ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธวัชบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ทศพล ทรวงชัย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
 
==ประวัติ==
ประวัติเมืองธวัชบุรี
 
                   ที่ตั้งของเมืองธวัชบุรีนั้น  แต่ก่อนเป็นป่าดงใหญ่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ สูง ๆ หลายชนิดเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่ามีช้าง  เสือ  สิง  ค่าง  กวาง  ละมั่ง  อีเก้ง  หมู  ตลอดทั้งปักษาสกุณาชาติมากพันธุ์ตามต้นไม้ใหญ่ ๆ นอกจากจะมีหมากผลและจะมีรวงผึ้งเรียงรายตามกิ่งก้านมากมาย  มีหนองน้ำเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าหลายแห่ง  เช่น  หนองหูลิง  หนองตับเต่า  หนองแฝก  หนองมันปลา  หนองบ้านน้อย  หนองฝ้ายน้ำ  หนองสระพัง หนองไผ่  และกุดหลายกุด  กุดนี้คือห้วงน้ำลึกใสสะอาดตลอดปี
 
                   ดงใหญ่อันเป็นที่ตั้งของเมืองธวัชนี้  นัยว่าเป็นป่าช้าของคนโบราณสมัยคนสูงแปดศอก  หรือสมัยก่อนผาแดงนางไอ่ คงอยู่ในสมัยเมืองร้อยเอ็ดกำลังรุ่งเรืองยุคแรกโน้น  เพราะนับตั้งแต่วัดกลางไปจนถึงกุดน้ำใสใหญ่  ปรากฏว่ามีผู้พบไหกระดูกขนาดใหญ่ในที่เหล่านี้เสมอ  พอมาถึงสมัยเมืองเชียงดี(ดงหัวเมือง)  ก็ปรากฏหนทางจากเมืองเชียงดี (ดงหัวเมือง)  ผ่านดงใหญ่มาทางทิศตะวันออกลงสู่กุด(สาวทุม)  ซึ่งเรียกกันว่า  ทางช้างม้าของเจ้าเมืองเชียงดีไปเล่นน้ำ  ทางนี้เป็นที่ลุ่มเล็กน้อยจากกุด(สาวทุม)  ผ่านคุ้มตะวันออกคดเคี้ยวไปดงหัวเมือง  ซึ่งยังเห็นเป็นรอยอยู่
 
                   ดงใหญ่นี้มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดริมแม่น้ำชีซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก  ทางทิศตะวันออกจดลำกุด(สาวทุม)  ซึ่งทอดยาวไปทางทิศใต้  ทิศใต้จดที่ลุ่มป่าละเมาะ บ้านขาม  ทิศตะวันตกจดเหล่าหลวงป่าละเมาะ
 
                   ผืนดินในดงใหญ่ที่ว่านี้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวจังหวัดร้อยเอ็ด  ระยะห่างจากตัวเมืองไป  ๒๐  กิโลเมตร  (ปัจจุบันมีทางรถยนต์ลงหินไปถึง)
 
                   ป่าดงใหญ่นี้ก่อนที่จะตั้งเป็นบ้านธวัชบุรี  หรือ บ้านท่าสาวทุมขึ้นนั้น  ได้มีหมู่บ้านอยู่ก่อนแล้วคือ
 
                   ๑.  ทางทิศพายัพของดงมีบ้านหนึ่ง  ซึ่งชาวบ้านแจ้งแขวงเมืองอุบลฯ  ได้มาตั้งภูมิลำเนาทำมาหากินอยู่ริมแม่น้ำชี  ตะวันตกของ  “หอปู่เจ้า”  เรียกชื่อบ้านใหม่ตามบ้านเดิมของตนว่า “บ้านแจ้ง”
 
                   ๒.  บ้านหวาย  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของดงมาทำกสิกรรมคือปลูกยาที่ริมกุด  (แต่ก่อนดงยังไม่มีชื่อ)  พอชาวบ้านหวายอาศัยน้ำกุดรดยาเสมอมาทุกปี  จึงได้เรียกชื่อกุดนี้ว่า“กุดสวนยา”ต่อมาบ้านหวายเกิดเดือดร้อนคนจึงแยกกันหนีภัยหาอยู่ที่อื่นต่อไป  และทิ้งบ้านให้ร้างต่อมาจนทุกวันนี้  ที่บ้านหวายนี้มีที่แห่งหนึ่งเป็นรูปควนดินสูง  มีสิ่งสลักหังพังเป็นอิฐ  กระเบื้อง  คงจะเป็นวัด  รูปสัณฐานแห่งนี้มีทรากพอสัณนิษฐานได้ปัจจุบันชาวบ้านเรียกที่แห่งนี้ว่า “บ้านเก่า”หรือดงบ้านหวาย  ถ้าเรียกรวมทั้งดงในบริเวณนี้เรียกว่า“ดงหนองสิม”
 
                   ๓.  มีบ้านหลังหนึ่งตั้งอยู่ฝั่งกุดสาวทุมทางทิศตะวันออกเจ้าของบ้านชื่อ“พ่อเฒ่าส่อย” ภรรยาชื่อ“แม่เฒ่ากา”อพยพมาจากบ้านขามได้มาทำไร่นาในบริเวณฝั่งกุดทางทิศตะวันออกตลอดไปตามหนองบึงที่ลุ่มนั้น
 
                   เมื่อได้เริ่มเรื่องมาถึงเพียงนี้แล้ว  ควรจะทราบว่า  “กุดสาวทุม”  ที่อ้างถึงแล้วนั้น  ทำไมจึงมีชื่ออย่างนั้นมีเหตุการณ์เป็นมาอย่างไรเสียก่อน  และเพื่อรักษาคำเล่าของผู้เฒ่าจะได้แยกเขียนคำเล่าเป็น  ๒  ตอน  เพราะผู้เล่าทุกคนได้ยินมาไม่เหมือนกันบ้าง  เหมือนกันบ้าง  จึงขอเล่าต่อให้ท่านวิจารณ์เอาดังนี้
 
                   เรื่องที่ ๑  มีว่าในสมัยโบราณมีเมืองหนึ่งชื่อ“เมืองเชียงขวาง” ซึ่งเป็นควนดินสูง ๆ ทิศตะวันออก บ้านจากนั้นเจ้าเมืองชื่อเชียงขวางมีลูกสาวสวย  ๒  คน  คนพี่ชื่อทุม  คนน้องชื่อนาง  กิตติศัพท์ความสวยทั้งสองนางลือไปถึงเมืองต่าง ๆ และมีเจ้าเมืองมาขอ“นางทุม”  หรือหม่อมทุม  ให้บุตรชายของตนและนัดวันแต่งงานกัน  ครั้นใกล้จะถึงวันแต่งงานสองพี่น้องชวนสาวใช้และพรรคพวกไปอาบน้ำชำระกาย  (ทำนองลงสรง)  ที่กุดเดิมคงจะเป็นสระหรือห้วงน้ำลึกอะไร ๆ ใสสะอาดอย่างหนึ่งและไม่มีชื่อว่าอะไร  ทั้งนี้เพราะเคยไปอาบเล่นเสมอ  ครั้นวันนี้เกิดเหตุอาเพศมีจระเข้ใหญ่ตรงเข้าคาบเอา  “สาวทุม”  ไปกินต่อมาจึงทิ้งซากกระดูกให้เห็นในวันหลัง  เจ้าเมืองเชียงขวางผู้เป็นบิดาได้ทราบเรื่องก็ให้อาลัยบุตรีเป็นที่ยิ่ง  จึงทำการเผาศพขึ้นที่ต้นตะเคียนริมกุดฝั่งตะวันออก  ด้วยความรักบุตรีจึงขอฝากชื่อไว้กับกุดนี้โดยให้ชื่อกุดนี้ว่า “กุดสาวทุม”  และตรงที่จระเข้คาบสาวทุมไปนั้นให้ชื่อว่า  “ท่าสาวทุม”  กุดนี้จึงมีชื่อว่า  “กุดสาวทุม”  ต่อมาคำสาวทุมนี้คนรุ่นหลังคงจะเรียกออกยากสักหน่อย       คำสาวถ้าเรียกโดยออกเสียงเร็ว ๆ “สาว”  ก็จะได้ยินสั้นเป็น  “เสา”  คำทุมใกล้กับคำ “ธุง”  มาก  แล้วคำสาวทุมก็เลยเพี้ยนมาเป็น  “เสาธุง”  ก็ได้  “ธุง” เป็นภาษาภาคอิสานตรงกับคำว่า “ธง”ในภาษาไทย  สมัยต่อมาคนเรียนรู้  ภาษาไทยมากขึ้นเห็นผืนผ้าที่เคยเป็นธุงมาก่อนก็เลยใช้คำ “ธง” มากกว่าคำ  “ธุง”  โดยทิ้งภาษาเดิมเสียอย่างนั้นแหละคำกุดสาวทุมจึงเพี้ยนมาเป็น  “กุดเสาธง”  ต่อมาจนบัดนี้
 
