลที่ 2">รามเกียรติ์ บทละครในรัชกาลที่ 2, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 124, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref><ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/story.html คำกลอนในบทละคร บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2]</ref>
 
ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพิ่มอีกหนึ่งสำนวนคือ ตอนพระรามเดินดง เป็นหนังสือ 4 เล่มสมุดไทย นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่องนารายณ์ปราบนนทกและพระรามเข้าสวน[[พระพิราพ]]เพิ่มขึ้นอีก 2 ตอน รวมทั้งมีการปรับปรุงบทละครเรื่องรามเกียรติ์อีกครั้งในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ที่ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนขึ้นมีทั้งหมด 10 ชุดคือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา ชุดนาคบาศ ชุดอภิเษกสมรส ชุดนางลอย ชุดพิธีกุมภนียาและชุดพรหมาสตร์ โดยทรงศึกษาค้นคว้าที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จาก[[คัมภีร์]]รามายณะ
 
นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้น โดยทรงชี้แจงไว้ในหนังสือความว่า ''"บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่รวมอยู่ในเล่มนี้ เป็นบทที่ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นเป็นครั้งคราวสำหรับเล่นโขน มิได้ตั้งใจที่จะให้เป็นหนังสือกวีนิพนธ์สำหรับอ่านเพราะ ๆ หรือดำเนินเรื่องราวติดต่อกัน บทเหล่านี้ได้แต่งขึ้นสำหรับความสะดวกในการเล่นโขนโดยแท้ จึงมีทั้งคำกลอนอันเป็นบทร้อง ทั้งบทพากย์ และเจรจาอย่างโขนระคนกันอยู่ ตามแต่จะเหมาะแก่การเล่นออกโรงจริง"''<ref name="บทละครเรื่องรามเกียรติ์และบ่อเกิดรามเกียรติ์">บทละครเรื่องรามเกียรติ์และบ่อเกิดรามเกียรติ์, บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6,พระนคร, กรมศิลปากร, 2484, หน้า 151, ISBN 974-419-405-7</ref> และมีการพัฒนาบทละครเรื่องมาจนถึงหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] กรมศิลปากรได้ทำการรื้อฟื้น ปรับปรุงนาฏศิลป์ ละครและดุริยางคศิลป์ของไทยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในการรื้อฟื้นครั้งนี้ได้นำบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 มาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับแสดงโขนให้ประชาชนได้ชม ต่อมาภายหลังได้ปรับปรุงบทโขนตอนหนุมานอาสาขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เรียบเรียงให้มีทั้งบทขับร้องตามแบบละครใน มีบทพากย์บทเจรจาตามแบบการแสดงโขนแต่โบราณเช่น ชุดปราบนางกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ฯลฯ
 
== การคัดเลือกและฝึกหัดโขน ==
บรรทัด 251:
 
; ตัวพระ
การคัดเลือกตัวพระสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่ สวยงาม คมคายเด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่งผาย [[ลำคอ]]ระหง [[ไหล่]]ลาดตรง ช่วงอกใหญ่ ขนาด[[ลำตัว]]เรียว เอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดีไทยเช่น [[พระอภัยมณี]] ศรีสุวรรณ พระลอ สังคามาระตา ฯลฯ สวมพระมหามงกุฏหรือมงกุฎยอดชัย ห้อยดอกไม้เพชรด้านขวา สำหรับการแสดงโขนที่มีตัวละครเอกที่เป็นตัวพระ 2 ตัวหรือมากกว่านั้น และมีบทบาทในการแสดงสำคัญเท่า ๆ กัน แบ่งเป็นพระใหญ่หรือพระน้อย ซึ่งพระใหญ่ในการแสดงโขนหมายถึงพระเอก มีบุคลิกลักษณะเหนือกว่าพระน้อย<ref>[http://www.nsru.ac.th/oldnsru/webelearning/dance/player_khone.html พระน้อย พระใหญ่ในการแสดงโขน]</ref> เช่น ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ พระรามเป็นพระใหญ่ และพระลักษมณ์เป็นพระน้อย หรือตอนพระรามครองเมือง พระรามเป็นพระใหญ่ พระลักษมณ์ พระพรตและพระสัตรุตเป็นพระน้อย เป็นต้น
 
; ตัวนาง
การคัดเลือกตัวนางสำหรับการแสดง ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครที่เป็นตัวนางนั้นมีเป็นจำนวนมากเช่น เป็นมนุษย์ได้แก่ [[นางสีดา]] [[นางมณโฑ]] นางไกยเกษี นางเกาสุริยา เป็น[[เทพ]]หรือ[[นางอัปสร]]ได้แก่ [[พระอุมา]] [[พระลักษมี]] เป็นกึ่ง[[มนุษย์]]กึ่ง[[สัตว์]]ได้แก่ [[นางสุพรรณมัจฉา]] [[นางกาลอัคคีนาคราช]] นางองนค์นาคี และเป็นยักษ์ซึ่งในที่นี้หมายถึงยักษ์ที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวนางทั่วไป ไม่ได้มีรูปร่างและใบหน้าเหมือนกับยักษ์ได้แก่ [[นางเบญจกาย]] นางตรีชฏา นางสุวรรณกันยุมา และยักษ์ที่มีลักษณะใบหน้าเหมือนยักษ์แต่สวมหัวโขนได้แก่ [[นางสำมะนักขา]] [[อากาศตะไล]] ฯลฯ ซึ่งตัวละครเหล่านั้นสามารถบ่งบอกชาติกำเนิดของตนเองได้ จาก[[สัญลักษณ์]]ของการแต่งกายและ[[เครื่องประดับ]]<ref name="ตัวละครในการแสดงโขนนาง">ตัวละครในการแสดงโขนนาง, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 61</ref>
 
สำหรับตัวนางนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ตัวนางที่เป็นนางกษัตริย์และนางตลาด ซึ่งนางกษัตริย์จะคัดเลือกจากผู้ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวพระ สวมมงกุฏ ห้อยดอกไม้เพชรด้านซ้าย กิริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพ นุ่มนวลอ่อนหวานตามลักษณะหญิงงามในวรรณคดีเช่นกัน ยามแสดงอาการโศกเศร้าหรือยิ้มแย้มดีใจ ก็จะกรีดกราย[[นิ้วมือ]]แต่เพียงพองาม ส่วนนางตลาดนั้นจะคัดเลือกจากผู้ที่มีท่าทางกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว มีจริต สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
 
