ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ramangkura (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47:
 
การถวายตัวเป็นหม่อมห้ามของเสด็จในกรมนั้น เท่ากับเป็นการสร้างการยอมรับอำนาจการปกครองจากส่วนกลางในหมู่เจ้านายเมืองอุบลราชธานีมากขึ้น และยังทำให้เจ้านายพื้นเมืองบางส่วนขยับฐานะตนเองจากการเป็นเจ้านายในราชวงศ์สายล้านช้างอันเก่าแก่ มาเป็นส่วนหนึ่งในพระราชวงศ์จักรีของสยาม<ref>เอี่ยมกมล จันทะประเทศ. สถานภาพเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานี ระหว่างพ.ศ. 2425-2476. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2538</ref> โดยระหว่างที่เสด็จในกรมทรงประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานีนั้น ได้ทรงสร้างตำหนักชื่อว่า '''วังสงัด''' ขึ้นบนที่ดินของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) เมื่อ ร.ศ.112 และทรงประทับอยู่กับหม่อมเจียงคำเป็นเวลานาน 17 ปี ก่อนที่จะนิวัติคืนสู่กรุงเทพมหานคร ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังและเสนาบดีที่ปรึกษาในพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 5) เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ภายหลังจากนิวัติสู่กรุงเทพมหานคร พระองค์ก็มิได้กลับมาประทับที่เมืองอุบลราชธานีอีกเลย<ref>http://guideubon.com/news/view.php?t=14&s_id=14&d_id=14</ref>
 
==ฝีมือการทอผ้า==
หม่อมเจียงคำเป็น[[เจ้านายสตรี]][[เมืองอุบลราชธานี]]ที่มีความรู้เรื่องวิชาการช่าง[[ทอผ้า]] และเป็นเจ้านายผู้มีฝีมือ[[การทอผ้า]]พื้นเมืองเป็นอย่างสูง ในสมัยโบราณนั้น เจ้านายท้องถิ่นมักมี[[โรงทอผ้า]]ในอาณาบริเวณ[[โฮง]]ของตนเอง หม่อมเจียงคำได้ถ่ายทอดวิชาการช่างทอผ้าพื้นถิ่น[[เมืองอุบลราชธานี]]ให้บุตรหลานและบริวารจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือแม่เลื่อน เพื่อนำไปทอแข่งขันกับ[[ผ้าลายน้ำไหล]]ของหัวเมือง[[ประเทศราช]]ทาง[[ล้านนา]] เช่น [[เมืองน่าน]]และ[[เมืองเชียงใหม่]] ผ้าทออันเป็นที่นิยมของเจ้านายในสมัยนั้นคือ [[ผ้าจก]]และ[[ผ้ายกมุก]] ในปัจจุบัน ผ้ายกมุกที่มีชื่อเสียงของ[[ภาคอีสาน]]มีอยู่ ๒ แห่ง คือ[[ผ้ายกมุก]][[อำเภอนาหว้า]] [[จังหวัดนครพนม]] ซึ่งราษฎรชาว[[ลาว]]ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และ[[ผ้ายกมุกเมืองอุบลราชธานี]] นอกจาก[[ผ้ายกมุก]]แล้ว ภายในโฮงของ[[เจ้านายเมืองอุบลราชธานี]]ยังนิยมทอ[[ผ้าจก]] ผ้าจกลายเอกลักษณ์ของ[[เมืองอุบลราชธานี]]อันเป็นที่นิยมมากคือ[[ผ้าลายจกดาว]] เมื่อนำลาย[[จกดาว]]ไปต่อเป็น[[หัวซิ่น]]หรือ[[ผ้านุ่ง]] เรียกว่า [[หัวจกดาว]] [[จกดาว]]มีอยู่ ๒ ประเภท คือ[[ลายจกดาวใหญ่]]และ[[ลายจกดาวน้อย]] ภายใน[[โฮง]]ของเจ้านายชั้นสูงนิยมนำ[[ไหมคำ]] ([[ไหมทองแล่ง]]) และ[[ไหมงิน]] มาฝั้นเป็นเส้นขนาดเล็ก เรียกว่า [[ไหมคำแลบ]] เพื่อทอเป็นลาย[[จกดาว]] นอกจาก[[จกหัวดาว]]ซึ่งใช้ต่อบริเวณ[[หัวซิ่น]]แล้ว ยังนิยมนำไปใช้ต่อเป็นลาย[[ตีนซิ่น]]ด้วย เรียกว่า [[จกดาวตีนซิ่น]] เจ้านายสตรี[[เมืองอุบลราชธานี]]นิยมลาย[[จกดาวตีนซิ่น]]เป็นลายเล็กๆ กว้างขนาด ๒ นิ้ว ใช้ประดับ[[ตีนซิ่น]] ต่อมา [[ผ้าจก]]ดาวซึ่งได้รับการสืบทอดมาแต่[[ราชสำนัก]][[เมืองอุบลราชธานี]]จากฝีมือช่างของหม่อมเจียงคำนี้ คุณสุดา งามนิล ได้นำไปพัฒนาและเผยแพร่จนมีชื่อเสียงในปัจจุบัน
 
ครั้งหนึ่ง พลตรี [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์]] เคยส่ง[[ผ้าซาระบับ]][[ลาว]] ([[สยาม]]เรียกว่า [[ผ้าเยียรบับ]][[ลาว]]) ไปทูลเกล้าทูลถวาย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ([[รัชกาลที่ 5]]) พระองค์ได้มีลาย[[พระราชหัตถเลขา]]พระราชทานกลับมาว่า '' "...[[ผ้า]]นี้ทอดีมาก '''เชียงใหม่สู้ไม้ได้เลย''' ถ้าจะยุให้ทำมาขายคงจะมีผู้ซื้อ ฉันจะรับเป็นนายน่า ส่วนที่ส่งมาจะให้ตัดเสื้อ ถ้ามีเวลาจะถ่ายรูปให้ดู..." '' เอกสารลาย[[พระราชหัตถเลขา]]นี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี]]มาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้สามารถสังเกตได้ว่า มีผู้กล่าวขวัญถึง[[ผ้าไหม]][[ลาว]][[อีสาน]]มากกว่าผ้าไหมของทาง[[เชียงใหม่]]เสียอีก
 
==ขอพระโอรสจากพระพุทธวิเศษ==