          ถ้าหากจะพิจารณาการลากข้าวของคำแล้ว  ก็จะไม่เป็นที่น่าสงสัยอะไรเลย  เพราะการลากข้าวของคำอาจไม่เห็นที่มาเลยก็ได้เช่น  “ต้ามุง”  มาเป็น  “ไตโมง”  แล้วก็เป็น  “ไทยเมือง”  และชื่อลูก  “ยานัส”  (หมากนัด) ได้ชื่อมาจากอาหรับว่า  “สะฟะระญานัส”  อินโดนีเซียรับคำนี้ไปเป็น “สะฟะระ”  แล้วก็เป็น      “สัพระญานส”  ครั้นออกเสียงเร็วหนักเข้าก็กลายเป็น“สัพรส”  แล้วก็เป็น “สับปะรด”  ในคำไทยเราเป็นต้น    คำ “สาวทุม”  มาเป็น  “เสาธง”  ก็ทำนองนี้
 
                   เรื่องที่  ๒  แม่ยายบัว  กุลอาษา  เล่าให้ฟังว่า  หม่อมทุมกับหม่อมนาง  สองพี่น้องเป็นลูกสาวเจ้าเชียงดีเคยไปมาเล่นน้ำสระผมชำระกายพร้อมด้วยบ่าวไพร่ที่กุดเสมอ  ครั้นจวนถึงวันแต่งงานของตนก็ได้ชวนบ่าวไพร่มาอาบน้ำชำระกายสระผมที่ลำน้ำกุด  ในขณะที่ลงเล่นน้ำอยู่นั้นหม่อมทุมถูกจระเข้ใหญ่คาบดึงลงไปในน้ำ  ส่วนหม่อมนางก็ตามไปดึงเอาพี่สาวจระเข้ก็เลยคาบเอาไปกินทั้ง  ๒  คนพี่น้อง  ภายหลังจระเข้ใหญ่ขึ้นบกคายกระดูกให้เห็นอยู่ริมฝั่งกุดด้านตะวันออกที่ใต้ต้นตะเคียนใหญ่ฝ่ายเจ้าเชียงดีดันพบกระดูกและเครื่องอาภรณ์ของลูกสาวจึงได้ทำการเผาใต้ต้นตะเคียนใหญ่นั้นเอง  ข่าวจระเข้กินคนที่ลำกุดนี้จึงเลื่องลือทราบกันทั่วไปคนทั้งหลายจึงให้ชื่อกุดนี้ว่า  “กุดสาวทุม”  ท่าที่ลงอาบน้ำเรียกว่า  “ท่าสาวทุม”  และ  “ท่าสาวนาง”
 
                   เมื่อบ้านหวายเกิดบ้านเดือดร้อนและฝูงคนพากันแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น  คราวนั้นมีชายแก่คนหนึ่งชื่อ  “ตาเพียห่ม”  ได้อพยพครอบครัวจากบ้านหวายไปขออาศัยอยู่บ้านแจ้งที่ชาวเมืองอุบลมาอยู่นั้นได้จับจอง         ที่นาริมกุดเสาธุงไว้ทำมาหากิน  (ซึ่งเราเรียกว่าฮ่อมนาแซงทุกวันนี้)  แต่แกไม่ทำมากทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็พอกิน  เพราะเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์ประกอบไปด้วยผัก  ปลา  คณานกทั้งหลาย  แกอาศัยอยู่บ้านแจ้งนี้ตลอดมา
 
                   กล่าวถึงพ่อเฒ่าเมืองซอง  ภรรยาชื่อทุมมา  บุตรเขยชื่อพระชุม  พระชุมมีภรรยาชื่อเบ้า  และมีลูกหญิงชื่อ  “บัว”  เป็นชาวเมืองร้อยเอ็ดมีถิ่นฐานอยู่คุ้มหินกองเป็นคหบดีที่มั่งคั่ง  มีช้าง  ม้า  ข้าคนพอใช้สอย  นัยว่าพ่อเฒ่าเมืองซองนี้เป็นลูกของเจ้าพระยาขัติยะวงศา  เมื่อยังหนุ่มแน่นได้รับราชการเป็นรองนายตรวจที่เรียกว่า นายเส้น  เกี่ยวกับการเกษตรและติดตามเจ้านายไปตรวจด้วยเขตของนายตรวจคือ  อาณาเขตทางทิศ ตะวันออกของเมืองร้อยเอ็ด  ขณะใดที่ตามนายตรวจไปนั้น  ถ้าเห็นภูมิประเทศที่ไหนมีทำเลดี  อุดมสมบูรณ์ก็จดจำไว้และจับจองเอา  หรือซื้อเอาไว้เป็นของตัว  ครั้นมาพบที่นา “ตาเพียห่ม”  ที่บ้านแจ้งซึ่งอยู่ริมกุดเสาธุง       เข้าก็ชอบใจคิดอยากได้ขึ้นมาทันที  เลยตกลงซื้อที่นาจาก  “ตาเพียห่ม”  ไว้ในราคา  ๕  บาท  แต่นั้นมาพ่อเฒ่าเมืองซองก็เคยไปมาหาสู่ตาเพียห่มเสมอจนสนิทสนมกัน  รักกันเหมือนญาติพี่น้อง
 
                  
 
                   ต่อมาปีมะเมียสัมฤทธิศกพุทธศักราช  ๒๔๐๑  จุลศักราช  ๑๒๒๐  รัตนโกสินทรศก ๗๗  คริสต์ศักราช ๑๘๕๘ ภาคอิสานเกิดข้าวยากหมากแพง (หรือเรียกกันในภาคอิสานว่า “ฮึดเข่า” ) เมืองร้อยเอ็ดก็ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากการอดหยากเหมือนกัน  ทุพภิกขภัย  ปกคลุมผืนแผ่นดินภาคอิสานทั้งภาคนี้เป็นเหตุให้คนระส่ำระสาย  หาเลี้ยงตัวและครอบครัวไม่พอกิน  ผู้มีข้าวมากก็ขายจนเป็นเศรษฐีผู้ใดจนอดอยากก็ได้รับทุกข์มากผู้คนจึงหนีภัยกันมาก  และอพยพไปอยู่ที่อื่นที่อุดมต่อไป  ราคาข้าวเปลือกครั้งนี้ซื้อหนึ่งบาทได้สามชั่ง  แต่ถ้าเป็นข้าวสารราคาบาทละบ้องขวาน  พืชผลหมากไม้ต่าง ๆ ตลอดทั้งผักปลาก็ไม่มี  เพราะฝนไม่ตกต่อกันถึงสามปีครอบครัวพ่อเฒ่าเมืองซองมีคนมาก  จึงคิดอยากจะย้ายที่หนีภัย  พ่อเฒ่าจึงคิดถึงที่นาของตนที่ได้ซื้อไว้จากตาเพียห่ม  เห็นว่าพอจะเลี้ยงครอบครัวได้ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้พ่อเฒ่าก็ตกลงใจชาวลูกเต้าเมียรักเอาครอบครัวขึ้นบรรทุกหลังช้างหลายตัวที่จำชื่อได้คือ  นางค่ำ  นางคูณ  ท้าวทองคำ  และบักสีดอ(ซนมาก)  แล้วมุ่งตรงมาหาตาเพียห่มที่บ้านแจ้ง  พ่อเฒ่าพาครอบครัวรอนแรมมาเกือบถึงเดือน  จึงมาถึงบ้านแจ้ง      พ่อเฒ่าเมืองซองจากเมืองร้อยเอ็ดมานั้นตกในปีระกาตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๒๓  พุทธศักราช ๒๔๐๔ อยู่ในระหว่างเดือน  2,3  เพราะว่าเมื่อมาพักกับตาเพียห่มไม่นานประจวบกับบ้านแจ้งก็กำลังเดือดร้อนขึ้นมาแล้ว  จึงได้นำลูกหลานและญาติไปปลูกบ้านที่ดอนอาฮักษ์ใกล้กับนา  และได้ทำนาแซงกันทันที  ริมกุดหรือละแวกกุดนั้นจึงมีชื่อว่า  “ฮ่อมนาแซง”  ตลอดมาจนทุกวันนี้ และเรียกบ้านของตัวว่า  “บ้านป่าเป้า”  (มีต้นเป้ามาก)ครั้นเห็นว่าที่อยู่ดอนฮักษ์นี้ไม่เหมาะจึงย้ายบ้านไปตั้งที่ริมดงทางตะวันตกกุดสาวทุมเข้าไปคือที่ ๆ คุ้มตะวันออกทุกวันนี้  และให้ที่อยู่เดิมดอนอาฮักษ์นี้ให้เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าคุ้มครองรักษาบ้านเมืองที่แห่งนี้แต่เดิม  ไม่มีชื่อว่าอาฮักษ์แต่พอพ่อเฒ่าเมืองซองได้มาอยู่ที่นี่  จึงตั้งสถานที่นี้ให้เป็นที่เคารพนับถือทางใจขึ้นเชิญเทวาอารักษ์มาอยู่เพื่อคุ้มครองคน – บ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข  เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ดลบันดาลให้เกิดให้มีขึ้นได้  เป็นสถานที่เคารพนับถือเลยเรียกที่แห่งนี้ว่า  “ดอนอาฮักษ์”  ตลอดมาจนทุกวันนี้
 
                   พ่อเฒ่าเมืองซองได้จับจองที่นาริมกุดทั้งสองฝั่งต่อลงไปจนหมดอาณาเขตกุดขอนแก่น  มีช้างของพ่อเฒ่าเมืองซองที่ควรจะนำมาเล่าไว้ในที่นี้  ๒  เรื่อง  เพราะเป็นเรื่องที่น่าคิดและจดจำไว้
 