; ตัวยักษ์
การคัดเลือกตัวยักษ์สำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายกับตัวพระ รูปร่างสูงใหญ่<ref>[http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082540000318 จารีตการฝึกหัดและการแสดงโขนตัวทศกัณฐ์]</ref> วงเหลี่ยมของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ตลอดจนถึงการทรงตัวต้องดูแข็งแรง กิริยาท่าทางการเยื้องย่างแลดูสง่างาม โดยเฉพาะผู้แสดงเป็นทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ จะฝึกหัดเป็นพิเศษเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่น ๆ ต้องมีความแข็งแรงของช่วงขาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการแสดงจะต้องย่อเหลี่ยมรับการขึ้นลอยของตัวพระและตัวลิง<ref name="การขึ้นลอยตัวพระ-ตัวยักษ์">การขึ้นลอยตัวพระ-ตัวยักษ์, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 60</ref> ทศกัณฐ์เป็นตัวละครที่มีท่วงท่าลีลามากมายเช่น ยามโกรธเกรี้ยวจะกระทืบเท้าตึงตังเสียงดังโครมคราม หันหน้าหันหลังแสดง[[อารมณ์]]ด้วยกิริยาท่าทาง ยามสบายใจหรือดีใจ ก็จะนั่งกระดิกแขนกระดิกขา เป็นต้น<ref name="ตัวละครในการแสดงโขนยักษ์">ตัวละครในการแสดงโขนยักษ์, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 61</ref>
 
ยามแสดง[[ความรัก]]ด้วยลีลาท่าทางกรุ้มกริ้มหรือเขินอาย ก็จะแสดงกิริยาในแบบฉบับของยักษ์เช่น ตอนทศกัณฐ์สำคัญผิดคิดว่านางเบญกาย ซึ่งแปลงเป็นนางสีดามาเข้าเฝ้าในท้องพระโรง จึงออกไปเกี้ยวพาราสีนางสีดาแปลง จนกลายเป็นที่ขบขันของเหล่านางกำนัล กิริยาท่าทางของทศกัณฐ์ยามขวยเขิน จะแสดงลีลาด้วยการส่ายไหล่ ปัด[[เสื้อผ้า|ภูษาเครื่องทรง]]และชายไหวชายแครง มีท่าทางเก้อเขินอย่างเห็นได้ชัด ประกบฝ่ามือบริเวณอก ถูไปมาแล้วปัดใบหน้า กิริยาท่าทางของทศกัณฐ์ในตอนนี้ จะใช้ทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ลำคอ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไหล่และลำตัว ซึ่งเป็นการแสดงท่ารำที่ขัดกับบุคลิกที่สง่าของทศกัณฐ์เป็นอย่างมาก<ref name="ตัวละครในการแสดงโขนยักษ์">ตัวละครในการแสดงโขนยักษ์, โขน, นงนุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 63</ref>
 
; ตัวลิง
การคัดเลือกตัวลิงสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะท่าทางไม่สูงมากนัก กิริยาท่าทางคล่องแคล่วว่องไวตามแบบฉบับของลิง มีการดัดโครงสร้างของร่างกายให้อ่อน ซึ่งลีลาท่าทางของตัวลิงนั้นจะไม่อยู่นิ่งกับที่ ตีลังกาลุกลี้ลุกลนตาม[[ธรรมชาติ]]ของลิง สำหรับผู้ที่จะหัดเป็นตัวลิงนั้น ตามธรรมเนียมโบราณมักเป็นผู้ชาย โดยเริ่มหัดตั้งแต่อายุ 8-12 ขวบ เป็นต้น ในอดีตจะมีการฝึกเฉพาะเด็กผู้ชาย ปัจจุบัน[[วิทยาลัยนาฏศิลป์]]ได้เริ่มให้มีการคัดเลือกเด็กผู้หญิง เข้ารับการฝึกเป็นตัวลิงแล้ว เรียกว่า '''"โขนผู้หญิง"''' ในการการฝึกตัวลิงให้สามารถแสดงเป็นตัวเอกได้ดีนั้น จะต้องใช้เวลา 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย<ref>[http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000045762 "โขนลิง" วิทยานิพนธ์ดีเด่นจากนักวิชาการรั้วพระเกี้ยว]</ref>
 
ในการฝึกท่าพื้นฐานในการหัดเป็นตัวลิง ผู้แสดงจะต้องฝึกความแข็งแกร่งและความอดทนของร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเริ่มหัดเทคนิคกระบวนท่าพื้นฐานธรรมดาเป็นระยะเวลา 2 ปี และเริ่มพัฒนาในการฝึกเทคนิคกระบวนท่าเฉพาะอีก 5 ปี<ref>[http://www.ryt9.com/s/bmnd/1129598 แนวคิดและวิธีแสดงโขนลิง]</ref> ปัจจุบันในการแสดงโขน ผู้แสดงเป็นตัวลิงเช่นหนุมาน องคต ชมพูพาน จะมีการแต่งเติมเทคนิคลีลาเฉพาะตัวของลิงเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงลักษณะท่าทางเฉพาะของลิง
 
=== การฝึกหัดโขน ===
[[ไฟล์:Actor Monkey The Masked Play.jpg|thumb|ตัวลิง ที่มีการฝึกเฉพาะเพื่อให้มีทักษะคล่องแคล่วว่องไว โลดโผดตามธรรมชาติของลิง]]
 
ซึ่งการฝึกหัดโขนนั้น ผู้ฝึกหัดโขนทุกคนจะต้องนุ่งโจงกระเบนสีแดงสวมเสื้อขาว เนื่องจากเป็น[[กฎ]]ระเบียบข้อบังคับ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฝึกหัดนาฏศิลป์ภายใน[[วังสวนกุหลาบ]] โดยอาจารย์ลมุล ยมะคุป ข้าหลวงในวังสวนกุหลาบเป็นผู้กำหนดขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2477]] เนื่องจากมีราคาไม่แพง และสามารถควบคุมผู้ฝึกหัดให้เป็นหมวดหมู่ได้อย่างง่าย<ref>[http://cdanr.bpi.ac.th/thaimusic/webpage/content1.html เหตุผลในการนุ่งผ้าโจงกระเบนแดง สวมเสื้อขาวในการฝึกหัดโขน]</ref> เมื่อคัดเลือกผู้แสดงได้แล้วจะเริ่มฝึกหัดโขนขั้นพื้นฐาน ดังนี้
 
; การนั่ง
เป็นการหัดโดยนั่งพับเพียบ เอวและไหล่ตึงแลดูสง่างาม มีการดัดปลายนิ้วและช่วงแขนให้งอนงาม ตัวพระ ตัวยักษ์และตัวลิงจะหัดนั่งพับเพียบและแบะเข่าออก ต่างจากตัวนางที่หัดนั่งพับเพียบ หนีบหน้าขาซ้อนทับกันลดหลั่นกันไป รวมทั้งมีการดัดร่างกาย แขนขาในกิริยาท่าทางต่าง ๆ เช่น ดัดแขนและข้อมือ ดัดหลัง การเดิน การย่างก้าวและการยกเท้า เป็นต้น<ref>[http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/train.asp การฝึกหัดโขน]</ref>
 
