ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีคมุนท์ ฟร็อยท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 47:
 
=== ฝัน ===
{{บทความหลัก|ฝัน}}
 
*
ฟรอยด์เชื่อว่า หน้าที่ของฝันคือ การรักษาการหลับโดยแสดงภาพความปรารถนาที่สมหวัง ซึ่งหาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน<ref>Rycroft, Charles. ''A Critical Dictionary of Psychoanalysis''. London: Penguin Books, 1995, p.41</ref>
 
=== พัฒนาการความต้องการทางเพศ ===
{{บทความหลัก|พัฒนาการความต้องการทางเพศ}}
 
ฟรอยด์เชื่อว่า libido หรือความต้องการทางเพศนี้พัฒนาขึ้นในปัจเจกบุคคลโดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุ กระบวนการซึ่งประมวลโดยมโนทัศน์[[การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ]] (sublimation) เขาแย้งว่า มนุษย์เกิดมา "วิตถารหลายรูปแบบ" หมายความว่า วัตถุใด ๆ ก็เป็นแหล่งความพึงพอใจได้ เขายังแย้งต่อไปว่า เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้น พวกเขาจะติดข้องในวัตถุต่าง ๆ ผ่านขั้นพัฒนาการของเขา ได้แก่ [[ขั้นปาก]] ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของทารกในการเลี้ยงดู [[ขั้นทวารหนัก]] ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของเด็กเล็กในการถ่ายที่กระโถนของตน แล้วมาสู่[[ขั้นอวัยวะเพศ]] ในขั้นอวัยวะเพศนี้ ฟรอยด์ยืนยันว่า ทารกชายจะติดข้องต่อมารดาของตนเป็นวัตถุทางเพศ (รู้จักในชื่อ [[ปมเอดิเพิส]]) ระยะซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการขู่ว่าจะตอน (castration) ซึ่งส่งผลให้เกิด ''ปมการตอน'' อันเป็นแผลที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตวัยเยาว์ของเขา<ref>Freud, S. ''An Outline of Psychoanalysis'' (1940), ''Standard Edition 23'', pp. 189–192.</ref> ในงานเขียนภายหลังของเขา ฟรอยด์ได้ตั้งสมมุติฐานถึงสถานการณ์ที่เทียบเท่ากับปมเอดิปุสในทารกหญิง โดยเป็นการติดข้องทางเพศอยู่กับบิดาของตน<ref>Freud S. ''An Outline of Psychoanalysis'', pp. 193–194.</ref> เรียกว่า "[[ปมอิเล็กตรา]]" ในบริบทนี้ แม้ว่าฟรอยด์จะมิได้เสนอคำดังกล่าวเองก็ตาม พัฒนาการความต้องการทางเพศ[[ขั้นแฝง]]อยู่ก่อนพัฒนาการความต้องการทางเพศ[[ขั้นสนใจเพศตรงข้าม]] เด็กต้องการได้รับความพึงพอใจในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละขั้นเพื่อที่จะก้าวสู่ขั้นพัฒนาการต่อไปอย่างง่ายดาย แต่การได้รับความพึงพอใจน้อยหรือมากเกินไปอาจนำไปสู่การติดข้องในขั้นนั้น และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมถดถอยกลับไปยังขั้นนั้นในชีวิตภายหลังได้<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290">Hothersall, D. 2004. "History of Psychology", 4th ed., Mcgraw-Hill:NY p. 290</ref>
 
=== อิด อัตตาและอภิอัตตา ===
{{บทความหลัก|อิด อัตตาและอภิอัตตา}}
 
"ไอดี" (ID: ย่อมาจาก Identity) เป็นส่วนของจิตใจที่ไร้สำนึก หุนหันพลันแล่นและเหมือนเด็กซึ่งปฏิบัติการบน "หลักความพึงพอใจ" และเป็นแหล่งที่มาของแรงกระตุ้นและแรงขับพื้นฐาน อิดแสวงความต้องการและความพึงพอใจทันที<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290"/> ส่วนอภิอัตตา (superego) เป็นองค์ประกอบทางศีลธรรมของจิตใจ ซึ่งพิจารณาว่า ไม่มีกรณีแวดล้อมพิเศษใดที่สิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรมอาจไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อัตตา (ego) ที่ปฏิบัติการอย่างเป็นเหตุเป็นผล พยายามรักษาสมดุลระหว่างการแสวงความพึงพอใจของอิดและการเน้นศีลธรรมของอภิอัตตาซึ่งปฏิบัติไม่ได้จริง อัตตาเป็นส่วนของจิตใจที่โดยปกติสะท้อนโดยตรงในการแสดงออกของบุคคลมากที่สุด เมื่อรับภาระหนักเกินไปหรือถูกคุกคามจากหน้าที่ของอัตตา มันจะใช้กลไกป้องกันตนเอง ซึ่งรวมถึงการปฏิเสธ การกดเก็บและการย้ายที่ มโนทัศน์นี้โดยปกติแสดงภาพโดย "แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง"<ref>{{cite web|last=Heffner|first=Christopher|title=Freud's Structural and Topographical Models of Personality|url=http://allpsych.com/psychology101/ego.html|work=Psychology 101|accessdate=5 September 2011}}</ref> แบบจำลองนี้แสดงบทบาทของอิด อัตตาและอภิอัตตาตามความคิดเกี่ยวกับ ภาวะรู้สำนึกและไม่รู้สำนึก
 
ฟรอยด์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตตากับอิดว่าเหมือนสารถีกับม้า โดยม้าเป็นพลังงานและแรงขับ ส่วนสารถีคอยชี้นำ<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290"/>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== บรรณานุกรม ==
* Ford, Donald H. & Urban, Hugh B. ''Systems of Psychotherapy: A Comparative Study''. John Wiley & Sons, Inc, 1965.
* Kovel, Joel. ''A Complete Guide to Therapy: From Psychoanalysis to Behaviour Modification''. Penguin Books, 1991 (first published 1976).
* Mitchell, Juliet. ''Psychoanalysis and Feminism: A Radical Reassessment of Freudian Psychoanalysis''. Penguin Books, 2000.
* Sadock, Benjamin J. and Sadock, Virginia A. ''Kaplan and Sadock's Synopsis of Psychiatry''. 10th ed. Lippincott Williams & Wilkins, 2007.
* Webster, Richard. ''Why Freud Was Wrong: Sin, Science and Psychoanalysis.'' HarperCollins, 1995.
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==