                   เรื่องแรก  บักทองคำเป็นช้างที่เชื่องตัวหนึ่ง  พ่อเฒ่าเมืองซองรักมากได้ทำเครื่องหมายไว้เป็นพิเศษ  ครั้งหนึ่งบักทองคำถูกขโมยลักไปแล้วนำไปขายต่อกันเป็นทอด ๆ พ่อเฒ่าเมืองซองได้ให้พระชุม  ลูกเขยกับบ่าวไพร่ตามหาช้าง  และไปตามหาหลายวันจึงไปพบบักทองคำที่บ้านซีโหล่น  หลักฐานที่พระชุมอ้างอิงเอาช้างบักทองคำคืนมาได้คือ  ช้างบักทองคำมีทองคำฝังไว้โคนงาข้างขวา  และมีตะกั่วฝังไว้โคนงาข้างซ้าย  หลักฐานที่ไม่มีใครมองเห็นนี้ไม่มีใครเถียงได้  พระชุมก็ปรับไหมพวกที่ลักไป  ๕  ตำลึง  แล้วก็พากันเอาช้างกลับมาบ้าน  ส่วนโปงลางผูกคอบักทองคำ  เดี๋ยวนี้หลานของพระชุมได้เก็บรักษาไว้เป็นมรดกสืบมา
 
                   อีกเรื่องหนึ่งที่ควรบันทึกไว้คือ  ช้างบักทองคำเป็นช้างซน ๆ ดื้อ ๆ สักหน่อยควาญช้างไม่ทราบว่ามันตกมัน  พอนำมันไปเลี้ยงริมฝั่งกุดสาวทุมที่นาของตน  คนเลี้ยงนอนหลับ  บักทองคำอาละวาดร้องลั่น  คนเลี้ยงตื่นขึ้นมาเห็นดังนั้นจึงวิ่งหนีปีนขึ้นต้นค้อ  บักทองคำวิ่งตามไปขุดไปชนต้นค้อ  ต้นค้อล้มไปพาดต้นอื่น  บักทองคำไม่ลดละวิ่งไปชนต้นค้อต้นนั้นล้มลงอีกเข้าเหยียบย่ำควาญช้างแต่ไม่ตาย  คนอื่น ๆ วิ่งหนีเอาตัวรอดบางคนคลานเข้ากอไผ่  บางคนคลานเข้าซุ้มหนามคองยังเข้าไปไม่มิดตัว  บักทองคำตามทันปักงาช้างหนึ่งแทงลงที่ขาเป็นทางยาว  ต่อมาเมื่อรักษาแผลหายแล้วก็เป็นแผลเป็น  ตะปุ่มตะป่ำ  ชาวบ้านจึงเรียกชายผู้นั้นว่า  “พ่อเฒ่าขาลืม”
 
                   ลำดับตระกูลของพ่อเฒ่าเมืองซองคือพ่อเฒ่าเมืองซองสมรสกับแม่เฒ่าทุมมามีลูกหญิงชื่อนางเบ้า  และได้สมรสกับพระชุมมีลูกคือ  นางบัว   นางเกต   นางเบ็ง   นางถม   นางหล้า   นายสี   นายบุญมี                 นายสุพรรณ  สมเด็จโพธิ์วัดสามปลื้ม
 
                   นางเบ็งสมรสกับนายหล้า  (โพธิราชา)  ใช้นามสกุล  ร่มแก้ว  มีลูก  ๑๒  คนคือ  นางบูด  นายทอง  นายอุ่น  นางโพธิ์ศรี  ชาย  (แต่แรกเกิด)  นายชารี  นางหล้าคำมี  นางอรุณ
 
                   ส่วนแม่เฒ่าเกนั้นมีศักดิ์เป็นพี่ของแม่เบ้า  มาตั้งบ้านเรือนอยู่กับพระชุมทางทิศใต้  แม่เฒ่าเกมีลูกคือ  แม่จวง  แม่จวงมีลูกคือ  นางคง  นางเครือ  นายพิมพ์  นางหล้า
 
                   ฝ่ายพ่อเฒ่าส่อยแม่เฒ่ากาที่อยู่ริมกุดสาวทุมฝั่งตะวันออกเห็นมีญาติมิตรมาอยู่ริมดงมากขึ้น  ก็อพยพมาอยู่เป็นเพื่อกับพ่อเฒ่าเมืองซอง  และตั้งบ้านลงที่ตะวันตกของบ้านเมืองซอง  คือที่ ๆ ของกำนันสุพรรณ – แม่ไกร  ทุกวันนี้เมื่อพ่อเฒ่าเมืองซองเห็นคนมาอยู่มากขึ้นก็ให้ชื่อบ้านหรือคุ้มของตัวว่า  “บ้านกุดสาวทุม”  ตามชื่อกุดตั้งแต่นั้นมา
 
                   แม่เฒ่าอภัยพ่อเฒ่าสิ่ว  พ่อเฒ่าโม  แม่เฒ่าแป  แม่เฒ่าจันทร์  มาจากเมืองโขงเจียม  แขวงเมืองอุบล  ตั้งรกรากลงทางทิศใต้ของบ้านพระชุมไกลประมาณ  ๓ – ๔  เส้น (ซึ่งเรียกว่าคุ้มใต้)  จับจองที่นาต่อจากพระชุมไปทางทิศใต้  จนหมดอาณาเขตกุด (สวนยา)  ทำมาหากินเลี้ยงลูกหลานต่อไป รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่งพ่อเฒ่ากุลาคำตะ  ภรรยาชื่อแม่แป้งที่อยู่คุ้มสระแก้วในเมืองร้อยเอ็ดได้พาลูกเต้าพร้อมด้วยพ่อเฒ่าหมื่นหน้าพร้อมครอบครัวจากร้อยเอ็ดมาอยู่กับแม่เฒ่าอภัยทางทิศใต้ต่อจากแม่เฒ่าอภัยลงไปแล้วจับจองที่นาไกลออกไปจากกุดคือที่ริมไซวาน, บึงจิวฝั่งตะวันตก
 
                   ลำดับวงศ์ตระกูลของพ่อเฒ่ากุลาคำตะ  (เดิมชื่อหลวงวิเศษ)  กับแม่แป้งเรียงตามลำดับดังนี้  นางอ่อน  นางทอง  นางเบ้า  นางหนู  นางพัน  นายอ้าย  นายยี่  นางไข
 
                   นายพิมพ์บุตรคนหัวปีของขุนประกอบแม่ผล บ้านผักบั่วอำเภอจตุรพักตรพิมาน เมืองร้อยเอ็ด  เป็นช่างทองมาได้กับนางอ่อนและมีบุตรด้วยกันคือ  นายภา  นายปา  นายจันทร์  นางอวยพร  นายคำ(อาคม)  ต่อมาพ่อเฒ่าอุปชิตแม่เฒ่าแพงก็มาอยู่กับแม่เฒ่าอภัย  เยื้องไปทางทิศตะวันตก  จึงรวมกันเข้าเป็นคุ้ม           เรียกคุ้มใต้
 
                   ธรรมเนียมประเพณีของชาวพุทธทุกคนย่อมอาศัย  “วัด”  เป็นที่ทำบุญให้ทานและเป็นที่รวมของศิลปะวิทยาการต่าง ๆ และเป็นศรีสง่าเป็นมิ่งขวัญคู่บ้านคู่เมือง  ดังนั้นหัวหน้าคุ้มกุดสาวทุมและคุ้มใต้จึงปรึกษากันจัดตั้งวัดขึ้น  แม่เฒ่าจันทร์คุ้มใต้จึงสละที่สวนของตนให้เป็นที่ตั้งวัดและให้ชื่อว่า  “วัดจันทร์”  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าวัดใต้  แล้วนิมนต์หัวพ่อสิงห์บ้านขามมาเป็นสมภาร  คนสองคุ้มนี้มากินทานร่วมกันที่วัดจันทร์นี้  การตั้งวัดจันทร์คงจะตั้งขึ้นใน  พ.ศ.๒๔๑๐  เพราะเมืองซองมาตั้งบ้านกุดสาวทุมได้ประมาณ  ๕ ปี หรือ ๖  ปี  จึงตั้งวัดขึ้น
 
                   ระยะนี้แม่มากแม่ม่วงมาจากกาฬสินธุ์มาอยู่ทางทิศตะวันออกบ้านแจ้ง  พ่อเฒ่ามหามนตรีก็ตามมาอยู่ด้วย  จึงไปจับจองที่นาฟากฝั่งแม่น้ำชีตรงข้ามบ้านของตน  ท่าน้ำที่ข้ามแม่น้ำชีไปทำนานั้นเรียก  “ท่าบ้านขาม”  เพราะชาวบ้านขามมีที่นาอยู่ฟากแม่น้ำชี  ได้ข้ามน้ำชีไปมาเสมอจึงมีชื่อว่า  “ท่าบ้านขาม”  สมัยแม่มากแม่ม่วงมาอยู่ที่นี่ก็ได้เห็นชาวบ้านขามไปมาเสมอ  ทำให้ทราบได้ว่า “บ้านขาม” ตั้งเป็นบ้านอยู่ก่อนนานแล้ว  ส่วยเชียงดี  ที่อยู่บ้านแจ้งเห็นว่าชัยภูมิที่ตนอยู่ไม่เหมาะก็เข้ามารวมกับแม่มากแม่ม่วงให้ชื่อคุ้มของตัวว่า “คุ้มเชียงดี”  หรือ “คุ้มเหนือ”  บ้านกุดสาวทุมจึงมีคุ้ม  ๓  คุ้ม  คือ  คุ้มเหนือ  คุ้มกุดสาวทุม  และคุ้มใต้  คุ้มกุดสาวทุมกับคุ้มใต้อยู่ใกล้กัน  แต่คุ้มเหนือกับคุ้มกุดสาวทุมห่างกัน  ๑๐  เส้นเศษ
 