; การฝึกรำและท่องจำจังหวะ
ภายหลังจากผู้แสดงฝึกหัดขั้นพื้นฐานแล้ว จะเป็นการฝึกหัดให้ท่องจังหวะและฝึกรำหน้าทับประกอบเพลงช้าและเพลงเร็ว ฝึกให้ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง หัดรำแม่บทและแม่ท่า รำตีบทหรือรำตามบท รำหน้าพาทย์ รำอาวุธและรำเบ็ดเตล็ด ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการหัดให้ผู้แสดงฝึกหัดใช้โสตประสาทของตนเอง ให้เรียนรู้จักจังหวะได้อย่างถูกต้องและมีความงดงามตามแบบฉบับของภาษานาฏศิลป์ นอกจากนั้นยังมีการฝึกท่ารำตัวยักษ์และตัวลิงอีกด้วย โดยเฉพาะการฝึกแม่ท่าของตัวลิง มีการฝึกด้วยกันทั้งหมด 7 แม่ท่า และตัวยักษ์ 6 แม่ท่า<ref name="นาฏลีลา การฝึกทักษะท่ารำตัวยักษ์และตัวลิง">นาฏลีลา การฝึกทักษะท่ารำตัวยักษ์และตัวลิง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรวรรณ ขมวัฒนาและคณะ, องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2551, หน้า16-33</ref>
 
ซึ่งแม่ท่าดังกล่าว เป็นแม่ท่าสำคัญที่ตัวลิงและตัวยักษ์จะใช้ตอนออกกราวนอก หรือใช้ในการแสดงในโอกาสต่าง ๆ นอกจากแม่ท่าที่สำคัญแล้ว ตัวลิงจะฝึกท่ามองในท่าเสี้ยว ท่าคว้า ท่าขู่ ท่าหย่อง ท่าเกา ซึ่งแยกออกเป็นท่าเกาต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมากเช่น เกาคาง เกาหัวเข่า เกาเอว จับหมัด ดม[[แมลง]] เป็นต้น ตัวยักษ์จะฝึกท่ารบหนึ่งหรือท่าจับ ท่ารบสองหรือเรียกกันในวงการนาฏศิลป์ว่า '''"สามทีไขว้"''' ท่าหกกัด ท่าหกฉีก-หกฉีกต่อเนื่อง และท่าขึ้นลอยหรือท่าลอยระหว่างตัวลิงและตัวพระ
 
; การฝึกตบเข่า ถีบเหลี่ยม ถองสะเอว ฉีกขา หกคะเมนและเต้นเสา
ในการฝึกหัดระยะแรก ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง จะฝึกหัดร่วมกันคือฝึกตบเข่า ถองสะเอวและเต้นเสา เพื่อให้รู้จักจังหวะและเคยชินกับเสียงดนตรี ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการฝึกนาฏศิลป์ไทย เรียนรู้การยักเยื้องลำตัว ยักหน้า ยักคอ ยักไหล่ได้อย่างคล่องแคล่ว โดยมี[[กลอง]]ให้จังหวะออกเสียง มีกำลังขาคงที่ ฝึกกระทืบเท้าให้หนักแน่น ฝึกเต้นตามจังหวะ<ref>[http://www.pklifework.com/Articles%20Pages/10%20TenSao-Thai.html การเต้นเสา พื้นฐานสำคัญในการแสดงโขน]</ref> ซึ่งการเต้นตามจังหวะนั้นเรียกว่า '''"ตะลึกตึก"''' ที่เป็นศัพท์เฉพาะทางวิชาการของโขน การเต้นตะลึกตึกคือการย่อเข่าทั้งสองข้างลงให้เป็น[[มุมฉาก]] ใช้เท้าขวายกกระทืบลงกับพื้น 1 ครั้ง วางเท้าอยู่กับที่ ใช้เท้าซ้ายยกลงกระทืบลงกับพื้น 1 ครั้ง แล้ววางอยู่กับที่ โดยการเต้นนั้น ผู้แสดงจะใช้เท้าขวาหรือซ้ายยกกระทืบพื้นก่อนก็ได้<ref>[http://www.gotoknow.org/blog/koovee3/307039 ตะลึกตึก ศัพท์วิชาการเฉพาะในการหัดเต้นเสา]</ref>
 
การฝึกเต้นเสานั้น เป็นการหัดให้ผู้แสดงตัวพระ ตัวยักษ์และตัวลิงยกเว้นเฉพาะตัวนาง ใช้จังหวะเท้าในการเต้นให้มีความสม่ำเสมอ มีกำลังขาแข็งแรง กระทืบฝ่าเท้าทุกส่วนลงกับพื้นโดยพร้อมเพรียงและมีน้ำหนักเท่า ๆ กัน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการฝึกหัดโขน การเต้นเสาจะต้องยกขาและดึงส้นเท้าให้สูง เกร็งหน้าขา ยกสลับขาซ้ายและขวาตามจังหวะ และเมื่ออาจารย์ผู้ฝึกสอนสั่งให้หยุด ผู้ฝึกหัดจะต้องจบด้วยท่านิ่ง ลักษณะร่างกายและศีรษะต้องตั้งตรง ขาตั้งให้ได้เหลี่ยม รวมทั้งมีการฝึกถีบเหลี่ยม เป็นการคัดส่วนขาให้สามารถตั้งเหลี่ยมได้ฉากและมั่นคง ทำให้ผู้แสดงเมื่อย่อเหลี่ยมจะมีทรวดทรงที่สวยงามตามลักษณะประเภทของตัวโขน หัดบังคับและควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในท่าที่ต้องการ ฝึกขา แขน และอกให้อยู่ในระดับคงที่
 
นอกจากนั้นจะเป็นการฝึกเฉพาะสำหรับผู้ที่แสดงเป็นตัวลิงคือ ฝึกฉีกขา หกคะเมนตีลังกา ม้วนหน้าม้วนหลัง พุ่งม้วนสามตัว ตีลังกาหน้าและหลัง เพื่อให้มีทักษะคล่องแคล่วว่องไว โลดโผดตามธรรมชาติของลิงที่ไม่อยู่นิ่ง โดยมีท่าหกคะเมนที่ใช้ในการฝึก 3 ท่าคือ<ref name="การหัดหกคะเมนในตัวลิง">การหัดหกคะเมนในตัวลิง, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 153, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
# ท่าหกคะเมนหงายตัวไปด้านหลัง เรียกว่า "ตีลังกาหกม้วน"
บรรทัด 298:
[[ไฟล์:Actor Tosakanth The Masked Play.jpg|thumb|left|เครื่องแต่งกายทศกัณฐ์ จำลองเลียนแบบจากเครื่องทรงต้นของ[[พระมหากษัตริย์]]แบบโบราณ สวมเกราะสายคาดอก มงกุฏยอดสามชั้น]]
 
