ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6273985 สร้างโดย 110.168.231.162 (พูดคุย)
บรรทัด 234:
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ [[ช่องแคบมะละกา]] [[ช่องแคบซุนดา]] [[ช่องแคบลอมบอก]] และ[[ช่องแคบมาคัสซาร์]] เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และ[[ทวีปออสเตรเลีย]]
 
==้้้พเพเพำเำฟเพกดพดกพดพกดฟกฟห
=== ภูมิประเทศ ===
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ดังนี้
* '''บริเวณทิวเขาและที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขา''' ทิวเขาภายในแผ่นดินใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แผ่กระจายออกมาจาก[[ชุมเขายูนนาน]] โดยมี 3 แนว ได้แก่ แนวทิศตะวันตก คือ [[ทิวเขาอะระกัน]]ในพม่าต่อเนื่องไปในทะเลอันดามัน เป็นภูเขาหินใหม่จึงมี[[แผ่นดินไหว]]เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวกลางเป็นทิวเขาด้านทิศตะวันออกของพม่าต่อเนื่องลงไปถึงภาคเหนือของไทยจนถึงภาคใต้ แนวทิศตะวันออก คือ ทิวเขาในลาวและเวียดนาม ทิวเขาตามแนวกลางและตะวันออกเป็นภูเขายุคหินกลางจึงไม่มีปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเหมือนแนวทิศตะวันตก
* '''บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ''' พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ราบสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำอิรวดี]]ในพม่า ที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ในไทย ที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำแดง]]ของเวียดนาม ที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำโขง]]ในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ส่วนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่สำคัญ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น
* '''ที่ราบชายฝั่งทะเล''' ได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล บริเวณที่เป็นดินเลนซึ่งมักจะพบป่าไม้ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในทุกประเทศของภูมิภาค ยกเว้นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีที่ราบชายฝั่งทะเล เพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)
* '''หมู่เกาะ''' ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่เกิดจาก[[ภูเขาไฟ]] ทั้งที่ยังมีพลังและที่ดับสนิทแล้ว ต่อเนื่องมาจากทิศตะวันตกในแผ่นดินประเทศพม่า ลงไปเป็น[[หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์|หมู่เกาะอันดามัน]] [[หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์|นิโคบาร์]] [[เกาะสุมาตรา|สุมาตรา]] [[เกาะชวา|ชวา]] ในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ เนื่องจากดินในเขตภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้แถบนี้มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะต้องเสี่ยงต่อการปะทุของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว
 
=== ภูมิอากาศ ===