                   พ.ศ.๒๔๑๗  ท้าวสุวอน้องชายท้าวโพธิสาร  พระขัติยะวงศา  (เสือ)  เจ้าเมืองร้อยเอ็ด  ได้อพยพครอบครัวญาติพี่น้องมาอยู่ระหว่างคุ้มเชียงดีกับคุ้มกุดสาวทุม  คือที่บ้านสิทธิกุมมาร  เรียกคุ้มของตนว่า  “คุ้มหลวง”  ท้างสุวอเป็นคนมีอำนาจวาสนามีผู้คนรักใคร่นับถือ  เพราะท่านเป็นคนเก่งอยู่ยงคงกระพันชาตรี  ชำนาญเพลงกระบี่กระบอง  ไม้สั้นไม้ยาว  เป็นนักมวยที่ยอดเยี่ยม  รวมความว่าท่านเป็นนักรบคนหนึ่งทั้งมีใจคอกว้างขวาง  โอบอ้อมอารีต่อเพื่อนบ้าน  ชาวบ้านถิ่นเดิมจึงยกท่านขึ้นเป็นใหญ่  เคารพนับถือไว้ใจให้ปกครองบ้านต่อไป
 
                   ท้าวสุวอจึงรวมบ้านทั้ง  ๔  เข้าเป็นบ้านเดียวให้ชื่อว่า  “บ้านท่าสาวทุม”  ท่านได้นำแบบแผนประเพณีระเบียบการปกครองเมืองมาใช้คือให้มีเจ้าเมือง  (ท่านเองรับหน้าที่เป็นเจ้าเมือง)  มีอุปฮาดราชวงศ์  ราชบุตร  เมืองแสน  เมืองจันทร์  เพี้ยเมืองขวา  เมืองซ้าย  นายเส้น  นายแขวง  ตาแสง  ขุนกวน  ตามลำดับ  ใครได้รับตำแหน่งใดมาก่อนยังสืบสาวไม่ออก
 
                   ตอนปรับปรุงบ้านเมืองนี้เองคือระหว่าง  พ.ศ.๒๔๒๐  ท้าวสุวอก็จัดตั้งวัดคู่บ้านคู่เมืองขึ้นพร้อมกันคือเอาที่ดินทางทิศเหนือของหมู่บ้าน  คนละฟากถนนของคุ้มหลวงที่ดินติดริมฝั่งแม่น้ำชีมีเนื้อที่ประมาณ  ๖  ไร่  ให้ชื่อวัดว่า  “วัดกลาง”  หรือ  “วัดท่า”  นิมนต์หลวงตาลา  วัดบ้านขามมาเป็นสมภาร  ครั้นสิ้นหลวงตาลาแล้ว  นิมนต์หลวงพ่อพันธุระที่บวชอยู่บ้างขว้างมาเป็นสมภารแทน
 
                   เมื่อปรับปรุงบ้านเมืองคราวนี้แล้ว  ท้าวสุวอได้ทำแผนที่เขตเมืองไว้คือ  พื้นที่สามเหลี่ยมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดกลางใช้เป็นที่ว่าการเมือง  ใช้ที่ดินทิศตะวันตกของที่ว่าการเมืองใช้เป็นเรือนจำ  ต่อจากเรือนจำไปทางทิศตะวันตกใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  คือเป็นที่สิงสถิตของเจ้าพ่อหลักเมืองมีจุดศูนย์กลางห่างจากถนนลึกเข้าไป ๑ เส้นครึ่ง  เป็นเส้นตรงระดับเดียวกันทางทิศใต้ของพระอุโบสถแล้วฝั่งหลักเมืองที่นั่นส่วนแผนผังของบ้านท่านได้กำหนดเอาป่าช้าเป็นเขตทางทิศใต้  เอาแม่น้ำชีเป็นเขตแดนทางทิศเหนือ  ทางทิศตะวันออกถึงกุดน้ำใสใหญ่  ทางทิศตะวันตกเอาหอปู่เจ้าเป็นที่สุด
 
                   ท้าวสุวอได้นำแบบแปลนแผนผังนี้ไปเสนอเจ้าเมืองร้อยเอ็ดขอยกฐานะบ้านท่าเสาธุงขึ้นเป็นเมือง  และขอตั้งชื่อเมืองว่า  “เมืองธวัชบุรี”  พร้อมกับทำแผนที่กำหนดอาณาเขตของเมืองไว้คือ
 
                   ทิศเหนือและทิศตะวันออกจดแม่น้ำชี
 
                   ทิศใต้จดห้วยไส้ไก่  (ห้วยดางเดียว)
 
                   ทิศตะวันตกจดทุ่งสาวแหว  (ทุ่งบ้านคัดเค้า)
 
                   พระขัติยะวงศา(เสือ)  เจ้าเมืองร้อยเอ็ดมีใบบอกลงไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๕  ขอตั้งเมืองพร้อมกับขอตั้งท้าวโพธิราช (ศิลา)  น้องชายพระขัติยะวงศา  พี่ชายท้าวสุวอ  เป็นเจ้าเมืองธวัชบุรีด้วย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองธวัชบุรีพร้อมกับตั้งท้าวโพธิราช(ศิลา)  เป็นพระธำรงไชยธวัช  เป็นเจ้าเมืองธวัชบุรี
 
                   ส่วนตราตั้งนั้นหาฉบับตัวจริงมาลงไม่ได้  ในระหว่างที่ได้รับตราตั้งแล้วพระธำรงไชยธวัชได้จัดตั้งราชบุตร (จักร)  เป็นอุปฮาดช่วยรักษาราชการบ้านเมืองด้วย  ปรากฏตามประวัติเมืองร้อยเอ็ดว่า          พระธำรงไชยธวัชเป็นเจ้าเมืองไม่นานมีราชการด่วนจึงพร้อมกับอุปฮาดพากันไปถึงบ้านสาสีกา  ก็ถึงแก่กรรมเสียด้วยกันทั้งสองคน (ค้นหาเหตุถึงแก่กรรมไม่พบ)
 
                   ครั้น  พ.ศ.๒๔๒๔  พระขัติยะวงศา (เสือ) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดขอตั้งท้าวสุวอ (น้องชายพระธำรงไชยธวัช)  เป็นเจ้าเมืองธวัชบุรีไปกรุงเทพมหานคร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตามที่ขอไป
 
                   ขอคัดสำเนาตราตั้งมาลงไว้ดังนี้
 
                   “ให้ท้าวสุวอเมืองร้อยเอ็ด  เป็นพระธำรงไชยธวัช  เจ้าเมืองธวัชบุรีขึ้นแก่เมืองร้อยเอ็ด  ได้บังคับบัญชาท้าวเพี้ยกรมการและราษฎรบันดาอยู่ในเขตแขวงเมืองธวัชบุรีทั้งสิ้นตามที่เจ้าเมืองธวัชบุรีแต่ก่อนได้บังคับมานั้นและให้ฟังบังคับบัญชาพระขัติยะวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด  แต่ที่เป็นยุติธรรมและชอบด้วยราชการจงเว้นการควรเว้น  หมั่นประพฤติการควรประพฤติและรักษาความซื่อสัตย์สุจริตต่อกรุงเทพมหานครตามอย่างธรรมเนียม  เจ้าเมืองธวัชบุรีแต่ก่อนจงทุกประการจงเจริญสุขสวัสดิ์  ทำราชการตามตำแหน่งตั้งแต่บัดนี้  เทอญ”
 
                   ตั้งแต่  ณ  วัน  ๑  ฯ๑๐๗  ค่ำ  ปีมะเมียจัตวาศก  เป็นปีที่  ๑๕  ของตราดวงประทับนี้ประจำการแผ่นดินสยาม  ศักราช  ๑๒๔๔  เป็นวันที่  ๔๙๖๓  ในรัชกาลปัจจุบันแล
 
 
 
สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  ปรามิ.
 
ลักษณะดวงตราตั้ง
 
                   ๑.  กรอบกว้าง  ๑๖  ซ.ม.  ยาว  ๒๐  ซ.ม.  มีกรอบรอบในกว้าง  ๑ ซ.ม.  มีลวดลายดอกไม้ติดต่อกันไปจนรอบ
 
                   ๒. ภายในกรอบมีรอยประทับตราด้วยชาติสีแดงสองตรา อยู่ด้านบนด้านซ้ายเกือบชิดกรอบบน  กว้าง ๔  ซ.ม.  ยาว  ๖  ซ.ม.  มีตัวหนังสือขอมสีแดงอ่านไม่ได้ความเพราะเลอะเลือน
 
                   ส่วนตราข้างขวาประทับด้วยชาติสีแดงเหมือนตรงด้านซ้าย  มีตัวหนังสือขอมตัวเล็กกว่าด้านซ้าย  เลอะเลือนหลายแถว  ตราด้านหนึ่งกว้างยาวด้านละ  ๕  ๑/๒ ซ.ม.
 