เครื่องแต่งกายสำหรับใช้ในการแสดงโขน ใช้การแต่งกายแบบยืนเครื่อง ซึ่งเป็นการแต่งกายจำลองเลียนแบบจากเครื่องทรงต้นของ[[พระมหากษัตริย์]]แบบโบราณที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา แบ่งเป็น 5 ฝ่ายคือ ฝ่ายมนุษย์ เทวดา พระ นาง ฝ่ายยักษ์และฝ่ายลิง สำหรับบ่งบอกถึงยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่ง<ref>[http://www.natasinthai.com/natayaporn.html นาฏยภรณ์ การแต่งกายของโขนแบบยืนเครื่อง]</ref> นอกจากนั้นตัวละครอื่น ๆ จะแต่งกายตามแต่ลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น [[ฤๅษี]] [[กา]] [[ช้าง]] [[ม้า]] [[วัว]] [[ควาย]] ฯลฯ สวมหัวโขนซึ่งมีการกำหนดลักษณะและสีไว้อย่างเป็นระบบและแบบแผน ใช้สำหรับกำหนดให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร สีของเสื้อเป็นการบ่งบอกถึงสีผิวกายของตัวละครนั้น ๆ เช่น พระรามกายสีเขียว[[มรกต]] พระลักษมณ์กายสีเหลือง[[บุษราคัม]] ทศกัณฐ์กายสีเขียวมรกต หนุมานกายสีขาว[[มุกดา]] สุครีพกายสีแดง[[โกเมน]] เป็นต้น แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
 
; ศิราภรณ์
บรรทัด 311:
 
; ถนิมพิมพาภรณ์
ถนิมพิมพาภรณ์หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ตามแต่ฐานะของตัวละคร คำว่าถนิมพิมพาภรณ์ มาจากคำว่า ''"พิมพา"'' และ ''"อาภรณ์"'' หมายถึงเครื่องประดับตกแต่งตามร่างกาย<ref>[http://www.thaitux.info/dict/?words=พิมพา ความหมายของถนิมพิมพาภรณ์]</ref><ref>[http://www.arthousegroups.com/artshow.php?art_showcase_id=379 เบื้องหลังโขนพรหมมาศ]</ref> ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับที่ถมและลงยาเช่น ทับทรวง ซึ่งเป็น[[โลหะ]]ประกอบกัน 3 ชิ้น ชุบเงิน ประดับเพชรตรงกลาง ฝังพลอยสีแดง ลักษณะของสายเป็นเพชรจำนวน 2 แถว มีความยาวประมาณ 28 นิ้ว เข็มขัดหรือปั้นเหน่ง สังวาล ตาบหน้า ตาบทิศ ตาบหลัง อินธนู ธำมรงค์ แหวนรอบ ปะวะหล่ำ ทองกร กรองคอ สะอิ้ง พาหุรัด กำไลเท้า เป็นต้น
 
[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงเล่าไว้ในละคร[[พม่า]]เมื่อครั้งที่พระองค์เคยเสด็จไปทอดพระเนตรที่เมือง[[ย่างกุ้ง]]ว่า การแต่งกายของผู้แสดงโขนนั้น ใช้การแต่งกายแบบสามัญชนคนธรรมดา ไม่ได้มีการแต่งตัวที่ผิดแปลกกว่าปกตินอกจากบทผู้หญิง ที่มีการห่มสไบเฉียงหรือบทเป็นยักษ์เป็นลิง ที่มีการเขียนหน้าเขียนตาหรือสวมหน้ากาก ใช้เครื่องแต่งกายของละครแบบยืนเครื่องเช่น สนับเพลา ผ้านุ่ง กรองคอ ทับทรวง สังวาล เป็นต้น แต่เดิมการแต่งกายของตัวพระหรือนายโรงจะไม่สวมเสื้อ ภายหลังมีการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายสำหรับตัวพระขึ้น จึงเป็นที่มาของการแต่งกายแบบยืนเครื่องในปัจจุบัน
บรรทัด 319:
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องประดับสำหรับสวมใส่ศีรษะแทนผ้าโพกและกระบังหน้าขึ้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการประดิษฐ์รัดเกล้ายอดขึ้นสำหรับใช้เฉพาะละครหลวงเท่านั้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงยกเลิกการห้ามนำรัดยอดเกล้าไปใช้สำหรับตัวละครอื่นที่ไม่ใช่ละครหลวง และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายของโขนเรื่อยมา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงปรับปรุงเสื้อของตัวยักษ์ให้แตกต่างไปจากเดิมคือ ลำตัวสีหนึ่งและแขนอีกสีหนึ่ง นัยว่าสีของแขนเสื้อคือสีผิวของตัวละคร สีของลำตัวคือสีเกราะที่สำหรับใช้สวมใส่ในยามออก[[สงคราม|ศึกสงคราม]]ซึ่งมักเป็นสีที่ตัดกับสีแขนเสื้อเช่นเสื้อสีเขียว เกราะสีแดง เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังมีเกราะอีกหนึ่งประเภทคือ เกราะที่เป็นสายคาดรอบอกเช่น ตอนทศกัณฐ์เกี้ยวนางสีดาในสวน ทศกัณฐ์แต่งกายสวยงาม มีผ้าห้อยไหล่และถือพัดจันทน์ขนาดเล็ก คล้องพวงมาลัยที่ข้อมือด้านขวา มีเกราะสายคาดรอบอก<ref>[http://musicthai.patakorn.com/?p=123 ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน]</ref> ดังกาพย์ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ดังนี้
 
{{เริ่มกาพย์}}
บรรทัด 329:
{{จบกาพย์}}
 
ซึ่งในการแต่งกายของทศกัณฐ์นั้น ปกติจะมีเกราะสายคาดรอบอกเป็นประจำ ตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ทศกัณฐ์มีกุเรปันเป็นพี่ชายต่างมารดา แต่ด้วยนิสัยสันดาลพาลของทศกัณฐ์ ทำให้เกิดการแย่งชิงบุษบกแก้วของกุเรปันบริเวณเชิงเขาไกรลาส กุเรปันสู้ไม่ได้ก็หนีไปขอความช่วยเหลือจากพระอิศวรซึ่งประทับอยู่บนหลัง[[ช้าง]] พระอิศวรจึงทรงถอดงาจากช้างทรงขว้างใส่ทศกัณฐ์พร้อมกับสาปให้งานั้นติดอยู่จนกระทั่งทศกัณฐ์ตาย ทศกัณฐ์ต้องคำสาปพระอิศวร จึงไปขอให้พระวิศวกรรมเลื่อยงาช้างส่วนที่ยื่นออกมาให้ขาดเสมออก และเนรมิตเกราะสายคาดรอบอกขึ้นเพื่อปกปิดร่องรอยของงานช้าง ดังนั้นการแต่งกายของทศกัณฐ์ตามบทพระราชนิพนธ์ ตั้งแต่ทศกัณฐ์เกิดจนถึงถูกพระอิศวรสาป จะไม่มีเกราะสายคาดรอบอก<ref>[http://www.ku.ac.th/e-magazine/october47/know/khon.html ประวัติและความเป็นการของเครื่องแต่งกายโขนในสมัยรัตนโกสินทร์]</ref>
 
