ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญยงค์ เกตุคง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เทพกร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
| อดีตสมาชิก =
}}
'''ครูบุญยงค์ เกตุคง''' (2463-2539) [[คีตกวี]] นักดนตรีที่มีชื่อเสียงชาวไทย ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นระนาดเทวดา เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน และเป็นผู้ก่อตั้ง[[วงฟองน้ำ]] มีบทบาทที่สำคัญในการทลายกรอบของจังหวะที่ใช้ลูกตกเป็นจังหวะหนักหรือจังหวะที่ถูกเน้น ให้เกิดการเล่นแบบเน้นที่จังหวะยกแทน (Syncopation) และนำเทคนิคดังกล่าวมาประพันธ์ดนตรีที่สำคัญ ๆ หลายต่อหลายชิ้น ชิ้นที่โด่งดังมากมีชื่อว่า "[[ชเวดากอง]]"
 
{{รายการอ้างอิง}}
ครูบุญยงค์ เกตุคง เป็นบุตรชายคนใหญ่ของนายเที่ยงและนางเขียน เกตุคง. เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีวอก ตรงกับเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2463]] ที่ตำบลวันสิงห์ [[เขตบางขุนเทียน]] [[กรุงเทพมหานคร]] บิดามารดามีอาชีพเป็นนักแสดง ซึ่งต้องย้ายสถานที่ประกอบอาชีพบ่อย ๆ เมื่อยังเยาว์จึงอาศัยอยู่กับตาและยายที่[[จังหวัดสมุทรสาคร]] ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่วัดช่องลม และเริ่มหัดเรียนดนตรีไทยกับครูละม้าย (หรือทองหล่อ) ซึ่งเป็นครูสอนดนตรี อยู่บ้านข้างวัดหัวแหลม จังหวัดสมุทรสาคร
เมื่ออายุได้ 10 ปี ก็สามารถบรรเลงฆ้องวงทำเพลงโหมโรงเช้าและโหมโรงเย็นได้ ซึ่งถือว่าได้ผลการศึกษาดนตรีขั้นต้น ครั้นอายุได้ 11 ปี บิดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครูหรั่ง พุ่มทองสุข ซึ่งเป็นครูดนตรีมีชื่ออยู่ที่ปากน้ำภาษีเจริญ โดยมีน้องชายชื่อบุญยัง เกตุคง ไปร่วมเรียนด้วย และได้เป็นเพื่อนร่วมเรียนดนตรีพร้อมกับนายสมาน ทองสุโชติ ได้เรียนอยู่ที่บ้านครูหรั่งนี้ประมาณ 2 ปี จนสามารถบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็กได้ ก็ย้ายไปเรียนดนตรีกับพระอาจารย์เทิ้ม วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสถานที่เรียนดนตรี ที่มีชื่อเสียงมากอีกแห่งหนึ่งในยุคนั้น
เมื่อครูอายุได้ 16 ปี บิดาเห็นว่ามีความรู้เพลงการดีพอสมควรจะช่วยครอบครัวได้ จึงช่วยให้ไปทำหน้าที่นักดนตรีประจำคณะนาฎดนตรีของบิดา ซึ่งแสดงเป็นประจำอยู่ที่วิกบางลำภู กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากคนตีฆ้องวงใหญ่ แล้วจึงได้เป็นคนตีระนาดเอก ทั้งนี้ได้รับการฝึกสอนเป็นพิเศษจากอาชื่อนายประสิทธิ์ เกตุคง ให้มีความรู้เรื่องเพลงสองชั้นที่ลิเกให้ร้องเป็นประจำ จึงมีความรู้และไหวพริบดีมากขึ้นในเรื่องเพลงประกอบการแสดง เป็นที่ทราบกันว่าย่านบางลำภูนั้นเป็นที่ใกล้ชิดกับบ้านนักดนตรีไทยหลายบ้าน โดยเฉพาะบ้านของสกุล ดุริยประณีต ซึ่งมีนายชื้นและนายชั้น ดุริยประณีต บุตรชายของครูสุข ดุริยประณีต มาช่วยบิดาครูบุญยงค์ตีระนาดประกอบการแสดงลิเกเป็นครั้งคราว จึงได้สนิทสนมไปมาหาสู่กันจนเกิดความคุ้นเคยเป็นอันมาก ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเพลงกันมากขึ้นเป็นลำดับ
 
ต่อจากนั้นครูบุญยงค์ได้เดินทางไปเรียนดนตรีจากครูเพชร จรรย์นาฎย์ ครูดนตรีไทยฝีมือดีและเป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านครู[[หลวงประดิษฐไพเราะ]] (ศร ศิลปบรรเลง) ที่[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]
 