                   ๓.  ต่อจากตราทั้ง ๒  ข้างลงไปเป็นถ้อยคำแต่งตั้งสำเนาไว้ข้างบนนี้แล้ว
 
                   ๔.  มีตราดวงใหญ่ประทับด้วยชาติสีแดงที่หลายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  ที่ทรงไว้ในดวงตราดวงนี้มีหลายอะไรก็ไม่ทราบอยู่ตรงกลาง  และมีตัวหนังสือไทยสวยงามจารึกไว้ภายในกรอบรอบวงกลม
 
                   ถ้าท่านผู้ใดใคร่ดูของจริงแล้วจงไปขอดูจาก
 
                   พ่อใหญ่เคน  แม่ใหญ่ทุมมา  สิงห์ธวัช  ที่บ้านธวัชดินแดง  ซึ่งใคร ๆ ก็รู้จักท่านด้วยกันทั้งนั้น
 
                   ในระหว่างที่พระธำรงไชยธวัชเป็นเจ้าเมืองนี้  ต้องขึ้นกัมมณฑลอิสาน (อุบล)  เวลานั้นเป็นสมัยของพระยาสีหาเทพปลัดทูลฉลองได้มาครองเมืองอุบลได้ทำสงครามปราบขบถ  ๑ ครั้ง  คือ  เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๒๘  (บางแห่งว่า  พ.ศ.๒๔๑๘ ) พวกฮ่อยกทัพมาตีปล้นบ้านเมือง  แขวงเมืองหนองคาย  และจะเข้ารบชิงเอาทองคำยอดพระธาตุมนกรุงเวียงจันทร์  เจ้าเมืองธวัชบุรีได้แต่งตั้งให้ราชวงศ์หลวงจำนง  (สายทอง)  ไปแทน  ศึกครั้งนี้เรียกว่า  “ศึกฮ่อ”
 
                   พ.ศ.๒๔๓๐  สมัยพระขัติยะวงศา (เภา) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองร้อยเอ็ดอยู่นั้น  พระธำรงไชยธวัช (สุวอ)  ขอลาออกจากราชการ  เพราะชราภาพได้มีใบบอกไปยังพระราชเสนา(ทัด)  ข้าหลวงเมืองอุบลและขอตั้งเพี้ยเมืองขวาบุตรเขยเป็นผู้รักษาราชการแทน  ต่อจากนี้เมืองธวัชบุรีก็ว่างเจ้าเมืองคงมีแต่ผู้รักษาราชการแทนเรื่อยมา  ต่อจากเมืองขวาแล้วตั้งอัคฮาด  (ท้าวเมฆ)  รักษาราชการแทน  ต่อจากอัคฮาด(ท้าวเมฆ)  แล้วก็ตั้งหลวงพิพาก(ท้าวสอน)  รักษาราชการแทนอุปฮาดโสมถึงแก่กรรม  พ.ศ.๒๔๓๓  และยกที่บ้านให้ตั้งวัดและให้ชื่อว่า “วัดเหนือ” วัดเหนือนี้ไม่ว่าในสมัยใดควรให้ชื่อว่า“วัดเหนือโสมาวาส” หรือ“วัดเหนือโสมาราม”  จะเป็นการกระตุ้นเตือนถึงเจ้าของเดิมที่ยกที่ดินให้
 
                   หลวงพิพากรักษาราชการไม่นานก็ออกจากราชการ  จึงให้หลวงเพชรัชภักดี  ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บ้านซองแมวได้เป็นนายกอง  อยู่บ้านตลอดมาเป็นเจ้าเมืองธวัชบุรีเมื่อ  พ.ศ.๒๔๓๔
 
                   ครั้นเดือนเมษายน ๒๔๓๖  ไทยทำสงครามกับฝรั่งเศส  (กรณีพิพาทชายแดนแม่น้ำโขง)        ที่สีทันดร (ร.ศ.๑๑๒ )  เกณฑ์กำลังเมืองร้อยเอ็ดไป  ๘๐๐  คน  ในจำนวนนี้มีกำลังเมืองธวัชบุรี  ๑๐๐ คน  ผู้ช่วยหลวงจำนงราชบุตร  เป็นผู้คุมไปรวมกับทัพพระยาประชา  ณ  สีทันดร  ศึกครั้งนี้เรียกว่า “ศึกสามโบก”
 
                   ศึกสามโบกเป็นคำเรียกเพี้ยนไปที่ถูกเป็น  “ศึกสบโบก”  เพราะสมัยนั้นเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสที่เรียกว่าเรื่อง  ร.ศ.  ๑๑๒  ทางเมืองอุบลได้จัดทหารไปกระทำ  “ศึกสบโบก”  ที่ด่านสบโบกแก่งลี่ผี  เมืองสีทันดร  แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์  กองทหารไทยได้ทำการต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศสตามลำแม่น้ำโขงเมืองเชียงแตงเป็นสามารถ  ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญาสงบศึกกันเมื่อ
 
วันที่   ๓  ตุลาคม  ๒๔๓๖  เหตุที่เกิดศึกสามโบกคราวนี้  คือฝรั่งเศสมารื้อลี่ผี
 
                   วันที่  ๑๓  ธันวาคม ๒๔๓๔  มองซิเออร์ดิแซกับไพร่ญวนเขมร ๔๐  คน  มาระเบิดศิลาที่แก่ง
 
                                ลี่ผีแม่น้ำโขง
 
                   วันที่  ๒๗  ธันวาคม  ๒๔๓๔  ฝรั่งเศสให้พวกข่า – ผู้ไทตัดทาง  แต่ด่านกิ่งเหลาไปโขงและไปเมืองสาละวันและไปเมืองนองและไปเมืองวังคำ
 
                   วันที่   ๙  มกราคม ๒๔๓๔  ฝรั่งขอตัดถนนอีกไปเมืองตะโบนเมืองพินร้อยตรี  พึ่งไม่อนุญาต
 
                   วันที่   ๑  เมษายน  ๒๔๓๕  มองซิเออร์ สาดแซงยึดสิบตรีเฟื่อง  กับนายทหารสามนาย
 
                   วันที่  ๓๑  มีนาคม  ๒๔๓๕  ฝรั่งยกทัพขึ้นตามแม่น้ำโขง  ซึ่งแม่น้ำโขงเป็นของไทย  พ.ศ. ๒๔๓๖  ฝรั่งเศสยกทัพมาปิดเมืองเชียงแตงเจรจา  ไม่ตกลงเลยเกิดรบกันกรมหลวงพิชิตซึ่งอยู่เมืองอุบลจึงเรียกเกณฑ์กำลัง  เมืองศรีสะเกศ  เมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์  เมืองมหาสารคาม  เมืองร้อยเอ็ด  เมืองละ  ๘๐๐ คน  เมืองสุวรรณภูมิ  เมืองยโสธร  เมืองขุขันธ์  เมืองละ  ๕๐๐  คน  รวมกันไปตรึงอยู่ที่สีทันดร  รบกันจนถึงเดือนตุลาคม  ๒๔๓๖  จึงยอมเซ็นต์สัญญากัน
 
                   ครั้นเดือนสิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๕๑  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วางรูปการปกครองประเทศใหม่  ลดฐานะเมืองสุวรรณภูมิ  กาฬสินธุ์  สารคามลงเป็นอำเภอ  มีกรมการอำเภอปกครอง  ขึ้นอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ดในขณะนั้นมี  ๒๐  อำเภอ  คือ
 
                   ๑.  ปัจจิมร้อยเอ็ด                   ๘.  พนมไพรแดนมฤค               ๑๕.  กมลาสัย
 
                   ๒.  อุทัยร้อยเอ็ด                    ๙.  สระบุสย์                        ๑๖.  เสลภูมิ
 
                   ๓.  ธวัชบุรี                          ๑๐.  ปัจจิมกาฬสินธุ์                ๑๗.  ปัจจิมสารคาม
 
                   ๔.  สุวรรณภูมิ                       ๑๑.  อุทัยกาฬสินธุ์                 ๑๘.  อุทัยสารคาม
 
                   ๕.  จตุรพักตรพิมาน                ๑๒.  สหัสขันธ์                      ๑๙.  คันทวิไชย
 
                   ๖.  เกษตรวิสัย                      ๑๓.  กุจฉินารายน์                  ๒๐.  โกสุมพิสัย
 
                   ๗.  วาปีประทุม                     ๑๔.  พยัฆภูมิ  แต่ยังขึ้นกับมณฑลอุบล
 
 
 
                   หลวงเพ็ชร์รัชภักดี  เป็นนายอำเภอธวัชบุรี คนแรกอำเภอธวัชบุรี  แบ่งการปกครองออกเป็นตำบล ๒  ตำบล  คือ
 
ตำบลดินแดง (หลวงเพ็ชร์รัชภักดีตั้งชื่อเอาสมญาจากลี่ดินแดง  ริมแม่น้ำชี) พ่อเฒ่าเชียงเหนือ    
 