ปัจจุบันกรมศิลปากรเป็นผู้กำหนดขนาดและลวดลายต่าง ๆ ของเครื่องแต่งกายโขนเช่น การกำหนดเครื่องแต่งกายของ[[พระพรต]] มีรายละเอียดดังนี้<ref>[http://tor.gprocurement.go.th/06_torview_egp/view_tor.php?id=99413 TOR เครื่องแต่งกายชุดพระพรต-งานจ้างทำเครื่องแต่งกายโขน กรมศิลปากร]</ref>
 
{{คำพูด|''เสื้อใช้ผ้าต่วน[[สีแดง]]คอกลมแขนยาว ปักลาย 2 ข้างเต็มด้านหน้า ปักลายหนุนใต้รักแร้ ปัก[[ลายกนก]]ที่ตัวเสื้อและแขน หนุนในตัวกนกด้วยเชือกเกลียวขนาดเล็ก ถมลายกนกด้วยดิ้นข้อ-ดิ้นโปร่งสีเงินขนาดเล็ก ซับในด้วยผ้าโทเรสีแดง กรองคอใช้ผ้าต่วน[[สีเขียว]]ปักลายกนก หนุนในตัวกนกด้วยเชือกเกลียวขนาดเล็ก ถมลายกนกด้วยดิ้นข้อ-ดิ้นโปร่งสีเงินขนาดเล็ก อินธนูใช้ผ้าต่วนสีเขียว เสริมภายในด้วยแผ่นหนังสังเคราะห์ ตรงปลายติดพู่เงิน-ทองยาว 1 นิ้ว จำนวน 1 คู่ ซับในด้วยผ้าโทเรสีเขียว''
บรรทัด 339:
''สนับเพลาใช้ผ้าโทเรสีแดง มีลิ้นซ้อนด้านในปลายขา ใช้ผ้าต่วนสีแดงปักลายกนกเชิงงอน คาดขอบลายด้านบนด้วยผ้าต่วนสีเขียวปักลายกนก หนุนในตัวกนกด้วยเชือกเกลียวขนาดเล็ก ถมลายกนกด้วยดิ้นข้อ-ดิ้นโปร่งสีเงินขนาดเล็ก เหนือลายปักต่อผ้าต่วนสีแดงเย็บติดกับกางเกง ผ้านุ่งใช้ผ้ายกเนื้อหนาขนาดมาตรฐาน มีลายเชิง 2 ข้างสีเขียวพร้อมผ้าคาดเอว[[สีขาว]] จำนวน 2 ชิ้น''}}
 
ซึ่งเครื่องแต่งกายในการแสดงโขนในของตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง มีดังนี้<ref>[http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/dress.asp การแต่งกายของผู้แสดงโขนในตัวละครประเภทต่าง ๆ]</ref>
 
{| class="wikitable"
บรรทัด 366:
[[ไฟล์:Khon Mask Tosakan.JPG|thumb|มงกุฏตามหัวหรือหน้าของทศกัณฐ์ สีเขียว ปากแสยะ ตาโพลง]]
 
หัวโขนเป็นงานศิลปะชั้นสูง ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะ ปิดบังส่วนหน้าของผู้แสดงอย่างมิดชิด เป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ และงานศิลปะที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรตระการตาเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกาย ประณีตบรรจงตามแบบ[[ช่างสิบหมู่|ช่างไทย]] มีรูปลักษณะสวยงาม ลักษณะคล้ายหน้ากาก แตกต่างตรงที่เป็นการสร้างจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะทั้งหมด เจาะช่องเป็นรูกลมที่[[ดวงตา|นัยน์ตา]]ของหัวโขน ให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดงเพื่อการมองเห็น<ref>[http://members.tripod.com/tyzo_ros/html/pagetakekhon.htm การทำหัวโขน]</ref> แบ่งเป็น 2 ประเภทคือหัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง หมายความถึงหัวโขนที่สื่อถึงตัวละครนั้น ๆ เช่น พระ ยักษ์ เทวดา วานรและสัตว์ต่าง ๆ สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ตามเอกลักษณ์ของหัวโขนที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบของศิลปะไทย<ref>[http://school.obec.go.th/wbpschool/E03/e036/history.HTM ประวัติหัวโขน]</ref> และหัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก หมายความถึงหัวโขนที่ทำขึ้นโดยการหล่อ [[การปั้น|ปั้น]] ฉีดและขึ้นรูปด้วย[[พลาสติก]]หรือกรรมวิธีอื่น ๆ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก<ref>[http://www.abnongphai.ac.th/%E1%CB%C5%E8%A7%A4%C7%D2%C1%C3%D9%E9/coursware%20nectec/nectec/tcps221_47.pdf นิยามของหัวโขน]</ref>
 
หัวโขนที่ใช้สำหรับแสดง แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของตัวละครคือ หัวโขนพงศ์นารายณ์ ประกอบด้วยเผ่าพงศ์วงศ์[[พระมหากษัตริย์|กษัตริย์]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา|กรุงอโยธยา]] หัวโขนพรหมพงศ์และอสูรพงศ์ ประกอบด้วย[[พรหม]]ผู้สร้างกรุงลงกาและอสูรพงศ์ในกรุงลงกา หัวโขนมเหศวรพงศ์ ประกอบด้วย[[พระอิศวร]] พระนารายณ์ [[พระพรหม]]และเทวดาต่าง ๆ หัวโขนฤๅษี ประกอบด้วยฤๅษีผู้สร้างกรุงอโยธยา ฤๅษีที่พระราม พระลักษมณ์และนางสีดาพบเมื่อคราวเดินดง หัวโขนวานรพงศ์ ประกอบด้วยพญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ เสนาวานร วานรเตียวเพชร วานรจังเกียงและพลลิงหรือเขนลิง
 
หัวโขนคนธรรพ์ ประกอบด้วยเทพคนธรรพ์และ[[คนธรรพ์]] หัวโขน[[นก|พญาปักษา]] ประกอบด้วย[[ครุฑ|พญาครุฑ]] พญาสัมพาที [[นกหัสดายุ|พญาสดายุ]] และหัวโขนแบบเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วยหัวสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น และอาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 ประเภทคือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น ลิงยอดและลิงโล้น<ref>[http://www.anurakthai.com/khon_mask/index.asp ประเภทของหัวโขนชนิดต่าง ๆ]</ref> นอกจากนี้ยังแบ่งตามชนิดของ[[มงกุฎ]] ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป แบ่งเป็นฝ่ายลงกาคือ มงกุฎยอดกระหนก มงกุฎยอดจีบ มงกุฎยอดหางไก่ มงกุฎยอดน้ำเต้า มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง มงกุฎยอดกาบไผ่ มงกุฎยอดสามกลีบ มงกุฎยอดหางไหล มงกุฎยอดนาคา มงกุฎตามหัวหรือหน้า พวกไม่มีมงกุฎ พวกหัวโล้น พวกหัวเขนยักษ์หรือพลทหารยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์
 