เมื่อปี [[พ.ศ. 2485]] เกิด[[อุทกภัย]]ครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร การแสดงดนตรีซบเซาลง จึงให้เวลาว่างประกอบอาชีพแจวเรือจ้างอยู่ระยะหนึ่ง แล้วไปสมัครเป็นศิษย์ท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ณ บ้านดนตรี วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี จึงได้เรียนรู้ทางเพลงทั้งทางฝั่งพระนครและทางฝั่งธนเป็นอย่างดี เมื่อน้ำลดแล้ว จึงได้เรียนดนตรีเพิ่มเติมอีกจากครูสอน วงฆ้อง ซึ่งช่วยสอนดนตรีอยู่ที่บ้านดุริยประณีตนั้น
สมัยที่พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้สมัครเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] ทำให้ได้ใกล้ชิดกับนักดนตรีอีกหลายคน อาทิ ครูประสงค์ พิณพาทย์ และครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยอยู่ในขณะนั้น
ในระหว่างที่ใกล้จะเกษียณอายุราชการ ครูบุญยงค์ได้ร่วมมือกับ[[บรูซ แกสตัน|อาจารย์บรูซ แกสตัน]] ก่อตั้งวงดนตรีไทยร่วมสมัยชื่อ “[[วงฟองน้ำ]]” ขึ้น ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ [[พ.ศ. 2539]] สิริรวมอายุได้ 76 ปี ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นระนาดเทวดา เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน และท่านยังได้รับคำยกย่องอีกว่าเสียงระนาดของท่านเปรียบได้กับเสียงของไข่มุกร่วงบนจานหยก
 
นอกจากนั้นท่านยังได้รับการยอมรับนับถือจาก[[ไซมอน แรทเทิล|เซอร์ ไซมอน แรทเทิล]] (Sir [[Simon Rattle]] [1955]) วาทยากรชาวอังกฤษ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวาทยากรหลักของวงเบอร์ลินฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตรา) ในฐานะครูผู้ใหญ่อีกด้วย
 
== ผลงานของครูบุญยงค์ เกตุคง ==
=== ผลงานประพันธ์เพลง ===
# ประเภทเพลงโหมโรง มีอยู่ด้วยกันหลายเพลงอาทิ เพลงโหมโรงสามสถาบัน โหมโรงสามจีน และโหมโรงจุฬามณี เป็นต้น
# ประเภทเพลงเถา ได้แก่เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงทยอยเถา ชเวดากองเถา เริงเพลงเถา กัลยาเยี่ยมห้อง เป็นต้น
# เพลงประกอบการแสดง ตระนาฏราชและ เพลงระบำต่างๆที่ประกอบในละคร
# เพลงเดี่ยวทางต่างๆ ได้แก่ ทางเดี่ยวระนาดเอก 3 ราง เพลงอาหนู และเพลงอาเฮีย ฯลฯ
 
;เดี่ยวระนาดเอกเพลงม้าย่อง ม้ารำ
# เพลงประกอบภาพยนตร์และโทรทัศน์ เงาะป่า
# เพลงร่วมสมัย เจ้าพระยา คอนแชร์โต้ เพลงผสมต่างๆ ของวงฟองน้ำ
 
=== ผลงานการแสดง ===
เป็นเจ้าของและหัวหน้าคณะนาฏดนตรีแสดงทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ชื่อคณะเกตุคงดำรงศิลป์
 
=== ผลงานบันทึกเสียง ===
# แผ่นเสียงของ[[วังสวนผักกาด]] อำนวยการโดย ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เพลงชุด Drum of Thailand ทำหน้าที่เป็นผู้บรรเลงระนาดเอก
# เพลงมุล่ง เดี่ยวระนาดเอก แผ่นเสียงตรามงกุฏ
# บันทึกผลงานเพลงโหมโรงและเพลงเถา (ในหัวข้องานประพันธ์เพลง 1, 2 ข้างต้น) ในโครงการ "สังคีตภิรมย์" ของ[[ธนาคารกรุงเทพ]] และเก็บผลงานไว้ที่[[ศูนย์สังคีตศิลป์]]และผลงานของวงดนตรีฟองน้ำ
 
=== งานเผยแพร่ต่างประเทศ ===
# ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
# สหรัฐอเมริกาและแคนาดา 2529, Exposition เยอรมัน 2525, ฮ่องกง 2525 (ฟองน้ำ)
# มโหรีราชสำนัก อังกฤษ 2529-2530
 
=== รางวัล ===
# ถ้วยทองคำ นาฏดนตรี
# โล่เกียรตินิยม พระราชทาน ร.9
# [[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย พ.ศ. 2531
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.dontrithai.com/people/bunyong.htm บุญยงค์ เกตุคง] จากเว็บดนตรีไทย.คอม {{ลิงก์เสีย}}
* ้่แกพัี่ั้า่้นรีี้่
{{จบอ้างอิง}}
*
 
== {{จบอ้างอิง ==}}1684
{{ศิลปินแห่งชาติ/ศิลปะการแสดง}}
 
[[หมวดหมู่:นักดนตรีไทย]]
เส้น 85 ⟶ 38:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:ข้าราชการพลเรือนชาวไทย]]
{{เกิดปี|2463}}7{{ตายปี|25392499}}
{{โครงชีวประวัติ}}