เป็นนายกำนัน  คนแรก
 
ตำบลมะบ้า  ตั้งขึ้นที่บ้านมะบ้าได้ชื่อจากห้วยมะบ้า  เพราะมีเถาสะบ้ามาก  เมืองซ้ายเป็นกำนัน 
 
คนแรก
 
                   ในสมัยหลวงเพ็ชร์ฯ  เป็นนายอำเภอนี้ได้ย้ายที่ทำการจากที่เดิมไปตั้งขึ้นที่ริมแม่น้ำชีตะวันออกของวัดเหนือ  คือที่ตั้งของอนามัยและการประปาตำบลฯ  ส่วนโรงเรียนประจำตำบลก็เรียกชื่อใหม่ว่าโรงเรียนบ้านธวัชบุรี  และยกไปตั้งขึ้นที่ริมถนนสายร้อยเอ็ด – โพนทอง  บริเวณหนองฝ้ายน้ำเดิม           พ.ศ.  ๒๔๕๕  ในสมัยรัชกาลที่  ๖  ได้ยกฐานะเมืองร้อยเอ็ดเป็นมณฑลร้อยเอ็ด  มีสมุหเทศาภิบาลปกครองและแยกการปกครองออกจากอุบลฯ  ยกอำเภอกาฬสินธุ์  อำเภอมหาสารคามเป็นจังหวัด  อำเภอธวัชบุรีจึงขึ้นกับมณฑลร้อยเอ็ดโดยตรง ในปีนี้ทางราชการได้ย้ายหลวงเพชรัชภักดีไปรับราชการเป็นนายอำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์  และเป็นนายอำเภออยู่ได้ ๑  ปี  อายุครบ  ๖๐  ปี  ครบเกษียณอายุราชการออกจากราชการเมื่อเดือนพฤษภาคม  ๒๔๕๖  ทางการจึงย้ายนายแผ้วมารักษาราชการแทน  แต่อยู่ไม่นานก็ย้าย       นายแผ้วไป  ย้ายนายสืบมาแทน  ย้ายนายสืบไปย้ายขุนธวัชทวีการมาแทน
 
                   ตามประวัติเมืองร้อยเอ็ดนั้นอำเภอเมืองร้อยเอ็ดชื่อเดิมเป็นอำเภอปจิมร้อยเอ็ด  “ตั้งอยู่ที่  ร.ร.ร้อยเอ็ดวิทยาลัยและอำเภออุทัยร้อยเอ็ด  ตั้งอยู่ที่นอกคูเมืองด้านทิศตะวันออกตรงข้ามกับอำเภอปจิมร้อยเอ็ดคือที่ ๆ ตั้ง  ร.ร.อนุบาลเดี๋ยวนี้  (๒๕๒๒)  อาณาเขตปกครองทางระแวกทิศตะวันออก  จนถึงเขตอำเภอธวัชบุรี  ทางราชการเห็นว่าควรจะย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งให้ห่างตัวจังหวัดออกไปเพื่อสะดวกต่อการติดต่อราชการของประชาชน  พอมาถึงวันที่  ๒๗  มิถุนายน  ๒๔๕๕  หม่อมเจ้าธำรงศิริมาเป็นสมุหเทศาภิบาลได้เปลี่ยนนามอำเภอใหม่คือ
 
                   1.  อำเภอปัจจิมร้อยเอ็ด  เป็นอำเภอ  เมืองร้อยเอ็ด
 
                   2.  อำเภออุทัยร้อยเอ็ด    เป็นอำเภอ   แซงบาดาล
 
                   3.  อำเภอสระบุศย์        เป็นอำเภอ   อาจสามารถ
 
                   อำเภออุทัยร้อยเอ็ด  ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นแซงบาดาล    เอาชื่อมาจากตำบลหมูม้น          อำเภอสหัสขันธ์  หลักฐานที่กล่าวมานี้ได้ชื่อมานั้นอย่างไร  ใครนำมาค้นหาไม่พบ
 
                   ครั้นเมื่อวันที่  ๑  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๖  ทางราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุลที่ออกไว้ตั้งแต่วันที่  ๒๒  มีนาคม  ๒๔๕๕  แล้วนั้น  ให้ทุกคนมีนามสกุลต่อชื่อแทนคำว่าอำเภอแดง  (ภรรยา)  อำเภอธวัชบุรีได้ประกาศให้ประชาชนไปจดนามสกุลกันเมื่อ  พ.ศ.๒๔๕๗   ปรากฏตามบัญชีจดนามสกุลของอำเภอดินแดง  มีผู้ไปจดเรียงตามลำดับคือ
 
เลขที่  ๑.  นามสกุล       อาษารัฐ           ชื่อผู้จด  เมืองขวา          วันที่  ๑๖  มกราคม  ๒๔๕๗
 
เลขที่  ๒.  นามสกุล       สุวรรณมาศ       ชื่อผู้จด  นายคุย           วันที่  ๑๖   มกราคม  ๒๔๕๗
 
เลขที่  ๓.  นามสกุล       ศรีวัฒนา         ชื่อผู้จด  บุตระวงศ์         วันที่  ๑๖   มกราคม  ๒๔๕๗
 
เลขที่  ๔.  นามสกุล       วรฉัตร            ชื่อผู้จด  นายสุวอ                   วันที่  ๑๖   มกราคม  ๒๔๕๗
 
เลขที่ ๒๘. นามสกุล       จันทรังษี          ชื่อผู้จด  นายชาติ                   วันที่    ๑  มีนาคม    ๒๔๕๗
 
เลขที่  ๑๔๒.   นามสกุล  ร่มแก้ว            ชื่อผู้จด  นายหล้า                   วันที่  ๑๕  กรกฎาคม  ๒๔๕๘
 
เลขที่  ๑๑๘๐.  นามสกุล  ประกอบผล      ชื่อผู้จด  นายพิมพ์         วันที่  ๑๖   ธันวาคม  ๒๔๕๘
 
                   พ.ศ.๒๔๕๘  ทางราชการได้ประกาศให้เปลี่ยนนามอำเภอให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอในเขตมณฑลร้อยเอ็ดให้เปลี่ยนอำเภอใหม่  ๒ อำเภอ  คือ อำเภอธวัชบุรี  เป็นอำเภอดินแดง  และอำเภอพนมไพรแดนมฤค  เป็นอำเภอพนมไพร  และในปีนี้เองได้ย้ายขุนธวัชทวีการรักษาราชการแทนนายอำเภอธวัชบุรีไป  ย้ายนายเทียน  กำเนิดเพ็ชร์  มาแทน
 
                   พ.ศ.๒๔๖๒  เสมือนสายฟ้าฟาดลงที่ว่าการอำเภอดินแดงให้แหลกสลายไป  ชาวดินแดงสูญเสียมรดกของรักประดุจเรือแตก  ขาดร่มโพธิ์ทองไปแล้ว  เมื่อคำสั่งแต่งตั้งนายเทียน  กำเนิดเพ็ชร์  พร้อมกับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นขุนนิคมคณารักษ์  ตำแหน่งนายอำเภอ  พร้อมกับยุบและย้ายอำเภอดินแดงไปตั้งขึ้นที่บ้านแวง  เป็นอำเภอโพนทอง  ให้ขุนนิคมคณารักษ์เป็นนายอำเภอโพนทอง
 
                   ชาวดินแดงประดุจจอกลอยน้ำ  ซึ่งลมพัดไปติดอยู่อำเภอแซงบาดาลในฐานะตำบลดินแดงแต่นั้นมา
 
                   ครั้น  พ.ศ.๒๔๘๓  สมัยนายวาสนา  วงศ์สุวรรณ  มาเป็นนายอำเภอแซงบาดาล  ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอแซงบาดาลให้เป็นชื่ออำเภอธวัชบุรี  โดยถือนิมิตมงคลจาก  อำเภอธวัชบุรีเก่าที่ได้สูญชื่อไป             ได้ ๒๑  ปีแล้ว  ส่วนบ้านดินแดงนั้นก็เปลี่ยนนามใหม่ให้ชื่อว่า  “บ้านธวัชบุรี”  ตามชื่อเดิม
 
                   การเปลี่ยนแปลงชื่อสถานที่บ้านเมืองรวมทั้งการขนานนามให้ชื่ออะไรต่าง ๆ นั้นย่อมเป็นไปตามอำนาจราชศักดิ์  บันดาลให้เป็นและเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยเหตุผล  ย่อมเกิดผลขึ้นทั้งนั้น  กาลข้างหน้าหรือในอนาคตใครบ้างที่จะรู้ได้ว่าชื่อบ้านดินแดง, วัดวาอารามต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่บ้านดินแดงเท่านั้น  บ้านอื่น  เมืองอื่น  สถานที่อื่น จะเปลี่ยนชื่อว่า  “อะไร”  ต่อไปเมื่อได้เปลี่ยนใหม่แล้ว  อะไรล่ะจะตามมาภายหลัง,  ความดี  หรือความชั่วก็ไม่มีใครจะทราบได้อีกเหมือนกัน
 