ถึงแม้มีการบัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน ยังคงมีหัวโขนบางประเภทที่มีมงกุฎยอดเหมือนกัน จึงมีการทำหน้าโขนให้ปากและตาแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทปากแสยะตาโพลง ประเภทปากแสยะตาจระเข้ ประเภทปากขบตาโพลง และประเภทปากขบ[[ตา]][[จระเข้]] เป็นต้น<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/head.html การจำแนกประเภทของหัวโขนตามฝ่ายเสนายักษ์และเสนาลิง]</ref> ฝ่ายพลับพลาคือ มงกุฎยอดบัด มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลม มงกุฎยอดสามกลีบ พวกไม่มีมงกุฎแต่เป็นลิงพญามีฤทธิ์เดช พวกไม่มีมงกุฎแต่เรียกมงกุฎ พวกเตียวเพชร จังเกียง หัวลิงเขนหรือพลทหารลิงและหัวตลกฝ่ายลิง สำหรับพวกพญาวานรที่ไม่มีมงกุฎและพวกสิบแปดมงกุฎ มักนิยมเรียกรวมกันว่าลิงโล้น<ref name="หัวโขน">หัวโขน, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 130, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
== ภาษาโขน ==
บรรทัด 378:
 
== ประเพณีไหว้ครูและความเชื่อ ==
โขนเป็นนาฏศิลปชั้นสูง ที่มีธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อในการปฏิบัติหลายอย่าง สืบต่อกันมาแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน บางอย่างมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและความเหมาะสม บางอย่างคงใช้อยู่ตามรูปแบบเดิม บางอย่างสูญหายไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะหัวโขนซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างมากในการแสดงโขน เนื่องจากเป็นตัวชี้บ่งถึงบุคลิกและลักษณะนิสัยของตัวละครนั้น ๆ ช่างทำหัวโขนที่จัดอยู่ในงาน[[ช่างสิบหมู่]] ต้องผ่านการไหว้ครูและครอบครูเช่นเดียวกับนาฏศิลป์ประเภทอื่น ๆ มีความเคารพครูอาจารย์ตั้งแต่เริ่มฝึกหัด<ref>[http://members.tripod.com/tyzo_ros/html/pagecutture.htm พิธีไหว้ครูช่างหัวโขน]</ref> ก่อนเริ่มการออกโรงแสดงในแต่ละครั้ง ต้องมีการตั้งเครื่องเซ่นไหว้[[บายศรี]]ให้ครบถ้วน ในการประกอบพิธีจะต้องมีหัวโขนตั้งประดิษฐานเป็นเครื่องสักการะต่อครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว
 
=== พิธีไหว้ครู ===
ในพิธีไหว้ครูจะมีการนำหัวโขนหรือศีรษะครู ที่เป็นเสมือนตัวแทนของครูแต่ละองค์มาตั้งประกอบในพิธี<ref>[http://www.rongchad.com/head.htm ความเชื่อเกี่ยวกับหัวโขน]</ref> การจัดตั้งหัวโขนต่าง ๆ มีหลายรูปแบบเช่น การตั้งแบบรวมกับพระพุทธรูป แบ่งเป็นแบบ 12 หน้า 10 หน้า 8 หน้า 6 หน้า 4 หน้าและ 2 หน้า มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนของหัวโขนตามแต่รูปแบบในการตั้ง นอกจากการตั้งแบบรวมกับ[[พระพุทธรูป]]แล้ว ยังมีการตั้งหัวโขนแบบพระพุทธรูปแยกระหว่างหัวโขนต่างหาก นิยมจัดให้หัวโขนมีความลดหลั่นเป็นชั้น โดยที่ชั้นบนสุดเป็นชั้นของมหาเทพได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม ชั้นสองเป็นชั้นของเทพที่มีความสำคัญต่อโลกมนุษย์และนาฏศิลป์เช่น พระอินทร์ พระวิษณุกรรม [[พระพิราพ]]
 
ชั้นที่สามเป็นชั้นของหัวโขนหน้ามนุษย์ หน้าลิง และมีศัสตราวุธและเครื่องประดับศีรษะที่ใช้ในการแสดงวางอยู่ตรงกลาง และชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของหัวโขนหน้ายักษ์ ผู้แสดงทุกคนก่อนแต่งตัวตามตัวละครก็ต้องมีการไหว้ครู ภายหลังจากแต่งกายเสร็จแล้ว ก่อนจะทำการสวมหัวโขนหน้ายักษ์ หน้าลิง มงกุฎหรือชฎา ก็จะต้องมีการทำพิธีครอบหัวโขนและไหว้ครูเพื่อแสดงความเคารพ<ref>[http://members.tripod.com/tyzo_ros/html/pagecutture.htm ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับโขน]</ref> ซึ่งนอกจากประเพณีไหว้ครูแล้ว ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับหัวโขนสืบทอดต่อกันมาอีกหลายอย่างเช่น การเจาะรูสำหรับมองเห็น ผู้ที่สามารถเจาะได้คือช่างทำหัวโขนเท่านั้น
 
ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า หัวโขนที่ใช้ในการแสดงที่ผ่านพิธีเบิกเนตรเรียบร้อย ก่อนนำไปใช้ในการแสดง ช่างทำหัวโขนจะวัดขนาดความห่างของดวงตาผู้แสดง และเจาะรูให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ห้ามผู้แสดงเจาะรูดวงตาเองเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าจะทำให้พิการตาบอด แต่ความเชื่อดังกล่าวเป็นเพียงกุศโลบายเท่านั้น ความเป็นจริงคือในการตกแต่งดวงตาของหัวโขน จะใช้เปลือกหอยมุกมาประดับตกแต่ง ซึ่งถ้าผู้เจาะรูไม่ใช่ช่างทำหัวโขนที่มีความชำนาญ อาจทำให้หัวโขนเกิดความผิดพลาดและเสียหายได้ง่าย
บรรทัด 390:
ในการปลูกโรงโขนสำหรับใช้แสดง ก่อนเริ่มก่อสร้างต้องมีการทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ขอขมาลาโทษในสิ่งต่าง ๆ ที่เคยล่วงเกิน และขออนุญาตบอกกล่าวแก่[[เจ้าที่|เจ้าที่เจ้าทาง]]ให้รับทราบ เพื่อเป็นการเปิดทางให้แก่ผู้แสดง ช่วยให้ทำการแสดงได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด รวมทั้งปกป้องคุ้มครองและปัดเสนียดรังควานต่อการแสดงให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เนื่องจากในการแสดงโขนนั้น หลายต่อหลายครั้งที่มีการแแข่งขันชิงชัยหรือประชันฝีมือซึ่งกันและกัน ซึ่งมีความเชื่อกันว่าฝ่ายตรงข้ามมักมีการใช้[[ไสยศาสตร์]] กลั่นแกล้งโจมตีฝ่ายตรงข้ามให้เสียเปรียบและพ่ายแพ้ เพื่อให้ได้รับชัยชนะในการแสดง ดังนั้นก่อนเริ่มการแสดงจึงต้องมีพิธีถอนอาถรรพ์ทุกครั้ง
 