                   อันว่าบ้านดินแดงหรือบ้านธวัชบุรีนั้น  เมื่อได้ยกชื่อไปตั้งชื่อให้อำเภอแซงบาดาลเป็นอำเภอธวัชบุรีแล้ว  คนโดยมากมักจะเข้าใจคำว่า  “ธวัช”  นี้ไขว้เขวกันเพื่อตัดกังวลเรื่องนี้  ถ้าจะเรียกชื่อให้คนเข้าใจว่าเป็นอำเภอต้องเรียกว่า  “อำเภอธวัช”  ส่วนบ้านธวัชนั้นต้องเรียกว่า  “ธวัชดินแดง”
 
รายพระนามและรายนามสมุหเทศาภิบาลมณฑลร้อยเอ็ด
 
*****************
 
๑.  มหาอำมาตย์โท  หม่อมเจ้าธำรงศิริ  ศรีธวัช                ๒๗  มิถุนายน  ๒๔๕๕ – กรกฎาคม  ๒๔๕๗
 
๒.  มหาเสวกโท  พระยารณชัยชาญยุทธ  (ถนอม  บุณยเกตุ)  กรกาคม  ๒๔๕๗ – ๑๖  เมษายน  ๒๔๖๘
 
 
 
รายนามเจ้าเมือง  ผู้ว่าราชการเมือง  ข้าหลวงบริเวณร้อยเอ็ด
 
*****************
 
๑.  พระขัติยะวงษา  (อน  ธนสีลังกูร)                           พ.ศ.  ๒๓๑๘ – พ.ศ.  ๒๓๒๖
 
๒.  เจ้าพระยาขัติยะวงษา  (สีลัง   ธนสีลังกูร)                  พ.ศ.  ๒๓๒๖ – พ.ศ.  ๒๓๘๙
 
๓.  พระขัติยะวงษา  (อินทร์   ธนสีลังกูร)                     พ.ศ.  ๒๓๘๙ – พ.ศ.  ๒๓๙๒
 
๔.  พระขัติยะวงษา  (จันทร์  ธนสีลังกูร)                       พ.ศ.  ๒๓๙๒ – พ.ศ.  ๒๔๐๘
 
๕.  พระขัติยะวงษา  (สาร  ธนสีลังกูร)                          พ.ศ.  ๒๔๐๘ – พ.ศ.  ๒๔๑๙
 
๖.  พระขัติยะวงษา  (เสือ  ธนสีลังกูร)                          พ.ศ.  ๒๔๒๐ – พ.ศ.  ๒๔๒๕
 
๗.  พระขัติยะวงษา  (เภา  ธนสีลังกูร)                          พ.ศ.  ๒๔๒๙ – พ.ศ.  ๒๔๓๔
 
๘.  พ.ท.พระยาพินิจสารา  (ทับทิม  บุณยรัตนพันธ์)           ๑๙  กุมภาพันธ์  ๒๔๔๓ – พ.ศ. ๒๔๔๖
 
๙.  พระขัติยะวงษาเอกาธิกะสตานันท์  (เหลา  ณ  ร้อยเอ็ด)  ๑๔  เมษายน  ๒๔๔๘ – พ.ศ.  ๒๔๕๑
 
 
 
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
 
*****************
 
๑.  ม.อ.ต.พระยาสุริเดชวิเศษฤทธิ์ทศวิชัย (จาบ สุวรรณทัต)   ๑  สิงหาคม  ๒๔๒๑ –  ๒๔  สิงหาคม  ๒๔๖๘
 
๒.  อ.ท.พระยาแก้วโกรพ  (ทองสุข  ผลพันธ์พิน)               ๓  พฤศจิกายน  ๒๔๖๘ – ๑  เมษายน  ๒๔๖๙
 
๓.  อ.อ.พระยาสุนทร  เทพกิจจารักษ์  (ทอง  จันทราวศุ)     ๑  กรกฎาคม  ๒๔๖๙ – ๓๑  มกราคม  ๒๔๗๑
 
๔.  อ.อ.พระยาบุรินทรภักดี  (สุข  ทังสุภูต)                     ๑  มีนาคม   ๒๔๗๑ –  ๓๑  กรกฎาคม  ๒๔๗๓
 
๕.  อ.ท.พระวิจารณ์ภักดี  (เอี่ยน  โอวาทสาร)                 ๑  มกราคม  ๒๔๗๓ – ๒๓  กุมภาพันธ์  ๒๔๗๖
 
๖.  อ.ท.พระชาตระการโกศล (ม.ร.ว.จิตร  คเณจร ณ อยุธยา)  ๑๕  มีนาคม  ๒๔๗๖ – ๓๐  เมษายน  ๒๔๗๘
 
๗.  หลวงพำนักนิกรชน  (อุ่น  สมิตตามร)                      ๑  พฤษภาคม  ๒๔๗๘ – ๓๑  ธันวาคม  ๒๔๘๐
 
๘.  พ.อ.พระศรีราชสงคราม  (ศรี  สุขวาที)                     ๑  มกราคม ๒๔๘๐ – ๓๑  พฤษภาคม  ๒๔๘๑
 
๙.  พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์  (ชุบ  ศรลัมภ์)                     ๑  กรกฎาคม  ๒๔๘๑ – ๓๑  ตุลาคม  ๒๔๘๖
 
๑๐.  พระบรรณศาสน์สาธร  (สง่า  คุปตารักษ์)                ๑  เมษายน  ๒๔๘๗ –  ๓๑  กรกาคม  ๒๔๙๐
 
๑๑.  หลวงเดิมบางบริบาล  (ไชยศรี  กุณฑลบุตร)              ๑๙  กรกาคม ๒๔๙๐– ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
 
๑๒.  นายยุทธ  จรัญยานนท์                                   ๖  ธันวาคม  ๒๔๙๐ – ๓ เมษายน  ๒๔๙๔
 
๑๓.  นายสง่า    สุขรัตน์                                        ๓   เมษายน  ๒๔๙๔ – ๒๐  มีนาคม  ๒๔๙๕
 
๑๔.  นายสวัสดิ์  พิบูลย์นครินทร์                               ๒๐  มีนาคม  ๒๔๙๕ – ๓  เมษายน  ๒๔๙๖
 
๑๕.  ขุนบำรุงรัตนบุรี  (กุหลาบ  จุฑะพุทธิ)                    ๓  เมษายน  ๒๔๙๖  –  ๓๐  เมษายน  ๒๔๙๖
 
๑๖.  นายสนิท   วอไลจิตต์                                      ๓๐  เมษายน  ๒๔๙๖– ๑๙  มีนาคม  ๒๔๙๔
 
๑๗.  ขุนอักษรสารสิทธิ  (พินิจ  อักษรสารสิทธิ์)                ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๗– ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๐
 
๑๘.  นายกิติ     ยธดารี                                         ๑๒  กรกฎาคม ๒๕๐๐ – ๑๐ มกราคม  ๒๕๐๑
 
๑๙.  นายสมบัติ  สมบัติทวี                                      ๑๐  มกราคม  ๒๕๐๑ – ๗  เมษายน  ๒๕๐๒
 
๒๐.  นายสมาส  อามาตยกุล                                    ๗  เมษายน  ๒๕๐๒ –   ๓ มีนาคม  ๒๕๐๗
 
๒๑.  นายวิญญู  อังคณารักษ์                                    ๔  มีนาคม  ๒๕๐๗ –  ๒๖  มกราคม  ๒๕๐๙
 
๒๒.  ร.ต.ต.ชั้น  สุวรรณทรรภ                                   ๒๖  มกราคม ๒๕๐๙ – ๙  สิงหาคม  ๒๕๑๒
 
๒๓.  นายประจักส์  วัชิรปาน                                   ๑  สิงหาคม  ๒๕๑๒ – ๑  ตุลาคม  ๒๕๑๔
 
๒๔.  นายประมูล  ศรัทธาทิพย์                                  ๑  ตุลาคม  ๒๕๑๔–   ๓๐ กันยายน  ๒๕๑๖
 
๒๕.  พลตรีชาย  อุบลเดช    ประชารักษ์                       ๑  ตุลาคม ๒๕๑๖ – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๖  ๒๖.นายประมูล   รังสิคุต                                                ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๖–๑๗ กรกฎาคม ๒๕๑๗
 
๒๗.  นายประมูล   จันทจำนง                                  ๑  ตุลาคม  ๒๕๑๗ –  ๑  มกราคม ๒๕๒๐
 
๒๘.  นายเดชชาติ  วงศ์โกมลเชษฐ์                              ๑  มกราคม  ๒๕๒๐ – ๑  ตุลาคม  ๒๕๒๐
 
๒๙.  นายศักดา    อ้อพงษ์                                      ๑  ตุลาคม  ๒๕๒๐ – ๒๑  กันยายน  ๒๕๒๒
 
๓๐.  นายปราโมทย์  หงสกุล                                    ๒๑  กันยายน  ๒๕๒๒ – ปัจจุบัน
 
 
 
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอธวัชบุรี
 
********************
 
๑.  ขุนพิชัยอุดมเดช                          ๑  มกราคม  ๒๔๕๖  –   ๕  สิงหาคม  ๒๔๕๘
 
๒.  หลวงอุทัยธุรชน                          ๕  ธันวาคม  ๒๔๕๘ –    ๒๗  กุมภาพันธ์  ๒๔๕๙
 
๓.  ขุนพิศาลสุรเดช                           ๒๗  กรกาคม  ๒๔๕๙ – ๕  มิถุนายน  ๒๔๖๐
 