สำหรับผู้แสดงที่ไม่เคยออกโรงแสดงมาก่อน หลังจากรับครอบครูแล้ว ก่อนทำการแสดงครูผู้ฝึกสอน จะครอบครูครอบหน้าให้เป็นการปฐมฤกษ์ ช่วยให้ไม่ติดขัดในการแสดงหลังจากการแสดงเสร็จสิ้น ผู้แสดงทุกคนจะต้องเข้าร่วมพิธีไหว้ครูอีกครั้ง หลังจากนั้น ผู้แสดงทุกคนจะต้องเอ่ยปากขอขมาลาโทษซึ่งกันและกันเป็นใจความว่า ''"หากข้าพเจ้าพลาดพลั้งด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี โดยมิได้ตั้งใจ โปรดให้อภัยและอโหสิด้วย"''<ref name="ธรรมเนียมในการแสดงโขน">ธรรมเนียมในการแสดงโขน, โขน, นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ, สำนักพิมพ์บริษัทคอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด, 2542, หน้า 96</ref> เนื่องจากบางครั้งในการแสดงอาจมีการกระทบกระทั่ง ละเมิดล่วงเกินหรือพลาดพลั้งโดยไม่ตั้งใจหรือเจตนาเช่น ผู้แสดงเป็นพาหนะได้แก่ ครุฑ ช้าง ม้า ราชสีห์ ซึ่งมักถูกตัวพระ ตัวยักษ์หรือตัวลิงล่วงเกิน จนกลายเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทได้ในภายหลัง
 
โดยการขอขมานั้น ผู้แสดงจะขอขมาตามความอาวุโสที่ด้านหลังเวที นอกจากพิธีไหว้ครูและความเชื่อในด้านต่าง ๆ แล้ว ในการแสดงโขนยังมีกฎข้อห้ามสำคัญอีกจำนวนมากเช่น ห้ามนั่งเล่นบนเตียงหรือนราวโขนเมื่อยังไม่ถึงคิวการแสดงของตน ห้ามนำ[[อาวุธ]]สำหรับใช้ในการแสดงมาเล่นนอกเวลาแสดงโดยเด็ดขาด ห้ามเดินข้ามเหล่าศัสตราวุธ ห้ามนำ[[กรับ]]มาตีเล่น ห้ามนำไม้ตะขาบหรือไม้ที่ใช้สำหรับตีเพื่อให้เกิดเสียงดังสำหรับการแสดงของตัวตลกมาตีเล่นเพื่อความสนุกสนาน เป็นต้น<ref>[http://members.tripod.com/tyzo_ros/html/pagebelive.htm ความเชื่อในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการแสดงโขน]</ref>
 
== วงดนตรีและเครื่องประกอบ ==
บรรทัด 436:
[[ไฟล์:Big Hanuman.jpg|thumb|ฉากสำคัญของการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ ตอนศึกมัยราพณ์ ฉากหนุมานเมรมิตร่างกายสูง 8 เมตร เพื่ออมพลับพลาที่ประทับ]]
 
การแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เป็นการแสดงโขนเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และคณะกรรมการในการจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนและละคร ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มีการอนุรักษ์และสืบสานการแสดงโขนในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของไทยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา<ref>[http://www.ryt9.com/s/prg/577567 การแสดงโขนพรหมาศ]</ref> โดยมี[[ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ]] ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิศิลปาชีพฯ และประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ และ [[หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี]] เป็นรองประธาน<ref>[http://www.thaiticketmajor.com/PR-News/แถลงข่าวการแสดงโขน-ชุดศึกมัยราพณ์-831-en.html คณะกรรมการอำนวยการจัดการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ]</ref> โดยการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรตินั้น นำแสดงโดย[[ศิลปิน|นาฏศิลปิน]]ชั้นนำจากกองการสังคีต กรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพมหานคร [[นักเรียน]]และ[[นักศึกษา]]วิทยาลัยนาฏศิลป์ จากทั่วประเทศไทย ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<ref>[http://www.crownproperty.or.th/publicnews.php?n_id=96&c=1 การแสดงเฉลิมพระเกียรติ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกพรหมาศ]</ref> เป็นการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้
 
=== ศึกพรหมาศ ===
ศึกพรหมาศ '' (คำว่า "พรหมาศ" เป็นอักขรวิธีแบบเก่า") ''<ref name="คำนำการแสดงโขนชุดศึกพรหมาศ">คำนำการแสดงโขนชุดศึกพรหมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด ศึกพรหมาศ, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 24 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]</ref> เปิดการแสดงในปี [[พ.ศ. 2550]] ระหว่างวันที่ 24 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จำนวน 5 รอบ และในปี [[พ.ศ. 2552]] ระหว่างวันที่ 19 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 จำนวน 6 รอบ โดย[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทอดพระเนตรการแสดงในวันศุกร์ที่ [[19 มิถุนายน]] พ.ศ. 2552 เวลา 19.00 น.<ref>[http://www.thaipost.net/x-cite/170609/6330 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ทอดพระเนตรการแสดง]</ref> ซึ่งการแสดงโขนตอนศึกพรหมาศนั้น คัดเลือกจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพรหมาศ บทพระราชนิพนธ์ใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] โดยจัดแสดงในรูปแบบของการบรรเลงด้วย[[วงโยธวาทิต]]และวงปี่พาทย์มโหรีร่วมบรรเลง<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=449845 ศึกพรหมาศ โขนพระราชินีกับการบรรเลงดนตรีร่วม]</ref> มีการแสดงรำประแลงเป็นชุดรำเบิกโรง
 
เนื้อเรื่องในการแสดง เป็นตอนที่ทศกัณฐ์รู้ว่า[[แสงอาทิตย์]]และ[[มังกรกัณฐ์]]สองหลานรัก พ่ายแพ้และเสียชีวิตในการต่อสู้กับฝ่ายพลับพลาของพระราม จึงรับสั่งให้[[กาลสูร]]ไปทูลอินทรชิตให้ทรงทราบ และให้เร่งชุบศรพรหมาศเพื่อออกไปต่อสู้ [[อินทรชิต]]แสร้งแปลงตนเองเป็นพระอินทร์ และให้[[การุณราช]]แปลงกายเป็น[[ช้างเอราวัณ]] พร้อมสั่งให้จัดโยธาทัพเทพบุตรและเทพธิดา ระบำรำฟ้อนกลางเวหาเพื่อให้พระรามและพระลักษมณ์ รวมทั้งเสนาวานรหลงกล เข้าใจผิดคิดว่าอินทรชิตคือพระอินทร์ จึงชื่นชมในบารมีของพระอินทร์จนลืมป้องกันตนเองและกองทัพ เป็นโอกาสให้อินทรชิตแผลงศรพรหมาศไปต้ององค์พระลักษมณ์และเหล่าเสนาวานรสลบไสลทั้งกองทัพ เหลือแต่หนุมานที่ไม่ต้องศรพรหมาศ จึงเข้าต่อสู้และแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการหักคอช้างเอราวัณ
บรรทัด 446:
 