๔.  ขุนเอกสัตย์สุนทร                         ๑  กันยายน  ๒๔๖๐ –   ๑  สิงหาคม  ๒๔๖๘
 
๕.  ขุนบวรรัฐนิติ                             ๑๘  ธันวาคม  ๒๔๖๘ – ๑  เมษายน ๒๔๗๑
 
๖.  ขุนประกอบการบุรี                       ๗  มิถุนายน  ๒๔๗๑ –   ๕  ตุลาคม  ๒๔๗๒
 
๗.  ขุนสนิทนรการ                           ๑๙  ตุลาคม  ๒๔๗๒ –    ๒๗  กรกฎาคม  ๒๔๗๖
 
๘.  หลวงบริหารสารนิคม                    ๑  กันยายน  ๒๔๗๖ –   ๑  เมษายน  ๒๔๗๗
 
๙.  นายสุดใจ  อาวกูล                       ๓  เมษายน  ๒๔๗๗ –    ๑๒  กรกาคม  ๒๔๘๒
 
๑๐.  นายผดุง  โกฌานนท์                   ๑๒  กรกาคม  ๒๔๘๓ – ๓๐  เมษายน  ๒๔๘๓
 
๑๑.  นายวาสนา  วงศสุวรรณ               ๑๘  สิงหาคม  ๒๔๘๓ – ๓๐  เมษายน  ๒๔๘๘
 
๑๒.  นายอเนก   อรัญนาค                  ๑๗  สิงหาคม  ๒๔๘๘ – ๑๓  มิถุนายน  ๒๔๙๘
 
๑๓.  ร.ต.ต.สาวิตร  จรัสวัฒน์                ๑  กรกฎาคม  ๒๔๙๘ – ๑๕  เมษายน  ๒๔๙๐
 
๑๔.  ร.ต.ท.จารึก  สุโขบล                    ๑  กันยายน ๒๔๙๐ –    ๑๗  ธันวาคม  ๒๔๙๑
 
๑๕.  นายเจริญ  วดีศรีศักดิ์                  ๒๕  เมษายน ๒๔๙๒ –   ๒๕ กรกาคม  ๒๔๙๒
 
๑๖.  นายพีรศักดิ์  สุขพงศ์                   ๕  สิงหาคม  ๒๔๙๒ –     ๕  มิถุนายน  ๒๔๙๗
 
๑๗.  นายชัชวาล  สุวรรณรงค์               ๕  มิถุนายน  ๒๔๙๗ –   ๖  มิถุนายน  ๒๔๙๙
 
๑๘.  นายอารี   นิยมสุข                     ๗  มิถุนายน  ๒๔๙๙ –   ๑๓  กันยายน ๒๕๐๓
 
๑๙.  นายจรูญ   บุญโทแสง                  ๑๓  ตุลาคม  ๒๕๐๓ –    ๑๗  มกราคม  ๒๕๐๘
 
๒๐.  นายศักดา  อ้อพงศ์                     ๒๓  มกราคม  ๒๕๐๘–   ๑๓  มีนาคม  ๒๕๐๙
 
๒๑.  นายศิวเรศ  ณ  นครพนม              ๑๗  มีนาคม  ๒๕๐๙ –   ๒๙  มีนาคม  ๒๕๑๑
 
๒๒.  นายจรูญ  ทองนิ่ม                      ๒๙  มีนาคม  ๒๕๑๑ –   ๙  กันยายน  ๒๕๑๓
 
๒๓.  นายมณฑล  ปรีชาธีรศาสตร์           ๑๓  กันยายน ๒๕๑๓ –   ๓๑  สิงหาคม  ๒๕๑๖
 
๒๔.  นายสมาน  ผลิกานนท์                 ๑  กันยายน  ๒๕๑๖ –   ๒๓  ตุลาคม  ๒๕๒๑
 
๒๕.  นายสุวิช  อุยยานนท์                   ๑  พฤศจิกายน  ๒๕๒๑ – ปัจจุบัน
 
รายนามเจ้าเมืองและผู้รักษาราชการแทนเมืองธวัชบุรี
 
๑.  ท้าวสุวอ  (ผู้ก่อตั้งเมืองธวัชบุรีคนแรก)  พ.ศ.  ๒๔๑๗ -             พ.ศ.  ๒๔๒๕
 
๒.  พระธำรงไชยธวัช  (ศิลา  หรือโพธิราชา)         ๑๑  มิถุนายน  ๒๔๒๕ - พ.ศ.  ๒๔๒๕
 
๓.  พระธำรงไชยธวัช  (ท้าวสุวอ)  ครั้งที่  ๒          พ.ศ.  ๒๔๒๗ -             พ.ศ.  ๒๔๓๐
 
๔.  เมืองขวา  (รักษาราชการแทน)                    พ.ศ.  ๒๔๓๐ -             พ.ศ.  ๒๔๓๐
 
๕.  อัคฮาด  (ท้าวเมฆ)  รักษาราชการแทน           พ.ศ.  ๒๔๓๐ -             พ.ศ.  ๒๔๓๐
 
๖.  หลวงพิพาก  (ท้าวสอน)  รักษาราชการแทน     พ.ศ.  ๒๔๓๐ -             พ.ศ.  ๒๔๓๐
 
๗.  หลวงเพ็ชรัชภักดี  รักษาราชการแทน            พ.ศ.  ๒๔๓๐ -             พ.ศ.  ๒๔๕๑
 
 
 
 
 
รายนามนายอำเภอเมืองธวัชบุรี
 
๑.  หลวงเพ็ชรัชภักดี                                   พ.ศ.  ๒๔๕๒– พ.ศ.  ๒๔๕๕
 
๒.  นายแผ้ว                                            พ.ศ.  ๒๔๕๖ – พ.ศ.  ๒๔๕๖
 
๓.  นายสืบ                                             พ.ศ.  ๒๔๕๖ – พ.ศ.  ๒๔๕๖
 
๔.  ขุนธวัชทวีการ  (หลวงสตาเนกประชาธรรม)      พ.ศ.  ๒๔๕๖ – พ.ศ.  ๒๔๕๗
 
๕.  นายเทียน  กำเนิกเพ็ชร์                            พ.ศ.  ๒๔๕๘ – พ.ศ.  ๒๔๖๒
 
                      รายนามนายกำนันตำบลดินแดง  (ธวัชบุรี)
 
๑.  พ่อเฒ่าเชียงเหนือ                                  พ.ศ.  ๒๔๕๑ – พ.ศ.  ๒๔....
 
๒.  เมืองขวา                                            พ.ศ.  ๒๔..... – พ.ศ.  ๒๔......
 
๓.  นายสน  วรฉัตร  (ขุนดินแดงธำรง)               พ.ศ.  ๒๔..... – พ.ศ.  ๒๔......
 
๔.  นายคุย  สุวรรณมาศ                               พ.ศ.  ๒๔..... – พ.ศ.  ๒๔......
 
๕.  นายสิบเอกเคน  ประทุมทิพย์                     พ.ศ.  ๒๔..... – พ.ศ.  ๒๔......
 
๖.  นายปลิว  วรฉัตร                                  พ.ศ.  ๒๔..... – พ.ศ.  ๒๔๘๗
 
๗.  นายพิธ  สุวรรณมาศ                               พ.ศ.  ๒๔๘๗ – พ.ศ.  ๒๔๙๒
 
๘.  นายถม  เสนารัตน์                                 พ.ศ.  ๒๔๙๒ – พ.ศ.  ๒๕๐๐
 
๙.  นายยศ  จันทระ                                   พ.ศ.  ๒๕๐๐ – พ.ศ.  ๒๕๑๒
 
๑๐.  นายสิน  มงคลชู                                  พ.ศ.  ๒๕๑๒ – พ.ศ.  ๒๕๑๖
 
๑๑.  นายวัฒนา  รักพงษ์                              ๑๕  พฤษภาคม  ๒๕๑๖... – ๑  สิงหาคม  ๒๕๑๒
 
๑๒.  นายทอง  วรวัฒน์                                พ.ศ.  ๒๕๑๒ - ปัจจุบัน
 
          พ.ศ. ๒๕๑๒  ตำบลธวัชบุรีได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ตำบล คือ ตำบลดินแดง และตำบลธวัชบุรี
 
          ตำบลธวัชบุรีตั้งอยู่บ้านหัวโนน  (ดงหัวเมือง)  มีหมู่บ้านขึ้นตำบลนี้คือ  บ้านธวัชดินแดง , หนองดู่ 
 
อี่เตี้ย,  ขาม,  สังข์,  งิ้ว
 
 
 
ในปี พ.ศ. 2456 อำเภอนี้ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภออุไทยร้อยเอ็ดไปเป็นอำเภอแซงบาดาล<ref>{{cite journal|journal=Royal Gazette|volume=30|issue=0 ง|pages=1619–1620|title=แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1619_1.PDF|date=October 19, 1913|language=Thai}}</ref> ในปี พ.ศ. 2482 ก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกเป็นอำเภอ ธวัชบุรีอย่างในปัจจุบัน<ref>{{cite journal|journal=Royal Gazette|volume=56|issue=0 ก|pages=354–364|title=พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/354.PDF|date=April 17, 1939|language=Thai}}</ref>