=== นางลอย ===
นางลอย เปิดการแสดงในปี [[พ.ศ. 2553]] ระหว่างวันที่ 22 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 7 รอบ และระหว่างวันที่ 19 - 24 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 7 รอบ ซึ่งในรอบปฐมทัศน์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 19.30 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดง<ref>[http://travel.lorling.com/?show-172551 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงโขนนางลอย ปี 2553]</ref> ซึ่งการแสดงโขนตอนนางลอยนั้น ปรับปรุงจากบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งทรงเรียบเรียงสำหรับใช้ในงานรับ[[ราชทูต|แขกบ้านแขกเมือง]] เมื่อในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการแสดงรำกิ่งไม้เงินทองเป็นชุดรำเบิกโรง
 
เนื้อเรื่องในการแสดง เป็นตอนที่ทศกัณฐ์คิดหาหนทางเพื่อจะตัดศึกจากพระราม จึงสั่งให้นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสีดาทำทีตายลอยน้ำไปที่หน้าพลับพลาที่ประทับของพระราม เพื่อลวงให้พระรามเข้าใจผิดว่านางสีดาตายและยกทัพกลับ นางเบญกายไม่สามารถขัดขืนคำสั่งได้ จึงขอไปพบนางสีดาที่สวนขวัญท้ายอุทยาน เนื่องจากตนเองนั้นไม่เคยพบเห็นรูปร่างหน้าตาของนางสีดามาก่อน ทศกัณฐ์จึงสั่งให้ตั้งขบวนวอสีวิกากาญจน์และเครื่องยศ นำนางเบญจกายไป[[สวน|สวนขวัญ]]ที่ประทับของนางสีดา
บรรทัด 459:
[[ไฟล์:Actor Maiyarap Celebrate Grind The Masked Play.jpg|thumb|การแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ ตอนศึกมัยราพณ์ ระหว่าง 15 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม 2554 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแแห่งประเทศไทย]]
 
ศึกมัยราพณ์ เปิดการแสดงในปี [[พ.ศ. 2554]] จำนวน 38 รอบ ระหว่างวันที่ [[15 กรกฎาคม]] - [[7 สิงหาคม]] พ.ศ. 2554 ซึ่งในรอบปฐมทัศน์ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 20.05 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดง<ref>[http://www.thaidragonnews.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8980:2011-07-19-04-54-37&catid=49:2&Itemid=73 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงโขนตอน ศึกมัยราพณ์]</ref> และมีรับสั่งชื่นชมการแสดงโขนชุดนี้ว่า '''"สวยเหลือเกิน"'''<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVEU1TURjMU5BPT0=&sectionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBeE1TMHdOeTB4T1E9PQ== ราชินีตรัสชม โขนชุดศึกมัยราพณ์]</ref> ในการแสดงโขนตอนศึกมัยราพณ์นั้น ปรับปรุงจากบทโขนชุด ''"มัยราพณ์สะกดทัพ"'' ของกรมศิลปากร โดยเพิ่มเติมให้มีความสวยงาม สนุกสนานมากยิ่งขึ้น และในการแสดงครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้นักแสดงรุ่นใหม่ จากวิทยาลัยนาฏศิลป์และ[[สถาบันอุดมศึกษา]]ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกร่วมแสดงความสามารถในด้านการแสดงโขน เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติให้คงอยู่สืบต่อไป
 
นอกจากการคัดเลือกนักแสดง[[เยาวชน]]รุ่นใหม่จากทั่วประเทศไทยแล้ว ศึกมัยราพณ์ยังประกอบด้วยฉากมากมายจำนวนมาก ที่จัดทำขึ้นเฉพาะเป็นพิเศษสำหรับการแสดงครั้งนี้ ด้วยวิธีการผสมผสานแบบเก่า ตามจารีตแบบแผนการแสดงโขนหลวงของกรมมหรสพ และการแสดงแบบสมัยใหม่ ที่มีการใช้เทคนิค [[แสง]] [[สี]] [[เสียง]] ตระการตา เพื่อให้การแสดงแลดูสวยงาม สนุกสนาน สมจริงมากยิ่งขึ้นเช่น ฉากหนุมาน สูง 8 เมตร กว้าง 12 เมตร<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20110609/99926/ศึกมัยราพณ์งดงามอลังการกว่า.html ศึกมัยราพณ์ งดงามอลังการไม่แพ้การแสดงโขน 2 ชุดที่ผ่านมา]</ref> เนรมิตร่างกายใหญ่โตอมพลับพลาที่ประทับของพระราม ซึ่งสามารถทำให้หนุมานเคลื่อนไหวแขน ปากและกลิ้งกลอก[[ตา|นัยน์ตา]]ไปมาได้ ถือเป็นฉากสำคัญในการแสดงทีเดียว<ref>[http://www.manager.co.th/Celebonline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088151 การแสดงโขนตอนศึกมัยราพณ์]</ref> และฉากอีกหลายฉากที่หาชมได้ยาก ควบคุมเทคนิคต่าง ๆ และกำกับการแสดงโดยอาจารย์ประเมษฐ์ บุณยะชัย รวมทั้งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่แห่งการแสดงโขน ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก ที่เข้าชมการแสดงกันอย่างท้วมท้น จนต้องเพิ่มรอบการแสดงอีกครั้ง<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000095788 ปรากฏการณ์ที่น่าแปลกใจ ในการชมโขนศึกมัยราพณ์]</ref> มีการแสดงรำกิ่งไม้เงินทองเป็นชุดรำเบิกโรง
 
เนื้อเรื่องในการแสดง เป็นตอนที่ทศกัณฐ์พยายามคิดหาทนทางกำจัดพระรามและกองทัพฝ่ายพลับพลา จึงรับสั่งให้นนยวิกและวายุเวกไปพบมัยราพณ์เจ้าผู้ครองเมืองบาดาล ขอให้มัยราพณ์รีบมาช่วยเหลือ มัยราพณ์จึงขึ้นจากเมืองบาดาลมาเข้าเฝ้าทศกัณฐ์ รับอาสาช่วยเหลือในการศึกสงครามครั้งนี้ ด้วยการสะกดทัพให้หลับใหลรวมทั้งจับพระรามไปฆ่าให้ตาย และประกอบพิธีหุงสรรพยา โดยใช้[[หัวใจ|ดวงใจ]][[ราชสีห์]]มาผสมปรุง[[ยา|สรรพยา]] เพื่อลอบเข้าไปสะกดทัพพระราม
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"